Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
28 April 2024, 03:06:22

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,605 Posts in 12,440 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง  |  เกษตรทางเลือก (Moderator: MIDORI)  |  เรื่องของกล้วย
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เรื่องของกล้วย  (Read 1551 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 07:34:42 »


กล้วย เป็นพืชพื้นบ้านของไทยที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทุกยุคทุกสมัย เพราะทุกส่วนของกล้วยสามารถนำมาใชประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ขนม ของตกแต่ง กระทง หรือภาชนะ

กล้วยกับความเชื่อของคนไทย
 
ความเชื่อเรื่องกล้วยของคนไทยมีอยู่มากมาย เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างเนิ่นนานแล้ว ในหญิงมีครรภ์มักไม่รับประทานกล้วยแฝดเพราะมีความเชื่อว่าจะได้ลูกแฝด แต่ถ้าบ้านไหนอยากได้ลูกแฝดก็รับประทานกล้วยแฝดสำหรับหญิงแม่ลูกอ่อนถ้ารับประทานแกงหัวปลี จะมีน้ำนมมาก ถ้าคิดตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว หัวปลีเป็นพืชที่มีธาตุเหล็กสูง บำรุงเลือดดี จึงทำให้มีน้ำนมมากนั้นเอง

ต้นกล้วยที่ขาวเนียนสะอาด ไม่มีกาบใบแห้ง มักเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของนางพรายตานี เป็นผีผู้หญิง ที่มีหน้าตาสวยงาม ผิวขาว จะปรากฏตัวตอนกลางคืน โดยยืนอยู่ใต้ต้นกล้วยนั้นๆ
ในด้านยาอายุวัฒนะ หากนำกล้วยแช่น้ำผึ้งปิดไหแล้วใช้ปูนแดงทาก่อนฝาปิด จากนั้นเอาไว้ใต้ฐานพระในวันเข้าพรรษา ปล่อยไว้นานสามเดือน ก็สามารถนำมารับประทานได้ ทั้งนี้ก็เป็นแนวคิดด้านการถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งด้วย

ในงานมงคลมักมีกล้วยเข้ามาร่วมเกี่ยวในพิธีด้วย เช่น กล้วยทั้งเครือ กล้วยดิบ เป็นต้น ซึ่งหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง และความสงบร่มเย็น
ในสมัยก่อนคนที่เป็นโรคฝีดาษ มีแผลพุพอง ก็มักให้นอนบนใบกล้วยเพราะจะทำให้น้ำเหลืองไม่ติดกับเสื้อผ้าบังเกิดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย ส่วนการประหารชีวิตนั้น ก่อนลงมือประหารจะมีการนำใบกล้วยมาปูรองก่อน เพื่อกันเลือดไหลลงไปบนดิน เป็นต้น

 
ความเชื่อเรื่องกล้วยของชาวต่างชาติ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์แบบย่อของกล้วยว่า Musa กล่าวกันว่า Musa มาจากคำภาษาอาหรับว่า Muz ก็มีรากเดิมมาจากคำสันสกฤตว่า Mocha อีกทอดหนึ่งซึ่งหมายถึงกล้วย
เหมือนกัน อีกกระแสหนึ่งที่ฟังดูน่าเชื่อถือน้อยกว่าบอกว่า Musa เป็นชื่อตั้งตามหมอชาวอาหรับในสมัยโรมัน คือ Antonius Musa ผู้นำกล้วยจากอินเดียมากจากอินเดียมาปลูกในถิ่นทางเหนือของอียิปต์ ก่อนหน้าที่ฝรั่งจะเรียกกล้วยว่า Banana อย่างเป็นเอกฉันท์ กล้วยถูกเรียกว่า Plantain ตามคำภาษาสเปนว่า Plantano ซึ่งอาจมีรากมาจากคำลาตินว่า Planta ที่แปลว่าใบกว้าง (spreading leaf) นอกจากนั้นฝรั่งเศสและอิตาลีเคยเรียกกล้วยว่า "fig" โดยมาจากคำเต็ม ๆ ว่า figue d Adam หรือ fico d Adamo ซึ่งอาจแปลได้ว่า "มะเดื่อของอาดัม"

อาดัมนี่คือ (อาดัมกับอีฟในตำนานสร้างโลกของศาสนาคริสต์) ส่วน fig น่าจะหมายถึงใบมะเดื่อที่อาดัมใช้ปิดอวัยวะเพศของตน อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังมีที่ใช้คำนี้อยู่คือ
banana fig แต่นี่หมายถึงกล้าวยตากโดยเฉพาะส่วนคำ Banana ในปัจจุบันเรียกตามภาษาแอฟริกาตะวันตกซึ่งอาจมีตากจากคำภาษาอาราเบียว่า Banan ซึ่งหมายถึงนิ้วมือ
หรือนิ้วเท้าในสังคมไทย กล้วย ถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบแสดงถึงคุณลักษณะทำได้ง่าย เช่นง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก หรือเรื่องกล้วยกล้วย แต่ในสังคมตะวันตกยุคบริโภคนิยม ถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบเป็นสัญลักษณ์กามารมณ์ โดยเฉพาะอวัยวะเพศผู้ชายเช่นสโลแกนโฆษณาว่า unzip a banana นอกจากนั้นยังมีที่ใช้ banana ในภาษาพูดอันหมายถึงอาการ บ้า หรือ เพี้ยน ฝรั่งเองก็ยังสืบค้นไม่ได้ว่า บ้าจะเกี่ยวข้องกับบานานาได้อย่างไรกล้วยในเอเชียใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งจริยธรรม คุณความดี ความงาม

ความเจริญงอกงามในหมู่ชาวอาหรับถือว่ากล้วยเป็นพันธุ์ไม้แห่งสวรรค์ หรือพันธุ์ไม้แห่งปัญญา ที่รู้แยกแยะความดีกับความเลว ตำนานอินเดียถือว่ากล้วยเป็นผลไม้ของผู้มีปัญญา
โดยเล่าขานถึงฤาษีในดงกล้วย ผู้กินกล้วยเป็นอาหารจนเกิดกำลังและปัญญาเป็นที่อัศจรรย์ หลายประเทศในเอเชียถือว่ากล้วยเป็นผลไม้สำหรับเซ่นสังเวยผีและเทวดา ตลอดจน
ผู้มีพระคุณของไทยเรา กล้วยเป็นของที่ขาดไม่ได้ใน ตั้งขันข้าว หรือค่าบูชาคุณ หมอตำแยที่มาทำคลอดให้ กล้วยทั้งหวีเป็นของเซ่นเทวดาและบรรพบุรุษในพิธีเซ่นไหว้อย่างคนจีน
น้ำชาและผลไม้เป็นเครื่องเซ่นพื้นฐานและผลไม้เครื่องเซ่นที่ขาดเสียมิได้ก็คือส้มสีทองและกล้วยทั้งหวี ขนมกล้วยเป็นขนมที่พบได้ประจำในพิธีหมั้นพิธีแต่งงานของชาวไทยสมัยก่อน เพราะกล้วยหมายถึงความเจริญงอกงาม ได้ผลดกดื่นเหมือนกล้วยในแทบทุกชนชาติของเอเชีย ยังมีเหตุผลความเชื่อลึก ๆ ว่ากล้วยเป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตและการเจริญเติบโต ข้อนี้เป็นความเชื่อที่ถูกต้องเพระเด็กในสังคมเมืองทั่วโลกในปัจจุบันก็เติบโตโดยอาศัยกล้วยแปรรูป หรือพิวรี (banana puree) มาใช้ผสมเป็นอาหารเด็กจนได้ชื่อว่า "เด็กยุคพิวรีกล้วย" อยู่แล้ว (the pureed-banana generation)

______________________________________________________________________________
กล้วย ผลไม้มากคุณประโยชน์ 

        มนุษย์เราใช้ประโยชน์จากกล้วยมาช้านานแล้ว ไม่ว่าจะรับประทานหรือใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ นอกจากคุณประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ กล้วยยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งมีสรรพคุณป้องกันและรักษาโรคได้หลากหลาย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว กล้วยอาจกลายเป็นผลไม้หลังอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งของคุณก็เป็นได้

  พฤกษศาสตร์กล้วย 

       กล้วยเป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ มีอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง เมื่อโตเต็มที่อาจจะมีความสูงสองถึงเก้าเมตร แต่ลำต้นที่เราเห็นกันนั้นแท้จริงแล้วเป็นลำต้นเทียม (pseudostem) ประกอบด้วยกาบใบที่อัดกันแน่น (หยวกกล้วย) ส่วนลำต้นที่แท้จริงของกล้วยจะเกิดเป็น เหง้าใต้ดิน (corm) ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวขนาดใหญ่ ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ท้องใบสีนวล เส้นกลางใบใหญ่และแข็ง ก้านใบยาว ดอกของกล้วยออกเป็นช่อ (inflorescence) อยู่ที่ปลายยอด ลักษณะห้อยหัวลง สีแดงคล้ำ เรียกว่า ปลี (banana flower) เมื่อเปิดกาบปลีดูจะเห็นดอกเดี่ยวเรียงกัน ตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อที่ 5-15 ของช่อดอกเป็นดอกตัวเมีย ส่วนปลายของช่อดอกเป็นดอกตัวผู้ อันเป็นความตั้งใจของธรรมชาติที่ไม่ต้องการให้เกิดการผสมพันธุ์กันเองของพ่อแม่ต้นเดียวกัน เพราะกว่าที่กาบปลีซึ่งคลุมดอกตัวผู้จะเปิดออก ดอกตัวเมียก็โรยไปหมดแล้ว
        ผลของกล้วยทั้งหมดบนก้านดอกรวม เรียกว่า เครือ (Bunch) ส่วนผลกล้วยแต่ละกลุ่ม แต่ละข้อ เรียกว่า หวี (hand) แต่ละผลเรียกว่า ผลกล้วย (finger) กล้วยเครือหนึ่งอาจจะมีจำนวนหวี 5-15 หวี และแต่ละหวีมีจำนวนผลตั้งแต่ 5-20 ผล ขนาด ของผลเมื่อโตเฉลี่ยประมาณ 5-15 เซนติเมตร กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ผลสุกโดยทั่วไปมีเปลือกสีเหลือง แต่อาจมีสีเขียวหรือแดงก็ได้แล้วแต่พันธุ์ กล้วยส่วนใหญ่ที่เรารับประทานไม่มี เมล็ด ทั้งนี้เพราะผลกล้วยเกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการ parthenocarpy คือ การเกิดเนื้อได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ เนื้อส่วนใหญ่นั้นเกิดจากขอบ นอกของร่องของรังไข่ การขยายตัวของผนังกั้นรังไข่และแกนกลาง และขยายไปทั่วรังไข่จนกระทั่งผลแก่ ไข่หรือโอวุลมีการหดตัวลงในระยะแรกและจะเห็นเป็นเม็ดสีน้ำตาลเล็กๆ ฝัง อยู่ในเนื้อเมื่อผลแก่ แต่ใช่ว่ากล้วยจะไม่มีเมล็ดเสียทั้งหมด เพราะหากได้รับการผสมจากละอองเกสรที่มากพอ กล้วยก็จะมีเมล็ดได้เหมือนกัน

  การปรับปรุงพันธุ์ 

        การปรับปรุงพันธุ์กล้วย คือการทำให้เกิดการพัฒนาทางพันธุกรรม เพื่อให้สามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้ ซึ่งมีหลายวิธี โดยอาจเกิดเองตามธรรมชาติ เช่น การผสมข้ามสายพันธุ์โดยแมลง นก ค้างคาว เป็นต้น หรือเกิดการกลายพันธุ์เนื่องจากอากาศแปรปรวน หากต้นที่เกิดขึ้นแข็งแรงดีก็ จะมีชีวิตรอดอยู่ได้ (natural selection) หรืออาจเกิดจากมนุษย์ที่จะผสมพันธุ์กล้วยให้มีลักษณะตามที่ต้องการ หรือเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้วิธีต่างๆ ได้แก่ การใช้สารเคมี ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนโครโมโซมขึ้นเป็นเท่าตัว การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครโมโซมเป็นแห่งๆ (point mutation) จากเดิมที่มีลักษณะไม่ต้านทานโรค เปลี่ยนเป็นต้านทานโรค ซึ่งเป็นสิ่งที่ ต้องการ การใช้รังสี การกลายพันธุ์ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการปรับปรุงโดยใช้การตัดต่อทางพันธุกรรม
       การปรับปรุงพันธุ์กล้วยส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้วิธีทำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้ทั้งรังสีและสารเคมี อย่างเช่น การใช้รังสีแกมมาปรับปรุงพันธุ์กล้วยหอมทอง พบว่าได้ต้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม 2n เป็น 66, 34 และ 36 แต่เมื่อทดลองปลูกในแปลง เกิดน้ำท่วมทำให้ต้นตายในขณะที่ต้นยังเล็กอยู่ จึงยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ นอกจากพบว่าต้นที่มีโครโมโซม 66 มีใบหนา และการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไข่โดยใช้รังสีแกมมา พบว่าต้นที่ฉายรังสีที่ 10 เกรย์ ให้ผลกล้วยขนาดสั้นลงเล็กน้อย ก้านผลยาวขึ้น การจัดเรียงของผลในหวีเป็นระเบียบ และที่ 20 เกรย์ ได้ผลมีความยาวปกติ รูปร่างเรียว การเรียงตัวในหวีดี เหมาะกับการทำส่งออกเพราะการบรรจุกล่องสามารถบรรจุได้มาก ทำให้ ใช้ประโยชน์ของผลกล้วยต่อเครือได้มาก ต้นใหม่ทั้งสองที่ได้ให้ชื่อว่า เกษตรศาสตร์บานาน่า 1 และ 2 (ก.บ. 1 และ 2) ตามลำดับ
        ส่วนการใช้สารเคมีนั้น ได้มีการใช้สารโคลชิซินกับกล้วยไข่ทำให้เพิ่มจำนวนโครโมโซมจาก 2n=22 เป็น 44 แต่พบว่าต้นที่ได้เจริญเติบโตช้า ตกผลช้ากว่าปกติมาก และ ผลผลิตน้อย ผลมีขนาดเล็กกว่าเดิม จึงไม่เหมาะที่จะทำการคัดเลือกต้นไว้ นอกจากนี้มีการใช้สารออริซาลิน (Oryzalin) ซึ่งเป็นยาฆ่าหญ้าชนิดหนึ่งกับกล้วยไข่ที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่าต้นที่ได้เจริญเติบโตช้ามาก ใบที่เกิดขึ้นค่อนข้างกลมเป็นมัน ก้านใบสั้น เหมาะทำเป็นไม้ประดับกระถาง จึงนำไปจดทะเบียนไว้ที่กรมวิชาการเกษตร และให้ชื่อว่า เบพ (BEP)
        นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากการทดลองใช้รังสีและไม่ใช้รังสีกับกล้วยไข่ พบว่าต้นที่ไม่ใช้รังสีมีความผิดปกติของผิวเปลือกกล้วย ผิวต้นที่ไม่ได้ฉายรังสีมีความมันผิดปกติ น่าจะเป็นด้วยสารคิวตินเคลือบหนาขึ้น ต้นที่ได้นี้ให้ชื่อว่า เกษตรศาสตร์บานาน่า 3 (ก.บ.3)

  งานวิจัยเกี่ยวกับกล้วย 

        งานวิจัยที่เกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์กล้วยเพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดีขึ้นทนสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกได้ดี หรือการเพิ่มปริมาณสายพันธุ์ที่มีอยู่ให้มากขึ้น เช่น งานวิจัยเรื่องการชักนำให้กล้วยเกิดการกลายและคัดพันธุ์เพื่อทนเค็ม โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพิ่มปริมาณต้นและการเจริญเติบโตของกล้วยหอมพันธุ์แกรนด์เนน โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ งานวิจัยที่ศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นกล้วยไข่ที่ปลูกเปรียบเทียบระหว่างหน่อพันธุ์กับต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
        งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการเพื่อดูแลผลผลิตหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์จากกล้วย เช่น การศึกษาเกี่ยวกับการรักษากล้วยหอมโดยบรรจุในถุงพอลิเอทิลีน การศึกษาวิธีการประวิงเวลาสุกหลังจากเก็บเกี่ยวของกล้วยหอมทอง การใช้สารเคมีบางอย่างในการทำกล้วยตาก การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยกวนเพื่อตลาดนักท่องเที่ยว พันธุ์กล้วยเพื่อการแปรรูปทำกล้วยทอดกรอบ ซึ่งนำกล้วยเก้าพันธุ์ มาทำเป็นกล้วยทอดกรอบแล้วเก็บรักษาในถุงปิดสนิทเพื่อดูคุณภาพ ซึ่งพบว่าเก็บได้โดยไม่มีกลิ่นหืน ประมาณหนึ่งเดือน และผู้บริโภคชอบกล้วยทอดกรอบที่ทำจากกล้วยไข่มากที่สุด
      นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันเป็นสถาบันที่รับผิดชอบในการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางอาหาร ซึ่งศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์จากกล้วย โดยแปรรูปกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร และเป็นการสร้างข้อมูลเพื่อนำไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ให้แก่ผู้สนใจ ตัวอย่างผลงานวิจัยของสถาบัน เช่น การพัฒนาการผลิตเครื่องดื่มทั้งที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์จากกล้วย การทำซอสกล้วยปรุงรส โดยศึกษากรรมวิธี การผลิต และการเก็บรักษา จากการใช้กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยหอมทอง ซึ่งพบว่า กล้วยน้ำว้าเหมาะสมที่สุด เพราะมีราคาถูกและเก็บไว้ได้นานโดยไม่แยกชั้น

