Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
28 April 2024, 03:33:44

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,605 Posts in 12,440 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  กิจกรรมที่น่าสนใจ  |  งานอดิเรกที่น่าสนใจ  |  วาดภาพ  |  เลโอนาร์โด ดา วินชี
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เลโอนาร์โด ดา วินชี  (Read 1269 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,458


View Profile
« on: 24 January 2013, 15:20:05 »

เลโอนาร์โด ดา วินชี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



เลโอนาร์โด ดา วินชี (อิตาลี: Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519)
เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาค นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ
ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์
รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น

ประวัติ
 
เลโอนาร์โด เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน โดยที่ที่เขาเกิดอยู่ห่างจากหมู่บ้านวินชี ในประเทศอิตาลี ไปราวสองกิโลเมตร บิดาชื่อนายแซร์ ปีเอโร ดา วินชี เป็นเจ้าพนักงานรับรองเอกสารของรัฐ
มารดาชื่อคาตารีนา เป็นสาวชาวนา เคยมีคนอ้างว่านางคาตารีนาเป็นทาสสาวจากประเทศแถบตะวันออกในครอบครองของปีเอโร แต่ก็ไม่มีหลักฐานเด่นชัด
 
ในสมัยนั้นยังไม่มีมาตรฐานการเรียกชื่อและนามสกุลที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป ทำให้ชื่อและนามสกุลของดา วินชี ที่แท้จริงคือ เลโอนาร์โด ดิ แซร์ ปีเอโร
ดา วินชี ซึ่งหมายความว่า เลโอนาร์โด บุตรชายของปีเอโร แห่ง วินชี แต่เลโอนาร์โดเองก็มักจะลงลายเซ็นในงานของเขาอย่างง่ายๆว่า เลโอนาร์โด หรือไม่ก็ ข้าเอง เลโอนาร์โด
เอกสารสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่าผลงานของเขาเป็นของ เลโอนาร์โด โดยไม่มี ดา วินชี พ่วงท้าย ทำให้เข้าใจได้ว่าเขาไม่ได้ใช้นามสกุลของบิดาเนื่องจากเป็นบุตรนอกสมรสนั่นเอง
 


--------------------------------------------

อีกแฟ้มหนึ่ง...บันทึกประวัติของ เลโอนาร์โด ดาวินซี ไว้ว่า...




เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 เวลา 3 นาฬิกา ตอนเช้ามืด ที่เมืองวินชี ไม่ไกลจากกรุงฟลอเรนซ์ ในแคว้นทัสคานี
อิตาลีตอนเหนือ เป็นลูกนอกสมรสของผู้ตรวจสอบเอกสารทางกฎหมายนาม เซร์ ปิเอโร ดี อันโทนีโอ (ser Piero di Antonio) กับหญิงชาวนานามคาเทรีนา (Caterina)
ไม่ทราบสกุล ชื่อเต็มยศจึงได้แก่ เลโอนาร์โด ดี เซร์ ปิเอโร ดาวินชี แปลว่า คุณสิงห์ ลูกนายปิเอโร จากเมืองวินชี

เพียงไม่กี่เดือนหลังเลโอนาร์โดเกิด เซร์ ปิเอโร ก็แต่งงานกับ อัลบิเอรา อามาโดรี (Albiera Amadori) หญิงชนชั้นกระฎุมพีมีสตางค์ สถานะคู่ควรกับตระกูลข้าราชการเก่าแก่
ของ เซร์ ปิเอโร และคาเทรีนาก็จำต้องเลียแผลหัวใจ แต่งงานไปกับชายชาวนาละแวกบ้านแถวนั้น จนเลโอนาร์โดมีอายุได้ 5 ขวบ พ่อก็เอาตัวไปอยู่ด้วย ให้แม่เลี้ยงซึ่งในตอนนั้น
ยังไม่มีลูกของตัวเองได้เลี้ยงเป็นลูก อย่างไรก็ตาม ที่สุดแล้วทั้งพ่อและแม่เลโอนาร์โดก็มีลูกกับคนอื่นในเวลาต่อมาอีกมากมาย จนรวมแล้ว เลโอนาร์โดมีพี่น้องต่างบิดามารดาถึง 17 คน

เลโอนาร์โดจึงเติบโตมาในบ้านใหญ่แสนอบอุ่น พร้อมด้วยปู่ย่า และลุงที่ดูจะรักเขามากเป็นพิเศษจนทิ้งส่วนแบ่งมรดกไว้ให้ ความสัมพันธ์กับนางคาเทรีนา แม่แท้ ๆ ก็เข้าใจว่าคงจะดี
เพราะตอนโตแล้ว เลโอนาร์โดก็รับแม่มาอยู่ด้วย

เลโอนาร์โดเกิดกลางสมัยที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่ายุคเรอเนซองซ์ (Renaissance) หรือที่แปลเป็นไทยกันว่า “ยุคฟื้นฟู” เป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองในวิทยาการและศิลปวัฒนธรรม
ซึ่งในอิตาลี เป็นยุคที่ปัญญาชนทั้งหลายหวนกลับไปศึกษาภูมิปัญญายุคคลาสสิกของกรีกและโรมันเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของมนุษย์ให้สุดศักยภาพ
จนเกิดเป็นกระแสแนวคิด “มนุษยนิยม” หรือฮิวแมนนิสม์ (humanism) ขึ้น

ในสมัยที่เลโอนาร์โดเป็นเด็กและหนุ่มน้อย เหล่าปัญญาชนฮิวแมนนิสต์ทั้งหลายจึงมุ่งศึกษาหาปัญญาจากตำรับตำราโรมัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรมาจารย์กรีกรุ่นเดอะอย่างเพลโตและอริสโตเติลเป็นหลัก
ลูกคนชั้นสูงต้องเรียนภาษาละติน และถ้าชั้นสูงมาก ๆ ก็เรียนกรีกด้วย แต่แม้ว่าพ่อจะหาครูบาทหลวงมาสอนภาษาละตินโบราณให้ เลโอนาร์โดก็ไม่ยอมเรียนหนังสือในห้องสมุดทึม ๆ กลับหันไปค้นหา “ความจริง”
จากธรรมชาติรอบตัว และชอบนั่งจ้อกับเหล่าชาวนาอารมณ์ดีใต้ต้นไม้กลางแดดหอมอุ่นแสงใสของแคว้นทัสคานี เขาจะคอยจดตำนาน เรื่องเล่า สุภาษิต ความเชื่อ คำพังเพย ภูมิปัญญาต่าง ๆ ของชาวนาเก็บไว้มากมาย

