Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
27 April 2024, 15:43:25

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,605 Posts in 12,440 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแห่งแผ่นดินสยาม  |  เศรษฐกิจพอเพียง  |  สรุปปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: สรุปปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (Read 5576 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,458


View Profile
« on: 11 March 2013, 20:45:15 »

<a href="http://www.youtube.com/v/FxofxpotU0M?version" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/FxofxpotU0M?version</a>


สรุปปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
--------------------------------------------------
๑. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการ
ดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและ
ยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียง ถือว่าเป็นปรัชญา
ที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน
จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนา
เศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล
รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจาก
การเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบ และระมัดระวัง
อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน
จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุก
ระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วย
ความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก
ภายนอกได้เป็นอย่างดี
๒. หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง
และความไม่ประมาทโดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ
ด้วยเหตุนี้จึงกำหนดให้มีหลักพิจารณาอยู่ด้วยกัน ๕ ส่วน ดังนี้
๒.๑ กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทาง
ที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อ
ความมั่นคง และความยั่งยืน ของการพัฒนา
๒.๒ คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้
ทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
๒.๓ คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน
ดังนี้
๒.๓.๑ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มาก
เกินไปโดยไม่สามารถเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒.๓.๒ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง
นั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่า
จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
๒.๓.๓ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ
และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเปน็ ไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่า
จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
๒.๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง
นั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
๒.๔.๑ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้ เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบ
การวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
๒.๔.๒ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนัก
ในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ
และไม่ตระหนี่
๒.๕ แนวทางปฏิบัติ/ ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี




๓. การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ริเริ่ม
การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสานต่อความคิดและเชื่อมโยงการขยายผลที่เกิดจาก
การนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้อย่างหลากหลาย รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่ง
จะนำไปสู่การยอมรับ และการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่าง
จริงจัง จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ เป็นต้นมา จะพบว่า
พระองค์ท่านได้เน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง ความพอมีพอกิน พอมี
พอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรง
เตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาณตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชา
ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิตซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้จักกันภายใต้ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียง
สศช. จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ มาร่วมกันกลั่นกรองพระราชดำรัสฯ สรุป
เป็นนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำ แผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ ๙ และ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีความเข้าใจและนำไปประกอบ
การดำเนินชีวิต การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลัก เพื่อสร้างเครื่อข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำ
หลักเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของ
วิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน
วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และ
ปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจน
นำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้
อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมให้
เข้มแข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่าง ๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการ
เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นในลักษณะเครือข่ายและการระดมพลังจากทุก
ภาคส่วน ได้แก่
๑. เครือข่ายด้านผู้นำทางความคิด
๒. เครือข่ายด้านประชาสังคม
๓. เครือข่ายด้านสื่อมวลชนและประชาชน
๔. เครือข่ายด้านสถาบันการศึกษาและเยาวชน
๕. เครือข่ายด้านองค์กรภาคธุรกิจเอกชน
๖. เครือข่ายด้านองค์กรภาครัฐ
๗. เครือข่ายด้านวิชาการ
๘. เครือข่ายด้านสถาบันการเมือง
ทั้งนี้ แกนกลางขับเคลื่อนมี ๓ ระดับ ได้แก่ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิคณะอนุกรรมการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียงและธนาคารสมอง ในสำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ทก.)
ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการปฎิบัติงานในการขับเคลื่อน และจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผลการ
ดำเนินงาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิม
พระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ใน ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐






ผนวก ข
การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
-----------------------------------------------------------------------------------
ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ปรับเปลี่ยนเร็วและสลับซับซ้อน
มากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่เหมาะสม โดยเสริมสร้างความแข็งแกร่ง
ของโครงสร้างของระบบต่าง ๆ ภายในประเทศให้มีศักยภาพ แข่งขันได้ในกระแสโลกาภิวัตน์ และสร้าง
ฐานความรู้ให้เป็นภูมิคุ้มกันตอ่ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน ควบคู่ไปกับการกระจายการพัฒนา
ที่เป็นธรรม และเสริมสร้างความเท่าเทียมกันของกลุ่มคนในสังคม และความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น
พร้อมทั้งฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้คงความสมบูรณ์เป็นรากฐาน
การพัฒนาที่มั่นคง และเป็นฐานการดำรงวิถีชีวิตของชุมชนและสังคมไทย ตลอดจนการเสริมสร้างธรรมาภิบาล
ในการบริหารจัดการประเทศทุกระดับ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน สามารถดำรง
อยู่ในประชาคมโลก ได้อย่างมีเกียรติภูมิและมีศักดิ์ศรี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้อัญเชิญ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๐ - ๒๕๕๔) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลาง
การพัฒนา เพื่อใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดความสมดุล เป็นธรรมและยั่งยืน
มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” โดยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ๕ ประการ ประกอบด้วย
๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการ
เรียนรู้ ให้ความสำคัญกับ
๑.๑ การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ เกิดภูมิคุ้มกัน โดยพัฒนาจิตใจควบคู่
กับการพัฒนาการเรียนรู้ของคนทุกกลุ่มทุกวัยตลอดชีวิต เริ่มตั้งแต่วัยเด็กให้มีความรู้พื้นฐานเข้มแข็ง
มีทักษะชีวิต พัฒนาสมรรถนะ ทักษะของกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการ พร้อมก้าวสู่
โลกของการทำงานและการแข่งขันอย่างมีคุณภาพ สร้างและพัฒนากำลังคนที่เป็นเลิศโดยเฉพาะใน
การสร้างสรรค์นวัตกรรมและองค์ความรู้ ส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
จัดการองค์ความรู้ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้สมัยใหม่ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงประเทศ สามารถ
นำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
๑.๒ การเสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ และอยู่ใน
สภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ เน้นการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างครบวงจร มุ่งการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน
การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ เสริมสร้างคนไทยให้มีความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอาหาร
ที่ปลอดภัย ลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
๑.๓ การเสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข มุ่งเสริมสร้าง
ความสัมพันธ์ที่ดีของคนในสังคมบนฐานของความมีเหตุมีผล ดำรงชีวิตอย่างมั่นคงทั้งในระดับ
ครอบครัวและชุมชน พัฒนาระบบการคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลายและครอบคลุม
ทั่วถึง สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน ส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีความปลอดภัย น่าอยู่ บนพื้นฐาน
ของความยุติธรรมในสังคม เสริมสร้างกระบวนการยุติธรรมแบบบูรณาการและการบังคับใช้
กฎหมายอย่างจริงจังควบคู่กับการเสริมสร้างจิตสำนึกด้านสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง และความ
ตระหนักถึงคุณค่าและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อลดความขัดแย้ง




๒. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคง
ของประเทศ ให้ความสำคัญกับ
๒.๑ การบริหารจัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ด้วยการส่งเสริมการรวมตัว