_______________________________________________________________________________
กล้วย สรรพคุณร้อยแปด
 
       เคยสังเกตกันรึเปล่าว่าในการแข่งขันกีฬาระดับโลก อย่างเทนนิสเนี่ย พวกนักกีฬาเค้ามักจะกินผลไม้อะไรเป็นประจำในเวลาพักระหว่างเกม ... ฮี่ฮี่ ...ไม่น่าเชื่อว่ามันก็คือ "กล้วย" นั่นเอง!! กล้วย มีน้ำตาลธรรมชาติถึง 3 ชนิดเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซูโครส (Sucrose), ฟรุคโตส (Fructose) และ กลูโคส (Glucose) รวมไปถึงพวกไฟเบอร์หรือเส้นใยต่างๆ ซึ่งทำให้กล้วยกลายเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ที่ร่างกายสามารถนำมาใช้ได้ทันที จากการวิจัยพบว่า กล้วยเพียงแค่ 2 ลูกก็ให้พลังงานเพียงพอสำหรับการทำงานอย่างหนักเป็นเวลา 90 นาทีได้ ไม่น่าแปลกใจเลยที่กล้วยเป็นผลไม้คู่กายอันดับหนึ่งของพวกนักกีฬาชั้นนำระดับโลก
"นอกจากกล้วยจะให้พลังงานมากมายแล้ว" กล้วยยังช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และเพิ่มความแข็งแรง สมบูรณ์ให้กับร่างกายของเราได้อีกด้วย อาทิเช่น โรคซึมเศร้า จากการสำรวจโดย MIND ในกลุ่มของผู้ที่มีอาการซึมเศร้า หลายๆ คนรู้สึกดีขึ้นเมื่อทานกล้วยเข้าไป นี่เป็นเพราะว่ากล้วยมีส่วนประกอบของ Tryptophan ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายของเราจะเปลี่ยนให้เป็น Serotonin ที่รู้จักกันดีว่าจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น
"PMS (Premenstrual Sysdrome - อาการแปลกๆที่ผู้หญิงเป็นก่อนมีประจำเดือน)" ลืมการกินยาไปได้เลย
กินกล้วยกันดีกว่า กล้วยมีส่วนประกอบของวิตามิน B6 ที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของคุณให้คงที่ ซึ่งมีผลไปถึงอารมณ์ของคุณด้วย
โรคโลหิตจาง กล้วยมีธาตุเหล็กอยู่มาก ทำให้มันสามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยรักษาอาการโลหิตจางได้
"โรคเกี่ยวกับความดันโลหิต "  กล้วยมีโปแตสเซียม (Potassium) สูงมากในขณะที่มีเกลือต่ำ ทำให้มันเป็นผลไม้ที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการกับความดันเลือด มันให้ผลดีขนาดที่ว่าองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกายอมให้โรงงานผลิตกล้วยกล่าวอ้างได้ว่ากล้วยช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตได้
"ยุงกัด " ก่อนที่จะไปหยิบเอายาทายุงกัดมาใช้ ลองเอาผิวด้านในของเปลือกกล้วยมาถูๆบริเวณที่ยุงกัดดู หลายคนพบว่ามันช่วยลดอาการบวมและคันได้อย่างไม่น่าเชื่อ (wow!!)
"พลังสมอง นักเรียนกว่า 200 คนของโรงเรียน Twickenham " กินกล้วยพร้อมอาหารเช้า ช่วงพัก และอาหารกลางวันเพื่อช่วยเพิ่มพลังสมองในการสอบของปีที่ผ่านมา จากการวิจัยพบว่ากล้วยซึ่งอุดมไปด้วยโปแตสเซียมนี้ช่วยให้นักเรียนรู้สึกตื่นตัวมากขึ้นทำให้เรียนได้ดีขึ้นในที่สุด (wow!!)
"โรคท้องผูก " กล้วยมีไฟเบอร์สูงช่วยให้ลำไส้ใหญ่ของเรากลับมาทำงานได้เป็นปกติโดยไม่ต้องพึ่งพาพวกยาถ่ายต่างๆอีกต่อไป
"อาการแฮงค์ (เมาค้าง)" หนึ่งในวิธีรักษาอาการแฮงค์ให้เร็วที่สุดก็คือการกิน Banana milkshake ผสมน้ำผึ้ง กล้วยช่วยให้กระเพาะอาหารของเรากลับมาอยู่ในสภาพปกติน้ำผึ้งช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และนมจะช่วยเพิ่มน้ำให้กับร่างกายของคุณได้ด้วย
"อาการเจ็บเสียดหน้าอก" กล้วยช่วยให้เกิดปฏิกริยาในร่างกายที่จะไปหักล้างพวกกรดในกระเพาะอาหารที่มีเยอะเกินไปได้ (กรดพวกนี้แหละที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บเสียดที่หน้าอก) การกินกล้วยจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดนี้ได้
"Morning Sickness" (อาการคลื่นไส้และอาเจียนเวลาตื่นนอนตอนเช้าจะเป็นมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ระยะแรก) การกินกล้วยเป็นของว่างระหว่างมื้อจะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของคุณซึ่งสามารถช่วยลดอาการ morning sickness ได้

_______________________________________________________________________________
การปรับปรุงพันธุ์

การปรับปรุงพันธุ์กล้วย คือการทำให้เกิดการพัฒนาทางพันธุกรรม เพื่อให้สามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้ ซึ่งมีหลายวิธี โดยอาจเกิดเองตามธรรมชาติ เช่น การผสมข้ามสายพันธุ์โดยแมลง นก ค้างคาว เป็นต้น หรือเกิดการกลายพันธุ์เนื่องจากอากาศแปรปรวน หากต้นที่เกิดขึ้นแข็งแรงดีก็ จะมีชีวิตรอดอยู่ได้ (natural selection) หรืออาจเกิดจากมนุษย์ที่จะผสมพันธุ์กล้วยให้มีลักษณะตามที่ต้องการ หรือเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้วิธีต่างๆ ได้แก่ การใช้สารเคมี ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนโครโมโซมขึ้นเป็นเท่าตัว การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครโมโซมเป็นแห่งๆ (point mutation) จากเดิมที่มีลักษณะไม่ต้านทานโรค เปลี่ยนเป็นต้านทานโรค ซึ่งเป็นสิ่งที่ ต้องการ การใช้รังสี การกลายพันธุ์ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการปรับปรุงโดยใช้การตัดต่อทางพันธุกรรม
การปรับปรุงพันธุ์กล้วยส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้วิธีทำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้ทั้งรังสีและสารเคมี อย่างเช่น การใช้รังสีแกมมาปรับปรุงพันธุ์กล้วยหอมทอง พบว่าได้ต้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม 2n เป็น 66, 34 และ 36 แต่เมื่อทดลองปลูกในแปลง เกิดน้ำท่วมทำให้ต้นตายในขณะที่ต้นยังเล็กอยู่ จึงยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ นอกจากพบว่าต้นที่มีโครโมโซม 66 มีใบหนา และการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไข่โดยใช้รังสีแกมมา พบว่าต้นที่ฉายรังสีที่ 10 เกรย์ ให้ผลกล้วยขนาดสั้นลงเล็กน้อย ก้านผลยาวขึ้น การจัดเรียงของผลในหวีเป็นระเบียบ และที่ 20 เกรย์ ได้ผลมีความยาวปกติ รูปร่างเรียว การเรียงตัวในหวีดี เหมาะกับการทำส่งออกเพราะการบรรจุกล่องสามารถบรรจุได้มาก ทำให้ ใช้ประโยชน์ของผลกล้วยต่อเครือได้มาก ต้นใหม่ทั้งสองที่ได้ให้ชื่อว่า เกษตรศาสตร์บานาน่า 1 และ 2 (ก.บ. 1 และ 2) ตามลำดับ
ส่วนการใช้สารเคมีนั้น ได้มีการใช้สารโคลชิซินกับกล้วยไข่ทำให้เพิ่มจำนวนโครโมโซมจาก 2n=22 เป็น 44 แต่พบว่าต้นที่ได้เจริญเติบโตช้า ตกผลช้ากว่าปกติมาก และ ผลผลิตน้อย ผลมีขนาดเล็กกว่าเดิม จึงไม่เหมาะที่จะทำการคัดเลือกต้นไว้ นอกจากนี้มีการใช้สารออริซาลิน (Oryzalin) ซึ่งเป็นยาฆ่าหญ้าชนิดหนึ่งกับกล้วยไข่ที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่าต้นที่ได้เจริญเติบโตช้ามาก ใบที่เกิดขึ้นค่อนข้างกลมเป็นมัน ก้านใบสั้น เหมาะทำเป็นไม้ประดับกระถาง จึงนำไปจดทะเบียนไว้ที่กรมวิชาการเกษตร และให้ชื่อว่า เบพ (BEP)
นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากการทดลองใช้รังสีและไม่ใช้รังสีกับกล้วยไข่ พบว่าต้นที่ไม่ใช้รังสีมีความผิดปกติของผิวเปลือกกล้วย ผิวต้นที่ไม่ได้ฉายรังสีมีความมันผิดปกติ น่าจะเป็นด้วยสารคิวตินเคลือบหนาขึ้น ต้นที่ได้นี้ให้ชื่อว่า เกษตรศาสตร์บานาน่า 3 (ก.บ.3)

งานวิจัยเกี่ยวกับกล้วย

งานวิจัยที่เกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์กล้วยเพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดีขึ้นทนสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกได้ดี หรือการเพิ่มปริมาณสายพันธุ์ที่มีอยู่ให้มากขึ้น เช่น งานวิจัยเรื่องการชักนำให้กล้วยเกิดการกลายและคัดพันธุ์เพื่อทนเค็ม โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพิ่มปริมาณต้นและการเจริญเติบโตของกล้วยหอมพันธุ์แกรนด์เนน โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ งานวิจัยที่ศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นกล้วยไข่ที่ปลูกเปรียบเทียบระหว่างหน่อพันธุ์กับต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการเพื่อดูแลผลผลิตหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์จากกล้วย เช่น การศึกษาเกี่ยวกับการรักษากล้วยหอมโดยบรรจุในถุงพอลิเอทิลีน การศึกษาวิธีการประวิงเวลาสุกหลังจากเก็บเกี่ยวของกล้วยหอมทอง การใช้สารเคมีบางอย่างในการทำกล้วยตาก การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยกวนเพื่อตลาดนักท่องเที่ยว พันธุ์กล้วยเพื่อการแปรรูปทำกล้วยทอดกรอบ ซึ่งนำกล้วยเก้าพันธุ์ มาทำเป็นกล้วยทอดกรอบแล้วเก็บรักษาในถุงปิดสนิทเพื่อดูคุณภาพ ซึ่งพบว่าเก็บได้โดยไม่มีกลิ่นหืน ประมาณหนึ่งเดือน และผู้บริโภคชอบกล้วยทอดกรอบที่ทำจากกล้วยไข่มากที่สุด
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันเป็นสถาบันที่รับผิดชอบในการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางอาหาร ซึ่งศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์จากกล้วย โดยแปรรูปกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร และเป็นการสร้างข้อมูลเพื่อนำไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ให้แก่ผู้สนใจ ตัวอย่างผลงานวิจัยของสถาบัน เช่น การพัฒนาการผลิตเครื่องดื่มทั้งที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์จากกล้วย การทำซอสกล้วยปรุงรส โดยศึกษากรรมวิธี การผลิต และการเก็บรักษา จากการใช้กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยหอมทอง ซึ่งพบว่า กล้วยน้ำว้าเหมาะสมที่สุด เพราะมีราคาถูกและเก็บไว้ได้นานโดยไม่แยกชั้น

_____________________________________________________________________________
กล้วยกับการรักษาโรค

กล้วย มีน้ำตาลธรรมชาติถึง 3 ชนิดเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซูโครส(Sucrose), ฟรุคโตส(Fructose) และ กลูโคส (Glucose) รวมไปถึงพวกไฟเบอร์หรือเส้นใยต่างๆ ซึ่งทำให้กล้วยกลายเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ที่ร่างกายสามารถนำมาใช้ได้ทันที จากการวิจัยพบว่า กล้วยเพียงแค่ 2 ลูกก็ให้พลังงานเพียงพอ 
    สำหรับการทำงานอย่างหนักเป็นเวลา 90 นาทีได้ ไม่น่าแปลกใจเลยที่กล้วยเป็นผลไม้คู่กายอันดับหนึ่งของพวกนักกีฬาชั้นนำระดับโลก นอกจากกล้วยจะให้พลังงานมากมายแล้ว กล้วยยังช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และเพิ่มความแข็งแรง สมบูรณ์ให้กับร่างกายของเราได้อีกด้วย อาทิเช่น โรคซึมเศร้า
      จากการสำรวจโดย MIND ในกลุ่มของผู้ที่มีอาการซึมเศร้า หลายๆคนรู้สึกดีขึ้นเมื่อทานกล้วยเข้าไป นี่เป็นเพราะว่ากล้วยมีส่วนประกอบของ Tryptophan ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายของเราจะเปลี่ยนให้เป็น Serotonin ที่รู้จักกันดีว่าจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น    

PMS (Premenstrual Sysdrome - อาการแปลกๆที่ผู้หญิงเป็นก่อนมีประจำเดือน)
    ลืมการกินยาไปได้เลย - กินกล้วยกันดีกว่า กล้วยมีส่วนประกอบของวิตามิน B6 ที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของคุณให้คงที่ ซึ่งมีผลไปถึงอารมณ์ของคุณด้วย
โรคโลหิตจาง
    กล้วยมีธาตุเหล็กอยู่มาก ทำให้มันสามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยรักษาอาการโลหิตจางได้
โรคเกี่ยวกับความดันโลหิต
    กล้วยมีโปแตสเซียม (Potassium) สูงมากในขณะที่มีเกลือต่ำ ทำให้มันเป็นผลไม้ที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการกับความดันเลือด มันให้ผลดีขนาดที่ว่า องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกายอมให้โรงงานผลิตกล้วยกล่าวอ้างได้ว่ากล้วยช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตได้
 
ยุงกัด
        ก่อนที่จะไปหยิบเอายาทายุงกัดมาใช้ ลองเอาผิวด้านในของเปลือกกล้วยมาถูๆบริเวณที่ยุงกัดดู หลายคนพบว่ามันช่วยลดอาการบวมและคันได้อย่างไม่น่าเชื่อ (wow!!)

พลังสมอง
    นักเรียนกว่า 200 คนของโรงเรียน Twickenham กินกล้วยพร้อมอาหารเช้า ช่วงพัก และอาหารกลางวันเพื่อช่วยเพิ่มพลังสมองในการสอบของปีที่ผ่านมา จากการวิจัยพบว่ากล้วยซึ่งอุดมไปด้วยโปแตสเซียมนี้ช่วยให้นักเรียนรู้สึกตื่นตัวมากขึ้นทำให้เรียนได้ดีขึ้นในที่สุด (wow!!)