เด็กชายเลโอนาร์โดใช้เวลานาน ๆ ทุกวันคลุกคลีอยู่กับธรรมชาติรอบบ้านเกิด วินชีเป็นเมืองเล็กข้างเขาที่แทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลยตลอด 5 ศตวรรษครึ่งที่ผ่านมาจวบจนวันนี้
มันเป็นเมืองชนบท บ้านสร้างด้วยหินเรียงเป็นก้อน ๆ ล้อมรอบไปด้วยไร่นาอุดมสมบูรณ์ ตามเนินเขาที่ดอนก็เต็มไปด้วยสวนองุ่น สวนผลไม้ และมีดงต้นมะกอกที่มีหลังใบสีเงินว็อบแว็บขึ้นกระจัดกระจายไปทั่ว
มีเขาอัลบาโนตั้งตระหง่านอยู่ใกล้ ๆ เป็นต้นน้ำของลำธารกะรุกกะริกหลายสายที่ไหลผ่านเมืองวินชีสู่หุบลุ่มน้ำอาร์โน

แม้ว่าครอบครัวจะอบอุ่น แต่เลโอนาร์โดก็เป็นเด็กรักสันโดษที่ชอบใช้เวลาอยู่เงียบ ๆ คนเดียว เขาชอบไปเดินเล่นไกล ๆ สอดส่องเฝ้ามองดอกไม้ นก แมลง ฯลฯ จนไม่มีนักประวัติศาสตร์คนใดแน่ใจว่า
เด็กชายเลโอนาร์โดมีครูเป็นตัวเป็นตนแค่ไหนอย่างไรบ้าง นอกเหนือไปจากธรรมชาติซึ่งเขาจำกัดความไว้ในสมุดบันทึกว่าเป็น “เหตุผลบริสุทธิ์” ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งปวง

เลโอนาร์โดรู้ตัวมาแต่เด็กว่าเขาแตกต่างไปจากคนอื่นๆ รอบตัว ในสมุดบันทึกเรื่องนก เขาเขียนถึงความทรงจำวัยเด็กไว้ว่า “..เมื่อตอนที่ข้าพเจ้ายังนอนอยู่ในเปล จำได้ว่ามีเหยี่ยวไคต์ตัวหนึ่งโฉบถลาลงมา
ปลายหางของมันแตะปากข้าพเจ้าให้เปิดอ้า นี่คือลิขิตชีวิตของข้าพเจ้า”

สำหรับเขา เหตุการณ์นี้เป็นลางบอกว่า เขาถูกกำหนดให้ก้าวเดินไปบนทางที่ไม่เคยมีใครเหยียบย่ำมาก่อน เขาใฝ่ฝันมาแต่เด็กว่า “ข้า ลีโอนาร์โด สักวันหนึ่งจะรู้ศาสตร์และศิลป์ทั้งปวง
ซึ่งจะไขปริศนาอันยิ่งใหญ่แห่งจักรวาล” เขาใช้สรรพนามประกาศตน “Io, Lionardo” - ข้า ลีโอนาร์โด แบบเดียวกับพวกจักรพรรดิโรมันใช้

เมื่อพิจารณาพื้นฐานวัยเด็กของเลโอนาร์โด จะเห็นได้ว่า แม้เลือดชาวนาของแม่จะแสดงออกในการเรียนรู้แบบลูกทุ่ง แต่เลือดบัณฑิตอีกครึ่งหนึ่งในตัวเลโอนาร์โดก็แสดงนิสัยใฝ่รู้
ช่างบันทึก ช่างอ่าน หนังสือต่าง ๆ จำนวนไม่น้อยที่พ่อเก็บไว้ในบ้าน หล่อหลอมให้เขาเติบโตขึ้นมาเป็นนักเรียนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่เรารู้จักกันในประวัติศาสตร์

เลโอนาร์โดหัดวาดภาพเองมาแต่เด็ก จากความพยายามเรียนรู้จักธรรมชาติ โดยมีเป้าหมายสูงสุดที่จะเลียนแบบธรรมชาติได้อย่างจริงแท้และซื่อสัตย์ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาเบื้องหน้า
และสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในซึ่งเป็นตัวผลักดันให้เกิดภาพเบื้องหน้า ตลอดจนมายาภาพที่เขาตระหนักดีเมื่อโตเป็นหนุ่มน้อยว่า เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสง สายตา และการรับรู้ของเรา
ภาพภาพหนึ่งของเขาจึงเป็นเครื่องมือที่สามารถเก็บข้อมูลและบอกเล่าเรื่องราวได้มากกว่าคำหลายพันคำ และต้องอาศัยการสังเกตทั้งรายละเอียด แก่นแท้ และภาพรวม
จนทำให้ผู้วาดได้เรียนรู้อะไร มากมายจากสิ่งที่พยายามถ่ายทอด ไม่ว่าจะเป็นภูเขา แม่น้ำ สรรพพืชสรรพสัตว์ต่าง นานา ที่เขาชอบนักหนา

เซร์ ปิเอโร พ่อของเลโอนาร์โด คงจะเฝ้าสังเกตพรสวรรค์ของลูกชายมาโดยตลอด เซร์ ปิเอโร ก็เริ่มคิดถึงอาชีพของลูกชายอย่างจริงจัง และคิดว่าเลโอนาร์โดน่าจะเป็นศิลปิน
เมื่อเลโอนาร์โดอายุได้ราว 17 ปี เซร์ ปิเอโร จึงเอาตัวอย่างภาพสเกตช์ของลูกชายไปให้เพื่อนสนิทดู คือ อันเดรีย เดล เวร์รอกชีโอ (Andrea del Verrocchio, 1435-1488)
ซึ่งเป็นศิลปินและนักออกแบบมีชื่อในเมืองฟลอเรนซ์ เพื่อให้เวร์รอกชีโอช่วยวิจารณ์และประเมินดูว่า เลโอนาร์โดพอจะฝึกงานออกแบบยึดเป็นอาชีพเลี้ยงปากท้องได้หรือไม่
ว่ากันว่า เมื่อเวร์รอกชีโอเห็นตัวอย่างงานของเลโอนาร์โด เขาถึงกับตะลึงงัน และรบเร้าให้ปิเอโรพาลูกมาฝึกงานที่สตูดิโอ

