Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
30 April 2024, 11:54:26

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,614 Posts in 12,444 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  กิจกรรมที่น่าสนใจ  |  กิจกรรมหลังเลิกงาน  |  ฟังเพลงที่ไพเราะเป็นพิเศษ  |  ฟังจากลำโพง  |  แด่ แฟน ๆ JBL Studio Monitor
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: แด่ แฟน ๆ JBL Studio Monitor  (Read 1638 times)
LAMBERG
มายิ้มในใจกันไว้เรื่อยๆ สนุกดีๆ
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 1,475


View Profile
« on: 25 January 2013, 09:02:17 »

แด่ แฟน ๆ JBL Studio Monitor


ผมได้อ่านความเห็นของ Don McR ( GuRu ของชาว JBL) เมื่อสัก 6-7ปี ที่แล้ว เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์กับ แฟนๆ JBL Studio Monitor Series ทุกท่าน เลยขออนุญาต จขกท. นำมาลงให้อ่านกันเล่นๆ ( เพราะอาจแปลคลาดเคลื่อนไปบ้าง) ดังนี้ครับ

++++คำถาม++++
ลำโพงในปัจจุบัน มีทั้งแบบ Studio Monitor และNon Studio Monitor (ใช้ฟังในบ้าน)..ซึ่งลำโพง ประเภท" Studio Monitor " ถือเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมการบันทึกเสียง ด้วยคุณสมบัติของ"ความเป็นกลาง" และ ผู้ซื้อ อย่างเราๆ ก็ล้วนอยากได้ลำโพงที่ให้เสียงที่เป็นกลางแบบนั้น ที่ไม่แต้มสีสรร หรือ ตกหล่นรายละเอียดอะไรไปจากที่มันได้ออกมาจากห้องบันทึกเสียง.....แล้วทำไมผู้ผลิตฯทั้งหลาย จึงไม่ทำลำโพงประเภท Studio Monitor มาขายแบบเดียวเสียให้สิ้นเรื่อง....?

+++++คำตอบ+++

ลำโพงMonitorนั้น จำเป็นต้องมีความเป็นกลาง อย่างยิ่ง ตามที่มันควรจะเป็น....แต่ความจริงในปัจจุบันนี้ (6-7ปีที่แล้ว) ลำโพง Nearfield Monitor ที่ใช้กันในห้องอัดเสียงส่วนใหญ่ทั่วไป คือ "YAMAHA NS10"นั้น...Sound engineer ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ปลื้มกับมันสักเท่าไร เพราะรับรู้อยู่ว่ามันไม่ได้มีความเป็นกลางอย่างนั้นจริงๆ แต่ทำงานกับมันอยู่ได้ ก็เพราะทุกคน ล้วนคุ้นเคยกับการใช้งานมันได้ดี และสามารถ นำไปถ่ายทอดและอ้างอิง ซึ่งกันและกันได้ง่ายในวงการบันทึกเสียงฯ และ ทำให้ Sound Engineerคนเดียวกัน ทำงานได้ง่ายขึ้น ในห้องบันทึกฯที่แตกต่างไป
ย้อนไปในอเมริกา ปี 1940-1960 มาตรฐานของลำโพงในห้องบันทึกเสียงฯ คือ ALTEC 604 ลำโพงตั้งพื้นแบบ Coaxial ที่ให้เสียงและมิติ ได้ยอดเยี่ยม ทั้งในแบบ Near และ Far Field แต่ภายหลังพบว่า มันมีปํญหาเรื่อง ความเป็นกลาง และ เสียงกลางที่ยังไม่สมบูรณ์พอ
JBL 4310/4311 คือมาตรฐานในห้องอัดเสียงตัวใหม่ ที่ออกแบบมาแก้ข้อบกพร่องดังกล่าวและแทนที่ Altec 604 ด้วยขนาด BookShelf ที่สามารถนำมาติดผนัง ฟังในแบบNearfield ได้ ทำให้มันเป็นขาใหญ่อยู่ในStudio ต่างๆ ได้จนถึง ราวปี 1970 ......ยุคของเพลงROCK ครองโลก
เพลง Rock สมัยนั้น เป็นปรากฎการณ์ ไม่ธรรมดา ที่ต้องการลำโพง แบบ High Ievel output ! ...Studio Monitor จึงต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง
JBL Monitor 4333 (L300 ในบ้าน) / 4343 และ 4350 ใช้ตัวขับเสียงลูกผสม (Compression Horn+ Woofer + crossover 3-4 ทาง)เพื่อรับมือกับเพลงRock ในห้องอัดเสียง โดยให้เสียงที่ Flat มากกว่า Altec 604 /JBL 4311และมี Variable Network ที่ง่ายต่อการSetupกับสภาพห้องบันทึกฯ มันจึงกลายเป็นผู้ครองตลาดอันดับหนึ่งในห้องบันทึกเสียง ตั้งแต่นั้นมาอีกร่วมๆ 10ปี
ปลายยุค '70-ต้นยุค'80 .. Nearfield.Mini Monitor ประเภท YAMAHA NS10 เริ่มถือกำเนิดและเพิ่มความนิยม ..ออกมาแข่งขันด้วย... มันจะเป็น..Jack ผู้ฆ่ายักษ์... หรือปล่าว?.......

