Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
29 April 2024, 12:57:31

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,614 Posts in 12,444 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ข้อควรปฎิบัติ  |  ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์  |  สลิ่ม
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: สลิ่ม  (Read 407 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,467


View Profile
« on: 08 February 2022, 09:52:50 »

สลิ่ม


https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1
https://th.wikipedia.org/wiki/สลิ่ม

สลิ่ม

บทความนี้เกี่ยวกับกลุ่มคน สำหรับขนม ดูที่ ซ่าหริ่ม
สลิ่ม ในบริบทการเมืองไทยร่วมสมัย เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนหรือพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกมองว่าคลางแคลงในระบอบประชาธิปไตยและสนับสนุนบทบาทของกองทัพในพื้นที่การเมือง นักรัฐศาสตร์ สุรชาติ บำรุงสุข มองว่าสลิ่มคือตัวแทนชนชั้นกลางปีกขวา คำนี้ในตอนแรกใช้เรียกเฉพาะ "กลุ่มเสื้อหลากสี" หรือ กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดยเรียกตามชื่อขนมซ่าหริ่มซึ่งมีหลายสี และอาจมีความหมายเชิงดูถูก ต่อมาขอบเขตความหมายได้กินความรวมไปถึงคนกลุ่มอื่นที่อยู่นอกเหนือผู้ชุมนุมในกลุ่มคนเสื้อหลากสีด้วย คำว่าสลิ่มเริ่มถูกใช้ในงานเขียนที่เผยแพร่ทางสื่อทั่วไปอย่างน้อยตั้งแต่ปี 2554 และกลับมาเป็นที่สนใจในบทสนทนาทางการเมืองอย่างมากอีกครั้งเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษายุบพรรคอนาคตใหม่ เมื่อนักเรียนนักศึกษาจากหลายสถานศึกษาได้อ้างอิงถึงคำนี้ในแฮชแท็กของการชุมนุมประท้วง เช่น #BUกูไม่เอาสลิ่ม #ราชภัฏอยากงัดกับสลิ่ม #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ รวมถึงมีเพลงล้อชื่อ "ดูสลิ่ม" ออกมาในช่วงเดียวกัน โดยท่อนแรกของเนื้อเพลงคือ "ชอบกฎหมายที่สั่งตัดมาพิเศษ"

ที่มา
คำนี้ได้เริ่มเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 ซึ่งกลุ่มผู้สนับสนุนการเมืองกลุ่มต่าง ๆ ใช้สีเสื้อในการระบุอัตลักษณ์ของตัวเอง เช่น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ใส่เสื้อสีเหลือง และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่ใส่เสื้อสีแดง โดยกลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซึ่งรวมตัวครั้งแรกเมื่อ 13 เมษายน 2553 เพื่อคัดค้านการที่กลุ่มคนเสื้อแดงออกมาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา จึงเรียกตัวเองอย่างลำลองว่า "กลุ่มเสื้อหลากสี" เพื่อแยกตัวเองออกมาจากกลุ่มการเมืองก่อนหน้า ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ หรือ "หมอตุลย์" แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี เคยให้สัมภาษณ์นิตยสาร Positioning ว่า “ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องเปลี่ยนจากพลังเงียบให้กลายมาเป็นพลังที่เคยเงียบเสียที” “ผมเลยชวนพวกเขามาอยู่เวทีเดียวกัน ทำให้เป็นกลุ่มเสื้อหลากสีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีพลังมากขึ้น” ต่อมาผู้ติดตามการเมืองได้นำชื่อขนมไทยที่เรียกว่าซ่าหริ่มหรือสลิ่ม ที่มีเส้นหลากหลายสีมาเรียกกลุ่มดังกล่าว โดยเชื่อว่าเริ่มเรียกกันเป็นครั้งแรกในเว็บบอร์ดพันทิป.คอม สมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมทางสังคมที่เคยเคลื่อนไหวกับกลุ่มคนเสื้อแดงเคยกล่าวบนสื่อสังคมทวิตเตอร์ว่า "มีคนใช้คำนี้เรียกกลุ่มคนเสื้อหลากสีใน Pantip แล้วผมเอามาใช้ต่อ และปัจจุบันผมเลิกเรียกคนว่าสลิ่ม ตามที่ วาด รวี เขารณรงค์"