แนวทางการพัฒนาของศิลปะในยุคนั้นกำลังมุ่งสู่ความเหมือนจริง โดยมีจีออตโต (Giotto di Bondone, 1267?-1337) เป็นผู้บุกเบิกสไตล์วาดภาพสามมิติเหมือนจริงในช่วงต้นยุคเรอเนซองซ์
ซึ่งแตกต่างไปจากการวาดภาพแนวลวดลายประดับประดาสองมิติแบบยุคไบเซนไทน์ที่ผ่านมา ความสามารถในการนำเสนอภาพเหมือนตาเห็นของเลโอนาร์โดจึงเป็นที่ชื่นชมได้ง่ายในทันที

ปรกติ เด็กฝึกงานในสมัยนั้นต้องทำหน้าที่สารพัดเบ๊ในสตูดิโอเป็นเวลาหลายปี ก่อนได้รับอนุญาตให้จับพู่กันช่วยเขียนรูป เริ่มตั้งแต่บดผงสี นวดดิน ฯลฯ ให้ครูและรุ่นพี่ เป็นนาน
กว่าจะได้ช่วยระบายสีฉากหลังและองค์ประกอบเล็ก ๆ ที่ไม่สำคัญ แต่เลโอนาร์โดฝึกงานเพียงไม่นาน เวร์รอกชีโอ ก็ให้ช่วยเขียนภาพให้ลูกค้าแล้ว จนเมื่อเลโอนาร์โดมีอายุได้ 20 ปี
เวร์รอกชีโอก็ให้ช่วยเขียนภาพจอห์นเดอะแบปทิสต์ทำพิธีล้างให้พระเยซู (The Baptism of Christ) โดยเวร์รอกชีโอเป็นผู้ออกแบบภาพ เขียนตัวละครและองค์ประกอบหลักๆ
ให้เลโอนาร์โดเขียนวิวฉากหลังสุด เขียนตัวนางฟ้าถือผ้า และแต่งเติมตัวพระเยซูที่วาดไว้เกือบเสร็จแล้ว

ปรากฏว่าภาพส่วนที่เลโอนาร์โดวาด ฝีมือดีละเอียดอ่อนกว่าที่เวร์รอกชีโอวาดอย่างเห็นได้ชัด ว่ากันว่า เมื่อเวร์รอกชีโอเห็นฝีมือของศิษย์ เขาถึงกับลั่นวาจาเลิกจับพู่กันระบายสีอีกต่อไป
เรื่องนี้จริงแท้แค่ไหนเราไม่รู้ รู้แต่ว่า หลังจากภาพนี้ เวร์รอกชีโอแทบจะทำแต่งานประติมากรรม ….

--------------------------------------------


Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,458


View Profile
« Reply #1 on: 24 January 2013, 15:21:40 »

งานจิตรกรรม
Mona Lisa
เลโอนาร์โด ดา วินชี


สีน้ำมันบนไม้  ค.ศ. 1503-1507  พิพิธภัณฑ์ลูฟร์


ใบหน้าของมาดามลิซ่า
-------------------------------

โมนาลิซา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โมนาลิซา (อังกฤษ: Mona Lisa) หรือ ลาโชกงด์ (ฝรั่งเศส: La Gioconda, La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) ถึงปี พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507) เป็นภาพที่ทั่วโลกรู้จักกันดีภาพหนึ่ง ในฐานะสุภาพสตรีที่มี รอยยิ้มอันเป็นปริศนา
ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
 

 
ที่มาของชื่อ
 
คำว่า "โมนาลิซา" นั้น ได้ถูกตั้งขึ้นโดย จอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ศิลปิน และนักชีวประวัติชาวอิตาลี หลังจากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้น
ได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจไหมผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)
 
คำว่า โมนา" (Mona) ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam) ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อนั้นก็คือ
"มาดาม ลิซา" แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)
 
ประวัติ
 


ภาพโมนาลิซ่านี้ถูกวาดโดย ดา วินชี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2046 ถึง พ.ศ. 2050 ใช้เวลานานถึง 4 ปีในการวาด
 
ในปี ค.ศ. 1516 (พ.ศ. 2059) ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัว
ทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับปราสาทในเมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซ่า
ในราคา 4,000 เอกือ (the kue)
 
ในปี ค.ศ. 1519 (พ.ศ. 2062) ดา วินชี ได้เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ประเทศฝรั่งเศส รวมอายุได้ 67 ปี
 

ใบหน้าของมาดามลิซ่า

ตอนนที่ ดา วินชี เสียชีวิตแล้วได้ยกสมบัติและภาพวาดทั้งหมดให้เป็นมรดกของผู้ติดตามของเขา ฟรานเซสโก เมลซิ (Francesco melci)
และเมื่อฟรานเซสโก เมลซิ เสียชีวิตลงก็ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร มรดกก็เริ่มกระจัดกระจาย
 
และต่อมาภาพโมนาลิซ่าถูกนำไปเก็บไว้ที่ พระราชวังฟงเตนโบล ต่อมาก็ในพระราชวังแวร์ซาย หลังจากสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็ถูกไปนำเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
ในห้องสรงของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ในพระราชวังตุยเลอรี แล้วในที่สุดก็ได้กลับมาที่พิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม

ในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2413 - 2414 ภาพได้ถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนไว้ในที่ลับในประเทศฝรั่งเศส
 
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ภาพโมนาลิซ่าถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอก็ได้ใช้เวลาไปถึง 2 ปี ซึ่งได้พบในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
ปัจจุบันเธอถูกดูแลรักษาอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ อันเป็นเครื่องหมายสากลว่า โมนา ลิซา จะไม่มีวันที่จะได้เคลื่อนย้ายไปแสดงที่ไหนอีกเป็นเด็ดขาด