ลำพัง ไอ้หนูวางหิ้ง อย่าง YAMAHA NS 10 ไม่มีทางจะให้เสียงสู้อะไรได้กับ JBL 4333 ลำโพงตั้งพื้นขนาดWoofer 15" เจ้าแห่งEnergy ของเพลงRock....แต่แฟนเพลงโจ๋ขาRock ต่างหาก ที่มาช่วย NS 10 ไว้...
ปลายทศวรรษ 70 The Beatles และผองเพื่อนวงRockร่วมสมัย ได้เปลี่ยนตลาดเพลงให้ไปอยู่ในกำมือของวัยรุ่นทั่วโลกเรียบร้อยแล้ว...วัยรุ่น(อเมริกา)เสพย์เสียงเพลงง่ายๆจากวิทยุในบ้าน ในรถยนต์หรือเครื่องเล่นแผ่นเสียงCompack ราคาไม่แพง (ส่วนพ่อแม่จมอยู่กับเครื่องเสียงและลำโพงขนาดใหญ่ในบ้าน) ตามด้วยวิทยุ-เทป กระเป๋าหิ้ว ยอดฮิตของวัยรุ่น ที่ระบาดออกมาฆ่า Tape Reel ในบ้านจนแทบสูญพันธุ์....

ตลาดเพลงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ ก่อให้เกิดห้องอัดเสียงเฉพาะกิจ แบบ Home studio ขึ้นมากมายทั่วโลก เพื่อตักตวงผลประโยชน์และสนองความต้องการอันล้นหลามของวัยรุ่น Home studio ที่ไม่อยากลงทุนมากไปกับการปรับปรุงสภาพAcoustic ของห้องอัด และ อุปกรณ์ราคาแพง.. อีกทั้ง Studio บันทึกเสียงฯ เริ่มแข่งกันเอาใจวัยรุ่น โดยหา ลำโพง ที่จะสามารถจำลองสภาพเสียงจริงๆของเครื่องเสียงแบบกระป๋อง ที่วัยรุ่นส่วนใหญ่ใช้ฟังกันอยู่ในโลกจริง..เพื่อให้Sound Engineer ได้Mixเสียงไห้โดนใจโจ๋ ฟัง CCRได้มันส์ทั้งวัน โดยไม่สนใจว่ามันจะมีอะไรมากไปกว่านี้.....
Yamaha NS10 Near Fields Small Monitor....คือคำตอบที่ Studio ทั้งหลายมองหา เพราะมันให้เสียงในบุคลิกเดียวกันกับ ลำโพงทั่วๆไปแบบที่ ใช้ฟังกันในบ้าน หรือ รถยนต์ ของคนส่วนใหญ่...เครื่องเสียงกระป๋อง และ วิทยุ/เทป กระเป๋าหิ้ว....! อีกทั้งการSetup ลำโพงในห้องบันทึกแบบ Near Fields ก็ช่วยตัดปัญหาการก้องสะท้อนของห้องบันทึกฯ ที่ไม่ได้มาตรฐาน ของพวก Home Studio ได้เป็นอย่างดี ....นี่คือมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมเพลง ! 

