Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
30 April 2024, 16:51:42

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,614 Posts in 12,444 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง  |  เกษตรทางเลือก  |  เพอร์มาคัลเจอร์  |  เพอร์มาคัลเจอร์ #9 : Hugelkultur
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เพอร์มาคัลเจอร์ #9 : Hugelkultur  (Read 1487 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 07:53:42 »

เพอร์มาคัลเจอร์ #9 : Hugelkultur




จากความพยายามหาแนวทางในการจัดการพื้นที่ในสวนบริเวณที่เป็นหินค่อนข้างมาก ดินแข็ง อินทรีย์วัตถุน้อย และแทบไม่มีดินสีดำๆ ให้เห็นเลย  ในบริเวณดังกล่าวแม้นแต่น้องปอเทืองก็งอกน้อยมาก  ทำให้ได้ค้นหาเรื่องราวในฟอรั่มของเพอร์มาคัลเจอร์เกี่ยวกับเทคนิคการปรับปรุงดินในพื้นที่ที่เป็นทรายล้วน / หินกรวดล้วน รวมทั้งพื้นที่ทะเลทราย ให้สามารถเพาะปลูกได้  และเมื่อทำต่อเนื่องกันหลายๆ ปีก็ปรากฎหน้าดินขึ้นมาได้  เทคนิคดังกล่าวเรียกว่า Hugelkultur ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันแปลว่า mound culture น่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า วัฒนธรรมเนินดิน  ซึ่งฟังดูแปลกๆ และไม่สื่อความหมายมากนัก  จึงของใช้ชื่อภาษาเยอรมันว่า Hugelkultur ตามเขาแล้วกัน

Hugelkultur เกิดจากการสังเกตุธรรมชาติว่าต้นไม้ที่ล้ม หรือกิ่งไม้ที่ร่วงในป่าธรรมชาติจะสามารถรักษาความชื้นได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ มักจะมีตะไคร่ มอส หรือเห็ดเกาะตามขอนไม้  ในหน้าแล้งดินบริเวณขอนไม้ก็จะมีความชื้นมากกว่าบริเวณอื่นๆ เมื่อไม้ย่อยสลายก็จะทำให้ดินบริเวณใกล้ๆ ขอนไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าบริเวณอื่นๆ เป็นเวลานับ 10 ปีหลังจากที่ต้นไม้ล้มแล้ว หลังจากที่ขอนไม้ย่อยสลายหมดแล้วบริเวณดังกล่าวก็จะกลายเป็นกองดิน (mound)



ชาวยุโรบตะวันออกจึงพยายามเลียนแบบธรรมชาติด้วยเทคนิคการหมักปุ๋ยโบราณแบบที่เรียกว่า Sheet Composting หรือ Lasagna Composting (ซึ่งเป็นเทคนิคหลักที่ใช้ใน no-dig garden เรื่องนี้ว่างๆ จะมาเขียนบล็อกให้อ่านในภายหลัง) โดยการสุมไม้ที่ไม่ใช้ หรือเศษไม้จากการตัดแต่งกิ่งให้ค่อยๆ ย่อยสลายเป็นปุ๋ย

Hugelkultur กลายเป็นที่นิยมในกลุ่มเพอร์มาคัลเจอร์เนื่องจากนักเพอร์มาคัลเจอร์ชาวออสเตรียที่มีชื่อว่า Sepp Holzer พยายามทำแปลงผักที่ไม่ต้องพรวนดินโดยการใส่อินทรีย์วัตถุที่จะหมักเป็นชั้นๆ (Sheet Composting หรือ Lasagna Composting) แล้วปลูกผักบนกองปุ๋ยหมักไปเลยโดยไม่ต้องรอให้กลายเป็นปุ๋ย  (นิสัยขี้เกียจตามสไตล์เพอร์มาคัลเจอร์ ทำครั้งเดียว ใช้ได้นานๆ )

ในประเทศไทยก็มีการทดลองทำปุ๋ยหมักในลักษณะคล้ายกับแบบนี้ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปี 2552 เรียกว่า "การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง" ของ ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร โดยในช่วงแรกปี 2547 เป็นระบบที่ต้องมีท่อเติมอากาศ  ต่อมาจึงพัฒนาเทคนิคคล้ายของชาวตะวันตกในปี 2552 กลายเป็นเทคนิคแบบที่ไม่ต้องใช้ท่อเติมอากาศ ซึ่งปัจจุบันเป็นเทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักที่กำลังได้รับความนิยมจากสมาชิกเวปเพื่อนบ้านของเราเป็นอย่างสูง