 
ทฤษฎีสมทบ
 
กล่าวกันว่าภาพวาดนี้ ดา วินซี ตั้งใจจะวาดภาพของตนเองเพื่อเป็นหญิง และภาพวาดชิ้นนี้เมื่อส่องกับกระจกเงา จะพบว่ามุมการมองภาพรู้สึกเป็นธรรมชาติไม่แตกต่างจากการมองแบบปกติ
เหมือนที่ ดา วินชี กล่าวไว้ว่า "ภาพเขียนที่จิตรกรจะคิดว่าสวยงามในทุกๆด้านและทุกๆมุมมอง ต้องพิจารณาภาพภาพในกระจกเงา" และจากการฉายรังสีที่ภาพวาด
ทำให้พบว่าภาพเขียนนี้ถูกซ่อนเจตนาที่แท้จริงหลายอย่าง และยังเคยถูกเขียนทับอีกด้วย

 


---------------------------------------------

Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,458


View Profile
« Reply #2 on: 24 January 2013, 15:23:56 »

งานจิตรกรรม
ภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย
เลโอนาร์โด ดา วินชี


การวาดแบบ Fesco (เฟสโก หรือ ปูนเปียก)บนพนังปูน  ค.ศ. 1495-1497  วัดซานตามาเรียเดลเลกราซี (มิลาน)
-----------------
พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (เลโอนาร์โด)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย หรือ The Last Supper ในภาษาอังกฤษ และ Il cenacolo หรือ L'ultima cena ในภาษาอิตาลี เป็นจิตรกรรมฝาผนัง ที่วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี
ให้แก่ผู้อุปถัมภ์ดยุก โลโดวิโค สฟอร์ซา (Lodovico Sforza) เป็นภาพที่มาจากพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซู ก่อนที่พระองค์จะทรงถูกนำไปตรึงกางเขน
ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากคัมภีร์ไบเบิ้ล ภาพวาดนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากถูกวาดด้วยปูนเปียกบนผนัง ภาพวาดนี้ยังถือว่าเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเลโอนาร์โด ดา วินชี
ที่ยังคงสภาพให้มองเห็นได้ในปัจจุบัน และยังถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบรรดาจิตรกรรมที่รู้จักกันอยู่ทั่วโลก
 
ภาพวาดนี้ยังเป็นแกนสำคัญของการเดินเรื่องราวของนวนิยายชื่อดังของโลก รหัสลับดาวินชี ที่มีเนื้อหาระบุว่า เลโอนาร์โด ดา วินชี ได้แฝงปริศนาความลับไว้ในภาพ
โดยแสดงถึงสาวกหญิงใกล้ชิดผู้หนึ่งซึ่งมีสัมพันธ์กับพระเยซู ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากศาสนาจักรคาทอลิกอย่างรุนแรง
 
คำอธิบายภาพ
 
ภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย เป็นภาพที่บรรยายให้เห็นถึงปฏิกิริยาของแต่ละอัครสาวก ในช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง คือเมื่อพระเยซูได้ทำนายว่า
หนึ่งในผู้ร่วมโต๊ะอาหารมื้อนั้นจะทรยศพระองค์ โดยชื่อของอัครสาวกถูกระบุจาก ต้นฉบับ (The Notebooks of Leonardo Da Vinci หน้า 232) ในศตวรรษที่ 19
โดยเรียงลำดับจากซ้ายไปขวาแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ (เรียงลำดับจากหน้าไม่ใช่การนั่ง)
 บาร์โทโลมิว, เจมส์ ลูกของอัลเฟียส และ แอนดูรว์ ทั้งกลุ่มแสดงอาการตกใจ
 จูดาส์ อิสคาริออท, ปีเตอร์ และ จอห์น จูดาส์ใส่ชุดสีเขียวและสีน้ำเงินผงะถอยหลังเมื่อแผนถูกเปิดโปงอย่างกะทันหัน ปีเตอร์มีท่าทางโกรธและในมือขวาถือมีดชี้ออกจากพระเยซู
 และอัครสาวกที่อายุน้อยที่สุด จอห์นดูเหมือนจะเป็นลม
 พระเยซู
 ทอมัส, นักบุญเจมส์ใหญ่ และ ฟิลลิป ทอมัสแสดงท่าทางหงุดหงิด เจมส์ดูตะลึงพร้อมยกมือขึ้นกลางอากาศ ส่วนฟิลลิปดูเหมือนกำลังขอคำอธิบาย
 มัทธิว, จูด แทดเดียส และ ไซมอนซีลลอท ทั้งมัทธิว และจูด แทดเดียส หันไปคุยกับไซมอน
 


(เพิ่มเติม-จากภาพ)