โรคท้องผูก
    กล้วยมีไฟเบอร์สูงช่วยให้ลำไส้ใหญ่ของเรากลับมาทำงานได้เป็นปกติโดยไม่ต้องพึ่งพาพวกยาถ่ายต่างๆอีกต่อไป

อาการแฮงค์ (เมาค้าง)
          หนึ่งในวิธีรักษาอาการแฮงค์ให้เร็วที่สุดก็คือการกิน Banana milkshake ผสมน้ำผึ้ง กล้วยช่วยให้กระเพาะอาหารของเรากลับมาอยู่ในสภาพปกติ น้ำผึ้งช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และนมจะช่วยเพิ่มน้ำให้กับร่างกายของคุณได้ด้วย    

อาการเจ็บเสียดหน้าอก
    กล้วยช่วยให้เกิดปฏิกริยาในร่างกายที่จะไปหักล้างพวกกรดในกระเพาะอาหารที่มีเยอะเกินไปได้ (กรดพวกนี้แหละที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บเสียดที่หน้าอก) การกินกล้วยจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดนี้ได้

Morning Sickness (อาการคลื่นไส้และอาเจียนเวลาตื่นนอนตอนเช้า จะเป็นมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ระยะแรก)
    การกินกล้วยเป็นของว่างระหว่างมื้อจะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ ซึ่งสามารถช่วยลดอาการ morning sickness ได้

ระบบประสาท
    กล้วยมีวิตามิน B สูงซึ่งมีช่วยในการทำงานของระบบประสาทของเรา
 
น้ำหนักเกินเพราะการทำงาน
        จากการศึกษาของสถาบันด้านจิตวิทยาในออสเตรียพบว่าความกดดันที่เกิดจากการทำงานนำไปสู่พฤติกรรมการกินที่ไม่ดี เช่น ช็อคโกแลตและมันฝรั่งทอด เมื่อพิจารณาผู้ป่วยกว่า 5000 คน นักวิจัยพบว่าคนที่เป็นโรคอ้วนส่วนใหญ่ทำงานที่มีความกดดันสูง รายงานนั้นสรุปว่าถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการกินอย่างไม่ยั้งคิด เราต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยเลือกทานของว่างที่มีคาร์โบไฮเดรตเยอะๆ ทุกสองชั่วโมง ... จะอะไรซะอีก...ก็ "กล้วย" ไง

โรคแผลในกระเพาะอาหาร
    กล้วยเป็นอาหารที่ใช้ต่อสู้กับอาการผิดปกติต่างๆในระบบทางเดินอาหารได้เนื่องจากกล้วยมีผิวสัมผัสที่นุ่มและลื่น กล้วยเป็นผลไม้ชนิดเดียวที่สามารถทานได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ที่เป็นแผลเรื้อรัง กล้วยยังช่วยปรับภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหารให้กลับสู่ปกติได้ รวมทั้งช่วยลดอาการระคายเคืองเพราะกล้วยจะช่วยเคลือบผิวของกระเพาะอาหารได้
    ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
หลายๆท้องถิ่นเห็นว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่ช่วยทำให้ทั้งอุณหภูมิร่างกายและอารมณ์ของคนที่กำลังจะเป็นแม่เย็นลงได้ ในประเทศไทย ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์มักจะทานกล้วยเพื่อให้แน่ใจว่าลูกของพวกเธอจะเกิดมาด้วยอุณหภูมิที่เย็น

Seasonal Affective Disorder (SAD)
         กล้วยช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้เพราะมันมีสารประกอบ Tryptophan ที่ช่วยในการควบคุมอารมณ์
การสูบบุหรี่
       กล้วยยังสามารถช่วยคนที่ต้องการเลิกบุหรี่ได้ด้วย กล้วยมีวิตามิน B6 และ B12 รวมไปถึงโปแตสเซียมและแมกนีเซียมที่ช่วยในการฟื้นฟูร่างกายจากผลของการเลิก นิโคตินได้    

ความเครียด
    โปแตสเซียม คือ วิตามินแห่งชีวิต มันช่วยให้หัวใจเต้นเป็นปกติ ช่วยในการส่งออกซิเจนไปยังสมอง และยังช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายด้วย เมื่อเราเครียด อัตราการเผาผลาญพลังงานของเราจะเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้ระดับโปแตสเซียมในร่างกายลดลง ปัญหานี้แก้ได้โดยการทานกล้วยซึ่งมีโปแตสเซียมอยู่เยอะ

โรคเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน (Stroke)
    จากการวิจัยของ The New England Journal of Medicine พบว่าการกินกล้วยเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงของการตายเพราะเส้นเลือดอุดตันได้ถึง 40 %

    นับว่ากล้วยมีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคต่างๆมากมายแค่ไหน ถ้าเทียบกับแอปเปิ้ลแล้ว กล้วยให้โปรตีนมากกว่าถึง 4 เท่า ให้คาร์โบไฮเดรตมากกว่า 2 เท่า ให้ฟอสฟอรัสเป็น 3 เท่า ให้วิตามิน A และธาตุเหล็กมากถึง 5 เท่า รวมไปถึงให้วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆมากกว่าถึง 2 เท่า
    นอกจากนี้กล้วยยังมีโปแตสเซียมสูงและเป็นผลไม้ที่ให้คุณค่ามากที่สุดอย่างหนึ่ง ดังนั้นมันอาจจะถึงเวลาแล้วที่เราจะเปลี่ยนประโยคยอดฮิตอันหนึ่งให้กลายเป็น "A banana a day keeps the doctor away!"


กล้วยน้ำว้า

ชื่อท้องถิ่น    กล้วยมณีอ่อง (ภาคเหนือ) กล้วยทะนีอ่อง (อีสาน) กล้วยอ่อง , มะลิอ่อง กล้วยใต้
ชื่อวิทยาศาสตร์    Musa ABB group (triploid) cv. 'Namwaa'
วงศ์    MUSACEAE
ชื่อสามัญ    Banana
ลักษณะ   กล้วยเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ส่วนลำต้นบนดินเกิดจากกาบใบมาหุ้มซ้อนกันเป็นลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่และยาว ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ท้องใบมีสีนวล ดอกออกเป็นช่อเรียกว่า หัวปลี แต่ละช่อย่อยประกอบด้วยใบประดับขนาดใหญ่มีมีสีม่วงแดงหุ้มอยู่   ผลรวมกันเป็นเครือแต่ละเครือจะมีหวีหลายๆ อันมารวมกัน
การขยายพันธุ์   หน่อ โดยใช้หน่อปลูกในหลุมที่เตรียมไว้
ส่วนที่นำมาเป็นยา   ผล ปลี เหง้า ยาง
สารเคมีที่สำคัญ   ประกอบด้วย สารแทนนิน และสารพวกโมโนเอมีน เช่น สารซีโรโทนิน
สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้      ใช้รักษาอาการท้องเดิน :   โดยใช้กล้วยดิบทั้งเปลือก ฝานบาง ๆ ผึ่งลมให้แห้ง ใช้รับประทาน ครั้งละ 1/2 - 1 ผล
   ยาระบาย:   ผลกล้วยสุกงอมรับประทานก่อนนอนครั้งละ 2 ผล ติดต่อกัน หลายๆ วัน จะช่วยระบาย
   ยาแก้ท้องเสีย:   ผลกล้วยห่าม รับประทานครั้งละ 2 ผล เมื่อเกิดอาการท้องเสียเล็กน้อย หากถึงระดับท้องร่วงที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ให้ใช้กล้วยดิบ 1 ผล หั่นเป็นแว่น ตากแห้ง บดเป็นผง ชงน้ำร้อนดื่ม
   ห้ามเลือด:  ใช้ยางกล้วยจากก้านใบ หยอดลงใส่แผลห้ามเลือดได้
   ขับปัสสาวะ:  เหง้าหรือลำต้นใต้ดินของต้นกล้วย ใช้ 1 กำมือล้างน้ำให้ สะอาด นำมาต้มกับน้ำให้เดือด 5 -10 นาที ดื่มแต่น้ำวันละ 4 ครั้ง
   โรคกระเพาะ:  นำผลกล้วยดิบมาฝานเป็นแว่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้งบดเป็นผงชงดื่มกับน้ำต้มสุก รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงและก่อนนอน
   บำรุงน้ำนม:  ใช้หัวปลี แกงเลียง รับประทานหลังคลอด
   ส้นเท้าแตก:  ใช้เปลือกกล้วยสุก เมื่อรับประทานเนื้อแล้วใช้ส่วนที่ติดกับเนื้อ ทาถูบริเวณส้นเท้า วันละ 4 - 5 ครั้ง ทำติดต่อกัน 4 - 5 วัน รอยแตกจะหายไป

_____________________________________________________________________________
การปลูกกล้วยน้ำว้า
    การปลูกกล้วยน้ำว้ากล้วยเป็นพืชเมืองร้อนชนิดหนึ่งถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้   เป็นพืชที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีมากที่สุด เพราะสามารถใช้ทุกส่วนของต้น ผล

สามารถใช้รับประทานผลสุกและประกอบอาหารได้มากชนิด รวมทั้งผลิตภัณฑ์สามารถส่งขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ถ้าหากมีการปรับปรุงคุณภาพให้ดีกว่าเดิม และมี

การเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จะสามารถทำรายได้ให้ประเทศได้มาก กล้วยมีหลายชนิด    ที่รู้จักกันดีและปลูกกันแพร่หลายในบ้านเรา ได้แก่

กล้วยน้ำว้า กล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายขึ้นได้ในที่ทั่วไป โดยเฉพาะอากาศร้อนชื้นและบริเวณที่มีดินฟ้าอากาศสม่ำเสมอจะสามารถเจริญเติบโตติดต่อกันไป   และตกเครือตลอดทั้งปี
    กล้วยน้ำว้าเป็นพืชบ้านที่ทุกคนรู้จักดี ปลูกง่ายโตเร็ว.. ออกดอกผล ให้แล้วก็จากไปพร้อมกับทิ้งทายาทใหม่ ขยายพันธุ์มากมาย กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้ เป็นผัก เป็น

อาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง ส่วนต่าง ๆ ของกล้วยใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น อาหารสัตว์ เป็นภาชนะ เป็นวัสดุอุปกรณ์ เป็นของเล่น และเป็นส่วนสำคัญในพิธีกรรม

หลายอย่าง
     ชื่อสามัญ                Pisang Awak
    ชื่อพ้อง                  กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ กล้วยอ่อง
    ชื่อวิทยาศาสตร์    Musa (ABB group) "Kluai Nam Wa"
    แหล่งที่พบ             พบได้ทุกภาคของไทย
ลักษณะทั่วไป
    กล้วยทุกสถานะไม่ว่าดิบ ห่าม หรือสุก สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลายรูปแบบ และรสชาติความอร่อยที่ไม่ซ้ำแบบกัน กล้วยน้ำว้าสุกงอม ครูดใช้เป็นอาหาร เริ่ม

ต้นที่ดีสำหรับทารก เพราะย่อยง่าย ช่วยระบายท้อง กล้วยดิบ และห่ามใช้แกงคั่ว ฉาบ ปิ้ง นึ่ง ทอด อบ กวน เชื่อม กล้วยสุกมักนำมาทำเป็นของหวาน เช่น กล้วย บวดชี กล้วยแขก

กล้วยตาก ขนมกล้วย นอกจากนี้ส่วนที่เป็นดอก ของกล้วยที่เรียกว่า หัวปลี สามารถนำมาแกงเลียงใช้เป็นอาหารบำรุงน้ำนมสำหรับหญิงหลังคลอด ใส่ต้มข่า ต้ำยำ ยำหัวปลี ลวก

และเผาจิ้มน้ำพริก และใช้เป็นเครื่องเคียง ผัดไทย ผัดหมี่ เต้าเจี้ยวหลน กะปิหลน ขนมจีนน้ำพริก ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยยิ่งขึ้น 
    กล้วยน้ำว้าเป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 2-5 เมตร ชอบอากาศร้อนชื้นและอบอุ่น อุณหภูมิที่เหมาะไม่สมควรต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศา

เซลเซียส อุณหภูมิที่ต่ำทำให้กล้วยแทงปลี(การออกดอก) ช้า ควรมีความชื้นสัมพัทธ์อย่างน้อย 60% ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 200-220 มม./เดือน ส่วนดินที่เหมาะสมควรเป็นดินที่มี

ความสมบูรณ์ การระบายน้ำดี และหมุนเวียนอากาศดี มีความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4.5-7 แต่ที่ดีควรอยู่ในระดับ 6 ซึ่งจะพบทั่วๆไป ในพื้นที่แถบเอเชีย แต่ถ้าพื้นที่นั้นมีอากาศ

ร้อนยาวนาน แต่มีการชลประทานที่ดี คือ มีน้ำสม่ำเสมอจะสามารถปลูกกล้วยได้ดี และให้ผลผลิตสม่ำเสมอ กล้วยน้ำว้าจะใช้ระยะเวลาการปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลใช้ระยะเวลาประมาณ1

ปี จำนวน 10 หวี/เครือ ตั้งแต่ปลูกจนถึงแทงปลีใช้ระยะเวลา 250-260 วัน แทงปลีถึงระยะเก็บเกี่ยว 110-120 วัน
   ต้น ลำต้นสูงไม่เกิน 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวอ่อน มีประดำบ้างเล็กน้อย
    ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว
    ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายป้าน ด้านนอกสีแดงอมม่วงมีนวลหนา ด้านในมีสีแดงเข้ม
    ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 - 10 หวี หวีหนึ่ง มี 10 - 16 ผล ก้านผลยาว เปลือกหนา สุกมีสีเหลืองเนื้อสีขาว รสหวาน ไส้กลางมีสีเหลือง ชมพูหรือขาว ทำให้แบ่งออกเป็น

กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้าแดง และกล้วยน้ำว้าขาว

คุณค่าทางอาหารและยา
        กล้วยน้ำว้าเมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิต

จาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กิน

กล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ ๔-๖ ลูก แบ่งกิน

กี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน ๑ สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการ

ท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ ๑ ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย

การคัดเลือกพันธุ์ปลูก
         กล้วยขนาดพันธุ์โดยใช้หน่อ    หน่อมีอยู่   3 ชนิด  ได้แก่
                1. หน่ออ่อน     เป็นหน่อที่มีอายุน้อยมาก  ยังไม่มีใบ
                2. หน่อใบแคบ  เป็นหน่อที่มีใบบ้าง  แต่ใบเรียวเล็ก  ชาวบ้านเรียกว่า  หน่อดาบ
                3. หน่อใบกว้าง  เป็นหน่อที่มีใบบาง  เป็นใบโตกว้างคล้ายใบจริงส่วนมากเป็นหน่อที่เกิดจากตา
                                          ของเหง้าที่อยู่ใกล้ผิวดิน   
   หน่อที่ควรเลือกควรเป็นหน่อใบแคบที่เกิดชิดโคนต้นแม่ เลือกหน่อที่มีลักษณะอวบสมบูรณ์  ซึ่งจะเป็นต้นกล้วยที่แข็งแรงให้ผลผลิตที่ดีต่อไปข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ

 หน่อที่แข็งแรงควรจะมีเหง้าอยู่ใต้ดินรากลึก  ส่วนหน่อที่โผล่ลอยอยู่บนผิวดินนั้นเป็นหน่อที่ไม่แข็งแรง ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นจริงๆ  ไม่ควรเลือกหน่อเหล่านี้
            เมื่อเลือกหน่อที่ดีได้แล้ว ในการแยกหน่อออกจากต้นแม่ควรกระทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้ช้ำ เวลาขุดหน่อไม่ควรโยกหน่อให้กระเทือน  เมื่อขุดหน่อขึ้นมาแล้วใช้มีด

ตัดรากออกให้เกลี้ยง  เพื่อให้รากใหม่แตกออก มาแทนรากเก่า ซึ่งจะทำให้แข็งแรงหน่อที่ได้ถ้ามีใบมากเกินไป  หรือมีใบที่เสียหาย  ก็ควรตัดแต่งเอาใบที่เสียหายหรือมากเกินไป

ออก บางครั้งถ้าหน่อสูงมากเกินไป ก็สามารถจะเฉือน  ทอนลำต้นลงได้  แต่ควรกระทำก่อนแยกหน่อออกจากต้นแม่  หน่อที่แยกออกจากต้นแม่นี้  สามารถนำไปปลูกได้ทันที  แต่

ถ้ายังไม่พร้อมที่จะปลูก  ควรนำมาไว้ในร่มและชื้นก่อน
เคล็ดลับในการปลูกกล้วยน้ำว้า
         1. การปลูกกล้วยในฤดูฝนควรพูนดินกลบโคนต้นให้สูงไว้เพื่อป้องกันน้ำขัง ส่วนในการปลูกในฤดูอื่นๆ  ไม่ควรพูนดินกลบโคนให้สูงนัก  เพราะไม่ต้องการให้น้ำไหลออก
            2. ถ้าต้องการให้กล้วยออกปลีไปทิศทางเดียวกันควรหันรอยแผลที่เกิดจากการแยก
ขั้นตอนการเตรียมดิน
                 1.ขุดหลุมกว้างประมาณ  50  เซนติเมตร  ลึกประมาณ  50  เซนติเมตร
                2. ระยะระหว่างหลุม  2.5 x 3 เมตร , 2.5 x 2.5 เมตร   จำนวนต้นเฉลี่ย 200 ต้น/ไร่ , 250 ต้น/ไร่
                3. นำดินบนวางข้างหลุมด้านหนึ่ง     ส่วนดินล่างวางข้างหลุมอีกข้างหนึ่ง
                4. ผสมดินปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟส จำนวน 50 กรัม  เข้าด้วยกันในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
                         
วิธีการปลูก
     1. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
    2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 ซม.
    3. ผสมดินปุ๋ยคอกเล็กน้อย วางหน่อกล้วยลงในหลุม
    4. กลบดินที่เหลือลงในหลุม
    5. กดดินบริเวณโคนหน่อกล้วยให้แน่น
    6. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมโยก
    7. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่นฟางข้าว หญ้าแห้ง
    8. รดน้ำให้ชุ่ม

การใส่ปุ๋ย
                     การใส่ปุ๋ยมีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยมาก   กล่าวคือจะช่วยให้ลำต้นอวบแข็งแรง
ตกเครือเร็วและได้ผลโต   การเจริญเติบโตของกล้วยแบ่งออกเป็น  3   ระยะ  คือ
                     ระยะที่  1  เริ่มนับตั้งแต่ต้นกล้วยตั้งตัวหลังการปลูก  ระยะนี้เป็นเวลาที่ต้นกล้วยต้องการ
                                     อาหารมากเครือหนึ่ง ๆ   จะมีกล้วยกี่ผลนั้น  อยู่ที่ความสมบูรณ์ของดินระยะนี้ 
                     ระยะที่  2  อยู่ในระหว่างหลังตั้งตัวได้จนถึงก่อนตกเครือเล็กน้อย  ระยะนี้กล้วยไม่ใช้อาหาร
                                     มากอาหารต่าง ๆ   จะถูกใช้โดยหน่อที่แตกขึ้นมา
                        ระยะที่  3  เป็นระยะที่แก่  เป็นที่ระยะที่กล้วยต้องการมากเหมือนกัน   เพื่อนำไปบำรุงผล
                                    ให้โตขึ้น 
    ต้นกล้วยต้องมีอาหารสำรองอยู่มาก ๆ   จึงจะสามารถให้กล้วยเครือโต ๆ  ได้จากระยะการเจริญเติบโตดังกล่าว  ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก็ได้หรืออาจจะใช้ปุ๋ย

เคมีชนิดที่ใช้กับไม้ผลทั่วไป  เช่น สูตร 15 – 15- 15, 13 - 13  -21 ฯลฯ   โดยใส่ต้นละ 1 กิโลกรัม   โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ดังนี้
       ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์
       ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน
       ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน
       ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน
การให้น้ำ
                      กล้วยเป็นพืชที่มีใบใหญ่   ลำต้นอวบน้ำ  ต้องการน้ำตลอดปีมากกว่าพืชอื่น โดยเฉพาะในฤดูแล้งซึ่งขาดน้ำ  และเนื่องจากรากที่ใช้หาอาหารส่วนใหญ่แผ่กระจายอยู่

