Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
28 April 2024, 12:58:50

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,608 Posts in 12,441 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  วิถีสู่ชีวิตแห่งความพอเพียง  |  เกษตรทางเลือก  |  เกษตรกรรมจีนโบราณ  |  เกษตรกรรมของประเทศจีน
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เกษตรกรรมของประเทศจีน  (Read 2290 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 07:19:07 »

เกษตรกรรมของประเทศจีน


จีนเป็นประเทศใหญ่ด้านการเกษตร ประชากรในเขตชนบทส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ในสมัยเด็กของหลง หยู่ง ถู รูปแบบการผลิตด้านการเกษตรของจีนล้าหลังมาก บวกกับเกิดอุทกภัยและภัยแล้งเป็นประจำ ซ้ำยังมีสงครามกลางเมืองด้วย ทำให้เกษตรกรรมตกอยู่ในภาวะซบเซาขาดแคลนผลผลิตการเกษตรอย่างมาก และประชาชนเดือดร้อนมาก ปี 1949 ชาวชนบทจีนเฉลี่ยแล้วบริโภคธัญญาหารเพียง 180 กิโลกรัม ปี 1949 สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้น ใช้เวลา 3 ปี รัฐบาลจีนดำเนินการปฏิรูประบบที่ดิน โดยกระจายที่ดิน เครื่องมือการทำนาทำไร่และสัตว์ของเจ้าที่ดินแบ่งให้แก่ชาวนา นโยบายนี้ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาเกษตรกร การเกษตรของจีนจึงได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ปริมาณการผลิตธัญญาหารและฝ้ายเพิ่มขึ้นมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน หลังจากนั้นจีนดำเนินโครงการชลประทานและปฏิรูปเทคนิคการเพาะปลูกเป็นการใหญ่ ทำให้ภาวะแวดล้อมการเกษตรได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปริมาณการผลิตธัญญาหารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆถึงปลายทศวรรษ 1970 การผลิตธัญญาหารและฝ้ายได้เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 1952 แม้ว่า การผลิตธัญญาหารได้เพิ่มขึ้นมากเช่นนี้ แต่เนื่องจากประชากรเพิ่มขึ้นยิ่งเร็วกว่า จีนยังเป็นประเทศที่ขาดแคลนอาหารเสมอ นายหยาง จี่ เลี่ยง ชาวชนบทของหมู่บ้านปี้ เซิ่ง เมืองฉือ โจว มณฑลอันฮุยกล่าวว่า ปัญหาปากท้องเป็นปัญหาที่หมู่บ้านไม่สามารถแก้ตกได้มาตลอด "เมื่อทศวรรษ 1960-1970 ขาดแคลนอาหารอย่างมาก ต้องกินผักป่าแทนข้าวเป็นประจำ" สมัยนั้น บรรดาชาวบ้านต้องไปทำนาทำไร่ด้วยกัน และแบ่งปันผลการเกษตรเท่ากัน ทำให้ชาวชนบทไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นในการทำนาทำไร่ ถึงปลายปี 1978 หมู่บ้านเสี่ยว ก่าง ชน ได้นำหน้าดำเนินการปฏิรูประบบที่ดิน ให้ครอบครัวชาวชนบทรับเหมาที่ดินในการปลูกธัญญาหาร บ้านใครได้ผลผลิตมากบ้านเขาก็จะมีรายได้มาก ทำให้ชาวชนบทมีความกระตือรือร้นสูงในการเพาะปลูก ในปีที่สอง