เดอะลาสต์ ซัปเปอร์ คือภาพเขียนบนฝาผนังซึ่งถ่ายทอดเหตุการณ์ อาหารค่ำมื้อสุดท้าย ที่พระเยซูได้ร่วมโต๊ะกับสาวกทั้ง 12 คนก่อนที่จะถูกตรึงไม้กางเขน ลีโอนาโด วาดภาพนี้ ในปี 1495 และใช้เวลา
ถึง 3 ปีกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ ข้อสังเกตของภาพนี้คือ สาวกแต่ละคนล้วนมีท่าทางที่ไม่ปกติ บางคนดูประหลาดใจ บางคนตื่นตระหนก บางคนสงสัย จะมีก็แต่ สาวกที่ชื่อ จูดาส ที่อยู่ในเงามืดและมีท่าทีสับสน
ซึ่งสอดคล้องกับที่พระคัมภีร์กล่าวว่า พระเยซูทรงทำนายว่าสาวกคนหนึ่งของพระองค์จะทรยศพระองค์ และสาวกคนนั้นก็คือ จูดาสนั่นเอง ก่อนหน้านั้น เคยมีจิตรกรวาดภาพ อาหารค่ำมื้อสุดท้ายเอาไว้มากมาย
แล้วใส่อภินิหารเข้าไปในภาพ ที่พบเห็นกันมากที่สุดคือ การวาดรัศมีที่ศรีษะของทุกคนในภาพ ยกเว้น จูดาส แต่ของลีโอนาโด เน้นที่ความสมจริง และแฝงการสื่อความหมายลงในภาพอย่าแยบยล
จึงได้รับการยกย่องเป็นผลงานชิ้นเอกของโลกศิลปะ ในภาพยนตร์เรื่องนี้ กล่าวว่า สาวกคนที่นั่งทางขวามือของพระเยซู เป็นผู้หญิง และไม่ใช่สตรีธรรมดาทั่วไป แต่เป็นคนที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า
คือ นางแมรี่ แม็กดาลีน ผู้เป็นภรรยาของพระเยซูนั่นเอง! จากภาพจะสังเกตได้ว่า พระเยซู กับ แมรี่ นั่งสะโพกชิดกัน และเอนตัวออกห่างกัน ที่สำคัญหากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าในภาพมีภาพของมือ
ถือกริช อยู่หนึ่งมือ แต่เมื่อลองนับแขนทั้งหมดจนครบ จะเห็นว่ามือนั้น ไม่ได้เป็นของใครเลย ไม่ได้ติดกับร่างของใครในรูป และไม่มีตัวตน !!!
เป็นการให้ความหมายแฝงว่าสาวกของพระเยซูปองร้ายนาง แมรี่ แม็กดาลีนอยู่นั่นเอง อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ช็อคความเชื่อของผู้คนทั่วโลกอย่างมาก และกลายเป็นข้อวิพากย์วิจารณ์กันทั่วโลก

-----------------------

ยังมีภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ถูกเลียนแบบขึ้นในที่ต่างๆ ได้แก่
 Chiesa Minorita ที่ เวียนนา
 พิพิธภัณฑ์ ดา วินชี ในโบสถ์ Tongerlo ของเบลเยียม
 โบสถ์ท้องถิ่นที่ Ponte Capriasca ใกล้ๆ ลูกาโน

--------------------------------------------------

Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,458


View Profile
« Reply #3 on: 24 January 2013, 15:25:43 »

Mona Lisa - Nat King Cole

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

<a href="http://www.youtube.com/v/kSuYpv9fkxU?version" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/kSuYpv9fkxU?version</a>

http://www.youtube.com/watch?v=kSuYpv9fkxU&feature=player_embedded#!

------------------------------------------------------

Monalisa

Mona lisa, mona lisa, men have named you
You're so like the lady with the mystic smile
Is it only cause you're lonely they have blamed you?
For that mona lisa strangeness in your smile?

โมนา ลิซ่า, โมนา ลิซ่า, ชื่อที่พวกผู้ชายตั้งให้เธอ
เธอดูราวสุภาพสตรีทีมีรอยยิ้มแสนจะลึกลับ
มันเป็นเพราะเธอโดดเดี่ยวเท่านั้นหรือ พวกเขาจึงได้ว่าเธอ
หรือเพราะโมนา ลิซ่ามีความแปลกในรอยยิ้ม

Do you smile to tempt a lover, mona lisa?
Or is this your way to hide a broken heart?
Many dreams have been brought to your doorstep
They just lie there and they die there
Are you warm, are you real, mona lisa?
Or just a cold and lonely lovely work of art?

เธอยิ้มเพื่อโปรยสเน่ห์ให้คนมารักใช่มั้ย ,โมนา ลิซ่า
หรือว่านี่เป็นวิธีที่เธอซ่อนความชอกช้ำในหัวใจ
ความฝันมากมายถูกนำมาสู่ประตูบ้านเธอ
พวกเขาแค่มานอนและตายที่นั่น
เธออบอุ่นไหม,เธอเป็นจริงไหม,โมนา ลิซ่า
หรือเป็นเพียงงานศิลปะน่ารักอันเยือกเย็นและเดียวดาย

Do you smile to tempt a lover, mona lisa?
Or is this your way to hide a broken heart?
Many dreams have been brought to your doorstep
They just lie there and they die there
Are you warm, are you real, mona lisa?
Or just a cold and lonely lovely work of art?

เธอยิ้มเพื่อโปรยสเน่ห์ให้คนมารักใช่มั้ย ,โมนา ลิซ่า
หรือนี่เป็นวิธีที่เธอจะซ่อนความชอกช้ำในหัวใจ
ความฝันมากมายถูกนำมาสู่ประตูบ้านเธอ
พวกเขาแค่มานอนและตายที่นั่น
เธออบอุ่นไหม, เธอเป็นจริงไหม,โมนา ลิซ่า
หรือเป็นเพียงงานศิลปะน่ารักอันเยือกเย็นและเดียวดาย

Mona lisa, mona lisa
โมนา ลิซ่า, โมนา ลิซ่า

------------------------------------------------------------

Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,458


View Profile
« Reply #4 on: 24 January 2013, 15:27:06 »

เปิดรหัสลับดาวินชี เผย "ตัวจริง" โมนาลิซา
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


   

มีคนบอกว่า ผลงานศิลปะที่เต็มไปด้วยความลึกลับ และผู้คนสืบเสาะค้นหาเพื่อเปิดเผยสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในภาพนั้นมากที่สุด คือ ภาพแม่งาม "โมนาลิซา"
ผลงานสุดรักของลีโอนาร์โด ดาวินชี ซึ่งล่าสุด ซิลวาโน วินเซติ ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมของอิตาลี นักประวัติศาสตร์ศิลป์ชื่อดัง
ได้ประกาศการค้นพบรหัสลับ หรือสัญลักษณ์ซ่อนเร้นในภาพที่ถูกปิดบังมานานครึ่งสหัสวรรษว่า ในดวงตาของโมนาลิซา มีตัวอักษรเลือนๆซ่อนอยู่

 



ทีแรก ทีมงานของซิลวาโน วินเซติ บอกว่า ในดวงตาขวาของ "น้องโมนา" มีตัวอักษรคล้าย LV ในขณะที่ในตาซ้าย มีตัวอักษร CE หรือไม่ก็ B ส่วนฉากหลังที่มีสะพานอยู่นั้น
ตรงบริเวณส่วนโค้งของสะพานพบว่ามีสัญลักษณ์ L2 หรือไม่ก็ 72 ซึ่งหลังจากเปิดเผยออกมาแล้ว ก็มีผู้ "แห่" กันไปศึกษา และเกิดเป็นทฤษฎีที่น่าสนใจออกมาหลายอย่าง