  พอถึงทศวรรษ '80 Studio ใหญ่ๆทั่วโลกก็ล้วนมี ลำโพง Monitor 2 ชุดด้วยกันทั้งนั้น Main Monitor และ Near Fields Monitor...ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนบันทึกและ Mix เสียงโดย Near Fields Monitor.ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้ว
เจ้ายักษ์ JBL เหลือหน้าที่เพียงไว้สาธิตให้นักดนตรีฟังEnergyในย่านเสียงต่ำๆเท่านั้น

  ถึงตรงนี้ลำโพงแบบกรวย(CONE) ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างมากมาย จนคิดกัน(ในสมัยนั้น)ได้ว่ามันสามารถมาทดแทน Compression Horn เสียงกลางของ JBL ได้แล้ว ....นั่นจึงเป็นจุดจบอย่างแท้จริงของ ยักษ์ใหญ่ JBL 4333 และเพื่อนๆของมัน ในห้องบันทึกเสียง ที่ได้ทั้งเกิดและตายเพราะเพลงRock
การตายของ JBL.ในห้องบันทึกเสียง กลับเป็นการอยู่อย่างมั่นคงของ B&W 801 , Dunlavy , Wilson หรือ ATC ที่มีจุดแข็งในบุคลิกของเพลงประเภท Classic มันจึงยังยืนหยัดอยู่ได้ในห้องบันทึกเสียงใหญ่ๆหลังยุค JBL ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน คือ... ขาโจ๋ ไม่ชอบฟังเพลงClassic
ปัจจุบัน NS10เริ่มจะถูกแทนที่ด้วย Near Fields Monitor ในยุคหลังๆอย่าง Genelec หรืออื่นๆ อาทิ Tannoy, Mackie,Alesis หรือกระทั่ง JBL ! 
มาตรฐานในการบันทึกเสียงในแบบNearFields ปัจจุบันถูกลดลงอย่างมากมายจากยุค'80 สาเหตุใหญ่จาก พวก Home Studio ที่เน้น Project ด้วยระยะเวลามากกว่าคุณภาพในการบันทึกเสียง
JBL หลังตกต่ำจากยอดการขายในStudio ก็หันมาบุกตลาดบ้าน Consumer ด้วย JBL L100 ที่ใช้เทคโนโลยี่ Studio Monitor มาดัดแปลง จนขายระเบิดเถิดเทิงไปทั่วโลก...เพราะมันเล่นเพลง Rock อย่างมีEnergy .....ตามด้วย Hi end ในยุคนั้น L300 และน้องๆของมัน ที่เอา JBL4333 มาเปลี่ยนตู้และ Network ออกขายให้ผู้ฟังในบ้าน แต่ด้วยราคาสูงสวนกระแสแบบนั้น .....800$สำหรับ L100 และ 3000$สำหรับ L300 ในสมัยนั้น(1980) มันจึงอยู่ในตลาดแข่งขันได้ อีกสิบกว่าปี ก็ตองขายกิจการไปเพราะทนการแข่งขันด้านราคา กับพวกลำโพงวางหิ้งไม่ใหว
ปัจจุบัน ญี่ปุ่น ได้สิทธิ์ และ ผลิตขายทั้งในแบบ Professional (งานแสดงดนตรีสด) หรือ Consumer ทั่วๆไปในบ้าน รวมทั้งลูกหลานของ JBL 4333 ที่ได้ปรับปรุงรายละเอียดต่างๆ แล้วนำออกมาขายใน Series Hi End ใหม่ๆจนทุกวันนี้
 
