Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
28 April 2024, 00:24:04

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,605 Posts in 12,440 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ชุมชนต้นแบบแห่งความพอเพียง ๔ ภาค และ ชุมชนตัวอย่างทั่วโลก  |  ชุมชนชาวอโศก  |  สันติอโศก  |  ความเป็นมาของสันติอโศก
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: ความเป็นมาของสันติอโศก  (Read 1069 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 30 December 2012, 10:47:31 »

โดยเหตุที่ "สมณะโพธิรักษ์" บวชที่
"วัดอโศการาม" และไปบรรยายธรรม บริเวณ "ลานอโศก" วัดมหาธาตุอยู่เนืองๆ จนได้สมญาว่า “ขวานจักตอก” จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่กลุ่ม ผู้ศรัทธาเลื่อมใสปฏิบัติตาม และร่วม เผยแพร่ธรรมะ จนเกิดกลุ่มพุทธบริษัทขึ้น อันมีทั้งนักบวชและฆราวาส ว่า
"ช า ว อ โ ศ ก"


ญาติโยมรุ่นแรกที่ศรัทธาเลื่อมใส ได้ร่วมกันก่อตั้งสถานที่ปฏิบัติธรรมถวาย มีสภาพเป็นสวนจึงได้ชื่อว่า "สวนอโศก" ตั้งอยู่ที่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี นับเป็นแห่งแรกของสถานที่ปฏิบัติธรรมของชาวอโศก แต่เนื่องจากการไปมาไม่สะดวก และยังไม่ลงตัว มาลงตัวพอเป็นไปได้ที่สถานที่แห่งใหม่ เรียกชื่อว่า“ธรรมสถานแดนอโศก”ตั้งอยู่ที่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม นับเป็นการอุบัติขึ้นเมื่อวันที่๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ และได้ใช้สถานที่นี้อบรมบำเพ็ญธรรม จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่เป็นเหตุให้ "สมณะโพธิรักษ์" และหมู่สงฆ์ต้องตัดสินใจประกาศตนเป็นเอกเทศ ไม่อยู่ภายใต้อาณัติของทางฝ่ายคณะปกครองสงฆ์ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ ณ วัดหนองกระทุ่ม "สมณะโพธิรักษ์" จึงตัดสินใจพาหมู่กลุ่มมาใช้สถานที่เผยแพร่ธรรม ในกรุงเทพฯ (ที่ "สันติอโศก")

โดยก่อนหน้านี้คือ ในปี ๒๕๑๕ คุณกิติยา วีระพันธ์ ได้ถวายเรือนทรงไทยหลังใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.คลองกุ่ม อ.บางกะปิ (เขตบึงกุ่ม) กทม. ให้ท่านไว้แล้ว และเนื่องจากอยู่ในกรุงเทพฯ จึงเป็น "ศูนย์กลางอโศก" (ขณะนั้นมี ศีรษะอโศก อยู่ที่ ต.กระแซงใหญ่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เกิดขึ้นเมื่อ ๒๓ ม.ค. ๒๕๑๙ และ ศาลีอโศก อยู่ที่ ต.โคกเดื่อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ เกิดขึ้นเมื่อ ๖ มิ.ย. ๒๕๑๙ ส่วนธรรมสถานแดนอโศก ได้ย้ายมารวมกับปฐมอโศก ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ปีต่อมาคือ ๒๓ ก.ค. ๒๕๒๓ จึงเกืดเป็นพุทธสถานปฐมอโศก ) เมื่อท่านพาหมู่กลุ่มมาลงหลักปักแหล่ง ณ ที่นี้ ก็ได้ตกลงใช้ชื่อว่า "พุทธสถานสันติอโศก" เนื่องจากเกิด "ธรรมสถาน" (แดนอโศก) แล้ว จึงใช้คำว่า "พุทธสถาน" ส่วน "สันติ" หมายถึง ความสงบ และคำว่า "อโศก" ก็ยังคงใช้ชื่ออันเป็น ที่มาของหมู่กลุ่ม ส่วน คุณกิติยา วีระพันธ์ ผู้ถวายที่ดินแปลงนี้ ก็ได้ชื่อใหม่จากพ่อท่านว่า "สันติยา" ตั้งแต่บัดนั้นมา (ต่อมาเปลี่ยนเป็น "สันติมา") เรือนไทยหลังใหญ่นี้เอง เป็นจุดกำเนิดของ "พุทธสถานสันติอโศก" และ "พระวิหารพันปีเจดีย์บรมสารีริกธาตุ" ในปัจจุบัน