ผลผลิตธัญญาหารได้เพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้น รัฐบาลจีนตกลงเผยแพร่ประสบการณ์การรับเหมาที่ดินของหมู่บ้านเสี่ยว ก่าง ชนไปทั่วประเทศ หมู่บ้านของนายหยาง จี่ เลี่ยง ก็เริ่มปฏิรูประบบที่ดิน "ถึงทศวรรษที่ 1980-1990 เนื่องจากใช้ระบบรับเหมาที่ดิน ชาวชนบทมีความกระตือรือร้นในการผลิตธัญญาหารเพิ่มขึ้น ปัญหาปากท้องจึงได้รับการแก้ไขในขั้นพื้นฐาน" สถิติปรากฏว่า ในช่วงปี 1978-1984 แต่ละปี ผลการผลิตทางการเกษตรได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันด้วยอัตราเติบโต 8% และปี 2008 ปริมาณการผลิตธัญญาหารของจีนมีถึง 500 ล้านตัน นางหลิว ตง จู่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนสำรองธัญญาหารของสำนักงานธัญญาหารแห่งชาติของจีนกล่าวว่า ด้วยความพยายามเป็นเวลาหลายปี จีนแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน 22%ของโลกด้วยที่ดินเพาะปลูกเพียง 7 %ของโลก นับว่าเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก "ในการแก้ปัญหาปากท้อง จีนมุ่งมั่นที่จะอาศัยตนเอง พยายามไม่พึ่งพาต่างประเทศ  ปีหลังๆมานี้การบริโภคและการผลิตธัญญาหารทั่วประเทศจีนพอเพียงในขั้นพื้นฐาน อัตราบริโภคธัญญาหารที่ผลิตในจีนมีถึง 95 %ขึ้นไป " เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการเพราะปลูกธัญญาหาร รัฐบาลจีนยังใช้มาตรการช่วยเหลือทางการเกษตรอีกมากมาย เฉพาะปี 2007 เงินช่วยเหลือเกษตรกรในการปลูกข้าวและซื้อเครื่องมือทำนาทำไร่มีถึง 600 ล้านกว่าหยวน ขณะเดียวกัน รัฐบาลใช้นโยบายปรับเพิ่มราคารับซื้อข้าว เพิ่มปริมาณการสำรองธัญญาหาร น้ำมันปรุงอาหารและเนื้อหมู นอกจากนี้รัฐบาลส่งเสริมชาวชนบทไปหางานทำในเมืองใหญ่ต่างๆ เพื่อให้ชาวชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 1998 จีนเริ่มยกเลิกภาษีการเกษตร จนถึง ปี 2006 ทั่วประเทศจีนได้ปลอดภาษีการเกษตร ลดภาระของบรรดาเกษตรกรถึง 130,000 ล้านหยวนต่อปี โดยทำให้ประวัติศาสตร์ที่เกษตรกรต้องเสียภาษีตั้งแต่สมัยโบราณมาเป็นเวลานานถึง 2600 ปีได้สิ้นสุดลง นโยบายและมาตรการดังกล่าวทำให้บรรดาเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ระดับชีวิตความเป็นอยู่ได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ชาวชนบทไม่เพียงแต่สามารถซื้อโทรศัพท์มือถือ ยังปลูกบ้านหลังใหม่เป็นตึก 2-3 ชั้น บางบ้านยังมีรถเก๋งด้วย หยาง จี่ เลี่ยงรู้สึกพอใจต่อชีวิตในปัจจุบันมาก เขากล่าวว่า "ขณะนี้ ไม่เพียงแต่ไม่มีปัญหาปากท้อง ที่อยู่อาศัย การคมนาคมและการสื่อสารสะดวกสบายมาก" ตามแผนการที่รัฐบาลจีนตั้งเป้าไว้ว่า ถึงปี 2020 รายได้สุทธิของเกษตรกรจะเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2008 และทั่วประเทศจะไม่มีผู้ยากจน


ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย
https://soclaimon.wordpress.com/2011/04/10/ชมสำเภาจีนโบราณลำเดียว/
http://www.human.nu.ac.th/206111/Pdf%20file/05nian.pdf
http://www.human.nu.ac.th/206111/Pdf%20file/06li.pdf
th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์จีน
th.wikipedia.org/wiki/เกษตรกรรม


ที่มา " http://www.elearneasy.com "
ผู้เขียน : ดร.นริศ วศินานนท์
 
:: มองเกษตรกรรมจากอักษรจีน

从汉字看中国的农业
     
คลิกเพื่อดูรูปใหญ่
   
     
ข้าวสาลีสมัยยุคหินใหม่ที่ขุดพบที่เขาตงฮุย ตำบลหมินเล่อ กานซู
     
คลิกเพื่อดูรูปใหญ่
   
     
ภาพฉลองปีใหม่สมัยโบราณของจีน
     
คลิกเพื่อดูรูปใหญ่
   
     
หอบวงสรวงฟ้าดิน (หอฉีเหนียน)
     
คลิกเพื่อดูรูปใหญ่
   
     
อักษรตัว 协 รูปคนหลายคนกำลังทำนา
     
คลิกเพื่อดูรูปใหญ่
   
     
อักษรตัวต้าว หมายถึงรวงข้าว
          ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมเก่าแก่มาช้านาน มีอักษรจีนเป็นเครื่องมือบันทึกภาษาเป็นของตนเอง และอักษรจีนนี้เองเป็นวัฒนธรรมทางภาษาอย่างหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวในสมัยโบราณให้เห็นถึงอารยธรรมอันเก่าแก่ได้ อักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดของจีน คือ อักษรกระดองเต่ากระดูกสัตว์ อักษรชนิดนี้ได้วิวัฒนาการมาจากรูปภาพเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงสามารถเข้าใจเกษตรกรรมและเรื่องราวบางประการจากอักษรจีนได้ดี
          อักษรคำว่า “ต้าว 稻” จากการที่คนเรารู้จักเก็บพืชผักป่ามาเป็นอาหารได้พัฒนามาเป็นการเพาะปลูก มนุษย์รู้จักการเกษตรแต่แรกเริ่ม ก่อน 7,000 ปีก่อน ชาวจีนได้มีการปลูกข้าวที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงกันแล้ว และเมื่อ 6,000 กว่าปีก่อน ชาวจีนแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห รู้จักการแกะเปลือกของเมล็ดข้าวสาลี นำมาเป็นอาหารหลักกันแล้ว เมื่อ 3,000 กว่าปีก่อน ในสมัยราชวงศ์โจว ข้าวสาลีเป็นพืชที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายทางตอนเหนือของจีน ในช่วงนี้ถือว่าประเทศจีนได้เข้าสู่ยุคของการเกษตรเต็มตัว ต่อมาการเพาะปลูกข้าวเป็นอาหารหลักนั้นเป็นเรื่องที่ชาวจีนได้ทำกันมาทุกปี อักษรกระดองเต่ากระดูกสัตว์นั้นมีการบันทึกว่า “ปีนี้การเก็บเกี่ยวพืชดีหรือไม่ดี”
          ประโยคนี้สามารถยืนยันได้ว่าสมัยราชวงศ์ซางมีการเพาะปลูกเป็นงานหลักในสมัยนั้นแล้ว อักษรที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ในอักษรกระดองเต่าและกระดูกสัตว์ และอักษรจินเหวิน ได้มีอักษรที่บันทึกเรื่องราวดังกล่าว เช่น คำว่า “禾” (เหอ) อักษรคำนี้หมายถึง ข้าวเปลือก  เป็นรูปต้นข้าวมีรากมีใบ มีรวงข้าวเต็มรวง โน้มรวงลงมา ในสมัยโบราณของจีน มีคำกล่าวที่ว่า “五谷 อู๋กู่” ข้าวทั้งห้า ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวเหลือง ข้าวสาลีเล็ก ข้าวสาลีใหญ่ และจำพวกถั่ว เป็นต้น อักษรคำว่า “稻” เป็นอักษรที่สามารถบอกความหมายได้ กล่าวคือ ส่วนซ้ายมือคือเหอ หมายถึงต้นข้าวเต็มรวง ส่วนซ้ายมือคือ  臼  เป็นครกตำข้าวที่ใช้มือตำ ส่วนล่างมีจุดหกจุด หมายถึงข้าวที่ถอดเปลือกแล้วกลายเป็นเมล็ดข้าว ความหมายของทั้งคำ คือกระบวนการสีข้าวในสมัยโบราณ