ร่วมคิด ร่วมทำในรูปแบบที่หลากหลาย และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตามความพร้อมของชุมชน มี
กระบวนการจัดการองค์ความรู้และระบบการเรียนรู้ของชุมชนอย่างเป็นขั้นตอน มีเครือข่ายการเรียนรู้
ทั้งภายในและภายนอกชุมชน มีกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนและองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นให้สามารถพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนในการนำไปสู่การพึ่งตนเอง รวมทั้งการ
สร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง
๒.๒ การสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการบูรณาการกระบวนการ
ผลิตบนฐานศักยภาพ และความเข้มแข็งของชุมชนอย่างสมดุล เน้นการผลิตเพื่อการบริโภคอย่าง
พอเพียงภายในชุมชน สนับสนุนให้ชุมชนมีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ สนับสนุนการนำ
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์คุณค่าของสินค้าและบริการและสร้างความ
ร่วมมือกับภาคเอกชนในการลงทุนสร้างอาชีพและรายได้ที่มีการจัดสรรประโยชน์อย่างเป็นธรรมแก่
ชุมชน ส่งเสริมการร่วมลงทุนระหว่างเครือข่ายองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง
สร้างระบบบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนควบคู่กับการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการ การตลาด และทักษะใน
การประกอบอาชีพ
๒.๓ การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการอยู่ร่วมกันกับทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมอย่างสันติและเกื้อกูล ด้วยการส่งเสริมสิทธิชุมชนและกระบวนการมีส่วนร่วมของ
ชุมชนในการสงวนอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ใช้ประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รวมทั้งการสร้างกลไกในการปกป้องคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น




๓. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน ให้ความสำคัญกับ
๓.๑ การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพและคุณค่าของสินค้าและบริการ
บนฐานความรู้และความเป็นไทย โดยปรับโครงสร้างภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ
ที่ใช้กระบวนการพัฒนาคลัสเตอร์และห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งเครือข่ายชุมชนบนรากฐานของความรู้
สมัยใหม่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทย และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างสินค้าที่มี
คุณภาพและมูลค่าสูง มีตราสินค้าเป็นที่ยอมรับของตลาด รวมทั้งสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดี เพื่อ
ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ ตลอดจนการบริหาร
องค์ความรู้อย่างเป็นระบบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ การปฏิรูปองค์กร
การปรับปรุงกฎระเบียบ และพัฒนาระบบมาตรฐานในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการดำเนินนโยบายการค้า
ระหว่างประเทศให้สนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิต และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศ
๓.๒ การสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจ โดยการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมอย่าง
มีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มั่นคง และสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิต
โดยการระดมทุนไปสู่ภาคการผลิตที่มีประสิทธิภาพ พัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีการดำเนินงานอย่างมี
ประสิทธิภาพบนหลักการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเกิดประสิทธิภาพและสวัสดิการ
สูงสุดแก่ประเทศ การส่งเสริมการออมอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนและเป็นหลักประกัน
ในชีวิตของประชาชนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก
เพื่อลดการพึ่งพิงการนำเข้าพลังงานและประหยัดเงินตราต่างประเทศ
๓.๓ การสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและการกระจายผลประโยชน์จาก
การพัฒนาอย่างเป็นธรรม โดยส่งเสริมการแข่งขันการประกอบธุรกิจในระบบอย่างเสรี เป็นธรรม
และป้องกันการผูกขาด กระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาคอย่างสมดุลและเป็นธรรม
ให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง เพียงพอ และสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ เพิ่ม