วันนี้หลายๆอย่างเปลี่ยนแปลงไป แต่ที่ JBL ไม่เคยเปลี่ยน และไม่เหมือนใคร คือ..ENERGY.


http://www.audio-teams.com/webboard/?ca1=16&id=101523

Logged
มาคืน "สยามเมืองเคยยิ้ม" กลับสู่ "สยามเมืองยิ้มยุคก้าวหน้า" ด้วย ยิ้มสยาม กันนะครับ ... Welcome To Smile Siam by Siamese Smile

LAMBERG
มายิ้มในใจกันไว้เรื่อยๆ สนุกดีๆ
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 1,475


View Profile
« Reply #1 on: 19 December 2020, 09:37:07 »

จั้ม เจบีแอล
27 มีนาคม 2015  ·
แด่แฟนๆ JBL ครับ..


JBL ยุค  Harman International (1969 - 1977)
หลังการตายของ J B Lansing.ผู้ก่อตั้งฯ .......   Dr. Harman อดีตลูกจ้างบริษัทเครื่องเสียง Bogen  ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นเจ้าพ่อบุกเบิก เครื่องเสียง Receiver  Hi Fi รายใหญ่ของอเมริกา ในนาม Harman International  ( Harman / Kardon ) ก็ซื้อกิจการ JBL ได้สำเร็จในปี 1969
Harman International  เปลี่ยนโยบายการตลาดของ JBL ใหม่ เพื่อผลิตลำโพงตอบสนองความต้องการตลาดให้ครอบคลุมทั้งลำโพงที่ใช้ในบ้าน ( Household ) และ ลำโพงที่ใช้ในห้องบันทึกเสียง ( Studio Monitor )
JBL บุกตลาดลำโพงในบ้าน
   ต้นยุค 70 ที่ลำโพงระดับ Hi End ราคาแพงทั่วโลก มุ่งเน้นการทำตู้ลำโพงแบบประณีตสวยงามให้กลมกลืนกับเฟอร์นิเจ้อร์ ประดับบ้านผู้มีรายได้สูง  ..แต่ Harman International เปิดตลาด JBL ยุคใหม่ ด้วยลำโพงใช้ในบ้านขนาดเล็กที่เรียบง่าย คือ JBL L100 …โดยนำ ลำโพงใช้ในห้องบันทึกเสียง ( Studio Monitor ) JBL 4310 ที่กำลังโด่งดังในวงการบันทึกเสียงยุคนั้น มาปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานภายในบ้าน  เน้นคุณภาพของเสียงในระบบสเตอริโอ โดยอ้างอิงคุณภาพว่าไม่ต่างจากจากลำโพงของมืออาชีพ อย่าง 4310…
.…L100 ประสพความสำเร็จเหนือคู่แข่งขันทันทีที่ออกสู่ตลาด มันกลายเป็นลำโพงHiFiขายดีที่สุดตลอดกาลของ JBL ….…L100 ต่างจากลำโพงคู่แข่งทั้งหลาย  ด้วยเสียงBassที่ลึกและทรงพลัง รวมกับบุคลิกเสียงตลอดย่านที่เต็มไปด้วยไดนามิค  เหมาะกับยุคเพลงRockที่ครองโลกในเวลานั้น  และด้วยราคาขายปานกลาง จึงทำให้มันขายดีในหมู่นักเพลงฟังวัยทำงานรุ่นใหม่ๆทั่วโลก   ..ซึ่งแม้นต่อมา JBL จะผลิตลำโพงขนาดเล็กและราคาถูกกว่า ในซี่รี่ Decade  อย่าง  L16 , L36 , L65 ออกมาจำหน่าย ก็ไม่ประสพความสำเร็จเท่ากับ L100