          ประเทศจีนเป็นประเทศเกษตรกรรมใหญ่ ไม่เพียงการเพาะปลูกที่หลากหลาย ยังมีประเพณีที่สืบทอดกันมาในการทำการเพาะปลูกอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีวิธีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการทำและวิธีการไถนา การจัดการกับที่ทำนาและวิธีการปลูก อักษรจีนที่เห็นได้ชัดเจน เช่น คำว่า “田  เถียน” (ที่นา) เป็นอักษรที่เหมือนภาพของทุ่งนา มีอักษรคำว่า “耒  เหล่ย”  และคำว่า “ 耜  ซื่อ” (เครื่องมือพรวนไถดิน) และมีคำว่า “利 ลี่” หมายถึงการใช้มีดเกี่ยวต้นรวงข้าว และมีอักษรคำว่า “犁 ลี่” แสดงความหมายว่า ใช้วัวไถนา และอักษรคำว่า “耕 เกิง” เป็นรูปมือถือเครื่องมือพรวนดิน และมีอักษรที่สื่อความหมายคือ หลายคนร่วมแรงร่วมใจช่วยกันไถดิน คือคำว่า “协 เสีย” และใช้วิธีการชักน้ำจากคูน้ำเข้าไปเก็บไว้ในนา คืออักษรคำว่า “留 หลิว” (เก็บ) และอักษรคำว่า “艺 อี้” ซึ่งเป็นรูปคนใช้สองมือกำลังปลูกต้นไม้ อักษรเหล่านี้ทำให้เห็นถึงชาวจีนสมัยโบราณได้มีกิจกรรมการเพาะปลูกอันถือเป็นเทคนิค หรือความสามารถอย่างหนึ่ง
          ส่วนคำว่า “农(农)หนง” มีความหมายว่าเกษตรกรรม เดิมมีความหมายถึง จอบ หรือการเก็บเกี่ยว ในอักษรจีน ส่วนบนของคำนี้คือพืชหญ้า หมายถึงต้นข้าว ส่วนล่างคือ 辰 เฉิน เป็นรูปสองมือถือเคียว ต่อมาในอักษรจินเหวิน จะเพิ่มอักษรตัวเถียน 田 (ทุ่งนา) เข้าไป ทำให้ความหมายยิ่งชัดเจนขึ้น จึงหมายถึงคนอยู่ที่ทุ่งนา มือถือเคียวเกี่ยวหญ้า หรือเกี่ยวตัดต้นข้าว สิ่งเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่มีมาแต่ช้านาน หลังจากอักษรตัวนี้ได้วิวัฒนาการมาถึงอักษรลี่ ส่วนบนได้เปลี่ยนรูปเป็น 曲 ชวี ไปทั้งคำ  เห็นได้ว่าเคียวเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเกี่ยวตัดหรือตัดหญ้าตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ และเห็นได้ว่าอักษรตัวหนงมีมาแต่ช้านานเช่นกัน
          คำว่า “年 เหนียน” เป็นอักษรที่ชาวจีนชอบมาก เมื่อคนจีนฉลองตรุษจีนจะเรียกว่า “过年 กั้วเหนียน” (ฉลองปีใหม่) แต่คำว่าเหนียนมีความเกี่ยวข้องกับการเกษตรโดยตรง อักษรกระดองเต่ากระดูกสัตว์และอักษรจินเหวินนั้น คำว่า 年 ส่วนบนมีคำว่า “禾 เหอ” ส่วนล่างเป็นรูปคน ทั้งคำเหมือนกับคน ๆ หนึ่งกำลังแบกรวงข้าวมัดหนึ่ง หมายถึงการเก็บเกี่ยวทางการเกษตร ในอักษรานุกรมอธิบายความหมายของคำนี้ว่า “รวงข้าวสุกงอม ความหมายคือ เก็บเกี่ยวได้แล้ว สมัยราชวงศ์ซางและโจว คนเราเมื่อได้ใช้แรงงานเหน็ดเหนื่อยทั้งปี เมื่อถึงการเก็บเกี่ยวจะเรียกว่า “受年 โซ่วเหนียน” และเนื่องจากข้าวเปลือกเหล่านั้นสามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละครั้งเท่านั้น ดังนั้นกลายความหมายเป็น “岁 ซุ่ย” (ปี) คำว่า “อี้เหนียน คือ อี๋ซุ่ย 一年就是一岁 สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงถึงประเทศจีนสมัยราชวงศ์ซางโจวได้เข้าสู่สังคมการเกษตรแล้ว
          ถ้าเช่นนั้นคำว่า “กั้วเหนียน” เป็นเรื่องอะไรกันแน่ คำนี้มีที่มาเมื่อ 3,000 กว่าปีก่อนในสมัยราชวงศ์ซางโจว จากคำว่า “腊祭 ล่าจี้”  คำว่า “ล่า” เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของการเซ่นไหว้บวงสรวง เป็นกิจกรรมที่ผู้ใช้แรงงานทำไร่ทำนา เก็บเกี่ยวอุดมสมบูรณ์ด้วยความยินดี เมื่อถึงปลายปี เดือนสิบสอง เรียกว่า “腊月 ล่าเยวี่ย”  ได้จัดกิจกรรมเซ่นไหว้ หรือบวงสรวงเทพเจ้าฟ้าดิน และบรรพบุรุษ เทศกาลตรุษจีนเป็นเทศกาลที่เก่าแก่และสืบทอดกันมายาวนาน อักษรดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงสีสันทางวัฒนธรรมการเกษตรกรรม หอฟ้าที่ปักกิ่งนั้นเป็นสถานที่ที่ฮ่องเต้ในสมัยราชวงศ์ชิงและราชวงศ์หมิงมีการบวงสรวงฟ้าดิน เพื่อให้มีลมฟ้าฝนเพียงพอต่อการเกษตร และจะได้ผลเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ ที่หอฟ้ามีตำหนักหนึ่งเรียกว่า “祈年殿 ตำหนักฉีเหนียน” คำว่า “祈年 ฉีเหนียน” ความหมายคือ ขอให้มีรวงข้าวมากมายให้เก็บเกี่ยว
          จากตัวอย่างที่กล่าวมาเห็นได้ว่า สังคมเกษตรกรรมของประเทศจีนมีมาแต่ช้านาน และมีการใช้เครื่องมือในการทำการเกษตรและวิธีการเก็บเกี่ยวต้นข้าว รวมถึงความเชื่อต่อการทำการเกษตรด้วยการบวงสรวงฟ้าดิน เพื่อให้การเก็บเกี่ยวแต่ละปีอุดมสมบูรณ์ อันหมายถึงความอยู่รอดของผู้คนในสมัยนั้น ๆ

Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.044 seconds with 22 queries.