แต่ที่ชัดเจนมากที่สุดในการ "ถอดรหัสดาวินชี" ที่ซ่อนไว้นาน 500 ปีนี้ นักประวัติศาสตร์ศิลป์ส่วนใหญ่ฟันธงว่า ความลับที่ซ่อนอยู่คือ การสื่อให้รู้ว่าผู้หญิงที่มีรอยยิ้มลึกลับคนนี้

เป็นใครกันแน่

ไปฟังจากต้นตอ คือผู้เปิดเผยความลับนี้ออกมาก่อน ผ่านไปเพียงเดือนเดียวหลังประกาศการค้นพบ ซิลวาโน วินเซติ ก็บอกว่า เมื่อจ้องมองอย่างละเอียดอีกครั้งแล้ว
ในตาซ้ายของน้องโมนา ที่ทีแรกคิดว่าเป็นอักษร CE หรือ B นั้น ที่แท้เป็นตัว S ต่างหาก ส่วนข้างขวายังยืนยันว่าเป็นตัว L แน่นอน

ด้วยตัวอักษรนี้ ทำให้ซิลวาโน วินเซติ ตั้งทฤษฎีว่า ตัว S นี้ สื่อถึงการที่ลีโอฯต้องการจะบอกว่านางแบบในภาพคือสาวสูงศักดิ์จากตระกูล "สฟอร์ซา"
ซึ่งเป็นระดับบิ๊กของมิลานในช่วงที่ลีโอฯวาดภาพโมนาลิซาขึ้น

ตามประวัติของลีโอนาร์โด ดาวินชี ระบุว่า ศิลปินขี้เล่นผู้นี้ เคยใช้ชีวิตอยู่ในมิลานในช่วงปี ค.ศ.1482-1499 และช่วง ค.ศ.1506-1507 ทำให้ ซิลวาโน วินเซติ
ปักใจว่าภาพนี้ต้องวาดขึ้นในช่วงนั้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของโมนาลิซาเล็กน้อย เพราะก่อนหน้านี้เชื่อกันว่า ลีโอฯวาดภาพนี้ขึ้นในปี ค.ศ.1503
แต่หากเราปักใจแล้วว่า แม่สาวในภาพเป็น "คุณหนูสฟอร์ซา" เวลาที่ลีโอฯปัดฝีแปรง ก็เลยน่าจะเป็นช่วงที่เขาเดินยํ่าอยู่ในมิลาน อย่างที่ซิลวาโน วินเซติ ว่าไว้

อย่างไรก็ตาม ซิลวาโน วินเซติ ไม่กล้าฟันธงลงไปชัดๆว่าคุณหนูสฟอร์ซาคนนี้เป็นใครกันแน่ แต่ก็มีนักประวัติศาสตร์ศิลป์คนอื่นที่มั่นอกมั่นใจมากกว่า และกล้าพอที่จะชี้ชัดลงไป

เลยว่าโมนาลิซาเป็นใคร แต่เดี๋ยว...ขอทำให้ผู้อ่านเคืองใจด้วยการอุบตอนสำคัญไว้ก่อน เพราะต้องเล่าทฤษฎีของ ซิลวาโน วินเซติ ให้จบเสียทีเดียวว่า นอกจากตัว S ที่พบแล้ว

ในส่วนของตัว L ที่เห็นในตาอีกข้างนั้น เขามั่นใจว่าเป็นชื่อย่อของศิลปิน ลีโอนาร์โด ดาวินชี แน่นอน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ศิลป์หลายท่านก็สนับสนุนแนวคิดนี้

ส่วนตัวเลข 72 นั้น ซิลวาโน วินเซติ บอกว่า มันเป็นการสื่อให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสนใจของลีโอนาร์โด ดาวินชี ที่มีต่อศาสนา และศาสตร์ลึกลับ เพราะตัวเลขนี้เป็น

สัญลักษณ์ที่พบมากในความเชื่อของศาสนายิว และคริสต์ กล่าวคือ เลข 7 หมายถึงจำนวนวันที่พระเจ้าสร้างโลกจนเสร็จและพักผ่อน ในขณะที่เลข 2 หมายถึงมนุษย์ที่ถูกสร้าง

ขึ้นมาเป็นหญิงและชาย ตัวเลขนี้จึงเป็นสัญลักษณ์ สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งยังเป็นการสื่อให้เห็นว่า ลีโอนาร์โด ดาวินชี แอบเขียนสัญลักษณ์นี้เอาไว้ด้วยความตั้งใจ ไม่ใช่

บังเอิญ แต่เป็นความพยายามที่จะสื่อความคิดของตัวเองฝากมาถึงคนรุ่นหลัง เป็น "รหัสลับดาวินชี" ของแท้ แต่แม้จะมีการตีความหมายออกมาแล้ว ก็ยังไม่สามารถบอกได้ชัดๆ

ว่า ลีโอฯต้องการจะบอกอะไรกันแน่

อย่างไรก็ตาม คุณพี่ซิลวาโน วินเซติ บอกว่า นี่เป็นเพียงทฤษฎีในเบื้องต้น และเปิดใจกว้างที่จะยอมรับทฤษฎีอื่นๆอีก ซึ่งน่าจะรวมถึงทฤษฎีเก่าที่เคยมีผู้เสนอเอาไว้ว่า จริงๆแล้ว

ภาพโมนาลิซานั้นไม่มีนางแบบหรอก มีแต่ "นายแบบ" เพราะมันเป็นภาพวาดตัวเองของลีโอนาร์โด ดาวินชี ที่วาดภาพเหมือนตัวเองในรูปลักษณ์ของสตรีไว้ บางคนก็บอกว่า เป็น

เพราะความขี้เล่น แต่บางคนก็บอกว่า ไม่ได้ ขี้ล่ง...ขี้เล่นอะไรกันหรอก...แต่เป็นเรื่องเบื้องลึกในใจต่างหาก เพราะลีโอฯเป็นเกย์ ก็เลยต้องหาทางออกที่ถูกเก็บกดด้วยการวาด