คำจำกัดความ
มีความพยายามในการให้คำจำกัดความและความหมายของคำว่า "สลิ่ม" มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่ในทางการเมืองเท่านั้นแต่ยังรวมถึงทางสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ ปรัชญา และเศรษฐศาสตร์

กันยายน 2553 ทัศนะ ธีรวัฒน์ภิรมย์ ได้อธิบายลักษณะร่วมบางประการของสลิ่มในบทความของประชาไท โดยสรุปได้เป็นนัยว่า สลิ่มเป็นกลุ่มคนที่เป็นผู้เกินกว่าราชา (Ultra-Royalist), เป็นคนที่มีการศึกษาสูงแต่จะเลือกเชื่อแต่สิ่งที่ได้รับการศึกษาในระบบมาเท่านั้น, เป็นคนที่เชื่อคนยากแต่จะเลือกเชื่อคนที่ดูดีมีความรู้, เป็นคนที่มีศีลธรรมจรรยา, เป็นคนที่ติดตามข่าวสารเรื่องการเมืองและมองทักษิณ ชินวัตรเป็นปัญหาของการเมืองไทยมาโดยตลอด, เป็นผู้มีอันจะกินมีกำลังซื้อมากและชอบนำเทรนด์, และเป็นคนที่มีความย้อนแย้งในตัวเองสูง

ตุลาคม 2554 พจนานุกรมศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย http://thaipolitionary.com Archived 2016-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ได้ให้ความหมายของคำนี้ว่าเป็น "บุคคลที่หลงคิดว่าตนมีสติปัญญา คุณสมบัติ ความเชื่อ ค่านิยม หรือจริยธรรมเหนือกว่าผู้อื่น ทว่าแท้จริงกลับไม่มีความคิดเป็นของตนเอง ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน ไม่สามารถใช้ตรรกะหรือแสดงเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ จึงมักอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือมีความเชื่อที่ผิดอยู่เสมอ ทั้งยังปากว่าตาขยิบ มีอคติและความดัดจริตสูง เกลียดนักการเมือง และไม่ชอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน"

พฤศจิกายน 2554 Faris Yothasamuth ได้อธิบายลักษณะเฉพาะของสลิ่มในบทความของประชาไท โดยสรุปได้เป็นนัยว่า สลิ่มมีลักษณะที่เกลียดชังทักษิณ, ฝักใฝ่ลัทธิกษัตริย์นิยม, โหยหาทหาร, ไม่เชื่อมั่นประชาธิปไตยในระบบ, ขาดเหตุผลและความรู้, และมีความหลงผิดว่าตนเองดีเลิศและสูงส่งกว่าคนอื่น

ในช่วงการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เริ่มมีการใช้คำว่าสลิ่มกันในวงกว้างขึ้นและทำให้สื่อทั้งในและต่างประเทศต่างให้ความหมายที่ร่วมกันว่า เป็นคำที่ถูกใช้ในทางเย้ยหยันหรือเหยียดหยาม (derogatory) เรียกกลุ่มคนพวกอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง (ultraconservative), ผู้เกินกว่าราชา (ultra-royalist), และผู้สนับสนุนรัฐบาลของประยุทธ์ จันทร์โอชา (pro-establishment)

การใช้คำ
ในช่วงก่อนการประท้วง 2563 มีนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิจารณ์ทางการเมืองหลายคนใช้คำนี้เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์ คำ ผกา แต่ในช่วงการประท้วง 2563 เริ่มปรากฏการใช้คำนี้ในสื่อกระแสหลักมากขึ้น



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,467


View Profile
« Reply #1 on: 08 February 2022, 09:54:47 »


https://www.thairath.co.th/news/politic/2176568

ภาษาไทย (ใหม่) วันละคำ ความหมายของคำว่า “สลิ่ม”
ซูม
26 ส.ค. 2564 05:08 น.