ใกล้กับผิวหน้าดิน จึงไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งเป็นอันขาด ถ้าผิวหน้าดินแห้งแล้วจะทำให้ผลผลิตตกต่ำลงอย่างมากมาย
                     ในบ้านเราส่วนมากดินมีความชุ่มชื้นสูงอยู่แล้ว  จึงมักไม่ค่อยมีปัญหาโดยเฉพาะบางแห่งนิยมปลูกกล้วยแบบยกร่อง    แล้วปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแถวปลูก 

ซึ่งนอกจากจะทำให้น้ำซึมผ่านผิวดินลงไปถึงดินล่างแล้วยังทำให้บริเวณรอบ ๆ  ต้นเย็นและชุ่มชื้นอีกด้วย

การตัดแต่งหน่อ
     การตัดแต่งหน่อ หลังจากปลูกประมาณ 3 - 4 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบๆ โคน ให้ตัดไปเรื่อยจนกว่าจะเริ่มออกปลี จากนั้นก็ให้ไว้สัก 1 - 2 หน่อ โดยหน่อที่ 1 และ ที่ 2

ควรมีอายุห่างกันประมาณ 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม
    การตัดแต่งใบ ควรทำการตัดแต่งช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่และใบที่เป็นโรคออก ตัดให้เหลือประมาณ 7 - 12 ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี

เพื่อใช้ใบปรุงอาหาร และเพิ่มความเจริญ เติบโตของผลกล้วย

การให้ผล
               โดยทั่วไปแล้วกล้วยมกจะออกปลีเมื่ออายุราว  8  เดือน
  ถึง  1  ปี นับตั้งแต่วันปลูก   กล้วยไข่  กล้วยหอม  กล้วยน้ำว้า 
ต่างก็ออกปลีในระยะใกล้เคียงกันเมื่อหน่อที่ใช้ปลูกมีขนาดเท่าๆ กัน
 โดยกล้วยไข่มักจะออกเครือก่อน  ตามด้วยกล้วยน้ำว้า และกล้วย
หอมออกล่าที่สุดก่อนที่กล้วยจะแทงปลี    จะสังเกตเห็นว่า กล้วย
จะแทงใบที่มีลักษณะต่างกับใบปกติของกล้วย คือมีขนาดเล็กกว่า
และมักจะชี้ตรงขึ้นท้องฟ้า  เราเรียกกันว่า "ใบธง"  เพื่อเป็นสัญญาณ
ว่า กล้วยจะออกปลี ซึ่งปลีจะโผล่พ้นตายอด แล้วจะเริ่มทยอยบาน
เห็นดอกกล้วย (หวีกล้วย) ไล่เวียนลงมา  ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นหวีกล้วยต่อไป
       ในที่สุดปลีจะบานถึงดอกกล้วยหรือหวีกล้วย  ซึ่งมีขนาดเล็กไม่สมบูรณ์อยู่ส่วนปลายของปลี ซึ่งเรา
เรียกว่า  "หวีตีนเต่า"  ซึ่งทั้งหมดนี้จะใช้เวลาประมาณ  10 - 17  วัน หลังจากตกปลี  เมื่อถึงระยะนี้แล้ว  ควรที่จะตัดปลีออก  เพื่อให้ความเจริญเติบโตแก่หวีกล้วยได้อย่างเต็มที่ 

และจนถึงระยะที่จะตัดไป ใช้บริโภคหรือส่งจำหน่ายได้
                กล้วยเครือหนึ่งๆ จะมีหวีสมบูรณ์ประมาณ  4 - 6  หวี  หวีละ 10 - 16  ผล  เฉลี่ยแล้ว   ในเครือหนึ่งมี  70  ผล  ดังนั้นในเนื้อที่  1  ไร่  ถ้าปลูก  64  ต้น  จะได้กล้วยปะ

มาณ  4,380  ผล

การกำจัดวัชพืช
   การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปลูกกล้วยมาก  โดยเฉพาะพืชใบแคบจะแย่งอาหารเก่ง  ทำให้กล้วยได้รับอาหารไม่เต็มที่  การเจริญเติบโตจะไม่ดี   แต่ในการกำจัด

วัชพืชโดยวิธีการพรวนดิน     ไม่สมควรกระทำเพราะรากกล้วยมีระบบการแผ่กระจายอยู่ใกล้กับผิวดินมาก  จึงควรเลี่ยงมาใช้การถากหรือถางวัชพืชจะดีกว่า ในการปลูกกล้วยเป็น

ส่วนใหญ่หากมีการปลูกพืชแซมในระหว่างแถว    หรือพืชคลุมดินตระกูลถั่วเช่น  ถั่วเขียว   เป็นพืชคลุมดินระหว่างแถวกล้วยแล้ว   นอกจากจะช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืช  ยังเป็น

การบำรุงดินอีกทางหนึ่งด้วย
การตัดแต่งหน่อกล้วย
                  เมื่อปลูกกล้วยได้ประมาณ 5 – 6 เดือน  หน่อใหม่จะเกิดขึ้นมาก่อนหน้าที่กล้วยจะตกเครือเล็กน้อยควรเลือกไว้เพียง 2 หน่อแรกก็พอ  เพื่อแทนต้นแม่เดิม  หน่อที่

เลือกควรอยู่ตรงข้ามกันของลำต้นเดิมหน่อพวกนี้มีรากลึกและแข็งแรง     ถือว่าดีที่สุด    ส่วนหน่อที่เกิดมาทีหลังเรียกว่า  “หน่อตาม”  ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นมาจะทำให้กล้วยเครือ

เล็กลงจึงควรทำลายเสีย
                 การทำลายหน่อกล้วย   สามารถกระทำได้โดยใช้มีดคว้านลำไส้ตรงกลางต้นออกแล้วหยอดน้ำมันก๊าดประมาณครึ่งช้อนชาลงไปจะทำลายหน่อนั้นได้   แต่หน่อที่เล็ก

มากยังไม่มีใบ  ปุ่มเจริญยังอยู่ใต้ดิน    น้ำมันก๊าดลงไปไม่ถึงอาจทำลายไม่หมด   หรืออาจใช้วิธีขุดหน่อออก   ซึ่งควรกระทำเฉพาะตอนที่กล้วยยังไม่ตกเครือเท่านั้น
เพราะถ้ากล้วยตกเครือแล้วจะทำให้กล้วย  “งัน”  ผลกล้วยจะเล็กลงได้
                นอกจากการดูแลรักษาต่างๆ   ดังกล่าวแล้ว    ควรตัดแต่งกิ่งเอาใบกล้วยที่แห้งเหลืองหรือเป็นโรคออกให้หมด เว้นไว้ต้นละไม่น้อยกว่า 7 – 8 ใบ  และเมื่อเครือจวนแก่

เก็บไว้เพียง 4 – 5 ใบ ก็พอ
 
การค้ำกล้วย
                เครือกล้วยที่หนักอาจดึงลำต้นให้โค้งงอจนถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ลำต้น  อาจถูกลมพัดทำให้เครือและ
ก้านเครือหักได้  ด้วยเหตุนี้จึงควรค้ำก้านเครือด้วยไม้เนื้ออ่อนที่เป็นง่ามในสวนขนาดใหญ่ควรมีไม้ค้ำจำนวนมากเตรียมไว้ให้พร้อม  และถ้าหากมีการปลูกไม้เป็นแนวกันลมไว้ก่อน 

จะตัดกิ่งมาทำเป็นไม้ค้ำก็ได้

 โรคกล้วย
   นอกจากแมลงซึ่งเป็นศัตรูแล้ว   กล้วยยังอาจเป็นโรคต่างๆ  อีกด้วย  เช่น
   1.   โรคตายพราย    เกิดจากเชื้อรา   มักจะเป็นกล้วยที่มีอายุ   4  -  5   เดือนขึ้นไปโดยจะเห็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือ

ขอบใบจะเริ่มเหลืองและขยายออกไปอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วใบ  ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้  หรือตายนิ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ  ใบยอดจะ

เหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรกต่อมาก็ตายไปเช่นกัน  กล้วยที่ติดเครือจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ  หรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามชืด บางกรณีใบกล้วยจะหักพับที่โคนใบโดย

ไม่แสดงอาการใบเหลือง หรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น   ถ้าตัดลำตันตามขวางจะพบเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดงและอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง
   การป้องกันและกำจัด
              1.   โรคนี้เป็นมากกับกล้วยน้ำว้าและกล้วยหอมทอง  ควรปลูกกล้วยไข่หรือกล้วยหักมุกแทน
              2.   ในพื้นที่ปลูกอย่าให้มีน้ำขังแฉะ   เพราะจะทำให้กล้วยเจริญได้ไม่เต็มที่  ทำให้อ่อนแอเป็นโรคง่าย
                    โดยเฉพาะดินที่เป็นกรด   จะต้องใช้ปูนขาวปรับสภาพดินให้เป็นกลางเสียก่อน
    3.  ตัดทำลายต้นที่มีเป็นโรคด้วยการเผาทิ้ง
    4.  ใส่ปุ๋ยที่มีแร่ธาตุฟอสเฟตและโปแตสเซียมสูง  และไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีแร่ธาตุไนโตรเจนมาก
    5.  คัดเลือกหน่อพันธุ์กล้วยจากแหล่งที่ไม่มีโรคนี้   หรืออย่างน้อยจากกอที่ไม่เป็นโรค

           2.โรคเหี่ยวของกล้วย เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะพบอาการเหี่ยวบนใบอ่อนๆของกล้วย  และมีอาการหักตรงก้านใบ  อาการเหี่ยวจะระบาดอย่างรวดเร็ว  หน่อกล้วยที่กำลัง

จะแตกยอดมีสีดำ  ยอดปลีแคระแกร็นและจะตายในที่สุด แสดงอาการคล้ายโรคตายพราย แต่เมื่อตัดดูลักษณะภายในลำต้นจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแดง  พบบริเวณไส้กลางต้นและจะ

ขยายไปยังกาบ  ก้านใบและไปยังเครือกล้วย ผล  หน่อ ตากล้วยจะเหลืองและตายไปในที่สุด  ภายในจะพบว่าเนื้อเยื่อเน่าตายเป็นช่องว่าง  เมื่อตัดกล้วยอ่อนที่เป็นโรคแช่ในน้ำ 

โรคกล้วยนอกจากแมลงซึ่งเป็นศัตรูแล้ว   กล้วยยังอาจเป็นโรคต่างๆ  อีกด้วย  เช่น
   โรคตายพราย   เกิดจากเชื้อรา มักจะเป็นกล้วยที่มีอายุ  4 - 5  เดือนขึ้นไป โดยจะเห็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบ

จะเริ่มเหลืองและขยายออกไปอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วใบ ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้  หรือตายนิ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ  ใบยอดจะเหลืองตั้งตรง

เขียวอยู่

    ในระยะแรกต่อมาก็ตายไปเช่นกัน  กล้วยที่ติดเครือจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด  เนื้อฟ่ามชืด  บางกรณีใบกล้วยจะหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดง

อาการใบเหลืองหรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น    ถ้าตัดลำตันตามขวางจะพบเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง  และอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง
   การป้องกันและกำจัด
              1.โรคนี้เป็นมากกับกล้วยน้ำว้าและกล้วยหอมทอง  ควรปลูกกล้วยไข่หรือกล้วยหักมุกแทน
                2. ในพื้นที่ปลูกอย่าให้มีน้ำขังแฉะ  เพราะจะทำให้กล้วยเจริญได้ไม่เต็มที่  ทำให้อ่อนแอเป็นโรคง่าย
                    โดยเฉพาะดินที่เป็นกรด  จะต้องใช้ปูนขาวปรับสภาพดินให้เป็นกลางเสียก่อน
                3. ตัดทำลายต้นที่มีเป็นโรคด้วยการเผาทิ้ง
               4.ใส่ปุ๋ยที่มีแร่ธาตุฟอสเฟตและโปแตสเซียมสูง  และไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีแร่ธาตุไนโตรเจนมาก
                5. คัดเลือกหน่อพันธุ์กล้วยจากแหล่งที่ไม่มีโรคนี้  หรืออย่างน้อยจากกอที่ไม่เป็นโรค

   3.โรคใบจุดของกล้วย เกิดจากเชื้อราหลายชนิด แต่ละชนิดอาการบนใบแตกต่างกันดังนี้
                     3.1 ลักษณะอาการเป็นขีดสีน้ำตาลแดงสั้นๆ ขนานไปกับเส้นใบ  บางครั้งจะกระจายไปทั่ว
ทั้งใบและขยายไปทางกว้าง ทำให้เกิดอาการใบจุดและผลลามติดต่อกันทำให้เกิดอาการใบไหม้ โดยมาก
เกิดจากริมใบเข้าไป  แผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบผลมีสีน้ำตาลเข้ม  พบทุกระยะการเจริญเติบโต   โดยมาก
เป็นกับกล้วยน้ำว้าทำให้จำนวนหวีน้อยลง   ขนาดผลเล็กลง
                การป้องกันและกำจัด    ตัดใบกล้วยที่เป็นโรคนำไปเผาไฟทิ้งและฉีดพ่นด้วยสารเคมี  ค็อปเปอร์  อ็อกซีคลอไรด์  ผสมสารจับใบฉีดพ่น 2 - 3 ครั้งต่อเดือนหรือใช้สาร

เคมีแมนโคเซบหรือเบนโมมิลผสมไวท์ออยย์   ฉีดพ่น
                      3.2 ลักษณะอาการใบจุดรูปไข่สีน้ำตาล มักเกิดกับกล้วยไข่  บนใบจะเห็นแผลมีลักษณะรูปไข่สีน้ำตาลอ่อนปนเทา  ถัดเข้ามาเส้นวงสีน้ำตาลเข้ม   และมีวงสีเหลือง

ล้อมรอบแผลอีกชั้นหนึ่ง  การแผ่ขยายของแผลจะเป็นไปตามความยาวของเส้นใบ
                 การป้องกันและกำจัด   ตัดใบที่เป็นโรคออกจากแปลงแล้วทำลายทิ้งและฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซบ   หรือแคบแทน
   3.3 ลักษณะอาการใบจุดกลมรี  ทั้งขนาดเล็ก - ใหญ่  แผลสีน้ำตาล  ขอบแผล มีสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบด้วยบริเวณสีเหลือ  ตรงกลางแผลมีส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราสีดำ

เกิดเรียงเป็นวง   มักเป็นกับกล้วยน้ำว้า
    การป้องกันและกำจัด   ให้ตัดใบกล้วยที่เหี่ยวแห้งคาต้นไปเผาไฟทิ้งและฉีดพ่นด้วยสารเคมี  แมนโคเชบ
 
   4.    โรคยอดม้วน  เกิดจากเชื้อไวรัส  พาหนะนำเชื้อคือ เพลี้ย  เชื้อโรคจะแพร่กระจายติดไปกับหน่อหรือส่วนขยายพันธุ์ต่างๆ อาการที่พบ คือในระยะแรกๆ จะปรากฏ

รอยขีดสีเขียว และจุดเล็กๆ    ตามเส้นใบและก้านใบ  ใบถัดๆ ไปจะมีขนาดเล็กลงสีเหลือง  ใบม้วนที่ปลาย   
    เมื่อโรคนี้ระบาดมากขึ้นต้นกล้วยจะแคระแกร็น    ใบขึ้นร่วมกันเป็นกระจุกดอกและปลีของต้นที่เป็นโรคเจริญเติบโตอย่างช้าๆ  เมื่อเกือบจะโผล่จะพองโตขึ้น  บางคราว

เมื่อโผล่ออกมาที่ยอด ทำให้ยอดปริ   เครือเล็กจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ถ้าต้นกล้วยเป็นโรคทุกๆหน่อที่เกิดมาก็จะเป็นโรคด้วย
                 การป้องกันและกำจัด  ทำลายส่วนต่างๆ ของต้นที่เป็นโรค หรือกอที่สงสัยจะเป็นโรค   โดยสังเกตจากอาการดังกล่าวข้างต้น

แมลงศัตรูกล้วย
   แมลงศัตรูกล้วยที่สำคัญ    ได้แก่
   ด้วงงวงไชเหง้า  ด้วงชนิดนี้ในระยะที่เป็นหนอนทำความเสียแก่ต้นกล้วยมากที่สุดตัวแก่จะทำความเสียหายเหมือนกันแต่น้อยกว่าตัวหนอนจะเจาะกินไชชอนอยู่ภายใน

เหง้ากล้วยซึ่งโดยมากกินอยู่ใต้ระดับดินโคนกล้วยซึ่งไม่สามารถมองเห็นการทำลายหรือร่องรอยได้ชัด   การทำลายของหนอนทำให้ระบบส่งน้ำและอาหารจากพื้นดินขึ้นไปเลี้ยงลำ

ต้นขาดตอนชะงักไปเมื่อเป็นมากๆหรือแม้มีหนอนเพียง 5 ตัวในเหง้าหนึ่งๆเท่านั้น   เหง้าจะถูกไชชอนลำต้นจะเน่าเหม็นลมตายไปในที่สุด 
    ด้วงชนิดนี้มีพบทำลายกล้วยทุกระยะตั้งแต่หน่อไปจนถึงต้นแก่ภายหลังตัดเครือแล้ว    ตัวหนอนเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าเป็นดักแด้จนเป็นตัวแก่จะออกมาอยู่นอก

เหง้าแถวโคนต้นในระดับชิดถึงดินหรือต่ำกว่าเล็กน้อย หรือรอผสมพันธุ์กันต่อไป
       การป้องกันและกำจัด  ทำความสะอาดสวนอย่าปล่อยให้รกรุงรังโดยเฉพาะเศษชิ้นส่วนของลำต้นกล้วย กาบกล้วย ซึ่งเน่าเปื่อยชื่นแฉะแถว โคนต้น เป็นที่วางไข่ของตัว