ย้อนมาถึงมูลเหตุที่ทำให้ "คุณสันติมา" (หรือ กิติยา วีระพันธ์) ถวายที่ดินพร้อมบ้านทรงไทยหลังนี้ให้ "สมณะโพธิรักษ์" นั้น คุณสันติมา ได้เคยบอกเล่าไว้ว่า เมื่อชีวิตประสบความทุกข์ใจอย่างมาก ได้อ่านพบข่าวการบรรยายธรรมของสมณะโพธิรักษ์ในสมัยนั้น (จากน.ส.พ.ฉบับหนึ่ง) จึงได้ติดตามไปฟังที่วัดอาวุธฯ เกิดศรัทธาเลื่อมใส และเป็นช่วงที่กำลังสร้างบ้านหลังนี้อยู่พอดี จึงได้แจ้งความประสงค์ถวายเรือนไทยที่สร้างไว้ด้วยใจชอบนี้ แก่พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ คิดว่าให้ท่านได้ใช้สอยเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง ดีกว่าจะมาอาศัยอยู่กันเพียงไม่กี่คน ส่วนคุณสันติยาและลูกๆ ก็มาอยู่เรือนทรงธรรมดาที่ได้สร้างไว้ให้คนงานก่อสร้างเรือนไทยพัก นั่นเอง

โดยก่อนหน้านี้คือ ในปี ๒๕๑๕ คุณกิติยา วีระพันธ์ ได้ถวายเรือนทรงไทยหลังใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.คลองกุ่ม อ.บางกะปิ (เขตบึงกุ่ม) กทม. ให้ท่านไว้แล้ว และเนื่องจากอยู่ในกรุงเทพฯ จึงเป็น "ศูนย์กลางอโศก" (ขณะนั้นมี ศีรษะอโศก อยู่ที่ ต.กระแซงใหญ่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เกิดขึ้นเมื่อ ๒๓ ม.ค. ๒๕๑๙ และ ศาลีอโศก อยู่ที่ ต.โคกเดื่อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ เกิดขึ้นเมื่อ ๖ มิ.ย. ๒๕๑๙ ส่วนธรรมสถานแดนอโศก ได้ย้ายมารวมกับปฐมอโศก ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ปีต่อมาคือ ๒๓ ก.ค. ๒๕๒๓ จึงเกืดเป็นพุทธสถานปฐมอโศก ) เมื่อท่านพาหมู่กลุ่มมาลงหลักปักแหล่ง ณ ที่นี้ ก็ได้ตกลงใช้ชื่อว่า "พุทธสถานสันติอโศก" เนื่องจากเกิด "ธรรมสถาน" (แดนอโศก) แล้ว จึงใช้คำว่า "พุทธสถาน" ส่วน "สันติ" หมายถึง ความสงบ และคำว่า "อโศก" ก็ยังคงใช้ชื่ออันเป็น ที่มาของหมู่กลุ่ม ส่วน คุณกิติยา วีระพันธ์ ผู้ถวายที่ดินแปลงนี้ ก็ได้ชื่อใหม่จากพ่อท่านว่า "สันติยา" ตั้งแต่บัดนั้นมา (ต่อมาเปลี่ยนเป็น "สันติมา") เรือนไทยหลังใหญ่นี้เอง เป็นจุดกำเนิดของ "พุทธสถานสันติอโศก" และ "พระวิหารพันปีเจดีย์บรมสารีริกธาตุ" ในปัจจุบัน

ย้อนมาถึงมูลเหตุที่ทำให้ "คุณสันติมา" (หรือ กิติยา วีระพันธ์) ถวายที่ดินพร้อมบ้านทรงไทยหลังนี้ให้ "สมณะโพธิรักษ์" นั้น คุณสันติมา ได้เคยบอกเล่าไว้ว่า เมื่อชีวิตประสบความทุกข์ใจอย่างมาก ได้อ่านพบข่าวการบรรยายธรรมของสมณะโพธิรักษ์ในสมัยนั้น (จากน.ส.พ.ฉบับหนึ่ง) จึงได้ติดตามไปฟังที่วัดอาวุธฯ เกิดศรัทธาเลื่อมใส และเป็นช่วงที่กำลังสร้างบ้านหลังนี้อยู่พอดี จึงได้แจ้งความประสงค์ถวายเรือนไทยที่สร้างไว้ด้วยใจชอบนี้ แก่พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ คิดว่าให้ท่านได้ใช้สอยเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง ดีกว่าจะมาอาศัยอยู่กันเพียงไม่กี่คน ส่วนคุณสันติยาและลูกๆ ก็มาอยู่เรือนทรงธรรมดาที่ได้สร้างไว้ให้คนงานก่อสร้างเรือนไทยพัก นั่นเอง
   
สมัยแรกๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นแอ่งน้ำ โดยเฉพาะด้านหน้าของพุทธสถานฯ มีแต่กอหญ้า และแอ่งน้ำอยู่ทั่วไป ตัวสภาพเรือนไทยเอง ก็ยังไม่เรียบร้อยนัก เวลาฝนตกลงมาแต่ละครั้ง ก็จะสาดไปทั่ว ได้ปรับปรุงกันเรื่อยมา ทั้งการถมที่รอบบริเวณเรือนไทย การปลูกกุฏิ ตลอดทั้งการต่อเติม และซ่อมแซมเรือนไทย ให้ใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น โดยชั้นบนของเรือนไทย ใช้เป็นโบสถ์ และสถานที่ทำงาน เผยแพร่ธรรมะ ส่วนชั้นล่างเป็นที่แสดงธรรม เป็นศาลาฉัน พับกระดาษ เก็บเล่มทำหนังสือ ฯ เรียกว่าเป็นที่ประกอบกิจวัตร และกิจกรรมของชาวอโศกที่ประพฤติปฏิบัติอยู่ ณ ที่แห่งนี้

นับเป็นการถืออุบัติขึ้นในวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๑๙ จากนั้นจึงเกิด "มูลนิธิธรรมสันติ" ขึ้นในปีถัดมาคือ พ.ศ. ๒๕๒๐ หลังจากนั้น ก็เกิดองค์กร ตลอดจนกิจการต่างๆ ดังที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้


เรือนทรงไทย เดิมที่เคยใช้เป็น สถานที่ทำกิจการงาน ของมูลนิธิธรรมสันติ
ได้ถูกรื้อถอนออก เพื่อสร้างศาลาพระวิหาร
ทุกอย่างย่อมมีการเสื่อมไปตามสภาพธรรม เรือนทรงไทยหลังนี้ ได้รับการใช้ประโยชน์ อย่างมากมาย เพื่อมวลมนุษยชาติมานาน จนกระทั่งชำรุดทรุดโทรม ต่อมาเมื่อคุณตะวัน สิริวรวิทย์ ได้มาสำรวจจึงพบว่า เสาเรือนเกือบทุกต้นมีปลวกกัดกิน จนกร่อน น่ากลัวว่าจะพังลงมา จึงได้มีการประชุมตกลงกัน เพื่อรื้อถอน และสร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นมาแทนที่ เรือนทรงไทยหลังนี้ จึงถูกรื้อถอนออกไปทั้งหลัง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ และทำการก่อสร้าง "พระวิหารพันปีเจดีย์บรมสารีริกธาตุ" ซึ่งออกแบบโดย คุณอภิสิน สิวยาธร และกำลังก่อสร้างอยู่ทุกวันนี้ โดยพ่อท่านได้กำหนดประเด็นอัน
เป็นเป้าหมายสำคัญในการ ก่อสร้างพระวิหารไว้ ๓ ประการ คือ

๑. ให้เกิดความสัมพันธ์กับธรรมชาติและศิลปะ
๒. เป็นอาคารใช้สอยที่เนื่องเกี่ยวกับทางด้านศาสนาให้มาก
๓. ให้มีผลกระทบทางจิตวิญญาณ

ในปี ๒๕๓๙ เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงครองสิริราชสมบัติเป็นปีที่๕๐ สมณะโพธิรักษ์และชาวอโศก จึงได้ถือเอาพระวิหารฯ อันเป็นที่เคารพสักการะบูชาสูงสุดนี้ เป็นราชสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ซึ่งตรงกับ วันวิสาขบูชา สมณะโพธิรักษ์ได้นำพาหมู่สงฆ์ สิกขมาตุและญาติธรรม กระทำพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์ทองคำ พร้อมทั้งพระพุทธรูปปางต่างๆ หลายสมัยรวม ๑๐ องค์ แล้วอัญเชิญเจดีย์ทองคำ ขึ้นสู่ยอดโดมสูงสุดของพระวิหารฯเพื่อเตรียมเฉลิมฉลอง และในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ อันเป็น "วันกาญจนาภิเษก" พ่อท่านก็พาหมู่กลุ่มประกอบพิธี มีการทำวัตรเช้า การแสดงธรรมก่อนฉัน และกิจกรรมภาคบ่าย ส่วนญาติธรรมก็ได้ร่วมใจกันเปิด 'โรงบุญมังสวิรัติ' หลายร้านตลอดแนวถนน เพื่อเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมิ่งมหามงคลครั้งนี้ด้วย
"พุทธสถานสันติอโศก" จึงเป็นที่ประดิษฐานของสิ่งสักการะบูชาอันสูงสุด เป็นส่วนน้อมนำให้เกิดจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อันเป็นเส้นทางแห่งโลกุตระทั้งแก่ชาวอโศก และผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายตลอดจนผู้เข้ามาเยี่ยมเยือน ดังที่ผู้ถวายที่ดินแปลงนี้ ซึ่งได้จากไปเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ ได้เกิดจิตศรัทธาเลื่อมใสอย่างมั่นคงตราบชีวิตหาไม่.

http://www.asoke.info/01Religion/Buddhastan/budh_santi1.html

Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.048 seconds with 17 queries.