ผมเป็นคนแก่ตกรุ่น ยอมรับว่าเพิ่งมารู้จักกับคำว่า “สลิ่ม” เมื่อไม่นานนี่เอง หลังจากมีการพูดถึงด้วยการหยิบยกคำคำนี้มากล่าวหาคนโน้นคนนี้ว่าเป็น “สลิ่ม” อยู่เสมอๆ ตามโซเชียลต่างๆ

คำที่ออกเสียงคล้ายๆกันนี้ที่ผมรู้จักและคุ้นเคยอย่างดียิ่งคือ คำว่า “ซ่าหริ่ม” ซึ่งเป็นขนมไทยๆชนิดหนึ่งที่ผมชอบมาก...กินมาตั้งแต่เล็กจนโต และล่าสุดไปกินที่ ท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี หลายปีมาแล้ว อร่อยมาก และตั้งใจเอาไว้ว่าโควิดซาเมื่อไรจะหาโอกาสไปเมืองกาญจน์อีกครั้งเพื่อแวะกิน “ซ่าหริ่ม” ท่าเรือให้หายคิดถึงสัก 2-3 ถ้วยเลยทีเดียว

ด้วยเหตุที่ผมเคยคุ้นกับคำว่า “ซ่าหริ่ม” อย่างมากนั่นเอง เมื่อจู่ๆ มีคำว่า “สลิ่ม” เกิดขึ้นมาใหม่และทุกวันนี้ดูเหมือนจะฮิตกว่า “ซ่าหริ่ม” เสียอีก จึงลองไปค้นหาดูว่า คำนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร?

ผมเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก่อนอื่น ปรากฏว่าไม่มีครับ พอไปถึงคำว่า “สลิด” ที่แปลว่า ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งแล้ว ก็ข้ามไปที่ “สลึง” ซึ่งแปลว่า 25 สตางค์ โน่นเลย ไม่มีคำว่า “สลิ่ม” แต่อย่างใดทั้งสิ้น

ผมยังไม่ละความพยายาม คราวนี้เข้ากูเกิลคลิกไปที่ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีซะเลย...ปรากฏว่ามีครับ--เขาให้ความหมายของคำว่า “สลิ่ม” ยาวเหยียด ขอถือโอกาสคัดลอกมาเผยแพร่ต่อเลยนะครับ

“สลิ่ม ในบริบทการเมืองไทยร่วมสมัย เป็นคำใช้เรียกกลุ่มคน หรือพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกมองว่า คลางแคลงใจในระบอบประชาธิปไตย และสนับสนุนบทบาทของกองทัพในพื้นที่การเมือง”

“คำนี้ในตอนแรกใช้เรียกเฉพาะ “กลุ่มเสื้อหลากสี” หรือกลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสนา กษัตริย์ โดยเรียกตามชื่อ ขนมซ่าหริ่ม ซึ่งมีหลายสี และอาจมีความหมายในเชิงดูถูก”

“คำนี้ได้เริ่มเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ.2548-2553 ซึ่งผู้สนับสนุนการเมืองกลุ่มต่างๆใช้สีเสื้อในการระบุอัตลักษณ์ของตัวเอง เช่น พันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ใส่เสื้อสีเหลืองและแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่ใส่เสื้อสีแดง”

“ต่อมากลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซึ่งรวมตัวกันครั้งแรกเมื่อ 13 เมษายน 2553 เพื่อคัดค้านกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ออกมาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ได้เรียกตัวเองอย่างลำลอง ว่า “กลุ่มเสื้อหลากสี” เพื่อแยกตัวเองออกจากกลุ่มการเมืองก่อนหน้านี้”

กันยายน 2553 ทัศนะ ธีรวัฒน์ภิรมย์ ได้อธิบายลักษณะร่วมบางประการของ “สลิ่ม” ในบทความของประชาไท โดยสรุปได้เป็นนัยว่า “สลิ่มเป็นกลุ่มคนที่เป็น ผู้เกินกว่าราชา (Ultra-Royalist) เป็นคนที่มีการศึกษาสูง แต่จะเลือกเชื่อในสิ่งที่ได้รับการศึกษาในระบบมาเท่านั้น เป็นคนที่เชื่อคนยาก แต่จะเลือกเชื่อคนที่ดูดีมีความรู้”

“เป็นผู้มีอันจะกิน มีกำลังซื้อมากและชอบนำเทรนด์ และเป็นคนที่มีความย้อนแย้งในตัวเองสูง”

ตุลาคม 2554 พจนานุกรมการเมืองไทยร่วมสมัย www.thai politionary.com ให้ความหมายว่า “เป็นบุคคลที่หลงคิดว่าตนมีสติปัญญา คุณสมบัติ ความเชื่อ ค่านิยม หรือจริยธรรมเหนือกว่าผู้อื่น ทว่าแท้จริงกลับไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง”

“ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน ไม่สามารถใช้ตรรกะหรือแสดงเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ จึงมักอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือมีความเชื่อที่ผิดอยู่เสมอ”

