Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
29 April 2024, 13:24:02

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,614 Posts in 12,444 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าอริยสาวก  |  พระพุทธรูปและพระบรมสารีริกธาตุ  |  พระพุทธชินราช (พิษณุโลก)
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: พระพุทธชินราช (พิษณุโลก)  (Read 1158 times)
SATORI
สมาชิกกิตติคุณ
น้องใหม่ฝึกยิ้ม
*****
Offline Offline

Posts: 37


View Profile
« on: 26 December 2012, 23:34:06 »

พระพุทธชินราช (พิษณุโลก)



วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ. พิษณุโลก

พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทยองค์หนึ่ง
ถึงขั้นที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้ชลอมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
แต่ทรงรับฟังคำทูลขอร้องของชาวพิษณุโลก ที่ว่าพระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง จึงทรงตัดสินพระทัยหล่อ พระพุทธชินราชจำลอง ขึ้นมาแทน




ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในปีใด แต่มีการสันนิษฐานโดยอ้างอิงตามพงศาวดารเหนือ คาดว่าน่าจะสร้างพร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา
ในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จากนั้นจึงมีการลงรักปิดทององค์พระเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะ
ลงรักปิดทองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการบูรณะครั้งล่าสุดในรัชกาลที่ 9 พระพุทธชินราชนี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช
ลักษณะขององค์พระเส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขโนงโก่ง พระเนตรประดุจตากวาง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ
นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน อยู่ในลักษณะปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวาขององค์พระมียักษ์ 2 ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัลลานะ
และพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้วที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาลักษณะเป็นรูปตัวเหรา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมากอย่างหนึ่ง พระ

พุทธชินราชประดิษฐานในวิหารลักษณะเก้าห้อง ซึ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ทำให้องค์พระสวยงามบริบูรณ์อย่างในปัจจุบัน
และในประวัติศาสตร์ยังพบว่ากษัตริย์ในทุกๆสมัยของไทยให้ความเคารพและศรัทธาต่อองค์พระพุทธชินราชมาอย่างต่อเนื่องทุกๆ พระองค์




ประวัติ


พระพุทธชินราชก่อนการบูรณะปิดทองในสมัยรัชกาลที่ 5

พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล จึงมีตำนาน พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2409
โดยอาศัยหลักฐานจากพงศาวดารเหนือ แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดียุติได้ ดังนี้ คือ

พระพุทธชินราช สร้างโดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) กษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในตำนานพระพุทธชินราชฯ เรียกพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก
โดยสร้างพระพุทธรูปพร้อมกัน 3 องค์ เพื่อประดิษฐานในพระวิหารทิศ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมื่อพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 1900 ในตำนานพระพุทธชินราชฯ
มีชื่อช่างหล่อพระพุทธชินราชเป็นช่างพราหมณ์ฝีมือดี 5 นาย คือ บาอินท์ 1 บาพรหม 1 บาพิษณุ 1 บาราชสังข์ 1 บาราชกุศล 1

ตำนาน

ตำนานกล่าวไว้ว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกหรือพระมหาธรรมราชา (พญาลิไท) กษัตริย์องค์ที่ 4 ในพระราชวงศ์พระร่วง สมัยกรุงสุโขทัย
เป็นผู้สร้างพระพุทธชินราช เมื่อราว พ.ศ. 1900 ทรงโปรดให้ช่างสวรรคโลก ช่างเชียงแสน และช่างหริภุญไชย สมทบกับช่างกรุงศรีสัชนาลัย
ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 3 องค์ ได้แก่ พระศรีศาสดา พระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ จวบจนถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
ปีเถาะจุลศักราช 717 ราว พ.ศ. 1898 ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ เมื่อเททองหล่อเสร็จแล้ว และทำการแกะพิมพ์ออก
ปรากฏว่า พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา องค์พระสมบูรณ์สวยงามดี ส่วนพระพุทธชินราชนั้นได้หล่อถึง 3 ครั้งก็ไม่เสร็จเป็นองค์พระได้
กล่าวคือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกจึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง ครั้งนั้นจึงร้อนถึง
อาสน์พระอินทร์เจ้าจึงนฤมิตเป็นตาปะขาวลงมาช่วยทำรูปพระ คุมพิมพ์ปั้นเบ้า ด้วยอานุภาพพระอินทราธิราชเจ้าทองก็แล่นรอบคอบบริบูรณ์
ทุกประการหาที่ติมิได้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสให้หา "ตาปะขาว" ผู้นั้น แต่ตาปะขาวได้หายตัวไปแล้ว
หมู่บ้านและวัดที่ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่า บ้านตาปะขาวหายและวัดตาปะขาวหายต่อมาจนถึงทุกวันนี้ และจากวัดตาปะขาวหายขึ้นไป
ทางทิศเหนือประมาณ 800 เมตร ได้ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการหายตัวไปของตาปะขาว เล่ากันว่ามีผู้พบเห็นว่าท้องฟ้าเปิดเป็นช่องขึ้นไป
ชาวบ้านเห็นเป็นที่อัศจรรย์จึงได้สร้างศาลาขึ้นไว้ ณ พื้นดินเบื่องล่างไว้เป็นที่ระลึก เรียกว่า "ศาลาช่อฟ้า" ตราบจนทุกวันนี้




บทสวดบูชาพระพุทธชินราช

อิเมหิ นานา สักกาเรหิ อภิปูชิเตหิ ทีฆายุโก โหมิฯ อะโรโค สุขิโต สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ ปะสิทธิลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา พุทธะชินะราชา
อภิปาเลตุ มังฯ นะโม พุทธายะฯ

ประเพณี

ประเพณีสรงน้ำประจำปีในเทศกาลสงกรานต์ ในอดีตเคยมีประเพณีการห่มผ้าองค์หลวงพ่อแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไป เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการทำให้องค์พระชำรุด

การขึ้นทะเบียน

กรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 หน้า 1526 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเป็นพระพุทธรูปสำคัญ ตามบัญชีแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ
และการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ พ.ศ. 2520


พระพุทธชินสีห์  วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ


พระศรีศาสดา  วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ

==============================================

« Last Edit: 26 December 2012, 23:35:51 by SATORI » Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.037 seconds with 22 queries.