ภาพตัวเองเป็นสาวยิ้มกริ่มแบบ ลึกลับเอาไว้นี่แหละ และพอมีคนเอาภาพน้องโมนา กับภาพวาดตัวเองยามชราของลีโอฯ มาเทียบกันด้วยการแบ่งครึ่งภาพ ก็ ปรากฏว่าเข้ากัน

เป๊ะๆ ก็เลยมีคนเชื่อเรื่องนี้กันมาก

ซิลวาโน วินเซติ เองก็อยากตรวจสอบเรื่องนี้ให้ แน่ชัด ก็เลยทำเรื่องที่ออกจะบ้าบิ่นสักหน่อย คือส่งทีมงานไปยื่นขอขุดหลุมศพลีโอนาร์โด ดาวินชี ขึ้นมาซะเลย จะได้เอากะโหลก

มาเทียบโครงสร้างดูว่า เหมือนน้องโมนาหรือเปล่า จะได้จบข้อสงสัย แต่ยังเป็นโชคดีของลีโอฯ ที่คำขอนี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติ ศิลปินคนเก่งของเราก็เลยยังนอนพักอย่างสงบต่อ

ไปในดินแดนฝรั่งเศส

อย่างที่บอกไว้ข้างต้นแล้วว่า มีคนอื่นกล้าฟันธงลงไปแบบโป๊ะเชะเลยว่า น้องนางโมนาลิซาเป็นใครกันแน่ ผู้กล้าคนนี้คือ คาร์ลา กลอรี นักประวัติศาสตร์ ศิลป์ชาวอิตาเลียน ที่

บอกว่าสาวเจ้าจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก จิโอวานนา เบียงกา สฟอร์ซา ลูกสาวสุดรักของลูโดวิโซ สฟอร์ซา ดุ๊กแห่งมิลาน ที่คาร์ลา กลอรี กล้าฟันธงแบบนี้ก็เพราะเธออ่านตัว

อักษรอันเลือนรางในดวงตาว่า น่าจะเป็นอักษร SG ต่างหาก และ SG นี่แหละ ที่เป็นชื่อย่อของจิโอวานนา เบียงกา สฟอร์ซา แน่นอน

ที่สำคัญ คาร์ลา กลอรี ยังเปิดเผยทฤษฎีสำคัญด้วยว่า ฉากที่เห็นเป็นสะพานอยู่ด้านหลังของน้องโมนานั้น จะเป็นที่ไหนไปไม่ได้ นอกจากสะพานที่ทอดข้ามแม่นํ้าเทร็บเบีย ใน

เมืองบ็อบบิโอ ที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลไปจากมิลานนั่นแหละ

คาร์ลา กลอรี ปักใจว่าลีโอฯน่าจะเคยมาเดินย่ำต๊อกอยู่ที่บ็อบบิโอ และประทับใจทิวทัศน์ที่นี่ จนเมื่อได้วาดภาพจิโอวานนา เบียงกา สฟอร์ซา ก็เลยเอาสะพานข้ามแม่นํ้านี้มาเป็น

ฉากหลัง และตัวเลข 72 ที่แอบใส่เอาไว้ในสะพาน ก็สื่อถึงปี ค.ศ.1472 อันเป็นปีสำคัญ เพราะกระแสนํ้าเชี่ยวกรากได้พัดสะพานนี้จนพังทลายลงก่อนจะมีการสร้างขึ้นมาใหม่

จุดเด่นของสะพานนี้คือความคดเคี้ยว แถมส่วนโค้งของสะพานยังไม่ค่อยสมํ่าเสมอด้วย และเป็นจุดเด่นที่เห็นได้ในฉากหลังของภาพอันโด่งดังนี้ด้วย ทำให้คาร์ลา กลอรี ปักอก

ปักใจเป็นอย่างมากว่า ต้องเป็นสะพานข้ามแม่นํ้าเทร็บเบียแหงๆ

สำหรับสะพานแห่งนี้เป็นสะพานที่มีตำนานที่น่าสนใจ มันถูกเรียกขานว่า "สะพานของปีศาจ" ที่เรียกกันอย่างนี้ก็เพราะมีเรื่องเล่าขานกันมานานว่า สะพานแห่งนี้ ปีศาจร้ายเป็นผู้

เนรมิตขึ้นภายในคืนเดียว แต่ไม่ได้ทำเพราะหวังดีอยากให้ชาวเมืองได้เดินข้ามแม่นํ้ากันอย่างสะดวกสบาย แต่อย่างใด แต่เป็นการสร้างขึ้นด้วยความประสงค์ร้าย เพราะเจ้า

ปีศาจได้ทำความตกลงกับนักบุญโคลัมบานัส ที่ได้ให้สัญญาว่า หากเจ้าปีศาจสร้างสะพานนี้เสร็จแล้ว ท่านจะอนุญาตให้มันนำดวงวิญญาณของชีวิตแรกที่เดินข้ามสะพานไปได้

ปีศาจร้ายก็เลยชะล่าใจ คิดว่ายังไงถ้าสร้างสะพานแล้ว ก็ต้องมีคนเดินผ่านแหงๆ และมันก็จะได้วิญญาณของคนโชคร้ายนั้นไปเป็นสาวกที่ต้องรับใช้มันไปตลอดกาล ว่าแล้วก็

รีบใช้อิทธิฤทธิ์เนรมิตสะพานนี้ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

และแล้ว เมื่อผ่านเวลากลางคืนอันเงียบสงบไป รุ่งเช้า สะพานปีศาจนี้ก็ถือกำเนิดขึ้น เจ้าปีศาจยืนกระหยิ่มยิ้มย่องเฝ้ารอว่า ใครจะชะตาขาดมาเดินผ่านเป็นคนแรก มันจะได้ฉก

วิญญาณของเขาไป แต่งานนี้กลับตาลปัตรค่ะ นักบุญโคลัมบานัสท่านมีไหวพริบ และไม่ยอมผิดคำพูด ท่านได้บันดาลให้สิ่งมีชีวิตมาเดินผ่านสะพาน และมอบวิญญาณให้