เมียหรืออาจใช้วิธีตัดต้นกล้วยเป็นท่อนๆ  วางสุมเป็นจุดๆ  ในสวนเพื่อล่อให้แมลงมาวางไข่ประมาณ   7   วันต่อครั้ง ให้เปิดตรวจดูในเวลากลางวัน    ถ้าพบตัวอ่อนหรือตัวแก่ให้

ทำลายโดยการใช้สารฆ่าแมลง  เช่น  เฮ็พตาคลอร์  ผสมตามสูตรที่ระบุในฉลากยาราดส่วนโคนต้นและบริเวณดินรอบโคนต้น สำหรับหน่อพันธุ์ควรเลือกหน่อที่แข็งแรงไม่มีโรคแมลง

ติดอยู่และแช่ในน้ำยาดีลดริน  25%  ในอัตราส่วนผสมคือ น้ำยา  1  ส่วนต่อน้ำ  50  ส่วน  แล้วแช่หน่อพันธุ์ทิ้งไว้  1  คืนก่อนนำไปลูก
    ด้วงงวงไชต้น  ด้วงงวงไชกาบกล้วย  ด้วงชนิดนี้เป็นศัตรูร้ายแรงพอ ๆ กับด้วงงวงไชเหง้า  ตัวหนอนจะไชทำลายต้นที่อยู่เหนือผิวดิน ขึ้นไปประมาณกลางต้น โดยไชต้น

เป็นรูแล้วชอนเข้าไปถึงไส้กลางต้น มองเห็นข้างนอกเป็นรอยรอบต้นพรุนไปทั่วมักชอบทำลายต้นกล้วยที่โตแล้ว หรือใกล้จะออกปลี หรือกำลังตกเครืออยู่จะทำให้เครือหักพับกลาง

ต้นหรือเหี่ยวเฉายืนตาย
               การป้องกันและกำจัด   เช่นเดียวกับด้วงงวงไชเหง้า
    หนอนม้วนใบ  เป็นศัตรูสำคัญรองจากด้วง  2  ชนิดดั้งกล่าวแล้ว โดยตัวหนอนจะกัดกินใบจากริมแหว่งเข้าเป็นทางยาวและม้วนตัวอยู่จนกระทั่งเข้าดักแด้และมีแป้งขาวๆ

หุ้มตัวด้วยถ้าถูกหนอนทำลายมากๆจะทำให้ขาดวิ่นใช้ประโยชน์ไม่ได้
    การป้องกันและกำจัด   จับตัวหนอนมาทำลายทิ้ง  หรือโดยการใช้สารเคมีป้องกัน กำจัดแมลงจำพวกเมทธิลพาไธออน เช่น  พาราเทล  ที.เอ็น.พอส  พาราท้อปฯลฯ โดย

ใช้ตามอัตราส่วนที่แจ้งในฉลากยา และควรผสมสารจับใบลงไปด้วย
   ตั้กแตนผี    ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่   ชอบกัดกินใบ
    การป้องกันและกำจัด    เช่นเดียวกับหนอนม้วนใบ
    หนอนกระทู้ ชอบกัดกินใบตองอ่อนที่ยังไม่คลี่  หรือคลี่แล้วใหม่ๆ โดยจะกัดเป็นรอยแหว่งไปตามขอบใบเป็นทาง รอยกัดแทะตรงกลางใบที่ทะลุเป็นรูปกลมๆโดยตาม

ขนาดและวัยของหนอนใบกล้วยที่ออกใหม่หรือหน่อกล้วยโคนต้นหรือหน่อที่นำมาปลูกพอใบแตกใหม่มักจะมีหนอนกระทู้ตัวเล็กๆ    เข้าแทะใต้ผิว    เมื่อตัวหนอนโตแล้วก็สามารถ

กินได้ทั้งบนใบและใต้ใบ
    การป้องกันและกำจัด    เช่นเดียวกับหนอนม้วนใบ
   หนอนร่าน   มีพิษตามตัว  ถูกเข้าจะคัน  กัดกินใบขณะที่กำลังจะกลายจากสีตองอ่อน เป็นสีเขียวแก่ คือ มีสีจัดขึ้น นอกจากกินใบกล้วยแล้ว  ยังพบว่ากินใบมะพร้าวด้วย
    การป้องกันและกำจัด  เช่นเดียวกับหนอนม้วนใบ 
                มวนร่างแห    ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบกล้วย ใบตองตองที่มวนพวกนี้อาศัยอยู่สีจะไม่เขียวสด คือจะค่อยๆ เหี่ยวเหลืองซีดทั่วๆ  และที่สุดก็จะแห้งเป็นแห่งๆ ไป  ถ้าตรวจ

ดูด้านใต้ใบจะเห็นเป็นจุดดำๆ ทั่วๆ    ไปนั่นคือมูลของมวนที่ถ่ายออกมาติดอยู่   และมีคราบของตัวอ่อนลอกทิ้งไว้
   การป้องกันและการกำจัด   เช่นเดียวกับด้วงงวงไชกาบกล้วย
   ด้วงเต่าแดง     ตัวแก่ชอบกัดกินใบตองยอดอ่อนที่ยังม้วนกลมอยู่     ยังไม่คลี่ออกหรือคลี่ออกแล้วใหม่ๆ  ยังไม่เขียว  ทำให้ใบมีมีรอยตำหนิเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆทะลุ

บ้างไม่ทะลุบ้างทั่วทั้งใบ   เห็นได้ชัดเมื่อคลี่ออกตอนเขียวจัดแล้ว
    การป้องกันและกำจัด      รักษาความสะอาดของสวนกล้วยอย่าให้เป็นที่อาศัยของแมลงได้  และอาจใช้เฮ็พตาคลอร์ผสมน้ำตามอัตราส่วนที่แจ้งไว้ในฉลากพ่นที่ยอด

กล้วยหรือตามใบตองอ่อนให้ทั่ว
 
   หนอนปลวก    จะกัดแทะใบหรือเส้นใยออกมาทำปลอกหุ้มตัว    ตัวเล็กจะพบกัดกินใบตอง  โดยมีปลอกหุ้มตัวชี้ไปทางข้างหลัง   พอโตขึ้นก็จะเปลือกใหญ่ขึ้นมักเกาะ

ห้อยท้ายปลอกลง   ชอบกัดกินอยู่ใต้ใบ
   การป้องกันและกำจัด    เช่นเดียวกับด้วงเต่าแดง
    แมลงวันผลไม้   บางแห่งเรียก   “แมลงวันทอง”   เป็นแมลงศัตรูผลไม้ที่มีความสำคัญในการผลิตผลไม้เป็นสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ   

เพราะจะทำความเสียหายแก่ผลไม้ที่เริ่มสุก   โดยตัวเมียชอบวางไข่ที่ผลกล้วยที่ใกล้สุกหรือมีรอยแผล  หนอนที่ออกจากไข่จะชอนไชเนื้อกล้วย ให้เกิดความเสียหายเน่าเหม็นช่วง

เวลาที่ระบาดมากได้แก่ราวๆ  เดือน  เมษายน  -  มิถุนายน  ของทุกปี
                  การป้องกันและการกำจัด  ใช้เหยื่อพิษ ซึ่งเป็นสารเคมีประกอบด้วย  สารเคมีที่มีชื่อทางการค้าว่า  “นาสิมาน”  จำนวน 200 ซีซี. ผสมกับมาลาไธออน  83%  จำนวน   

70   ซีซี.และน้ำ  5  ลิตร   อาจผสมสารจับเล็กน้อยฉีดพ่นในช่วงเช้า  ด้านที่มีร่มเงาและฉีดพ่นที่ใบแก่   ห้ามพ่นฉีดที่ใบอ่อน   ให้ฉีดพ่นต้นละ  50  -  100  ซีซี.

การเก็บเกี่ยว                         
                   ระยะการเก็บเกี่ยวของกล้วยน้ำว้า  จะประมาณไม่เกิน 100 วัน  หลังจากปลีโผล่พ้นยอดออกมาหรืออาจสังเกตจากผลกล้วยโดยส่วนรวมของเครือว่าลักณะค่อน

ข้างกลมถึงกลมเหลี่ยมซึ่งแสดงว่าผลกล้วยโตเต็มที่แล้ว
                   เมื่อลงมือเก็บเกี่ยว   งานชั้นแรก  คือ  ควรเก็บไม้ค้ำเครือกล้วยที่ใช้ค้ำอยู่ออกให้หมด   การตัดเครือกล้วยลงมาต้องทำด้วยความระมัดระวัง  อย่าให้หวีกล้วยชอกช้ำ

เพราะจะทำให้เกิดรอย เมื่อกล้วยสุก   ในกรณีที่ต้นกล้วยสูงอาจจะใช้วิธีฟันลำกล้วยให้ลึกพอที่ลำต้นกล้วยจะค่อยเอียงโน้มทิศทางของผู้รับ  หากคนเดียวไม่สะดวกก็ควรใช้  2  คน 

เพื่อให้ได้เครือที่สมบูรณ์ไม่มีรอยช้ำ   
    เมื่อตัดเครือกล้วยลงมาได้แล้ว  ให้รีบนำเครือตั้งปลายเครือขึ้นข้างบน  ให้รอยตัดอยู่ข้างล่างเพื่อมิให็ยางกล้วยไหลย้อนลงเปรอะเปื้อนหวีกัดหวีกล้วยเสียเป็นตำหนิได้ 

จกนั้นก็ลำเลียงด้วยความระมัดระวัง  อย่าให้กระทบกระเทือนหรือเปรอะเปื้อนน้ำยาง

การบ่มกล้วย
              ตามธรรมชาติกล้วยที่จะขายให้ผู้บริโภคภายในประเทศนั้น  เราจะเก็บเกี่ยวเมื่อกล้วยแก่เต็มที่  ดังนั้นหลังจากเก็บมาไว้ในอุณหภูมิห้องหือสภาพอากาศปกติ  กล้วยจะ

เริ่มสุกเปลี่ยนสีในเวลาประมาณ  4 - 7  ซึ่งถ้าหากจะต้องการให้สุกเร็วกว่านี้  และสุกสม่ำเสมอทั่วถึงกัน   ก็จะใช้การบ่มกล้วยซึ่งจะสุกเร็วขึ้นใช้เวลาประมาณ 2  วัน   โดยใช้สาร

เคมีที่ชื่อว่า  แคลเซียมคาร์ไบต์  หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า  "ถ่านก๊าซ"  ทุบเป็นก้อนเล็กๆ  ห่อด้วยใบตองหรือกระดาษ  ซุกไว้ในภาชนะที่บรรจุกล้วยไว้แล้วปิดให้มิด   ตั้งทิ้งไว้ใน

อุณหภูมิห้อง  เมื่อก๊าซได้รับความชื้นจากผลกล้วย  จะปล่อยก๊าซ อะเซททีลีน ออกมา  มีผลเร่งให้กล้วยสุกไวและสุกสม่ำเสมอขึ้น

ประโยชน์กล้วย
   ประโยชน์ของกล้วยมีมากมายโดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าใช้ประโยชน์ได้ดีเกือบทุกส่วน กล้วยสุกส่วนนอกจากใช้รับประทานเป็นผลไม้โดยตรงแล้วยังสามารถทำแห้ง  ทำของ

หวานกลั่นเป็นสุรา หรือเครื่องดื่ม  และทำน้ำส้ม สายชูได้  กล้วยเกือบทุกชนิดมีคุณค่าใกล้เคียงกัน   แต่ถ้าเกี่ยวกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ  ในปริมาณเท่า ๆ   กันแล้ว กล้วยจะมีคุณค่า

อาหารสูงกว่า
    ผลกล้วย   ใช้นำมารับประทานได้
       ผลกล้วยดิบ
                        1. นำมาทำขนม  แปรรูปและถนอมอาหารได้ดังนี้   กล้วยฉาบเค็ม - หวาน    กล้วยคืนรูป    กล้วยอบเนย  กล้วยรังนก ฯลฯ
                       2. ผลดิบนำมาประกอบอาหารได้ เช่น   แกงเผ็ดหมูย่างกับกล้วยดิบ   ตำกล้วย  ฯลฯ
                 ผลกล้วยสุก   นำมาทำขนมและแปรรูปถนอมอาหารได้   เช่น  กล้วยกวน  กล้วยลอยแก้ว  กล้วยแขก กล้วยตาก  กล้วยเชื่อม  กล้วยบวชชี กล้วยทอดชุบ      น้ำแข็ง 

กล้วยห่มผ้า ข้าวต้มใส่กล้วย ขนมกล้วย  ซอสพริกผสมกล้วย  ข้าวเม่าทอด แยมกล้วย น้ำกล้วยปั่น  กล้วยแผ่น  ขนมเบื้องกล้วย  กล้วยทับ กล้วยปิ้ง ฯลฯ     
        ใบกล้วย  ใช้ประโยชน์ดังนี้
                     ใบกล้วยสด
                     1.ใช้ห่อของ
                             2.ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ  เช่น   กระทง   บายศรี  ฯลฯ
                             3.ใช้เป็นเครื่องรองเตารีดเพื่อลดความร้อนใบกล้วยแห้งมีขี้ผึ้ง นำมาขัดพื้นกระดานทำให้พื้นลื่นเป็นมัน    มวนบุหรี่   ห่อหุ้มกิ่งก้าน   ห่อหุ้มผลไม้บางชนิดเพื่อ

บ่มผิว และป้องกันแมลงได้ดี
    กาบกล้วย  ใช้ประโยชน์ดังนี้
                     กาบกล้วยแห้ง ทำเป็นเชือก นำมาใช้สานเป็นกระเป๋าถือสตรี   ประดิษฐ์ของใช้
                  กาบกล้วยสด
                 1. คลุมดินเพื่อรักษาความชื้น
                   2.  แกะสลัก   เรียกว่าแทงหยวก   เป็นลายกนกเพื่อตกแต่งประดับพิธีต่าง ๆ
                   3.  ทำกระทงไว้ลอยกระทง
       4. ทำเป็นของเล่นเด็ก  เช่น   ม้าก้านกล้วย
   หัวปลี   ใช้ประกอบอาหาร เช่น  ต้มยำปลาช่อนกับหัวปลี  ห่อหมกไก่ใส่หัวปลี   ยำหัวปลี ต้มข่าไก่กับหัวปลี
           หยวกกล้วย 
                     1.ใช้ประกอบอาหารได้  เช่น   แกงส้มหยวกกล้วย     ฯลฯ
                     2.ใช้เป็นอาหารสัตว์
            3.  ต้นกล้วย  ใช้ทำแพ, ใช้ในงานมงคลคู่กับต้นอ้อย    เช่น   ยกเสาเอก
            ยางกล้วย    ใช้เป็นสีย้อมด้ายทอผ้าให้มีสีน้ำตาล  ไม่ตก  ไม่ลอก  ทนทาน

 ตัวอย่างอาหารที่ทำจากกล้วย
    ยำหัวปลี
        เครื่องปรุง
        หัวปลีเผา                      2  หัว                กระเทียมซอยแล้วเจียว         2  ช้อนโต๊ะ     
        น้ำพริกเผา                            3  ช้อนโต๊ะ             น้ำปลา                                  3  ช้อนโต๊ะ 
        กุ้งสดแกะแล้วนึ่ง                 1   ถ้วย                    หัวกะทิตั้งไฟพอเดือด        1/4 ถ้วย                 
        เนื้อหมูหั่นแล้วนึ่ง                1   ถ้วย                    มะนาว                                  5   ผล                   
        ไก่ฉีกใช้เฉพาะเนื้อหน้าอก   ½ ถ้วย                    น้ำตาลปีบ                            2  ช้อนโต๊ะ 
         หัวหอมซอยแล้วเจียว          2   ช้อนโต๊ะ             พริกแดงหั่นฝอย                   2  เม็ด
         พริกขี้หนูตำ                        7   เม็ด (ถ้าชอบเผ็ด) 
       วิธีทำ
        เอาหัวปลีที่เผาไฟมาลอกเปลือกออก    เหลือส่วนที่อ่อน ๆ  ตัด  2  ท่อนหั่นตามยาวเป็นชิ้น ๆใส่ถ้วยหรือจานใส่เนื้อกุ้ง เนื้อหมูตันและเนื้อไก่  ปรุงรสด้วยน้ำพริกเผาน้ำ

มะนาว    น้ำตาล   น้ำปลา  ซึ่งผสมเข้ากันดีแล้วคลุกให้เข้ากัน    ตักใส่จาน   โรยกระเทียมเจียว   หอมเจียว   พริกแดง    ผักชี
        หมายเหตุ
        น้ำพริกเผาที่ใช้คลุกกับยำหัวปลี  ทำดังนี้  ใช้พริก  5  เม็ด หัวหอม  3 หัว  กระเทียม 5 กลีบ   กะปิ 1 ช้อนชา  ทั้ง 4 อย่าง นำไปเผาไฟ  แล้วนำมาโขลกให้ละเอียด แล้ว