แต่สิ่งที่ Sepp Holzer ทำจะแตกต่างจากการผลิตปุ๋ยหมัก  เพราะในขบวนการหมักเราอาจจะไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณไนโตรเจน ความร้อน หรือความเป็นกรดในกองมากเท่ากับการปลูกพืชบนกองปุ๋ย  โดยปกติถ้าเราใส่เศษไม้เข้าไป (มีคาร์บอนสูง) จำนวนมากจะเกิดการดึงไนโตรเจนไปใช้ในขบวนการหมักมาก  ทำให้เกิดสภาวะขาดธาตุไนโตรเจนในกองปุ๋ยชั่วคราวแต่ก็มากพอที่จะทำให้พืชที่ปลูกบนกองเหลืองและตายได้  ถ้าเราใส่ไม้เข้าไปน้อยมีปริมาณวัสดุที่มีไนโตรเจนมากไปก็อาจจะทำให้เกิดสภาพเป็นกรดจนพืชตายได้เช่นกัน   ความท้าทายที่ Sepp Holzer เจอคือเขาจะต้องระมัดระวังในการผสมสัดส่วนของวัสดุต่างๆ เข้าไปในกองเป็นอย่างมาก   ต่อมา Sepp Holzer จึงพยายามประยุต์เทคนิคของ Hugelkultur โดยการใช้ไม้ทั้งท่อน  ไม่ต้องย่อยไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก หรือเป็นขี้เลื่อยก่อนที่จะไปทำกองปลูกพืช  เขาค้นพบว่าการทำแบบนี้จะทำให้เกิดการย่อยสลายแบบช้าๆ ซึ่งอาจยาวนานเป็นสิบปี ทำให้พืชที่ปลูกบนกองนี้ได้รับอาหารอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานมาก  และเขาก็ไม่ต้องสนใจเรื่องสัดส่วนของอินทรีย์วัตถุต่างๆ ที่เขาจะเติมลงในกอง  และ Hugelkultur กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของเขาในการทำการเกษตรแบบเพอร์มาคัลเจอร์จนเป็นที่โด่งดัง

การสร้าง Hugelkultur สามารถทำได้หลายเทคนิคดังนี้
______________________________________________________________________________



   ถ้าหน้าดินตื้น, ขุดดินยาก และคุณสามารถหาดินจากที่่อื่นในพื้นที่ หรือจากภายนอกได้  วิธีแรกจะค่อยข้างง่ายที่สุด คือเอาท่อนไม้มากองสุมกันจนสูง แล้วเอาดินที่หาได้มาโรยทับหนาประมาณ 1-2 นิ้ว คลุมด้วยวัสดุคลุมดิน เช่น ฟาง



   ถ้าไม่สามารถหาดินจากที่อื่นได้ วิธีที่ 2  คือการขุดดิน (เช่น ขุดลึก 30-60 ซม.)  เป็นร่อง  แล้วเอาท่อนไม้มากองสุมในร่องที่ขุด  จากนั้นโรยดินที่ขุดทับกองไม้อีกครั้ง
   วิธีนี้คล้ายๆ วิธีที่ 2 แต่จะขุดร่องข้างๆ กองเพื่อให้น้ำไหลลงร่องนี้ในช่วงที่ฝนตก  และเอาดินในร่องข้างๆ ไปใส่บนกอง Hugelkultur ด้วย



ส่วนรูปทรงของกอง Hugelkultur สามารถทำได้หลายอย่างขึ้นกับลักษณะของดิน ปริมาณท่อนไม้ และวัสดุอื่นๆ ด้วย เช่น

   ทรงปกติ
   
   ทรงผอมสูง

   ทรงสามเหลี่ยม

   แบบกั้นขอบด้วยหินขนาดใหญ่

   แบบกั้นขอบด้วยท่อนไม้

ตัวอย่างภาพการทำกอง Hugelkultur แบบที่ 2 (แบบขุด)







ปัญหาหลักในการทำ Hugelkultur ที่มักจะเจอคือ คนทั่วๆ ไปไม่คุ้นเคยกับการมีแปลงปลูกผักเป็นกองสูงๆ  คนคุ้นชินกับการมีแปลงผักเตี้ยๆ และด้านบนแปลงผักราบ  ดังนั้นจึงมักจะทำให้กอง Hugelkultur เตี้ยเกินไปจนไม่เห็นผลของเทคนิคนี้เท่าที่ควร  ถ้าเราต้องการจะได้กองปลูกผักที่ไม่ต้องรดน้ำเลยตลอดหน้าแล้ง (หลังจากปีที่ 2) เราจะต้องทำกอง Hugelkultur สูงอย่างน้อย 2 เมตร  ถ้ากองของเราสูงประมาณ 60 ซม. ก็จะสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องรดน้ำประมาณ 3 สัปดาห์  คุณสมบัติในการดูดซับความชื้นของ Hugelkultur ที่มีความสูงเพียงพอนั้นดีมากจนมีบางท่านเรียก Hugelkultur ว่า No irrigation raised bed gardening system (ระบบยกร่องแปลงผักที่ไม่ต้องรดน้ำ) 

อ่านเจอแบบนี้ผมก็กำลังคิดว่าในปีนี้คงจะไม่มีกิ่งไม้ในสวนพอที่จะสามารถทำกองสูงขนาด 2 เมตรได้ (ปีเลยนี้กำลังปลูกไม้ป่าประมาณ 600 ต้น อนาคตน่าจะมีกิ่งไม้มากขึ้น)  แต่จะพยายามทดลองทำกองขนาด 60 - 120 ซม ไปก่อนในช่วงต้น  ถ้าได้ผลดีจึงค่อยๆ ขยายกองต่อไป  ถ้า Hugelkultur มันเวิร์คกับพื้นที่ที่ผมเพาะปลูกอะไรไม่ได้ก็จะค่อนข้างคุ้ม  เพราะการทำ 1 ครั้งจะสามารถใช้งานได้นานเกินสิบปี  สมกับการขี้เกียจสไตล์เพอร์มาคัลเจอร์ (permanent + culture) Uhuhuh

http://www.bansuanporpeang.com/node/23168

Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.062 seconds with 19 queries.