JBL Studio Monitor … จุดแข็งของ JBL
   ในปี 1971 JBL ตัดสินใจโชว์ศักยภาพทางเทคโนโลยี่ของตนเอง เพื่อจะให้เป็นมาตรฐานใหม่ของระบบเสียงที่ ทรงพลังและมีความเที่ยงตรง ในที่ประชุมของ  Audio Engineering Society ( AES )ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการบันทึกเสียงใหม่ของโลกในเวลาต่อมา.. JBLใช้ตู้ลำโพง ที่ประกอบด้วย 2216 Bass Driver (คือ LE15B ใน JBL L200รุ่นแรก)จำนวน 2 ตัว , และใช้ Mid Bass 2130 อีก 1 ตัว, ส่วนตัวขับ เสียงกลาง และ เสียงแหลม ใช้Compression Mid Horn Driver 2440 และ 2405 …ใช้ระบบ “ Bi-Amp “ ขับแยกเสียง Bass และ Mid-High แยกจากกัน...  ขนาดตู้ที่มโหฬารของมัน ได้ชื่อที่ล้อเล่นกันว่า “ Texas Bookshelf “ ....มันคือ ลำโพงต้นแบบที่มีส่วนทำให้ JBL ประสพความสำเร็จในการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตลำโพง ประเภท Studio Monitor ตั้งแต่กลางยุค ’70 เป็นต้นมา...ยุคที่เพลง Rock ครองโลก!โดยผู้คนรุ่นใหม่
      ก่อนหน้านี้ Altec 604 คือ ลำโพง Studio Monitor ที่ใช้กันแพร่หลายในห้องบันทึกเสียงทั่วโลก ...ในขณะที่ ลำโพงคู่แข่งขันอย่าง JBL 4320 ยังเป็นรอง และ ใช้งานกันอยู่น้อยกว่ามาก...ความสำเร็จของ “Texas Bookshelf” จึงเป็นต้นแบบให้ JBL ได้เข็นลำโพงออกมาแข่งกับ Altec 604 ..มันคือ JBL 4350 ...สุดยอดตำนานลำโพง Studio Monitor ของJBL…..
...JBL 4350 ประกอบด้วย 2230 Bass Woofer ขนาด 15” เคลือบสาร Aquarplas รุ่นล่าสุดของ JBL  ที่มีค่า Resonant น้อยลง และให้เสียงต่ำที่ลึกกว่า...และใช้ 2202 woofer 12” ขับเสียง Mid Bass ....ตามด้วย ตัวขับเสียงกลางและเสียงแหลม 2440 & 2405 ตัวเก่งเดิมๆ...มันคือ ลำโพง 4 ทาง ที่ เหนือกว่าลำโพง แบบ 2ทาง ทั้งหลายในวงการ Studio Monitor ของโลกยุคนั้น     ..4350 แบ่งการทำงานบนย่านความถี่เสียง เป็น 4 กลุ่ม ทำให้มีความละเอียดและการตอบสนองความถี่ เที่ยงตรงกว่า  ไดนามิคสูงกว่า และ เต็มไปด้วยพละกำลัง....