ในช่วงการประท้วงในประเทศไทย 2563 เริ่มมีการใช้คำว่าสลิ่มกันในวงกว้างขึ้น ทำให้สื่อทั้งในและต่างประเทศต่างให้ความหมายที่ร่วมกันว่า เป็นคำพูดที่ถูกใช้ในทางเย้ยหยัน หรือเหยียดหยาม (derogatory) เรียกกลุ่มคนอนุรักษนิยมสุดโต่ง (Ultraconservative) ผู้เกินกว่าราชา (Ultra-Royalist) และผู้สนับสนุนรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ครับ! นี่คือที่มาที่ไปและความหมายของคำว่าสลิ่มตามที่ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี รวบรวมไว้ที่ผมคัดลอกมาราวๆ 65 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้จบลงได้ในคอลัมน์...ท่านที่ประสงค์จะอ่านรายละเอียดโปรดไปเข้ากูเกิลอีกครั้ง

อ่านไปอ่านมาแม้ผมจะมั่นใจว่าตัวเองไม่เข้าข่ายคำกล่าวหาที่รุนแรงและมองโลกในแง่ร้ายของผู้กำหนดนิยามคำว่า “สลิ่ม” หลายต่อหลายข้อ แต่ก็เข้าข่ายเต็มที่อยู่ 2 ข้อ

นั่นก็คือการเป็นคน “อนุรักษนิยม” และ “มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์” หรือ royalist อย่างยิ่งยวดของผม

ถ้าคุณสมบัติ 2 ข้อนี้ ทำให้เป็นสลิ่มผมก็ยินดีจะเป็นครับ...และยิ่งทราบว่า “สลิ่ม” แผลงมาจาก “ซ่าหริ่ม” ด้วยเช่นนี้ คนชอบกิน “ซ่าหริ่ม” เป็นชีวิตจิตใจอย่างผม ก็พร้อมที่จะเป็น โดยไม่ปฏิเสธเลยครับ...ซตพ.

“ซูม”


Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,467


View Profile
« Reply #2 on: 08 February 2022, 09:55:49 »


https://www.thansettakij.com/blogs/columnist/492270

"สลิ่ม" กับ "สะเหล่อ"



18 ส.ค. 2564 เวลา 11:37 น. 3.6k
คอลัมน์ข้าพระบาท ทาสประชาชน โดย... ประพันธุ์ คูณมี

ผมได้ยินคนพูดถึงคำว่า "สลิ่ม" มาเป็นระยะๆ นานพอสมควร ส่วนมากมักจะออกมาจากปากพวกที่อยู่ตรงข้ามกับกลุ่มประชาชนที่ออกมาขับไล่รัฐบาลทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ หรือ มาจากพวกนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่นิยม "ระบอบทักษิณ" แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าพวกเขาต้องการพูดจาเสียดสี หรือ ด้อยค่าใคร ด้วยเหตุผลอะไร และไม่ทราบว่า "สลิ่ม" มันไปหนักกะบาลใคร หรือไปทำอะไรให้บรรพบุรุษเขาเดือดร้อนอย่างไร แต่เมื่อได้ยินคนพูดถึงคำคำนี้ในเชิงดูหมิ่นเสียดสี ทำให้รู้สึกคันปากอย่างพูด แต่ก็ต้องระงับยับยั้งความรู้สึกนั้นเสีย เพราะพูดไปสองไพเบี้ย

ต่อมาในสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน เมื่อมีการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองของสารพัดกลุ่ม ไม่ว่าในนาม "คณะราษฏร", “กลุ่มเยาวชนปลดแอก", “แนวร่วมธรรมศาสตร์การชุมนุม" "กลุ่มทะลุฟ้า" และ กลุ่มคนเสื้อแดง หรือ แนวร่วมพวกปฏิรูปสถาบัน ตลอดสารพัดกลุ่มที่อ้างตนเป็นคนรุ่นใหม่ ออกมาแสดงตนสำแดงฤทธิ์เดชทางการเมืองแบบถ่อยเถื่อนในปัจจุบัน

และมีบรรดาดารา นางแบบ นางงามบางคน แม้กระทั่งนักร้อง นักกีฬาทีมชาติ เด็กๆ ที่อยากแสดงตนอวดความโง่เขลาเบาปัญญา ที่พยายามออกมาแสดงตัวตนว่าเธอไม่ใช่พวก "สลิ่ม" ที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในบ้านเมือง ต่างดาหน้าออกมาพูดในทางประณามด้อยค่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของพวกตน ที่ชุมนุมแบบถ่อยเถื่อน หยาบคาย ก่อความวุ่นวาย จลาจล ด้วยการละเมิดกฎหมายและใช้ความรุนแรงที่ปราศจากเหตุผล
 