เอาไปผัดน้ำมัน   เก็บใส่ขวดไว้ใช้นาน ๆ     
 
   ต้มข่าไก่กับหัวปลี
        เครื่องปรุง
        ไก่                         1   กก.                           มะพร้าวขูด           400      กรัม
        ตะไคร้                            4   ต้น                             ข่าแก่                        4     แว่น
       หัวหอมปอกเปลือก          5   หัว                           รากผักชี                    3     ราก
        ผักชี                               1   ต้น                             ต้นหอม                    3      ต้น
       น้ำมะนาว                        2    ลูก                            น้ำปลา      1/2     ถ้วยตวง
       ใบมะกรูด            6   ใบ                              ข่าอ่อนหั่นยาว  1 นิ้ว 1/2    ถ้วยตวง
       หัวปลี                              1   หัว                     พริกขี้หนูคั่ว             10     เม็ด
       มะเขือเทศสีแดงผ่าครึ่ง  10   ลูก
        วิธีทำ
       1.   ไก่ล้างให้สะอาด  สับชิ้นโต ๆ  ให้เนื้อติดกระดูก
       2.   คั้นกะทิให้ได้น้ำ  5 ถ้วย ( แบ่งหัวกะทิ 1 ถ้วย )
       3.   ล้างตะไคร้  ใบมะกรูด  ข่า  หอม  รากผักชี ตัดตะไคร้เป็นท่อน ๆ ประมาณ  5  นิ้วทุบพอแตกหัวหอมทุบ รากผักชีทุบ ใบมะกรูดฉีกเอาเส้นกลางออกล้าง

ผักชี  ต้นหอมหั่นยาว   1  นิ้ว  พริกขี้หนูสวนทุบทั้งก้านพอแตก
       4.   เผาหัวปลี   ลอกกาบที่ไหม้ทิ้งให้เหลือกาบอ่อนไว้  ฉีกเป็นเส้น ๆ
       5.   นำหางกะทิตั้งไฟกลางใส่ตะไคร้  ข่าแก่  หัวหอม  รากผักชี  พริกขี้หนู  พอกะทิเดือด  ใส่ไก่ที่เตรียมไว้   คนกะทิไว้ตลอดเวลา  เพื่อมิให้กะทิเป็นก้อน 

ใส่น้ำปลา  พอไก่สุกใส่ข่าอ่อน   มะเขือเทศ  หัวปลีฉีก  พอผักสุกใส่ใบมะกรูด ยกลง  ปรุงรสด้วยมะนาว หัวกะทิ     ชิมดู ให้มีรสเปรี้ยว  เค็ม เผ็ด 
 
    ต้มยำปลาช่อนใส่หัวปลี
        เครื่องปรุง
        ปลาช่อนย่าง        1   ตัว                                  หัวปลีเผา        2   ตัว
        น้ำมะนาว            2   ผล                                   พริกแห้ง        2   เม็ด
         ข่า                       3  หัว           กระเทียม        3  หัว
         ต้นหอม              2   ต้น   หั่นละเอียด
        ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักชีหั่นหยาบ ๆ         น้ำปลา
        วิธีทำ
             1. เอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟให้เดือด  โขลกปลาช่อนย่างแกะเอาแต่เนื้อรวมกับเครื่องน้ำพริก (พริกแห้ง หัวหอม กระเทียม ข่า  กะปิ )   
             2. ใบมะกรูด 2-3  ใบ  ตะไคร้  2  ต้น  ตัดท่อนสั้น ๆ ใส่ลงไป  ในหม้อน้ำที่เดือด  หัวปลีเผาแล้วหั่นเป็นชิ้น ๆ  ละลายน้ำพริกแกง ใส่ลงหม้อแกง ใส่หัวปลีเผา

รอให้เดือดราว ๆ   20  นาที    ปรุงรสด้วยน้ำปลา  มะนาวเวลารับประทาน  โรยหน้าด้วยต้นหอม   ผักชี
 
     ห่อหมกไก่ใส่หัวปลี
        เครื่องปรุง
       ไก่อ่อนตัวขนาดกลาง           ครึ่งตัว      หัวปลีใหม่ไม่ใหญ่นัก    1  หัว
        ถั่วลิสงคั่วป่นป่นหยาบ ๆ      1  ช้อนโต๊ะ              ไข่เป็ด                            1   ฟอง
        กะทิข้น ๆ      3  ถ้วยตวง              น้ำปลา                           2    ช้อนโต๊ะ
        น้ำตาล                               2  ช้อนโต๊ะ                 ใบโหระพาเด็ดเอาแต่ใบ  1   กำ
        พริกขี้หนูแดงหั่นฝอย           3  ช้อนโต๊ะ
        เครื่องน้ำพริกห่อหมก (มีพริกแห้ง 4 เม็ด  ข่า  3 แผ่น  ตะไคร้หั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ  หัวหอม   5  หัว
กระเทียม   5  กลีบ  ผิวมะกรูดหั่นฝอย   1   ช้อนชา   รากผักชีหั่นละเอียด  2  ช้อนโต๊ะ กะปิ  1  ช้อนโต๊ะ      เกลือ     1   ช้อนชา )
       วิธีทำ
              1.  พริกแห้งแกะเม็ดออก  แช่น้ำให้นุ่มแล้วบีบน้ำออก  โขลกรวมกับข่า ตะไคร้  หัวหอม 
กระเทียม  ผิวมะกรูด  รากผักชีให้ละเอียด  จึงใสกะปิโขลกไปด้วย
              2. ไก่แล่กระดูกออกให้หมดแล้วหั่นชิ้นเล็กๆ  บางๆ  หัวปลีลอกเปลือกออกให้เหลือสีขาว  ซึงยัง
อ่อนอยู่   ผ่าครึ่งตามยาวแล้วจึงหั่นฝอยตามขวาง  แช่ในน้ำผสมน้ำมะนาวนิดหน่อย  หรือใช้น้ำมะขามเปียกผสมน้ำก็ได้เพื่อไม่ให้ปลีดำ  แบ่งกะทิในชามหรืออ่างก้นลึก  1   ถ้วย 

ตักน้ำพริกลงละลายเท่ากันจึงใส่ไก่คนด้วยพายไม้สักครู่ใหญ่  ในระหว่างคนเติมกะทิลงเรื่อยๆ จนหมด  จึงบีบปลีที่แช่ไว้ให้แห้งลงไปในชามไก่  ใส่ถั่วลิสงและน้ำปลา  น้ำตาล  คน

ให้ทั่วจนเข้ากันดี จึงลองห่อใบตองปิ้ง  ชิมดูรสตามใจชอบ  ใช้กาบปลีที่ลอกออกไว้แต่แรกแทนกระทงซึ่งล้างเช็ดให้สะอาดเสียก่อน  ตักห่อหมกใส่กาบปลี  สัก  3  ใน  4  ส่วน

อาหารจากกล้วย
     
กล้วยกวน
เครื่องปรุง
   กล้วยหอมสุกงอม         1   หวี
   น้ำตาลปึก            3   คู่
กะทิคั้น ข้น ๆ             2   ถ้วย
วิธีทำ
-กล้วยปอกเปลือกบดละเอียด หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกันกะทิข้น ๆ และน้ำตาลปึก
-ยกขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ กวนจนเหนียวดี รู้สึกว่าร่อนไม่ติดกระทะก็ยกลง พอจวนจะเย็นก็ปั้นเป็นก้อน ๆ ห่อกระดาษแก้ว หรือใส่ถาดตัดเป็นชิ้น ๆ

            
กล้วยตากอบน้ำผึ้ง
เครื่องปรุง
   กล้วยน้ำว้าสุกงอม
   น้ำตาล
   น้ำผึ้ง
   น้ำส้ม
วิธีทำ
1.   เลือกกล้วยน้ำว้าสุกงอม แกะเปลือกออกแช่ในน้ำส้ม 1 ส่วน ผสมน้ำ 4  ส่วน ประมาณ 10 นาที
2.   นำกล้วยไปตากแดด 1 วัน
3.   วันรุ่งขึ้นนำกล้วยมาคลึงให้นิ่มทั่วกัน  แล้วตากแดดต่ออีก 1 วัน
4.   แช่น้ำเชื่อมอัตราส่วน น้ำตาล 1 ถ้วยต่อน้ำ 2 ถ้วย 3 ชั่วโมง
5.   นำกล้วยไปตากแดดต่อ และคอยกลับ จนออกสีน้ำตาล นำมาทับให้แบน
6.   แช่ในน้ำผึ้งบรรจุขวด หรือชุบน้ำผึ้งแล้วตากแดดอีก 1 แดด บรรจุใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุงไว้ หรือจะเก็บใส่ขวดโหลไว้รับประทาน

 
ข้าวเม่าทอด
เครื่องปรุง
   ข้าวเม่าดิบ            ½    กิโลกรัม
   แป้งข้าวโพด            ½    กิโลกรัม
   แป้งข้าวจ้าว            ½    กิโลกรัม
   กล้วยไข่               2   หวี
   มะพร้าวขูด            ½   กิโลกรัม
   หางกะทิ               6   ถ้วย
   น้ำปูนใส               1   ถ้วย
   น้ำตาลทราย            ½    ถ้วย
   น้ำตาลปีบและเกลือเล็กน้อย
วิธีทำ
    ทำแป้งสำหรับชุบตัวข้าวเม่า เอาแป้งข้าวโพดผสมกับแป้งข้าวเจ้า ค่อย ๆ เติมหางกะทิจนหมด ใส่น้ำปูนใส น้ำตาลทรายและเกลือลงไป คนให้เข้ากัน พักไว้
   ทำเครื่องห่อกล้วย เอามะพร้าวมาคลุกกับข้าวเม่าดิบและน้ำตาลปีบ คลุกให้เข้ากันดี
กล้วยไข่ปอกเปลือก แล้วเอามาห่อด้วยเครื่องข้าวเม่าบาง ๆ พอติด จึงเอาไปชุบแป้ง ลงทอดในน้ำมันท่วม   จนสุกพอเหลือง

น้ำพริกกล้วยดิบ
เครื่องปรุง
   กล้วยน้ำว้าดิบ               12-15      ผล
   กุ้งนางแกะเปลือกเผาพอสุกหั่นเป็นชิ้น      250-280       กรัม
   กุ้งแห้งอย่างดีป่น               150-180      กรัม
   พริกขี้หนูสวนบุบพอแตกหั่นซอยหยาบ      60-70      กรัม
   กระเทียมปอกเปลือก            60-80      กรัม
   มันกุ้งที่ได้จากหัวกุ้งนำไปนึ่งจนสุก         3-4      ช้อนโต๊ะ
   น้ำปลาอย่างดี               6-7      ช้อนโต๊ะ
   น้ำมะนาว               6-8      ช้อนโต๊ะ
   น้ำตาลปีบ               3-5      ช้อนโต๊ะ
วิธีปรุง
   นำกล้วยดิบปอกเปลือกหั่นซอยบาง ๆ แช่น้ำมะขามไม่ให้ดำ พอสะเด็ดน้ำจึงนำไปโขลกเบา ๆ กับกระเทียม พริกขี้หนู ใส่กุ้งแห้งป่น โขลกต่อจนเข้ากัน แล้วจึงใส่กุ้งเผา

หั่นซอย ใช้สากคลึงเบา ๆ พอเนื้อน้ำพริกเข้ากันเนื้อกุ้งเผา จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล ชิมให้รสทั้ง 3 คลอ ๆ กัน เปรี้ยวนำนิดหน่อยได้ เสร็จแล้วตั้งกระทะใส่น้ำมัน

พืชพอประมาณ ผัดน้ำพริกจนสุกหอม
    น้ำพริกกล้วยดิบ รับประทานกับผักสดต่าง ๆ เช่น ผักกาดขาว แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ ขมิ้นขาว จะเคียงด้วยไข่ต้มก็เข้ากันดี
เค้กกล้วยน้ำว้า
เครื่องปรุง
   มาการีนหรือเนย            ½   ถ้วย
   น้ำตาลทรายป่น            1   ถ้วย
   ไข่ไก่               2   ฟอง
   แป้งสาลี               2   ถ้วย(ร่อน 2 ครั้งก่อนตวง)
   ผงฟู               ½   ช้อนชา
   โซดาไบคาร์บอเนต         ¾   ช้อนชา
   กล้วยน้ำว้าสุก สับหยาบ ๆ 4 ผล       1    ถ้วย
   วานิลา               1   ช้อนชา
   นมเปรี้ยว            ¼   ถ้วย (ใช้นมสด ¼ ถ้วย ผสมน้ำส้มสายชู ½ ช้อนชา)
วิธีทำ
   คนเนยพอแยกจากกันไม่เป็นก้อน ใส่น้ำตาลทีละน้อยคนให้น้ำตาลกับเนยหรือมาการีนเป็นครีม ใส่ไข่ทีละฟองคนให้ทั่วและเข้ากัน กล้วยน้ำว้าเมื่อสับแล้วผสมลงในนม

เปรี้ยวทันที มิฉะนั้นกล้วยจะดำเพราะถูกกับอากาศ (กล้วยใช้มีดหั่นเป็นชิ้นหยาบ ๆ ดีกว่าบด เพราะได้กินเค้กกล้วยที่เห็นกล้วยเป็นชิ้น ๆ เล็ก ๆ และกล้วยควรจะเป็นสีชมพู เมื่อ

เค้กสุกแล้วไม่ควรจะเป็นสีดำ อย่างน้อยควรสีเหมือนกล้วยต้มสุกก็ยังดีกว่าสีดำ) ใส่แป้งลงในครีมสลับกับกล้วยจนหมดทั้งแป้งและกล้วย ใส่วานิลาคนให้ทั่วใช่กระทงกระดาษวางใน

ถาดหลุม 24 กระทง ตักขนมใส่กระทงครึ่งหนึ่งของกระทง อบไฟ 350 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 25 นาที  ขนมจะสุกเหลือง นูนตรงกลางเต็มกระทง เอาขนมออกจากเตา ตัก

ขนมออกจากถาดทั้งกระทง รับประทานขณะที่อุ่น ๆ อร่อยมาก

 
เค้กกล้วยหอมช็อกโกแลต
ส่วนผสม
   แป้งเค้ก               200   กรัม
   ผงโกโก้               ¼   ถ้วยตวง
   น้ำตาลทราย            200    กรัม
   เบคกิ้งโซดา            ¼   ช้อนชา
   ไข่ไก่               3   ฟอง
   กล้วยหอมบดละเอียด         ½   ถ้วยตวง
   น้ำเปล่า               ¾   ถ้วยตวง
   SP               2    ช้อนชา
ส่วนผสมหน้าเค้ก
   ช็อกโกแลตตุ๋นสำเร็จรูป         300   กรัม
   เนยสด               80   กรัม
วิธีทำ
1.   ตีไข่ไก่ กล้วยหอม น้ำตาลทรายจนกระทั่งขึ้นฟู
2.   ร่อนแป้งเค้ก เบคกิ้งโวดา ผงโกโก้รวมกัน
3.   เติมส่วนผสมของแป้งลงในไข่ที่ตีจนขึ้นฟูแล้ว ผสมให้เข้ากัน เทลงในพิมพ์ที่รองด้วยกระดาษไขประมาณ ½ พิมพ์ นำเข้าเตาอบไฟ 350 องศาฟาเรนไฮต์  นานประมาณ 40

-50 นาทีหรือจนกระทั่งสุก แซะออกจากพิมพ์ทิ้งให้เย็น
4.   นำช็อกโกแลตไปตุ๋นในน้ำร้อนจนกระทั่งช็อกโกแลตละลาย เติมเนยสด คนให้เข้ากัน นำไปราดบนเค้กที่เย็นสนิทแล้วตกแต่งด้วยกล้วยหอมด้านบนให้สวยงาม

การปรับปรุงพันธุ์
การปรับปรุงพันธุ์กล้วย คือการทำให้เกิดการพัฒนาทางพันธุกรรม เพื่อให้สามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้ ซึ่งมีหลายวิธี โดยอาจเกิดเองตามธรรมชาติ เช่น การผสมข้ามสายพันธุ์โดย

แมลง นก ค้างคาว เป็นต้น หรือเกิดการกลายพันธุ์เนื่องจากอากาศแปรปรวน หากต้นที่เกิดขึ้นแข็งแรงดีก็ จะมีชีวิตรอดอยู่ได้ (natural selection) หรืออาจเกิดจากมนุษย์ที่จะผสม

พันธุ์กล้วยให้มีลักษณะตามที่ต้องการ หรือเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้วิธีต่างๆ ได้แก่ การใช้สารเคมี ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนโครโมโซมขึ้นเป็นเท่าตัว การทำให้

เกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครโมโซมเป็นแห่งๆ (point mutation) จากเดิมที่มีลักษณะไม่ต้านทานโรค เปลี่ยนเป็นต้านทานโรค ซึ่งเป็นสิ่งที่ ต้องการ การใช้รังสี การกลายพันธุ์ เนื่องจาก

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการปรับปรุงโดยใช้การตัดต่อทางพันธุกรรม
การปรับปรุงพันธุ์กล้วยส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้วิธีทำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้ทั้งรังสีและสารเคมี อย่างเช่น การใช้รังสีแกมมาปรับปรุงพันธุ์กล้วยหอมทอง พบว่าได้ต้นที่มีการ

เปลี่ยนแปลงของโครโมโซม 2n เป็น 66, 34 และ 36 แต่เมื่อทดลองปลูกในแปลง เกิดน้ำท่วมทำให้ต้นตายในขณะที่ต้นยังเล็กอยู่ จึงยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ นอกจากพบว่า

ต้นที่มีโครโมโซม 66 มีใบหนา และการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไข่โดยใช้รังสีแกมมา พบว่าต้นที่ฉายรังสีที่ 10 เกรย์ ให้ผลกล้วยขนาดสั้นลงเล็กน้อย ก้านผลยาวขึ้น การจัดเรียงของผลใน

หวีเป็นระเบียบ และที่ 20 เกรย์ ได้ผลมีความยาวปกติ รูปร่างเรียว การเรียงตัวในหวีดี เหมาะกับการทำส่งออกเพราะการบรรจุกล่องสามารถบรรจุได้มาก ทำให้ ใช้ประโยชน์ของผล