เบื้องหลังความสำเร็จครั้งนี้ คือ แนวคิดแบบใหม่ในการออกแบบของ ครอสโอเวอร์ ที่สลับซับซ้อน ( Active Network และ Passive Network  )  เพื่อ เน้นการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ตัวขับเสียง คุณภาพสูง ของJBL ที่ประสพความสำเร็จมาก่อนหน้านี้แล้ว.....แนวคิดดังกล่าว ได้กลายมาเป็นปรัชญาในการออกแบบของลำโพง JBL จนถึงปัจจุบัน...
    JBL 4350 ออกจำหน่ายในปี 1973 และได้รับความนิยมไปทั่วโลกเกือบจะโดยทันที ... แม้นกระทั่งThe Who ก็เลือกใช้ 4350 ถึงสองตัว ใน Studio บันทึกเสียงของพวกเขา…….  แต่ความสำเร็จที่แท้จริงของ JBL ภายหลัง JBL 4350 คือการนำ  2230 Bass Woofer มาพัฒนาจนกลายเป็น 2231  Professional Bass Woofer15” ( 136A Bass woofer15” Household ) ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการผลิต ลำโพง Monitor และ Household  ของ JBL ต่อไปอีกกว่าสองทศวรรษ !
    2231 Woofer 15” ตัวใหม่ของ JBL  ครอบคลุมความถี่เสียงทุ้ม ได้กว้างกว่า 2230  ทั้ง Mid- Low Bass โดยไม่ต้องใช้ Mid Low Woofer เข้ามาช่วยทำงานอีกต่อไป... จึงนำมันไป แตกLineการผลิตเป็น  Studio Monitor43XX series ขนาดเล็กลง ทั้งใน แบบ 2 ,  3 และ 4 ทาง   เพื่อใช้งานในแบบ “ Large – Format Monitor “ ซึ่งมีระยะนั่งฟังอย่างน้อย 8 ฟุตขึ้นไป ( Far-Field Listening ) อาทิ  4way 4340/4341 , 3way 4332/4333 , 2way 4330/4331 ( รหัสVersionเป็นคู่ๆ ของลำโพงแต่ละโมเดล  บ่งบอกว่า รหัสตัวหน้า เป็น Version Passive Network , ส่วนรหัสตัวหลัง เป็นVersion Bi Amp )
  ปี 1974  JBL Monitor 43xx series ก็พร้อมทำสงครามกับค่าย Altec ที่เป็นจ้าวตลาดลำโพง Studioในเวลานั้น  และใช้เวลาร่วม 3 ปี จึงมีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกกว่า 70%และยอดขาย เป็น 2 เท่าของ Altec Monitor ได้ในปี 1977
JBL Monitor 43XX series ถูกนำไปปรับปรุงอีกครั้ง เพื่อใช้ในงานแสดงดนตรีกลางแจ้ง  ใน Discotheques  ในBallrooms หรือ งานสาธารณะต่างๆ (PA) จนสามารถทดแทน Altec ที่กำลังร่วงโรยในตลาดดังกล่าวไปได้ในที่สุด..