ที่สำคัญคือ มีการเคลื่อนไหวที่ล่วงละเมิด ดูหมิ่น หรือ หมิ่นประมาท อาฆาต มาดร้าย และก้าวล่วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทั่งเรียกร้องให้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จนเลยเถิดกลายเป็นม็อบล้มเจ้า ดังปรากฏขณะนี้ เมื่อคนจำพวกนี้พูดถึงคนที่ไม่ออกมาร่วมกับพวกเขาว่าเป็นพวก "สลิ่ม" โดยให้ความหมายและนิยามให้เข้าใจว่าคือ พวกที่อยู่ตรงข้ามกับพวกเขา ผมจึงได้เข้าใจความหมายของคำว่า "สลิ่ม" และถึงบางอ้อในวันนี้นี่เอง

ยอมรับตามตรงครับ ผู้เขียนเพิ่งจะเข้าใจความหมายที่พวก “ม็อบสามกีบ” กล่าวหาคนอื่นที่ไม่เห็นด้วยกับตนว่าเป็น "สลิ่ม" นั้นมีหมายความว่าอย่างไร เมื่อตอนที่เกิดม็อบถ่อยเถื่อนขึ้นมานี่เอง

ถ้าหากจะให้สรุปง่ายๆ ให้ชัดเจน คนที่ถูกเรียกว่า "สลิ่ม" ก็คือคนที่มีความคิดเห็นอยู่ตรงข้ามและไม่เห็นด้วยกับพวก “ม็อบสามกีบ” ไม่นิยมและไม่เห็นด้วยกับพวกม็อบล้มเจ้า ที่ต้องการเปลี่ยนระบอบการเมืองการปกครอง จากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐแบบมีประธานาธิบดีนั่นเอง

"สลิ่ม" คือพวกที่ไม่เห็นด้วยกับพวกม็อบที่ต้องการปฏิวัติสังคมเปลี่ยนแปลงประเทศ โดยอ้างว่าต้องการล้มเผด็จการ นายทุน ขุนศึก ศักดินา โดยมองไม่เห็นว่าอนาคตประเทศจะเป็นอย่างไร

"สลิ่ม" คือพวกที่ออกไล่รัฐบาลโกง นักการเมืองชั่ว ที่ทุจริตคดโกง เพื่อปกป้องประโยชน์ชาติ โดยไม่ยอมก้มหัวให้นักการเมืองชั่ว พวกนักธุรกิจการเมืองจอมโกง

"สลิ่ม" คือพวกตรงกันข้ามและไม่เห็นด้วยกับพวกชุมนุมเผาบ้านเผาเมือง โดยอ้างประชาธิปไตยบังหน้า แต่รับใช้ "ระบอบทักษิณ"

"สลิ่ม" คือพวกที่รังเกียจพวกที่ด้อยค่าประเทศชาติของตน ไม่เคารพบรรพบุรุษ ไม่ให้เกียรติผู้อาวุโสและผู้ประกอบคุณงามความดีในแผ่นดิน แม้แต่ทหารนักรบ วีรชน ผู้พลีชีพปกป้องชาติ พวกตรงข้ามกับ "สลิ่ม" ยังบังอาจหยามหมิ่น ไม่เคารพไม่ให้เกียรติ ไม่ยึดมั่นในวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศตน

"สลิ่ม" คือคนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ยึดมั่นในชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งชีวิตจิตใจ ไม่ใช่พวกชังชาติ หรือ ยอมก้มหัวยกย่องบูชาพวกตะวันตก พวกลัทธิล่าอาณานิคม ที่ชอบเอาเสรีภาพที่โง่เขลา ประชาธิปไตยจอมปลอม ไปยุยงปลุกปั่นเด็กๆ และเยาวชน ให้ทำร้ายประเทศชาติตน เหยียบย่ำรุกรานไทยแบบไม่ลืมหูลืมตา


