Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
10 May 2024, 01:24:47

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,650 Posts in 12,467 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแห่งแผ่นดินสยาม (Moderator: Smile Siam)  |  ในหลวงของเราก็เสียภาษีด้วยนะ
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: ในหลวงของเราก็เสียภาษีด้วยนะ  (Read 1123 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 27 December 2012, 06:45:08 »

ในหลวงของเราก็เสียภาษีด้วยนะ


ในหลวงทรงทำเป็นแบบอย่างที่ดี...ในการชำระภาษี
ในขณะที่บุคคลร่ำรวยในประเทศไทยอีกมาก...พยายามเลี่ยงภาษี

ทรัพย์สินของพระองค์ แบ่งเป็น สองประเภทคือ
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับ ทรัพย์สินส่วนพระองค์
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะได้รับการยกเว้นภาษี
ส่วนที่สองซึ่งเป็นสินทรัพย์ส่วนพระองค์ยังต้องทรงเสียภาษีอยู่
ดังมี รายละเอียดดังนี้....

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระ มหากษัตริย์
(Crown Property Bureau หรือย่อว่า CPB)

เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความ
ในพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์
พุทธศักราช 2479 เดิมมีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ
สังกัดกระทรวงการคลัง และได้ยกฐานะขึ้น เป็น นิติบุคคลเมื่อปี พ.ศ. 2491
มีหน้าที่ดูแลรักษาและบริหารทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ที่กำหนดให้แยกต่างหากจากทรัพย์สินส่วนพระองค์
(เช่น วังสระปทุม ที่ทรงได้รับสืบทอดมาจากพระราชบิดา)
ซึ่งดูแลโดย สำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์

และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของ แผ่นดิน (เช่น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน)
ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในความดูแล
ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
โดยสรุปแล้วก็คือพระราชทรัพย์ของราชวงศ์จักรี
(สินทรัพย์ส่วนพระองค์)
ที่แยกต่างหากจากทรัพย์สินของแผ่นดิน เช่น

...เงินจากการแต่งสำเภาค้าขายต่าง ประเทศของรัชกาลที่ 3
หรือที่เรียกว่า "เงินถุงแดง"

ซึ่งตกทอดมาถึง รัชกาลที่ 5 และ
ใช้จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศฝรั่งเศส
หลังเหตุการณ์สงคราม ร.ศ. 112
สงคราม ร.ศ. 112 ซึ่งมีส่วนช่วยให้ประเทศสยามรักษาเอกราชไว้ได้

...หรือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ที่ก่อตั้งโดยรัชกาลที่ 6

ต่อมาภายหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475
เนื่องจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นพระราชทรัพย์ของราชวงศ์ จักรี
ที่แยก ต่างหากจากทรัพย์สินของราชการ
เพื่อความเหมาะสมจึงมีการออกกฎหมายกำหนดให้
มีผู้รับผิดชอบบริหาร จัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ
คือพระราชบัญญัติ จัดระเบียบ ทรัพย์สิน ฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479
และมีการแก้ไขปรับปรุงมาจนถึงปัจจุบัน

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ได้รับการยกเว้นภาษีอากร เช่นเดียวกับ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
เนื่องจากมิได้เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่เป็นของแผ่นดิน

ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติ
จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479

ในขณะที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ในความดูแล
ของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์
ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
มีทรัพย์สินในความดูแลเป็นที่ดินกว่า 54 ตร.กม.
ใน กรุงเทพมหานคร และ 160 ตร.กม.ในจังหวัดอื่น
โดยทำสัญญาให้เช่าแก่หน่วยงานราชการ
องค์กรธุรกิจและบุคคลทั่วไปรวมประมาณ 36,000 สัญญา

นอกจากนี้ยังมีหลักทรัพย์ลงทุนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นใน 3 บริษัทหลักคือ
ปูนซิเมนต์ไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์
และเทเวศประกัน

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
ไม่ใช่ทรัพย์สินของส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจะถูกบริหารงานในรูปแบบองค์กรนิติบุคคลภายใต้ชื่อ
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ ได้แก่ ที่ดินและหุ้น

ทรัพย์สินส่วนพระองค์ของในหลวง
ยังทรงมีการลงทุนส่วนพระองค์เอง
โดยไม่ผ่านสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
โดยการเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) 43.87%
บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 18.56%
และบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 2.04% เป็นต้น
ทรัพย์สินส่วนพระองค์นี้ยังหมายรวมถึง
เงินทูลเกล้าถวายฯ ตามพระราชอัธยาศัยต่าง ๆ
ซึ่งทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้นไม่ได้รับการยกเว้นเรื่องภาษี
และต้องเสียภาษีอากรตามปกติ

ในหลวงไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลกอย่างที่นิตยสารฟอร์บจัดอันดับ
พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บ
ให้เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก
ซึ่งความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากในความเป็นจริง
"ทรัพย์สินที่นับมาประเมินนั้นเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
มิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์"

ในหลวงมิได้ทรงเป็นเจ้าของปูนซิเมนต์
และเจ้าของธนาคารแต่เพียงผู้เดียว
พระองค์ทรงเป็นเพียงผู้ถือหุ้น ส่วนหนึ่งเท่านั้น

พระองค์ทรงเป็นผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่ง มิใช่เจ้าของกิจการทั้งหมด
-SCC : บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,200 ล้านบาท ราคาตลาดประมาณหุ้นละ 200 บาท
สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ฯ ถือหุ้นประมาณ 30%
จำนวนประมาณ 360 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 72,000 ล้านบาท

-SCB : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ทุนจดทะเบียนชำระแล้วประมาณ 15,000 ล้านบาท
ราคาตลาดประมาณหุ้นละ 100 บาท
สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ฯ ถือหุ้นประมาณ 8%
จำนวนประมาณ 150 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 15,000 ล้านบาท
พระองค์มิใช่เป็นเจ้าของกิจการทั้งหมด

หยุดให้ร้ายพระองค์ท่านว่าทรงร่ำรวยที่สุด
โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง

ในหลวงทรงเป็นแบบอย่างที่ดี...ในการชำระภาษี
ในขณะที่บุคคลร่ำรวยในประเทศไทย อีกมากยังพยายามเลี่ยงภาษี

เพราะแม้แต่สินทรัพย์ส่วนพระองค์ สุดท้ายแล้วพระองค์ก็ทรงนำมาใช้
ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชน..
ลองฟังข่าวพระราชสำนักให้ดีๆ ในหลวงกับพระราชินี
ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการช่วยเหลือ....

Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.061 seconds with 20 queries.