JBL Hi End Speaker….

ในบรรดา Studio Monitor ตระกูล 43XX  นั้น   4332/4333 เป็นลำโพงMonitorที่โดดเด่น และได้รับความนิยมมากที่สุดในห้องบันทึกเสียงทั่วโลก  เพราะเป็นลำโพง แบบ 3 ทาง ขนาดตู้เหมาะสม และ ให้เสียงที่ดีมาก...และเมื่อ JBL เริ่มเปิดlineผลิตลำโพงที่ใช้ในบ้านประเภท Hi End ต่อยอดจากความสำเร็จของ L100   Greg Timbers จึงถูกมอบให้นำ 2way 4331 และ 3way 4333 มาพัฒนาลำโพงรุ่นใหม่ดังกล่าว.เพื่อให้เหมาะสมกับระยะนั่งฟังและสภาพแวดล้อมภายในบ้าน.....
…Greg นำตู้ลำโพง L200เดิมที่เคยผลิตในปี 1971 มาใส่ตัวขับเสียงของ 4331 Monitor และเปลี่ยนครอสโอเวอร์ใหม่ จนกลายเป็นลำโพง JBL  L200B ออกขายในปี 1975…
...จากนั้นเขานำ อุปกรณ์ 4333 Monitor ซึ่งประกอบด้วย 136A Bass 15”( 2331woofer) + 2420 Mid driver/Horn/Lens + Tweeter 2405 มาทำงานร่วมกับ 3133A Crossover networkที่ออกแบบใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เหมาะกับการฟังภายในบ้าน และ Ampliferที่กำลังน้อยกว่า  ลงในตู้รุ่นใหม่ที่แข็งแรงกว่า หนักกว่า และดูทันสมัย กลายเป็นลำโพงใช้ในบ้าน Hi End ระดับตำนาน รหัส   .JBL L300. หนึ่งในบรรดาลำโพงที่ถูกกล่าวขานกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของ JBL …. มันถูกผลิตต่อเนื่องกันนานเกือบสิบปี จนกระทั่ง Harman International ขายลิขสิทธิ์ JBLบางส่วนให้ญี่ปุ่นไปในที่สุด....แต่ตัวตู้ที่แข็งแรงและเทคนิคของ Driverที่ล้ำสมัยของมัน  ทำให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและร่วมสมัยมาจนทุกวันนี้..
....ปี 1976  JBL ตอกย้ำความเป็น Hi End ต่อมาด้วยลำโพง  JBL L212 ที่ตั้งใจจะให้เป็นสุดยอดเทคโนโลยีของลำโพง Household  Hi End ที่เคยได้ผลิตออกมา ..มันเป็นลำโพงระบบ 3 ชิ้น แยกตู้ Subwoofer( Power build- in ) /Satellite   ชุดแรกของโลก เหมือนระบบ 2.1 ในปัจจุบัน 
.. L212 เปลี่ยนมาใช้ Soft Dome Tweeter และ ตัวขับเสียงแบบกรวยกระดาษ ( Cone Driver ) ทดแทน Compression Mid Horn Driver ที่เคยใช้ใน L300 ....  ในทางเทคนิคแล้ว มันคือลำโพงที่ล้ำยุคที่สุดในเวลานั้น  แต่กลับไม่ประสพความสำเร็จในการจำหน่าย เพราะ L212 มีปัญหา Subwoofer Build-In Power ไม่เหมาะสม และ  ที่สำคัญคือ  การเปลี่ยนมาใช้ Cone Driver ทำให้สำเนียงเสียงของ L-212 ไม่หลงเหลือเอกลักษณ์ของเสียงในลำโพงระบบ Horn/Bass ของ JBL แบบดั่งเดิมอยู่อีกเลย ..มันจึงยุติการผลิตไปในปี 1979.... แม้นJBL จะออกลำโพง L250ที่ใช้เทคโนโลยี เดียวกับ L 212 ตามมาภายหลัง แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเหมือนเช่นในอดีตอีกต่อไป
                                              >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
_________________________________________________________
https://www.facebook.com/JFMVinylStore/posts/1592678444346178/
« Last Edit: 19 December 2020, 09:40:54 by LAMBERG » Logged
มาคืน "สยามเมืองเคยยิ้ม" กลับสู่ "สยามเมืองยิ้มยุคก้าวหน้า" ด้วย ยิ้มสยาม กันนะครับ ... Welcome To Smile Siam by Siamese Smile

LAMBERG
มายิ้มในใจกันไว้เรื่อยๆ สนุกดีๆ
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 1,475


View Profile
« Reply #2 on: 19 December 2020, 09:44:24 »

JBL L300 => ผลิตในปี 1975 - 1976 .ใช้ 15" Alnico Woofer (136 A)
      => Max Rec. Amp. Power = 300 Watt
      => น้ำหนัก 66 Kg

L300A =>คือL300 ที่นำ15"Ferrite Woofer(136H)มาใส่แทน136A
      => Max Rec.Amp.Power = 400 Watt
      => น้ำหนัก 69 Kg
      => เริ่มผลิตในปี 1977
L300 Summit =>คือ L300 A ที่เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น L300 Summit
        => เริ่มเปลี่ยนชื่อในปี 1979
        => หยุดการผลิตในอเมริกา ปี 1982 แต่ผลิตต่อในMaxico
          จนถึง ปี1987 เพราะโรงงานที่รับผลิตตู้ เลิกกิจการไป
        => ราคาจำหน่ายในปี 1982 = 3,000 $/คู่
Logged
มาคืน "สยามเมืองเคยยิ้ม" กลับสู่ "สยามเมืองยิ้มยุคก้าวหน้า" ด้วย ยิ้มสยาม กันนะครับ ... Welcome To Smile Siam by Siamese Smile

Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.073 seconds with 19 queries.