การเป็น "สลิ่ม" ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงไม่มีอะไรที่ต้องละอาย ตรงข้ามกลับเป็นสิ่งที่น่ายกย่องชื่นชม สำหรับคนที่เกิดเป็นคนไทย เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เกิดมาเป็น "สลิ่ม" และเพราะความเป็น "สลิ่ม" ที่ต้องยืนอยู่ตรงกันข้ามกับพฤติกรรมและความเลวร้ายทั้งหลายดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นเรื่องน่ายินดีและเต็มใจอย่างยิ่ง

และผู้เขียนขอเป็น "สลิ่ม" ด้วยคน และพร้อมประกาศยืนยันว่าไม่เคยคิดจะกลับใจ ที่จะไปยืนอยู่อีกฝั่งแห่งความชั่วร้าย จนกว่าชีวิตจะหาไม่ เพราะไม่ต้องการเป็นคน "สะเหล่อ" ที่ไร้ค่าต่อแผ่นดิน ที่ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง มีค่าแค่เป็นเครื่องมือของคนชั่วนักการเมืองโกงแผ่นดิน

"สลิ่ม" จะจดจำเสมอว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยมีพระบรมราโชวาทเรื่องบ้านเมืองว่า "บ้านเมืองของเรามีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"

หากพวกเราคนไทยยึดถือและเข้าใจ ปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทดังกล่าวได้ บ้านเมืองของเราคงไม่วุ่นวายดังที่เห็นและเกิดขึ้นในทุกๆ วันนี้ ที่มีคน "สะเหล่อ" ออกมาป่วนประเทศเป็นรายวัน

การที่คนจำนวนหนึ่งตั้งตนเป็นคนเก่ง คนทันสมัย มีความคิดก้าวหน้า อวดอ้างตัวเองจะมาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง วางอนาคตประเทศชาติ ออกแบบสังคมใหม่ให้คนไทย ทั้งที่โง่เขลา เบาปัญญา เพิ่งลืมตาดูโลกเพียงเศษเสี้ยว เหมือน "กบในก้นบ่อ" อ้างตนเป็นคนดีคนเก่ง ก้าวหน้าทันสมัย ดูถูกดูแคลนด้อยค่าคนอื่นที่ไม่เห็นด้วยกับความคิด ความเชื่ออันงมงายของตน ที่ถูกผู้อื่นชักใย

แถมยังบังอาจสั่งสอนตำหนิคนอื่นว่า เลวร้าย ไร้ค่าไปเสียทุกอย่าง พวกตัวเองดีหมดทุกเรื่อง คนที่ไม่รู้แยกดีแยกชั่ว ไม่รู้แยกผิดถูก ไม่รู้จำแนกคนดีกับคนไม่ดี แต่คิดอยากจะปกครองบ้านเมือง คนเช่นนี้ในบ้านเมืองเรามีมากขึ้นทุกวัน

การจะจำกัดคนเลวไม่ให้ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ทำลายความปรกติสุขของสังคม จึงเป็นเรื่องที่จะต้องทำไปพร้อมๆ กันกับการส่งเสริมคนดี ให้คนดีมีโอกาสปกครองบ้านเมือง หากไม่กำจัดคนเลวไม่ให้มีที่ยืนในสังคม คนดีๆ ทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยความไม่สงบสุข

การที่สังคมทุกวันนี้ เต็มไปด้วยคนดีที่ต้องเดินตามตรอก ขี้ครอกเดินเต็มถนน คนที่มีความคิดเป็นปฏิปักษ์กับประเทศชาติ นักวิชาการ นักการเมือง และคนเลวรุ่นใหม่ที่โง่เขลา ต่างขยันพูดขยันโพสต์อวดอ้างแสดงตนเป็นผู้ทรงภูมิปัญญา และใช้อวิชชาบิดเบือนกลับขาวเป็นดำ ทำผิดให้เป็นถูกกลับชั่วให้เป็นดีเช่นนี้ โดยช่วยกันกระพือให้สังคมเข้าใจว่า คนที่อยู่ตรงข้ามกับตนเป็นพวก "สลิ่ม" คือเป็นคนไม่ดีที่ทำลายบ้านเมือง ด้วยความพยายามบิดเบือน สร้างชุดความคิดและข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จต่อสังคมนั้น คนจำพวกนี้ต่างหากที่ควรเป็นคนต้องถูกประณาม เพราะคนที่พวกเขากล่าวหาว่าเป็น "สลิ่ม" ไม่เคยสนับสนุนคนชั่ว คนโกง คนทรยศประเทศชาติ ประชาชน หรือคนไม่ดีให้ปกครองบ้านเมือง

การเป็น "สลิ่ม" ด้วยความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จึงเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจ ยิ่งกว่าพวก "สะเหล่อ" ถ้ามีใครอยากรู้หรือถามหาว่าใครเป็น "สลิ่ม" บ้าง ก็จงยืดอกประกาศให้รู้เสียเลยว่า กูนี่แหละคือ "สลิ่ม" และจะไม่ยอมเป็นพวก "สะเหล่อ" อีกต่อไป แล้วไง?


Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,467


View Profile
« Reply #3 on: 08 February 2022, 09:56:54 »


https://www.facebook.com/khaosod/posts/3922030457813884

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_2572995

ศิลปินแห่งชาติ ภูมิใจถูกเรียกว่า "สลิ่ม" ชี้ไม่ใช่คำด่า อธิบายชัดๆ นี่มันคือคำชม



วานนี้ (31 พ.ค.) วินทร์ เลียววาริณ (หรือ สมชัย เลี้ยววาริณ) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556 และเป็นนักเขียน รางวัลซีไรต์ 2 ครั้ง คือ เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน) และเมื่อปี พ.ศ. 2542 (สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน) โพสต์เฟซบุ๊กแฟนเพจของตน อธิบายนิยามของคำว่า “สลิ่ม” โดยระบุว่านี่ไม่ใช่คำด่า แต่เป็นคำชม มีใจความดังนี้

บางครั้งผมก็อดงงกับการใช้ภาษาของคนรุ่นใหม่มิได้ เพราะอ่านในบริบทแล้ว ดูเหมือนเป็นบริภาษและเสียดสี แต่คำที่ใช้กลับเป็นคำชม

ตัวอย่างที่เห็นบ่อยที่สุดคือคำว่า สลิ่ม
สลิ่มไม่ใช่คำด่า ตรงกันข้ามเป็นคำที่มีความหมายดีมาก มาจากภาษาอังกฤษ slim

slim เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่าผอม หุ่นเพรียว หุ่นดี สัดส่วนดี ภาษาอังกฤษว่า gracefully thin คือผอมแบบเท่หรือดูดี คำนี้ยังใช้เป็นกริยาได้ แปลว่าทำให้ผอม ลดน้ำหนัก

ดังนั้นหากเราบอกว่าใครเป็นสลิ่ม ก็หมายถึงเขาหรือเธอมีหุ่นดี สวยงาม น่าประทับใจ ย่อมเป็นคำชมแน่แท้มิต้องสงสัย ทว่าหากตั้งใจใช้คำว่า ‘สลิ่ม’ ให้หมายถึงขนมชนิดหนึ่งที่มีหลากสี ก็ต้องสะกด ซ่าหริ่ม หรือ ซาหริ่ม

แต่ถึงใช้ ซ่าหริ่ม ก็ยังเป็นคำที่มีความหมายดีอีกนั่นเอง เพราะซ่าหริ่มเป็นคำอาหรับ Salim หรือ Saleem แปลว่าปลอดภัย ไร้อันตราย ดังนั้นหากเราบอกว่าใครเป็น ‘ซ่าหริ่ม’ ก็หมายถึงต้องการอวยพรให้เขาหรือเธอปลอดภัย

คงต้องเลือกคำใหม่แล้วละ
เราเป็นคนไทย ไม่ว่าจะรักหรือเกลียดเมืองไทย ก็ควรเขียนภาษาไทยให้ถูก ถ้าชมก็ได้ความหมายถูก ถ้าด่าก็ด่าถูกคำ

ไม่ใช่ด่าแล้ว คนโดนด่ายิ้มระรื่นชื่นใจทั้งวัน

ต่อไปนี้ใครด่าผิด จะให้คาบไม้บรรทัดเลย

(ป.ล. วันนี้หอมปากหอมคอแค่นี้พอ ทีหลังก็อย่ามาเปิดกล่อง Pandora’s Box ของผม เปิดทีมาเป็นชุดเลย)


Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,467


View Profile
« Reply #4 on: 08 February 2022, 09:58:25 »


https://pantip.com/topic/36224890

สลิ่มคืออะไรครับ (ทางการเมือง)