กล้วยต่อเครือได้มาก ต้นใหม่ทั้งสองที่ได้ให้ชื่อว่า เกษตรศาสตร์บานาน่า 1 และ 2 (ก.บ. 1 และ 2) ตามลำดับ
ส่วนการใช้สารเคมีนั้น ได้มีการใช้สารโคลชิซินกับกล้วยไข่ทำให้เพิ่มจำนวนโครโมโซมจาก 2n=22 เป็น 44 แต่พบว่าต้นที่ได้เจริญเติบโตช้า ตกผลช้ากว่าปกติมาก และ ผลผลิตน้อย

ผลมีขนาดเล็กกว่าเดิม จึงไม่เหมาะที่จะทำการคัดเลือกต้นไว้ นอกจากนี้มีการใช้สารออริซาลิน (Oryzalin) ซึ่งเป็นยาฆ่าหญ้าชนิดหนึ่งกับกล้วยไข่ที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่าต้นที่ได้

เจริญเติบโตช้ามาก ใบที่เกิดขึ้นค่อนข้างกลมเป็นมัน ก้านใบสั้น เหมาะทำเป็นไม้ประดับกระถาง จึงนำไปจดทะเบียนไว้ที่กรมวิชาการเกษตร และให้ชื่อว่า เบพ (BEP)
นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากการทดลองใช้รังสีและไม่ใช้รังสีกับกล้วยไข่ พบว่าต้นที่ไม่ใช้รังสีมีความผิดปกติของผิวเปลือกกล้วย ผิวต้นที่ไม่ได้

ฉายรังสีมีความมันผิดปกติ น่าจะเป็นด้วยสารคิวตินเคลือบหนาขึ้น ต้นที่ได้นี้ให้ชื่อว่า เกษตรศาสตร์บานาน่า 3 (ก.บ.3)

งานวิจัยเกี่ยวกับกล้วย
งานวิจัยที่เกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์กล้วยเพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดีขึ้นทนสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกได้ดี หรือการเพิ่มปริมาณสายพันธุ์ที่มีอยู่ให้มากขึ้น เช่น งานวิจัยเรื่องการชักนำ

ให้กล้วยเกิดการกลายและคัดพันธุ์เพื่อทนเค็ม โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพิ่มปริมาณต้นและการเจริญเติบโตของกล้วยหอมพันธุ์แกรนด์เนน โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ งานวิจัยที่

ศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นกล้วยไข่ที่ปลูกเปรียบเทียบระหว่างหน่อพันธุ์กับต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการเพื่อดูแลผลผลิตหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์จากกล้วย เช่น การศึกษาเกี่ยวกับการรักษากล้วยหอมโดยบรรจุในถุงพอลิเอทิลีน การศึกษาวิธีการ

ประวิงเวลาสุกหลังจากเก็บเกี่ยวของกล้วยหอมทอง การใช้สารเคมีบางอย่างในการทำกล้วยตาก การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยกวนเพื่อตลาดนักท่องเที่ยว พันธุ์กล้วยเพื่อการแปรรูป

ทำกล้วยทอดกรอบ ซึ่งนำกล้วยเก้าพันธุ์ มาทำเป็นกล้วยทอดกรอบแล้วเก็บรักษาในถุงปิดสนิทเพื่อดูคุณภาพ ซึ่งพบว่าเก็บได้โดยไม่มีกลิ่นหืน ประมาณหนึ่งเดือน และผู้บริโภค

ชอบกล้วยทอดกรอบที่ทำจากกล้วยไข่มากที่สุด
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันเป็นสถาบันที่รับผิดชอบในการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และ

เทคโนโลยีทางอาหาร ซึ่งศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์จากกล้วย โดยแปรรูปกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร และเป็นการสร้างข้อมูลเพื่อนำไปสู่การ

ผลิตในเชิงพาณิชย์ให้แก่ผู้สนใจ ตัวอย่างผลงานวิจัยของสถาบัน เช่น การพัฒนาการผลิตเครื่องดื่มทั้งที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์จากกล้วย การทำซอสกล้วยปรุงรส โดย

ศึกษากรรมวิธี การผลิต และการเก็บรักษา จากการใช้กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยหอมทอง ซึ่งพบว่า กล้วยน้ำว้าเหมาะสมที่สุด เพราะมีราคาถูกและเก็บไว้ได้นานโดยไม่แยกชั้น

กล้วยน้ำว้า
 
ชื่อสามัญ                 Pisang Awak
ชื่อพ้อง                    กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ กล้วยอ่อง
ชื่อวิทยาศาสตร์    Musa (ABB group) "Kluai Nam Wa"
แหล่งที่พบ             พบได้ทุกภาคของไทย    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูงไม่เกิน 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15
     เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวอ่อน มีประดำบ้าง
     เล็กน้อย
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายป้าน
      ด้านนอกสีแดงอมม่วงมีนวลหนา ด้านในมีสีแดงเข้ม
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 - 10 หวี หวีหนึ่ง มี 10 - 16 ผล
     ก้านผลยาว เปลือกหนา สุกมีสีเหลืองเนื้อสีขาว รสหวาน
     ไส้กลางมีสีเหลือง ชมพูหรือขาว ทำให้แบ่งออกเป็นกล้วย
     น้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้าแดง และกล้วยน้ำว้าขาว     การใช้ประโยชน์ ผลใช้แปรรูป และรับประทานสด   
 กล้วยน้ำว้าเขียว
 
ชื่อสามัญ                      -
ชื่อพ้อง                         -
ชื่อวิทยาศาสตร์        Musa (ABB group) "Kluai Nam Wa Khieo"
แหล่งที่พบ                  พบได้ทั่วไป    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15
     เซนติเมตร กาบด้านนอกเขียวอ่อน มีประดำ
ใบ ก้านใบสีเขียวอ่อน มีนวลเล็ก ร่องใบปิดฐานใบโค้งมน
ดอก ปลีรูปร่างค่อนข้างใหญ่ ด้านนอกสีม่วงมีนวลมาก ด้านในสีแดง
ผล เครือหนึ่งมี 5 - 7 หวี หวีหนึ่ง 10 - 15 ผล ผลอ่อนสีเขียวสด
    ไม่มีนวล ผลกลมมีจุกผลชัดเจน ก้านผลยาว เมื่อสุกผลจะมี
    สีเหลืองปนเขียว    การใช้ประโยชน์ ผลใช้แปรรูป และรับประทานสด   
กล้วยน้ำว้าค่อน
 
ชื่อสามัญ                      -
ชื่อพ้อง                          -
ชื่อวิทยาศาสตร์        Musa (ABB group)  "Kluai Nam Wa Khom"
แหล่งที่พบ                  พบได้ทั่วไปทุกภาค    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 1.5 - 3.0 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 20
      เซนติเมตร กาบลำต้นด้นนอกมีประดำเล็กน้อย ด้านในมี
      สีเขียวอ่อน
ใบ ก้านร่องใบปิดเส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ปลีรูปร่างอ้วนป้อมสีแดงอมม่วง โดยกาบกว้าง
ผล เครือหนึ่งมี 7 - 10 หวี หวีหนึ่งมี 14 - 18 ผล ก้านผลยาว ช่องว่าง
      ระหว่างหวีน้อยกว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไป จึงค่อนข้างแน่น บางครั้ง
      เบียดกันมากจนทำให้บางผลมีลักษณะเรียวแหลม เมื่อสุกมี
      สีเหลืองอมขาว ไส้กลางมีสีเหลือง รสหวาน    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด และแปรรูป    
กล้วยน้ำว้านวล
 
ชื่อสามัญ                     -
ชื่อพ้อง                         -
ชื่อวิทยาศาสตร์       Musa (ABB group)  "Kluai Nam Wa Naun"
แหล่งที่พบ                 พบได้ทั่วไป    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร
      กาบด้านนอกเขียวเข้ม มีนวล
ใบ ก้านใบสีเขียวนวล ฐานใบโค้งมนกางออก
ดอก รูปไข่ป้อม สีแดงอมม่วงสด มีนวล
ผล เครือหนึ่งมี 10 - 12 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 15 ผล ก้านผลยาวเมื่อสุก
      เหลี่ยมผลจะหายไป ผลอ่อนจะมีสีเขียว มีนวล สีขาวปกคลุมหนา
      เมื่อสุกจะกลายเป็นสีเหลืองนวล    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด ใช้ทำข้าวต้มมัด   
กล้วยน้ำว้าค่อน
 
ชื่อสามัญ                      -
ชื่อพ้อง                          -
ชื่อวิทยาศาสตร์        Musa (ABB group)  "Kluai Nam Wa Khom"
แหล่งที่พบ                  พบได้ทั่วไปทุกภาค    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 1.5 - 3.0 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 20
      เซนติเมตร กาบลำต้นด้นนอกมีประดำเล็กน้อย ด้านในมี
      สีเขียวอ่อน
ใบ ก้านร่องใบปิดเส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ปลีรูปร่างอ้วนป้อมสีแดงอมม่วง โดยกาบกว้าง
ผล เครือหนึ่งมี 7 - 10 หวี หวีหนึ่งมี 14 - 18 ผล ก้านผลยาว ช่องว่าง
      ระหว่างหวีน้อยกว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไป จึงค่อนข้างแน่น บางครั้ง
      เบียดกันมากจนทำให้บางผลมีลักษณะเรียวแหลม เมื่อสุกมี
      สีเหลืองอมขาว ไส้กลางมีสีเหลือง รสหวาน    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด และแปรรูป    
กล้วยน้ำว้าดำ
    
ชื่อสามัญ                       -
ชื่อพ้อง                           -
ชื่อวิทยาศาสตร์         Musa (ABB group)  "Kluai Nam Wa Dam"
แหล่งที่พบ                   พบได้ทั่วไปตามแถบภาคกลาง    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15
      เซนติเมตร กาบด้านนอกเขียวอ่อน มีปื้นดำชัดเจน
ใบ ก้านใบสีเขียวอ่อน โคนก้านใบมีปื้นดำ ฐานใบโค้งมน
ดอก เรียวปลายแหลม ด้านนอกสีแดง อมม่วงด้านในสีแดง
       เมื่อกาบเปิดจะม้วนงอขึ้น
ผล เครือหนึ่งมี 5 - 7 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 15 ผล ผลอ่อนมีลายตามผิว
      ผลเป็นเหมือนสนิม เมื่อผลแก่ลายจะมีเกือบเต็มผล และมีสี
     น้ำตาลเข้ม เมื่อผลสุก ส่วนที่เป็น สีเขียวจะกลายเป็นสีเหลือง
      ส่วนที่เป็นสีน้ำตาลสีจะซีดลง ผิดเปลือกจะบาง เนื้อผลสีขาว
      รสหวานมีกลิ่นเล็กน้อย    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด   
กล้วยน้ำว้าลูกไส้ดำ
 
ชื่อสามัญ                        -
ชื่อพ้อง                           -
ชื่อวิทยาศาสตร์         Musa (ABB group)  "Kluai Nam Wa "
แหล่งที่พบ                    จังหวัดกำแพงเพชร
    
 ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร
      กาบด้านนอกเขียวอ่อน
ใบ ก้านใบสีเขียวอ่อน ฐานใบโค้งมน
ดอก ปลีรูปร่างค่อนข้างใหญ่ทรงเรียวปลายแหลม ด้านนอกสีแดง
      อมม่วงด้านในสีแดง เมื่อกาบปลีเปิดจะม้วนงอขึ้น
ผล เครือหนึ่งมี 5 - 7 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 15 ผล ปลายผลจะมีเกสร
     ตัวเมียติดอยู่ เมื่อผ่านดูจะเห็นไข่ที่ไม่ได้รับการผสมเรียงกันเป็น
     เส้นดำ
    
การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด    

กล้วยไข่
 
ชื่อสามัญ                    Pisang Mas
ชื่อพ้อง                       กล้วยกระ กล้วยเจ็กบอง
ชื่อวิทยาศาสตร์       Musa (AA group) "Kluai Khai"
แหล่งที่พบ                พบได้ทุกภาคของประเทศ    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2. 5 - 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 16 - 20 เซนติเมตร
     กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประสีน้ำตาลอ่อน ด้านใน
    สีชมพูอมแดง
ใบ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านมีครีบสีชมพู
ดอก ก้านช่อดอก มีขนอ่อน ปลีรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้าน
    นอกสีแดงอมม่วง ด้านในที่โคนกลีบสีซีด
ผล เครือหนึ่งมี 6 - 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก
    ก้านผลสั้น เปลือกผลบางเมื่อสุก มีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำ
    เล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีม อมส้ม รสหวาน    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด และแปรรูป   
กล้วยไข่โบราณ
 
ชื่อสามัญ                      -
ชื่อพ้อง                         -
ชื่อวิทยาศาสตร์        Musa (AAB group) "Kluai Khai Boran"
แหล่งที่พบ                  จังหวัดตราด, จันทบุรี    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.0 เมตร กาบลำต้นด้านนอก มีสีเขียวอมแดง
     มีประดำ ด้านในมีสีแดงเล็กน้อย
ใบ ก้านใบมีสีชมพูอมแดง ก้านใบผอม ร่องก้านใบเปิด
ดอก ปลีเป็นทรงกระบอกยาวเรียว สีแดงอมม่วง เมื่อกาบปลีเปิด
      จะม้วนงอขึ้น
ผล เครือหนึ่งมี 5 - 8 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 15 ผล ผลเหมือนกล้วยไข่
     แต่เปลือกหนากว่าปลายผลมีจุกขนาดเล็ก เมื่อสุกมีสีเหลืองสด
     เนื้อสีส้ม แน่นเหนียวรสหวานมัน    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด   
กล้วยไข่ทองเงย
 
ชื่อสามัญ                      ทองเงย
ชื่อพ้อง                         ทองเงย
ชื่อวิทยาศาสตร์        Musa (AA group) "Kluai Tong Ngey"
แหล่งที่พบ                  ภาคใต้ จังหวัด นครศรีธรรมราช

ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2. 5 - 3.0  เมตร กาบต้นนอกมี ประดำชัดเจน กาบต้น
     สีเขียวอ่อน
ใบ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง ร่องใบเปิด ใบสีเขียวเข้ม
ดอก สีแดงอมม่วง กาบปลีเปิดม้วนขึ้น
ผล ก้านเครือมีขน เครือหนึ่งมีประมาณ 10 หวี ผลสีเขียวเข้ม เมื่อสุก
     สีเหลืองทอง หวีเรียงเป็นระเบียบ เนื้อในสีขาว รสหวานเย็น ผล
     ลักษณะคล้ายกล้วยไข่ แต่ใหญ่กว่า ปลายผลเรียวแหลมชี้ขึ้น
     ชาวบ้านเรียกตามลักษณะผลคือ ผลคล้ายกล้วยไข่ เลยตั้งชื่อว่า
    ไข่ทองเงย
      การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด ทำกล้วยทอด   

กล้วยไข่พระตะบอง
 
ชื่อสามัญ                       -
ชื่อพ้อง                          กล้วยไข่บอง เจ็กบอง
ชื่อวิทยาศาสตร์         Musa (AAA group) "Kluai Khai Pra Tabong"
แหล่งที่พบ                  จังหวัดตราด สุรินทร์ ชัยภูมิ นนทบุรี ชลบุรี
                             สระแก้ว ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15
    เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียว มีประดำหนา โดยเฉพาะ
    ใต้ขอบใบ ด้านในมีสีเขียวอมเหลือง
ใบ ก้านใบสีเขียว ร่องใบเปิด ขอบก้านใบมีสีชมพูเล็กน้อย
ดอก ใบประดับรูปไข่ปลายแหลม สีแดงอมม่วง ด้านในสีซีด
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมี 14 - 16 ผล ผลโตกว่า
     กล้วยไข่ทั่วไปก้านผลค่อนข้างสั้นผลไม่มีเหลี่ยมปลายผลมนโค้ง
     ขึ้นเล็กน้อย เปลือกค่อนข้างหนา เนื้อด้านในสีเหลือง รสหวาน
    อมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมเล็กน้อย
      การใช้ประโยชน์ วิธีการแก้รสเปรี้ยวให้นำไปต้มทั้งเปลือกหรือนำไป
                      ทำกล้วยบวชชี   
กล้วยหอมทอง
 
ชื่อสามัญ                     Gros Michel
ชื่อพ้อง                         กล้วยหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์        Musa (AAA group) "Kluai Hom thong"
                                 กลุ่มย่อย Gros Miche
แหล่งที่พบ                  พบทั่วไป    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20
     เซนติเมตร กาบลำต้นด้นนอกมีประดำ ด้นในสีเขียวอ่อน และมี
     เส้นลายสีชมพู
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และ มีปีก เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ก้านเครือมีขน ปลีรูปไข่ ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบน
       สีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด
ผล เครือหนึ่งมี 4 - 6 หวี หวีหนึ่งมี 12 - 16 ผล กว้าง 3 - 4
     เซนติเมตร ยาว 21 - 25 เซนติเมตร ปลายผลมีจุก เห็ดชัดเปลือก
     บาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว
     แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด   
กล้วยหอมเขียว
 