ประสิทธิภาพและความครอบคลุมของการให้บริการของระบบการเงินฐานรากให้สามารถสนับสนุน
การพัฒนาศักยภาพชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก ด้วยการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนให้เข้มแข็ง
รวมทั้งดำเนินนโยบายการคลังเพื่อส่งเสริมการกระจายรายได้ โดยกระจายอำนาจการจัดเก็บภาษี การ
จัดทำงบประมาณและการเบิกจ่าย และการก่อหนี้ภายใต้กรอบการรักษาวินัยทางการคลังสู่ท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ให้สมดุลและยั่งยืน
สนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และกระจาย
ผลประโยชน์การพัฒนาอย่างเป็นธรรม
ส่งเสริมการแข่งขันการประกอบธุรกิจอย่างเสรีและเป็นธรรม กระจายการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานสู่ภูมิภาคอย่างสมดุล เป็นธรรม เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
ระบบการเงินฐานราก ดำเนินนโยบายการคลังเพื่อส่งเสริมการกระจายรายได้
ปรับโครงสร้างการผลิต
ปรับโครงสร้างภาคเกษตร/
อุตสาหกรรม/บริการ
พัฒนาปัจจัยสนับสนุนการปรับ
โครงสร้างการผลิต
สร้างภูมิคุ้มกันระบบเศรษฐกิจ
บริหารเศรษฐกิจส่วนรวมให้มี
ประสิทธิภาพ ส่งเสริมการออม
เพิ่มทางเลือกระดมทุน
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเร่ง




๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความ
มั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับ
๔.๑ การรักษาฐานทรัพยากรและความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อรักษาสมดุล
ระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ โดยพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสร้างองค์ความรู้ ส่งเสริม
สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ตลอดจนพัฒนาระบบการจัดการร่วมเพื่อ
อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้ความสำคัญกับการกำหนดเขต และการจัดการเชิงพื้นที่
ภายใต้การจัดทำข้อตกลงกับชุมชนท้องถิ่นในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติหลัก ได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้
ทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ทรัพยากรแร่ รวมถึงการมีมาตรการหยุดใช้ทรัพยากรที่สำคัญที่ถูกทำลาย
สูงเป็นการชั่วคราว และการสร้างกลไกแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติวิธี รวมทั้งการพัฒนาระบบ
การจัดการและการป้องกันภัยพิบัติ
๔.๒ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยการปรับแบบแผนการผลิตและพฤติกรรมการบริโภคไปสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เพื่อลด
ผลกระทบต่อฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดนโยบายสาธารณะ และใช้กลไก
ทางเศรษฐศาสตร์ทั้งด้านการเงินและการคลัง รวมทั้งการสร้างตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดมลพิษและควบคุมกิจกรรมที่จะ
ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต โดยผลักดันให้เกิดระบบประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ระบบ
ประเมินผลกระทบทางสังคมและสุขภาพในโครงการพัฒนาของรัฐ หรือที่รัฐอนุมัติให้เอกชน
ดำเนินการ ควบคู่กับการยกระดับขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการ
บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตลอดจนมีกลไกกำหนดจุดยืนต่อพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศ
ด้านสิ่งแวดล้อม
๔.๓ การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางสำคัญ เริ่มจากการจัดการองค์ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกัน
การคุ้มครองทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพจากการคุกคามภายนอก โดยเฉพาะจากพันธกรณี
ระหว่างประเทศ สร้างระบบการคุ้มครองสิทธิชุมชน และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ส่งเสริม
การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพในการสร้างความมั่นคงของภาคเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้ง
พัฒนาขีดความสามารถและสร้างนวัตกรรมจากทรัพยากรชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศ




๕. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ มุ่งเสริมสร้าง
ความเป็นธรรมในสังคมอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับ
๕.๑ การเสริมสร้าง และพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลให้เป็น
