Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
17 May 2024, 17:27:04

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,700 Posts in 12,500 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  สถานที่สวยงาม (Moderator: ppsan)  |  วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)  (Read 41 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,553


View Profile
« on: 02 November 2023, 23:53:10 »

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)


วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
วัดประจำรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 9

วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชไทยถึง 4 พระองค์ และยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สถาบันการศึกษาของสงฆ์แห่งแรกในประเทศ ความแตกต่างจากวัดอื่นๆ คือมีพระประธาน 2 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และสำคัญ  ได้แก่ พระสุวรรณเขต พระประธานองค์แรกของอุโบสถวัดนี้ ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัขกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9  ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงเคยผนวช ณ วัดแห่งนี้

.


วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) เป็นพระอารามหลวงแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความงดงามด้านสถาปัตยกรรมและจิตกรรมฝาผนังเป็นอย่างมาก เป็นการผสมผสานระหว่างชาติตะวันตก จีน และไทย ได้อย่างสวยงาม

วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เดิมชื่อ วัดใหม่ เป็นวัดโบราณ เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชได้เสด็จมาประทับ และทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตติกนิกายขึ้นที่วัดนี้เป็นครั้งแรก ถือเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่ง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ณ วัดนี้อีกด้วย

อีกทั้งหลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ได้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารประดิษฐานที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ซึ่งจะถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 9


.

พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสที่สำคัญเริ่มจากพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แต่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้ง รูปแบบของพระอุโบสถ ที่สร้างตามแบบ พระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 มีมุขหน้ายื่นออกมา เป็นพระอุโบสถและมีปีกยื่นออก ซ้ายขวา เป็นวิหารมุขหน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประตูหน้าต่าง และ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น

พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ หลังนี้ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยโปรดฯ ให้มุงกระเบื้องเคลือบลูกฟูก ประดับ ลายหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสี และโปรดฯให้ขรัวอินโข่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ ส่วนภายนอกได้รับการบูรณะ บุผนัง ด้วยหินอ่อนทั้งหมด เสาด้านหน้าเป็นเสาเหลื่ยมมีบัวหัวเสาเป็นลายฝรั่ง ซุ้มประตูหน้าต่างปิดทองประดับกระจก

ด้านหน้ามีใบเสมารุ่นเก่าสมัยอู่ทองทำด้วยหินทรายแดงนำมาจากวัดวังเก่า เพชรบุรี ส่วนใบเสมาอื่นทำแปลกคือติดไว้กับผนังพระอุโบสถแทน การตั้งไว้บนลานรอบพระอุโบสถ หลังพระอุโบสถเป็นเจดีย์กลมสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน


.

พระสุวรรณเขต หรือเรียกว่าหลวงพ่อโต หรือ “หลวงพ่อเพชร” คือพระประธานองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ด้านในสุดของ วัดบวรนิเวศ เป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา หน้าตักกว้าง 9 ศอก 21 นิ้ว พระยาชำนิหัตถการได้ปั้นพอกพระศกให้มีขนาดดังที่เห็นในปัจจุบันแล้วลงรักปิดทอง ด้านข้างพระพุทธรูปองค์นี้มีพระอัครสาวกปูนปั้นหน้าตัก 2 ศอก ข้างละ 1 องค์

พระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระพุทธสุวรรณเขต เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง 5 ศอก 4 นิ้ว สองข้างพระพุทธชินสีห์มีรูปพระอัครสาวกคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่า สมเด็จพระธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารด้านทิศเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถจัตุรมุข วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพุทธศักราช 2374


.

พระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขตพุทธาวาส ต่อจากพระเจดีย์และวิหารเก๋ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างในพุทธศักราช 2402 เดิมที่นี้เป็นคูและที่ตั้งคณะลังกา แต่โปรดให้ถมและรื้อเพื่อสร้างพระวิหาร พระวิหารหลังนี้มีขนาด 5 ห้อง มีเฉลียงรอบ ภายในแบ่งเป็น 2 ตอน คือทางทิศตะวันออก 3 ห้อง ประดิษฐานพระศาสดา ทิศตะวันตก 2 ห้อง ประดิษฐานพระพุทธไสยา หลังคาซ้อนชั้น 2 ชั้น หน้าบันรวยระกาไม่มีลำยอง ลวดลายหน้าบันเป็นปูนปั้นรูปดอกพุดตาน ตรงกลางเป็นรูปพระมหามงกุฎประดิษฐานบนพาน มีฉัตร 2 ข้าง ซึ่งเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 4 หลังคามุงกระเบื้องกาบกล้วย ซุ้มประตูหน้าต่างด้านนอกเป็นลวดลายปูนปั้นรูปดอกพุดตานใบเทศปิดทอง ตรงกลางซุ้มด้านบนทำเป็นรูปพระมหามงกุฎมีฉัตรอยู่ 2 ข้างเช่นเดียวกับหน้าบัน การก่อสร้างวิหารพระศาสดาค้างมาจนถึงรัชกาลที่ 5 โปรดให้ดำเนินการต่อ โปรดให้ปิดทองพระศาสดา พระพุทธไสยาและซุ้มประตูหน้าต่าง เขียนภาพจิตรกรรมที่บานประตู หน้าต่าง เพดานและผนัง


.

พระศาสดา เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 4 คืบ 8 นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)ทราบเรื่อง จึงให้อัญเชิญพระศาสดาจากวัดบางอ้อยช้างมาไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบและมีพระราชดำริว่า พระศาสดานั้นสร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพทรงให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหารที่เดียวกับพระพุทธชินสีห์ เป็นเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ แต่ยังมิได้สร้างสถานที่ประดิษฐาน จึงโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังมุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามไปพลางก่อนเมื่อพุทธศักราช 2396 ครั้นสร้างพระวิหารพระศาสดาจวนแล้วเสร็จจึงโปรดให้อัญเชิญพระศาสดามาประดิษฐาน เมื่อพุทธศักราช 2407


.

พระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหารก่อพระฤกษ์เมื่อเดือน 10 ขึ้น 11 ค่ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ.1193 (วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พุทธศักราช 2374) ในสมัยรัชกาลที่ 3 และใช้เวลาก่อสร้างต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 องค์พระเจดีย์มีสัณฐานกลม มีคูหาภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ 2 ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา 4 ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก 4 องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง

พระเจดีย์ใหญ่ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ 2 ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา 4 ซุ้ม
กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก 4 องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง

ภายในพระพระเจดีย์ใหญ่ ประดิษฐานพระเจดีย์สำคัญ คือ "พระไพรีพินาศเจดีย์" เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ และ "พระเจดีย์กะไหล่ทอง" บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ฐานพระเจดีย์เป็นแท่นศิลา สลักภาพพุทธประวัติ ปางประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ด้านละปาง มีอักษรจารึก พระวาจา พระอุทาน และพระพุทธวจนะไว้เหนือแผ่นภาพสลักนั้นด้วย


.



.

เซี่ยวกาง หรือ ยักษ์ เทพ ฯ เฝ้าประตู ที่ทวารบาล มีเรื่องเล่าว่า สมัยก่อนมีคนจีนติดฝิ่น มานอนเสียชีวิตที่หน้าประตู แล้วไปเข้าฝันว่าจะเฝ้าวัดให้ ให้เซ่นไหว้ด้วยฝิ่น คราบดำๆ ที่ปาก(ดังภาพ)คือ ฝิ่น


.

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร


.

แผนผังวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร


.



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.075 seconds with 16 queries.