คือผมเพิ่งโดนไปเมื่อไม่นานมานี้เองสงสัยมาก พยายามหาใน Google ก็เจอ แต่ไม่ชัด ส่วนใหญ่ความหมายจะเปลี่ยนไปตามคนเขียน ยังไม่เจออะไรที่เป็นความหมายแบบจริงๆ เลยว่า ใคร, ทำไม, เพราะอะไร... ส่วนใหญ่เห็นแต่ด่ากัน ซึ่งจากตรงนี้ผมขอความหมายที่เป็นความหมายจริงๆ ได้ไหมรับ

คือนัดเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอกันนานมา ผมกลับบ้าน แล้วทานอาหารกันอยู่ จู่ๆ มันก็คุยเรื่องการเมืองกัน แล้วมันก็หันมาถามเรา เราก็บอกเราไม่รู้ ไม่ยุ่งการเมือง แล้วมันก็บอกผมว่า "สลิ่มเหรอ"

... ห๊ะ อะไรนะ

"สลิ่มคืออะไรวะ" ไม่รู้ความหมายแต่จากน้ำเสียง + สายตาน่าจะเป็นคำด่า

คืองี้ครับ ผมไม่ยุ่งการเมือง ไม่สนว่าใครจะได้เป็นอะไร ไม่แคร์ว่าใครจะทำอะไรใคร ใครจะตายที่ไหนอย่างไร ผมไม่สน... ไม่เคยสนเลยเว้ย ผมรู้แค่ ผมไม่เดือดร้อน ครอบครัวผมมีวิธีของพวกเขาที่จะอยู่อย่างมีความสุขได้ และเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าอยู่ไม่ได้เราก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น หรือเอาง่ายๆ คือ "ผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับการเมือง ไม่แคร์สักนิด"


... แล้ว สลิ่มคืออะไร แล้วผมไปเป็นสลิ่มตอนไหน อะไรยังไงนะเนี่ย ที่หนักกว่านั้นคือเพื่อนสองคนแม่มทะเราะกันเฉยเลย เฮ้ย... คือ... เมื่อกี้มุงยังดีๆ กันอยู่เลย ยังหยอกล้อกันอยู่เลย แล้วอยู่ๆ ก็เปลี่ยนเป็นคนละคนซะงั้น อะไรของพวกมุงเนี่ย

............................

http://2g.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P13020343/P13020343.html

ตกลง "สลิ่ม" คืออะไรเหรอครับ   

Search GG อากู๋บอกว่าหมายถึง กลุ่มเสื้อหลากสี มาจากคำว่า "ซ่าหริ่ม" 

พอมาอ่านในนี้ เหมือนกับว่าเป็นเหลืองจำพวกหนึ่ง
รบกวนขอคำอธิบายหน่อยได้ไหมครับ
คาใจมานานแล้ว อยากทราบจริง ๆ

ขอบคุณมากครับ
จากคุณ   : ตะลอนมาสเตอร์

...............

ความคิดเห็นที่ 6   

คืองี้
สลิ่ม เดิมเป็นของหวานชนิดหนึ่ง มีหลายสี
ก็มาจาก "ซ่าหริ่ม"นั่นแหละ

แต่ต่อมา ๆ มีคนกลุ่มหนึ่ง ใส่เสื้อสีฟ้า สีเหลือง
ออกต่อสู้ทางการเมืองกับ "เสื้อแดง"
แต่สู้ไม่ได้ เลยไปหาเสื้อสีอื่นมาใส่
เป็นเสื้อหลายๆสี เรียกว่า เสื้อหลากสี เป็นคนกลางๆ

ความจริง มันก็ไอ้คนใส่เสื้อสีฟ้า พรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง พอเห็นสู้ไม่ได้ ก็ไปหาพวก ทำแอ๊บเป็นกลาง
ไม่เข้าใคร ออกใคร ที่ไหนได้ ประชาธิปัตย์ชัด

คำว่าซ่าหริ่ม มันกร่อนไปๆ กลายมาเป็นสลิ่มทุกวันนี้ ..แล ฯ
มีความหมายแตกต่างออกไปนิดหน่อยว่า พวกขี้แพ้ ชอบพรรคประชาธิปัตย์
แต่โกหกคนอื่นว่าเป็นคนกลางๆ ไม่ชอบพรรคไหนทั้งสิ้น

ก็หมอตุลย์นั่นแหละ ชัดหรือยัง?


อิอิ รู้ว่า จขกท.รู้ แต่แกล้งถาม
ผมก็แกล้งโง่ อธิบายไปงั้นแหละ




Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.519 seconds with 21 queries.