ส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมไทย โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ ปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยม
วัฒนธรรมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลแก่เยาวชน และประชาชนทุกระดับอย่างต่อเนื่องจริงจัง
พร้อมทั้งพัฒนาภาวะความเปน็ ผู้นำประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสังคม
ทุกระดับเพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม ตลอดจนวางรากฐานกระบวนการประชาธิปไตย โดยให้
ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และเพิ่มประสิทธิภาพกลไกและกระบวนการตรวจสอบการใช้
อำนาจรัฐและการเมืองให้เข้มแข็งและเป็นอิสระมากขึ้น
๕.๒ เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนให้สามารถเข้าร่วมในการบริหาร
จัดการประเทศ โดยส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวและรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันให้
เข้มแข็ง ส่งเสริมให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม และร่วมในกระบวนการบริหารจัดการ
ประเทศให้เกิดความเป็นธรรมและความโปร่งใสในการพัฒนาประเทศ เสริมสร้างความเข้มแข็ง และ
สร้างเครือข่ายการทำงานของกลไกตรวจสอบภาคประชาชน เพื่อติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของ
ภาครัฐได้อย่างเข้มแข็งมีประสิทธิภาพ
๕.๓ สร้างภาคราชการที่มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล เน้นการบริการแทน
การกำกับควบคุม และทำงานร่วมกับหุ้นส่วนการพัฒนา เน้นการพัฒนาประสิทธิภาพและความคุ้มค่า
ในการปฏิบัติภารกิจด้วยการปรับบทบาทโครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการภาครัฐและ
รัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ลดการบังคับควบคุม คำนึงถึงความต้องการของประชาชน
และทำงานร่วมกับหุ้นส่วนการพัฒนา เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของรัฐและรัฐวิสาหกิจเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการสาธารณะ และลดภาระการลงทุนของภาครัฐ ตลอดจน
พัฒนากลไกการกำกับดูแลที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม โปร่งใส โดยคำนึงถึง
ผลประโยชน์ของประเทศและคุ้มครองผู้ใช้บริการ โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการปลูกฝังจิตสำนึก
ข้าราชการให้เห็นความสำคัญและยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล และยึด/ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างเคร่งครัด
๕.๔ การกระจายอำนาจการบริหารจัดการประเทศสู่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน
เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยพัฒนาศักยภาพ และกระจายอำนาจการตัดสินใจให้ท้องถิ่นมีบทบาทสามารถ
รับผิดชอบในการบริหารจัดบริการสาธารณะ ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองความต้องการของ
ประชาชนในพื้นที่ และสามารถสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง
พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
๕.๕ ส่งเสริมภาคธุรกิจเอกชนให้เกิดความเข้มแข็ง สุจริต และมีธรรมาภิบาล โดยมี
มาตรการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจเอกชนทั้งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และธุรกิจ
เอกชนทั่วไปเป็น “บรรษัทภิบาล” เพิ่มมากขึ้น สร้างจิตสำนึกในการประกอบธุรกิจอย่างซื่อสัตย์
ยุติธรรมต่อผู้บริโภค และเป็นธรรมกับธุรกิจคู่แข่ง พร้อมทั้งยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม แบ่ง
บันผลประโยชน์คืนสู่สาธารณะ ตลอดจนสนับสนุนสถาบันวิชาชีพธุรกิจประเภทต่าง ๆ ให้มีบทบาท
ในการสร้างธรรมาภิบาลแก่ภาคธุรกิจมากขึ้น
๕.๖ การปฏิรูปกฎหมาย กฎระเบียบ และขั้นตอน กระบวนการเกี่ยวกับการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสร้างความสมดุลในการจัดสรรประโยชน์จากการพัฒนา ด้วยการเปิด
โอกาสให้ภาคีและกลุ่มต่างๆ มีส่วนร่วมในการเสนอแนะและตรากฎหมายเพื่อประสานประโยชน์
ของภาคส่วนต่าง ๆ ให้เสมอภาคและมีความสมดุล โดยการปฏิรูปกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรม
ทางเศรษฐกิจ ลดการใช้ดุลพินิจของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของกลไกการ
บังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เพื่อสร้างความเป็นธรรมต่อ
ผู้ประกอบการขนาดเล็กและผู้ประกอบการใหม่
๕.๗ การรักษาและเสริมสร้างความมั่นคงเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ
ประเทศสู่ดุลยภาพและความยั่งยืน โดยการพัฒนาศักยภาพ บทบาท และภารกิจของหน่วยงานด้าน
การป้องกันประเทศ ความมั่นคง และการรักษาความสงบเรียบร้อย ให้มีประสิทธิภาพมีความพร้อมใน
การป้องกันประเทศและตอบสนองต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบสถานการณ์ได้ฉับไว พร้อมทั้งผนึก
พลังร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ดำเนินการป้องกันและพัฒนาประเทศให้สามารถพิทักษ์รักษาเอกราช
สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์ของชาติ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งสามารถสร้างความมั่นคงของประชาชนและสังคมให้มีความ
อยู่รอดปลอดภัยโดยยึดหลักธรรมาภิบาลในทุกระดับ




ผนวก ค
คณะผู้ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการ
เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย”
เมื่อ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ณ ห้องเรียนรวมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
--------------------------------------------------
๑. คณะที่ปรึกษา
๑.๑ พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
๑.๒ พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ ประธานคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม
๑.๓ พลเอก ธีระวัฒน์ ปัทมานนท์ นักวิชาการคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม
๑.๔ พลเอก ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๑.๕ พลโท ปิติ กัมพูพงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๑.๖ พลโท เอกชัย ศรีวิลาส หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการทหาร ประจำเสนาธิการทหาร
๑.๗ พลโท วุฒินันท์ ลีลายุทธ รองผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๑.๘ พลโท วรพงษ์ สง่าเนตร เจ้ากรมยุทธการทหาร
๑.๙ พลตรี พนา ถนอมสิงห์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๑.๑๐ พลตรี สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหาร
๑.๑๑ พลอากาศตรี ไมตรี โอสถหงษ์ รองผู้บัญชาการวิทยาลัยเสนาธิการทหาร
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๑.๑๒ พลตรี วีระยุทธ์ จิตต์ศิริ ผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๒. ฝ่ายวิชาการ
๒.๑ พลตรี วิสิษฐ แจ้งประจักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๒.๒ คุณวริมา โพธิสมบัติ นักวิชาการคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม
๒.๓ คุณวัลภา บุรุษพัฒน์ นักวิชาการคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม
๒.๔ พันเอก สุรยุทธ์ ชาญกลราวี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๒.๕ พันเอก โสภณ ก้อนแก้ว รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๒.๖ พันเอก ชัชวาลย์ จรูญรัชฎ์ ผู้อำนวยการกองกิจการระหว่างประเทศ สถาบันวิจัย
ทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๒.๗ นาวาอากาศเอก สมชาย สังขมณี ผู้อำนวยการกองกิจการภายในประเทศ สถาบันวิจัย
ทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๒.๘ พันเอก สนธิ นวกุล ผู้อำนวยการกองการศึกษา กองบัญชาการสถาบัน
วิชาการป้องกันประเทศ
๒.๙ พันเอก สุภมนัส ภารพบ ผู้อำนวยการกองพัฒนาและวิจัย กองบัญชาการ
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๒.๑๐ พันเอกหญิง อารยา จุลานนท์ รองผู้อำนวยการกองกิจการภายในประเทศ สถาบัน
วิจัยทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๒.๑๑ นาวาอากาศโทหญิง กัญญา หาญเด่นศิริกุล ประจำกองกิจการภายในประเทศ สถาบันวิจัย
ทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๒.๑๒ พันตรี บุรฉัตร มั่งมี ประจำกองกิจการระหว่างประเทศ สถาบันวิจัย
ทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๓. ฝ่ายสถานที่
๓.๑ พันเอก สุรยุทธ์ ชาญกลราวี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๓.๒ พันเอก โชคดี เกตสัมพันธ์ ช่วยราชการสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๓.๓ นาวาอากาศเอกหญิง บุญฉวี สุคนธสิงห์ รองผู้อำนวยการ กองอำนวยการวิทยาลัยป้องกัน
ราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๓.๔ นาวาอากาศโทหญิง กัญญา หาญเด่นศิริกุล ประจำกองกิจการภายในประเทศ สถาบันวิจัย
ทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๓.๕ พันโท วิทยา เดชฉ่ำ หัวหน้าแผนกธุรการ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๓.๖ พันตรี สภา เผ่าฉาน ประจำกองกิจการพิเศษ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๓.๗ ร้อยเอก สมเดช สันคม ประจำกองกิจการพิเศษ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๓.๘ ร้อยตรี เมธา ม่วงเจริญ นายทหารคนสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย
ทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๓.๙ เจ้าหน้าที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
๔. ฝ่ายต้อนรับและลงทะเบียน
๔.๑ พันเอก โสภณ ก้อนแก้ว รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๔.๒ พันเอก สุรเชษฐ ศรดิษฐพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสาร กองบัญชาการสถาบัน
วิชาการป้องกันประเทศ
๔.๓ พันเอกหญิง เจษฎา มีบุญลือ ช่วยราชการสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์ สถาบัน
วิชาการป้องกันประเทศ
๔.๔ พันเอก ฦๅชัย สิงหพงษ์ ช่วยราชการสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์ สถาบัน
วิชาการป้องกันประเทศ
๔.๕ พันเอกหญิง รัชเกล้า กองแก้ว รองผู้อำนวยการกองกิจการระหว่างประเทศ
สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๔.๖ พันเอกหญิง ฐานีย์ บุญสิลา รองผู้อำนวยการกองกิจการพิเศษ สถาบันวิจัย
ทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๔.๗ พันเอกหญิง อารยา จุลานนท์ รองผู้อำนวยการกองกิจการภายในประเทศ สถาบัน
วิจัยทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๔.๘ นาวาอากาศโทหญิง กัญญา หาญเด่นศิริกุล ประจำกองกิจการภายในประเทศ สถาบันวิจัยทาง
ยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๔.๙ จ่าสิบเอกหญิง ฐิติรัตน์ ศรพรหม เสมียนแผนกธุรการ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๔.๑๐ จ่าเอกหญิง พรพรรณ ดาวเรือง เสมียนแผนกธุรการ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๔.๑๑ สิบโท วินัย แสนจำลาห์ เสมียนกองกิจการพิเศษ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๔.๑๒ เจ้าหน้าที่กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๕. ฝ่ายงานเลี้ยงรับรอง
๕.๑ พันโท วิทยา เดชฉ่ำ หัวหน้าแผนกธุรการ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๕.๒ พันโทหญิง วิภา คุ้มฤทธิ์ ประจำกองกิจการระหว่างประเทศ สถาบันวิจัย
ทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๕.๓ จ่าสิบเอก สุดใจ มาประเสริฐ เสมียนแผนกธุรการ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๕.๔ นางสาวรัชยา นาชัยเวช พนักงานธุรการ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๕.๕ นางสาวจุฑารัตน์ มีธรรมยุติ พนักงานธุรการ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๖. ฝ่ายประชาสัมพันธ์
๖.๑ พันเอก เทอดศักดิ์ ตรีรัตนกูล ผู้อำนวยการกองกิจการป้องกันประเทศ สถาบันวิจัย
ทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๖.๒ พันเอก สุรเชษฐ ศรดิษฐพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสาร กองบัญชาการสถาบัน
วิชาการป้องกันประเทศ
๖.๓ สิบตรี กิตติชัย บัววันเพ็ญ พลขับรถแผนกธุรการ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๖.๔ นางสาวณภัทร์ มาเพ็ง เสมียนแผนกธุรการ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๖.๕ เจ้าหน้าที่ศูนย์บรรณสาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๗. ฝ่ายรักษาความปลอดภัย
๗.๑ พันเอก โชคดี เกตสัมพันธ์ ช่วยราชการสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๗.๒ นาวาเอก ยงยุทธ สุวรรณปรีดี ผู้อำนวยการกองกลาง กองบัญชาการสถาบันวิชาการ
ป้องกันประเทศ
๗.๓ พันเอก ธนากร บุปผาพันธุ์ รองผู้อำนวยการกองกลาง กองบัญชาการสถาบัน
วิชาการป้องกันประเทศ
๗.๔ พันโท ธีรพล อมราพิทักษ์ ประจำกองกิจการป้องกันประเทศ สถาบันวิจัย
ทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๗.๕ จ่าสิบเอก ปณิธิ ศรีหิน เสมียนกองกิจการพิเศษ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
๗.๖ เจ้าหน้าที่ศูนย์รักษาความปลอดภัย
๗.๗ เจ้าหน้าที่สารวัตรทหาร กรมยุทธบริการทหาร
๘. พิธีกร
๘.๑ พลโท เอกชัย ศรีวิลาศ หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการทหาร ประจำเสนาธิการทหาร
๘.๒ พันเอกหญิง รัชเกล้า กองแก้ว รองผู้อำนวยการกองกิจการระหว่างประเทศ
สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ


***************************************************
« Last Edit: 14 January 2014, 03:56:43 by LAMBERG » Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.093 seconds with 20 queries.