ปีศาจตามสัญญา นั่นคือ... เจ้าหมาน้อยธรรมดาตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ได้รับเกียรติให้เดินเปิดซิงสะพานปีศาจแห่งนี้เป็นตัวแรก และปีศาจก็สติแตกกลับไป

 ก็แหม...หวังจะได้วิญญาณมนุษย์ไปรับใช้สักหน่อย นักบุญโคลัมบานัสกลับเปิดทางให้สุนัขเดินขึ้น มาเสียนี่ จะไปว่าท่านก็ไม่ได้ เพราะทุกอย่างก็เป็นไปตามสัญญาอย่างครบ

ถ้วนแล้ว สะพานนี้ก็เลยถูกขนานนามว่า สะพานปีศาจตามตำนานนี้นี่เอง

 สรุปว่า คาร์ลา กลอรี ได้ตั้งทฤษฎีที่เปิดเผยทั้งตัวตนของโมนาลิซา และสถานที่อันเป็นฉากหลัง ซึ่งมีตำนานอันน่าหลงใหลพอๆกับความลึกลับของน้องโมนา

แต่ช้าก่อน...งานนี้มีคนไม่เห็นด้วยกับคาร์ลา กลอรี อีกแยะ เช่น ท่านศาสตราจารย์มาร์ติน เคมป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านดาวินชีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซึ่งส่ายหัวดิกๆแล้ว

บอกว่า จากการศึกษามานาน แม่งามโมนาลิซาไม่มีทางเป็นคนอื่นไปได้ แต่ต้องเป็น ลิซา เดล จิโอคอนโด ภรรยาของฟรานเชสโก เดล จิโอคอนโด พ่อค้าในฟลอเรนซ์ ตามที่เชื่อ

กันมาหลายปีต่างหาก

พูดถึงอาจารย์เคมป์ ก่อนหน้านี้ก็เพิ่งยืนยันผลงานที่หายไปของดาวินชีมาแล้วชิ้นหนึ่ง เมื่อ 2 ปีก่อน เรื่องของเรื่องก็คือ มีภาพวาดสาวงามนางหนึ่ง ชื่อภาพ Young Girl in Profile

in Renaissance Dress หรือสาวน้อยแห่งเรเนซองซ์ ซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นผลงานของใคร รู้แต่ว่าเป็นภาพเก่าแก่ประมาณ 500 ปี และเหตุผลที่ภาพนี้โด่งดัง ก็เพราะมีความคล้าย

คลึงกับผลงานของลีโอนาร์โด ดาวินชี เป็นอย่างมาก เพียงแต่ภาพนี้เป็นภาพขนาดค่อนข้างเล็ก คือ กว้างแค่ 10 นิ้ว สูง 13 นิ้วครึ่ง หรือเล็กกว่าโมนาลิซาครึ่งหนึ่ง แถมยังเป็น

ภาพที่วาดบนแผ่นหนัง ซึ่งปกติแล้วลีโอฯไม่ค่อยทำแบบนี้ แต่ก็มีการวิเคราะห์กันว่าเหตุผลที่ภาพนี้มีขนาดเล็ก และวาดบนแผ่นหนังก็เพราะเป็นภาพที่ถูกเตรียมการเอาไว้เพื่อ

เป็นปกหนังสือ ซึ่งมีผู้พยายามศึกษากันหัวแทบแตกมานานว่าใครกันแน่ที่เป็นคนวาดภาพนี้ขึ้น หลายคนอยากจะฟันธงลงไปเหลือเกินว่าเป็นลีโอนาร์โด ดาวินชี แต่เมื่อยังไม่มี

หลักฐานอะไรมารองรับ ก็เลยทำให้ต้องแอบๆกระซิบกันว่า หรือจะเป็นผลงานของลูกศิษย์ของลีโอฯหรือเปล่า

แต่ในปี ค.ศ.2009 ที่ผ่านมา ได้มีการนำภาพนี้ไปตรวจสอบด้วยเทคโนโลยีให้เห็นเบื้องลึกกันชัดๆ ทำให้เห็นระดับชั้นสีที่ศิลปินวาดภาพ จนพบสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน คือ รอยฝ่า

มือ และรอยนิ้วมือ ที่ตรงกันกับรอยที่เคยเจอกันมาก่อนหน้านี้ในผลงานอื่นๆของลีโอนาร์โด ดาวินชี โดย เฉพาะรอยนิ้วมือในผลงานที่ฝากไว้ที่วาติกัน เพราะฉะนั้น ก็เลยฟันธงได้

ว่า ภาพสาวน้อยผู้ลึกลับนี้จะเป็นผลงานของใครไปไม่ได้ นอกจากลีโอฯแหงๆ

แล้วอาจารย์เคมป์ก็โผล่เข้ามาตอนนี้แหละ ด้วยการเปิดทฤษฎีว่า สาวน้อยลึกลับที่ถูกรัศมีของโมนาลิซาบดบังมานานนี้ ลีโอฯวาดจากนางแบบคนสำคัญคือ จิโอวานนา เบียงกา

สฟอร์ซา หรือคุณหนูสฟอร์ซาผู้โด่งดังนั่นเอง

เอาล่ะซิ ทีนี้มีทั้งทฤษฎีที่ว่า คุณหนูสฟอร์ซาคือสาวน้อยลึกลับในภาพที่เพิ่งได้รับการเปิดเผยว่าเป็นผลงาน ของลีโอฯ ในขณะเดียวกัน ทฤษฎีใหม่ก็บอกว่า คุณหนูนี่แหละที่เป็น

โมนาลิซา

สรุปว่าความลึกลับก็ยังคงลึกลับต่อไป โมนาลิซาก็ยังคงมองอย่างเจ้าเล่ห์ และยิ้มกริ่มเหมือนเยาะหยันพวกเราต่อไป และที่สำคัญ รหัสลับที่ลีโอนาร์โด ดาวินชี ซ่อนเอาไว้ ก็ยัง

คงเป็นความมืดมนที่มีเพียงแสงสว่างที่ริบหรี่เท่านั้นเอง.

ทีมงานต่วย'ตูน
ไทยรัฐออนไลน์ วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

-----------------------------------------------------------------


 

 


  



-------------------------------------------------------------------------
Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.186 seconds with 20 queries.