ชื่อสามัญ                           Pisang Masak Hijau
ชื่อพ้อง                              กล้วยคร้าว เขียวคอหัก กล้วยเขียว
ชื่อวิทยาศาสตร์            Musa (AAA group "Cavendish" )
                                        "Kluai Hom Khieo"
แหล่งที่พบ                       พบได้อยู่ทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคใต้และภาคเหนือ    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 3.5 - 4.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 20 - 22 เซนติเมตร
     กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นดำใหญ่ ด้านในมีสีชมพูอมแดง
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และครีบมีสีชมพูอมแดง เส้นกลางใบ
    สีเขียว
ดอก ปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านนอกมีสีแดงอมม่วง
        ด้านในมีสีแดงซีด
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 8 - 10 หวี หวีหนึ่งมี 14 - 18 ผล ผลกว้าง
       3 - 4 เซนติเมตร ยาว 21 - 25 เซนติเมตร ปลายผลมนจุกสีเขียว
      สดเปลือกหนากว่ากล้วยหอมทอง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
      อมเขียว เนื้อสีขาว กลิ่นหอมฉุนค่อนข้างแรง รสหวาน เนื้อเละ    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด   
กล้วยหอมเขียวค่อม
 
ชื่อสามัญ                  Dwarf Cavendish
ชื่อพ้อง                     กล้วยหอมเตี้ย กล้วยหมูสี กล้วยป้ำ กล้วยเตี้ย กล้วยหอมค่อม กล้วยหอมดอกไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์     Musa (AAA group)
                            "Kluai Hom Khieo Khom"
แหล่งที่พบ               พบแถบภาคเหนือ    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 1 - 1.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20
       เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวอ่อน มีประสีน้ำตาลไหม้
ใบ ก้านใบสั้นสีเขียวอ่อน ใบสีเขียวเข้มมีเส้นใบชัดเจน แผ่นใบกว้าง
     ร่องใบกว้าง ใบหยาบแตกง่าย
ดอก รูปร่างยาวสีม่วงแดง ก้านช่อดอกไม่มีขน
ผล เครือหนึ่งมี 8 - 10 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 12 ผล ผลยาว ลักษณะ
     เหมือนกล้วยหอมทั่วไป แต่เมื่อสุกเปลือกเป็นสีเหลืองอมเขียว
     เปลือกหนา ขั้วผลจะหลุดง่าย เนื้อสีเหลือง รสหวาน    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด   

กล้วยหอมจันทน์
 
ชื่อสามัญ                     -
ชื่อพ้อง                         -
ชื่อวิทยาศาสตร์        Musa (AA group) "Kluai Hom Jan"
แหล่งที่พบ                  พบทางภาคเหนือ    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15
      เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำเล็กน้อย
     ด้านในสีชมพูอมแดง
ใบ ก้านใบสีชมพูอมแดง มีนวล ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีครีบ เส้นใบ
     สีชมพูอมแดง
ดอก ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปร่างค่อนข้างยาว ปลายแหลม เมื่อกาบ
     ปลีเปิด ม้วนงอขึ้น ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงซีด
ผล ก้านเครือตั้งขึ้น เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ ฝ       
      14 ผล ผลเล็ก รูปร่างคล้ายกล้วยเล็กมือนาง ผลเรียงเวียนไปทาง
      เดียวกัน เมื่อสุกสีเหลืองคล้ายกัน กลิ่นหอม เนื้อสีขาวเหลือง
      รสหวานเนื้อเหนียว    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด เนื้อผลในสมัยโบราณใช้ผสมทำเนื้อพระสมเด็จ   

กล้วยหอมแกรนด์เนน
 
ชื่อสามัญ                      Grand Naine
ชื่อพ้อง                          -
ชื่อวิทยาศาสตร์         Musa (AAA group) "Grand Naine"
                               กลุ่มย่อย Gavendish
แหล่งที่พบ                   อเมริกากลาง - อเมริกาใต้    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 1.8 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร
     กาบด้านนอกสีเขียว
ใบ ก้านใบมีสีเขียวอ่อน ร่องใบเปิด
ดอก ปลีมีสีแดงอมม่วง รูปไข่ค่อนข้างใหญ่ โคนกว้าง ปลายแหลม
      กาบปลีเปิดม้วนงอขึ้น
ผล โคนเครือสีเขียวมีขน เครือหนึ่งมีประมาณ 18 - 12 เซนติเมตร
     กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ลักษณะผล คล้ายกล้วยหอมทอง แต่
     ปลายผลไม่มีจุก เปลือกผลหนากว่ากล้วยหมอทองเล็กน้อย
     ผลสีเขียว เมื่อสุกสีเขียวอมเหลือง เนื้อสีเหลืองอ่อน รสหวาน
     มีกลิ่นหอม    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด   

กล้วยหักมุก
 
ชื่อสามัญ                  Silver Bluggoe
ชื่อพ้อง                      -
ชื่อวิทยาศาสตร์     Musa (ABB group)  "Kluai Hak Mulk " กลุ่มย่อย Bluggoe
แหล่งที่พบ              พบได้ทั่วไป    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.5  เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15
      เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำเล็กน้อย ด้านในมี
      สีเขียวอ่อน
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ และมีครีบ เส้นกลางใบสีเขียวมีนวล
     ทางด้านล่าง
ดอก ช่อดอกไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป้อม ม้วนงอขึ้น ด้านบนป่าน
       มีนวลหนา ด้านล่างมีสีแดงเข้ม
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 16 ผล ผลใหญ่ ก้านผล
      ยาว ปลายผลลีบลง มีเหลี่ยมชัดเจน เปลือกหนา เมื่อสุกสีเหลือง   
      อมน้ำตาล มีนวลหนา เนื้อสีส้ม    การใช้ประโยชน์ ผลใช้แปรรูป ผลสุกนำมาปิ้ง รับประทานได้รสชาติ
                       ดี หรือนำไปเชื่อม   

 กล้วยแสนหวี/กล้วยร้อยหวี

ชื่อท้องถิ่น     : กล้วยแสนหวี/กล้วยร้อยหวี/กล้วยงวงช้าง
                            Musa chiliocarpa Back.
ชื่อสามัญ       : --
วงศ์         :   MUSACEAE
ลักษณะของต้น : มีลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน ก้านใบตอนล่างเป็น
                      กาบหุ้มซ้อนกันแตกกอเช่นเดียวกับกล้วยทั่วไป
ลักษณะของดอก : ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็นปลีมีงวงยาวเป็น
                        พิเศษเรียงลงมายาวกว่า 1 เมตร
การขยายพันธุ์   : ใช้หน่อ
ถิ่นกำเนิด       :ประเทศอินโดนีเซีย
กล้วยร้อยหวี (Musa chiliocarpa Back) มีลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน ก้านใบตอนล่างเป็นกาบหุ้มห่อซ้อนกันคล้ายลำต้นสูง ๓ เมตร แตกกอเช่นเดียวกับกล้วยทั่วไป ใบรูปขอบขนาน ยาว

ใหญ่ ดอกออกที่ปลายลำต้นเป็นปลี กล้วยร้อยหวีมีงวงยาวเป็นพิเศษ ลูกเรียงกันเป็นหวี หวีมีจำนวนมากอยู่ติดกันยาวลงมาเรื่อยๆ กว่า ๑ เมตร ผลสุกสีเหลือง รสหวาน รับ

ประทานได้แต่มีขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย เป็นไม้ประดับเพื่อความแปลกตาและสวยงาม ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ
    ประโยชน์ทางสมุนไพร 
   ผลดิบทั้งเปลือก ใช้สมานเเผลหั่นตากเเห้งบดเป็นผงชงด้วยน้ำร้อนหรือปั้นเป็นเม็ดรับประทานรักษาเเผลในกระเพาะอาหาร เเก้ท้องเสียเรื้อรัง  เเผลเน่าเบื่อย เเผลติดเชื้อ

ต่าง ๆ
   เปลือกสุกเอาด้านในทาส้นท้าวเเตก 
   หัวปลี เเก้โรคโลหิตจางลดน้ำตาลในเลือด  เเก้เบาหวาน 
   ราก ต้มดื่มเเก้ใข้ได้อย่างดี

กล้วยตานี
 
ชื่อสามัญ                     -
ชื่อพ้อง                        กล้วยป่า กล้วยพองลา กล้วยตานีใน กล้วยชะนีใน กล้วยเมล็ด กล้วยงู
ชื่อวิทยาศาสตร์        Musa balbisiana Colla
แหล่งที่พบ                  พบทั่วไป
     
ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 3.5 - 4  เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20
      เซนติเมตร
ใบ เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ก้านช่อดอกสีเขียวไม่มีขน ปลีรูปร่างป้อม ปลายมน ด้านบน
       สีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อกาบปลีกางขึ้น
      จะไม่ม้วนงอ กาบปลีแต่ละใบซ้อมกันลึก
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 14 ผล ผลป้อมขนาด
     ใหญ่มีเหลี่ยมชัดเจน ปลายทู่ ก้านผลยาว ผลอ่อนมีทั้งสีเขียวอ่อน
     และเขียวเข้ม ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน เมล็ดมีจำนวนมาก
     สีดำ ผนังหนา แข็ง
    
การใช้ประโยชน์ ใบใช้ทำงานฝีมือ ปลีใช้ปรุงอาหาร (เป็นปลีที่อร่อย
                      กว่ากล้วยใด ๆ) เหง้าใช้ทำแกงคั่วได้ ผลอ่อนใช้ทำ
                      ส้มตำ ผลแก่ใช้นำมาทำน้ำส้ม
    
กล้วยกล้าย
 
ชื่อสามัญ                     Horm Plantain
ชื่อพ้อง                        กล้วยหมอนทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์       Musa (AAB group) "Kluai Klai"
                                 กลุ่มย่อย Plantain
แหล่งที่พบ                 พบทั่วไป
      ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 3.5 - 4 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูแดง
      มีประดำ ค่อนข้างมาก ด้านในสีเขียวอ่อน
ใบ ก้านใบมีประดำเล็กน้อย มีร่องค่อนข้างแคบ มีปีก สีชมพูอ่อน
ดอก ช่อดอกประกอบด้วยดอกตัวเมีย ซึ่งมีดอกตัวผู้เป็นหัน ไม่มีดอก
       ตัวผู้หรือดอกกะเทย เมื่อดอกเป็นผลจึงไม่มีปลีเหลืออยู่ ก้านปลี
      ไม่มีขน
ผล เครือหนึ่ง ๆ เมื่อดอกตัวเมียพัฒนาไปเป็นผลจะมี 12 - 13 ผล
     ผลยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 - 4.5
     เซนติเมตร เรียงไม่เป็นระเบียบ ก้านผลสั้นโค้งงอ มีเหลี่ยม
     เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อสุกสีเหลืองเนื้อสีส้ม รสหวาน ไม่มีเมล็ด    การใช้ประโยชน์ นิยมนำมาต้มรับประทานได้เนื้อเหนียว   

กล้วยเล็บมือนาง
 
ชื่อสามัญ                         -
ชื่อพ้อง                            กล้วยข้าว กล้วยหมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์          Musa (AA group) "Kluai Leb Mu Nang"
แหล่งที่พบ                     แถบภาคใต้ และภาคกลาง แถบกรุงเทพ    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15
     เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำหนา
     ด้านในสีชมพูอมแดง
ใบ ก้านใบสีชมพูอมแดง ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีครีบ เส้นใบสีชมพู
     อมแดง ใบสีเขียวอ่อน ค่อนข้างแคบ
ดอก ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม
     ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงซีด
ผล หวีหนึ่งมี 10 - 16 ผล ผลเล็กรูปโค้งงอ ปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น
     เปลือกหนา เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง และยังมีก้านเกสร
     ตัวเมียติดอยู่ กลิ่นหอมแรง เนื้อสีเหลือง รสหวาน    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด หรือแปรรูปเป็นกล้วยตาก
                      กล้วยอบน้ำผึ้ง   
กล้วยเล็บช้างกุด
 
ชื่อสามัญ               Ballbisiana
ชื่อพ้อง                      กล้วยเล็กช้างกุด กล้วยโก๊ะ อีเต่า
ชื่อวิทยาศาสตร์      Musa (BBB group) "Kluai Lep Chang kut"
แหล่งที่พบ               พบทางภาคใต้    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 3.5 - 4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 - 20 เซนติเมตร
     กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวมีนวลไม่มีปื้นดำ ด้านในมีสีเขียว
ใบ ก้านใบมีสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ช่อดอกไม่มีขน ปลีค่อนข้างป้อมมีความกว้างมาก ปลายมน
       ด้านนอกมีสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านในมีสีแดงสดใส เมื่อกาบ
      ปลีกางออกจะตั้งฉากกับช่อดอกไม้ม้วนงอขึ้น กาบปลีแต่ละใบ
      จะซ้อนกันลึก
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมี 14 - 18 ผล ลักษณะ 
     ผลป้อมคล้ายกล้วยตานี ปลายผลมน ก้านผลยาว เมื่อสุก
     เปลี่ยนเป็นสีเหลือง รสหวาน เนื้อมีแป้งมาก บางผลมีเมล็ด
      ถ้าต้มแล้วเนื้อจะแน่นเหนียว    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด   
กล้วยนิ้วมือนาง
 
ชื่อสามัญ                     -
ชื่อพ้อง                        กล้วยหวาน
ชื่อวิทยาศาสตร์       Musa (AAB group) "New Mu Nang"
แหล่งที่พบ                 จังหวัดนครสวรรค์    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 16 - 18
      เซนติเมตร กาบด้านนอกเขียว ด้านในสีเหลืองอมเขียว
ใบ ก้านใบสีเขียว ร่องใบเปิด
ดอก ปลีมีสีแดงรูปไข่เรียวแหลม ปลายแหลม
ผล ก้านเครือมีขน เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมี 10 -16 ผล
     ผลยาว 12 -16 เซนติเมตร กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร สุกมีสีเหลือง
     รสหวานเล็กน้อย    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด   

กล้วยนมสาว
 
ชื่อสามัญ                      -
ชื่อพ้อง                         -
ชื่อวิทยาศาสตร์        Musa (AAB group) "Kluai Nom Sao"
แหล่งที่พบ                  ภาคใต้    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15
     เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวเข้ม มีปื้นสีดำ
ใบ ก้านใบค่อนข้างสั้น มีประดำ ร่องก้านใบเปิด
ดอก ปลีเป็นทรงดอกบัว ปลายแหลม สีแดงอมม่วง
ผล เครือหนึ่งมี 5 - 7 หวี หวีหนึ่งมี 10 -12 ผล ผลอ้วนกลมผิวสีสดใส 
     ปลายผลมีจุกใหญ่งอนขึ้น ผลสุกเปลือกหนา    การใช้ประโยชน์  ผลใช้รับประทานสด   

กล้วยนมหมี
 
ชื่อสามัญ                           -
ชื่อพ้อง                               -
ชื่อวิทยาศาสตร์             Musa (ABB group) "Kluai Nom Mi"
แหล่งที่พบ                        พบแถบภาคกลาง     ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2 - 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 - 15 เซนติเมตร
     กาบด้านนอกเขียวอ่อน มีประดำเล็กน้อย
ใบ ก้านใบผอม สีเขียวอ่อน ฐานใบโค้งมน
ดอก ผลค่อนข้างใหญ่รูปทรงเรียวปลายแหลม ด้านนอกสีแดงอมม่วง
       เมื่อกาบเปิดจะม้วนงอขึ้น
ผล ผลมีขนาดใหญ่ ปลายผลชี้ไม่เป็นระเบียบปลายผลจะมีจุกใหญ่
     ปลายมน ผลกว้าง 5 - 6 เซนติเมตร ยาว 12 - 13 เซนติเมตร ผล
     มักจะพบแถบลายแตกสีน้ำตาล แต่ผลสุกสีเหลือง เนื้อสีขาวแน่น
     รสชาติหวาน เปลือกบาง     การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด    

กล้วยนมสวรรค์
 
ชื่อสามัญ                           -
ชื่อพ้อง                              กล้วยจีน กล้วยลังกา
ชื่อวิทยาศาสตร์            Musa (AAB group) "Kluai Nom Sawan"
แหล่งที่พบ                       พบได้ทั่วไป    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15
     เซนติเมตร กาบด้านนอกเขียว ด้านในสีเขียวอมเหลือง
ใบ ก้านใบมีสีเขียว ร่องใบเปิด
ดอก ปลีใหญ่รูปไข่สีแดงอมม่วง ปลายแหลม
ผล ก้านเครือมีขน เครือหนึ่งมี 10 - 12 หวี หวีหนึ่งมี 20 - 24 ผล
    ผลอ้วนกลมคล้ายกล้วยไข่ เปลือกหนา สีเขียวเข้ม ผลมีขนาด
    ปานกลาง เมื่อสุกมีสีเหลืองทอง เนื้อผลมีสีเหลืองอมส้ม รสหวาน
    อมเปรี้ยว    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด   

กล้วยน้ำนม
 
ชื่อสามัญ                -
ชื่อพ้อง                   -
ชื่อวิทยาศาสตร์   Musa (AA group) "Kluai Nam Nom"
แหล่งที่พบ            แถบภาคเหนือ    ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 -15 เซนติเมตร
     กาบด้านนอกมีสีเขียวประสีน้ำตาล เล็กน้อย กาบด้านในมีสีเขียว
     อ่อน
ใบ ก้านใบยาว ตัวใบมีสีเขียวอ่อนรูปทรงใบยาว ปลายเรียว ปลายใบ
     ของหน่ออ่อนเรียวแหลม
ดอก ปลีสีม่วงอมแดง
ผล ก้านเครือสีเขียวมีขน เครือหนึ่งมี 7 - 12 หวี หวีหนึ่ง 16 - 20 ผล
     ผลมีขนาดเล็กกลม โค้งปลายจุกงอนขึ้น ผลเมื่อสุกมีสีเหลือง
     เปลือกหนา สีขาวนวล กลิ่นหอม เนื้อนุ่ม รสชาติหวานแหลม    การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด    



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.262 seconds with 20 queries.