Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
16 May 2024, 07:16:01

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,684 Posts in 12,491 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เรื่องราวน่าอ่าน  |  หนังสือดี ที่น่าอ่านยิ่ง  |  สามก๊กฉบับวณิพก ของ ยาขอบ
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: สามก๊กฉบับวณิพก ของ ยาขอบ  (Read 181 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,537


View Profile
« on: 24 December 2021, 10:23:35 »

สามก๊กฉบับวณิพก ของ ยาขอบ


https://www.samkok911.com/


https://www.samkok911.com/2013/12/tk-performers-ebook-pdf.html





สามก๊กฉบับวณิพก ของ ยาขอบ (eBook-PDF)
  สามก๊กวิทยา  22 ธันวาคม 2556

"หนังสือสามก๊กอันทรงคุณค่า มีสำนวนภาษาอันสละสลวย"

     "สามก๊กฉบับวณิพก ของ ยาขอบ"  เป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงของนักเขียนระดับตำนาน "ยาขอบ" ซึ่งหยิบเอาตัวละครจากวรรณกรรมจีนเรื่อง สามก๊ก มาเล่าใหม่ในมุมมองของ "วณิพก" ผู้หาเลี้ยงชีพด้วยการเล่านิทานแลกเงิน

     เสน่ห์ของ สามก๊ก ฉบับวณิพก ก็คือมุมมองอันบริสุทธิ์ ที่มองตัวละครต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม สอดแทรกด้วยเกร็ดความรู้ กับสำบัดสำนวนชั้นบรมครูของ ยาขอบ ผสมผสานคลุกเคล้ากันจนได้รสอักษรอันกลมกล่อม หยิบยกมาอ่านกี่ครั้ง ๆ ก็มิรู้เบื่อ

     และด้วยความโชคดี ที่วันนี้ผมได้ท่องโลกอินเตอร์เน็ตไปเจอเข้ากับ "สามก๊กฉบับวณิพก ฉบับ eBook-PDF" ในเว็บ slideshare.net เข้าโดยบังเอิญ ผมดีใจมากแม้ว่าจะมีหนังสือเป็นรูปเล่มอยู่แล้ว แต่ก็คิดว่าไฟล์นี้น่าจะมีประโยชน์ อย่างมหาศาลกับผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องสามก๊กทุกท่าน

     ไม่มีรีรอ ขอนำมาแจ้งให้กับเพื่อน ๆ ทุกท่านทราบในทันที ... หนังสือดีระดับตำนาน ... ช้าไม่ได้นะครับ


Download สามก๊กฉบับวณิพก แบบออนไลน์

สามก๊กฉบับวณิพก ภาค 1 <- คลิก

https://play.google.com/store/books/details/%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95_%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3_%E0%B8%9E_%E0%B8%99%E0%B8%98_%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%9A_%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81_%E0%B8%81_%E0%B8%89%E0%B8%9A_%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%93_%E0%B8%9E%E0%B8%81_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84_1?id=YQitCwAAQBAJ


สามก๊กฉบับวณิพก ภาค 2 <- คลิก

https://play.google.com/store/books/details/%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95_%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3_%E0%B8%9E_%E0%B8%99%E0%B8%98_%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%9A_%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81_%E0%B8%81_%E0%B8%89%E0%B8%9A_%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%93_%E0%B8%9E%E0%B8%81_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84_2?id=jPI1CwAAQBAJ

..........

ฟัง เสียงอ่านสามก๊ก ฉบับวณิพก

หนังสือเสียงเรื่องสามก๊กฉบับวณิพก ของ ยาขอบ

https://www.samkok911.com/2016/11/audiobook-three-kingdoms-performers.html



..........

รายชื่อตอน ใน สามก๊กฉบับวณิพก ของ ยาขอบ

ตั๋งโต๊ะ ผู้ถูกสาปแช่งทั้งสิบทิศ
โจโฉ ผู้ไม่ยอมให้โลกทรยศ
เล่าปี่ ผู้พนมมือให้แก่ชนทุกชั้น
จิวยี่ ผู้ถ่มน้ำลายรดฟ้า
ขงเบ้ง ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร
จูล่ง สุภาพบุรุษจากเสียงสาน
กวนอู เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ
เตียวหุย คนชั่วช้าที่น่ารัก
ลิโป้ อัศวินหัวสิงห์
ม้าเฉียว ทายาทแห่งเสเหลียง
ผู้หญิง สาวน้อยผู้สง่างาม
ชีซี ผู้เผ่นผงาดเหนือเมฆ
สุมาเต็กโช ผู้ชาญอาโปกสิณ
ยีเอ๋ง ผู้เปลือยกายตีกลอง , ผู้ไม่ยอมให้หยาดเหงื่อแห่งความทรยศ
โจสิด ผู้ร่ายโศลกเอาชีวิตรอด
ลกเจ๊ก ท่านนี้หรือชื่อลกเจ๊ก
เตียนอุย ผู้ถือศพเป็นอาวุธ
เอียวสิ้ว ผู้คอขาดเพราะขาไก่ ,ไหมเหลือง เมียสาว

..........................
 
โชติ แพร่พันธุ์ หรือเจ้าของนามปากกา “ยาขอบ” ที่มีผลงานเด่นคือ ผู้ชนะสิบทิศ และอีกหลากหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นผลงานเรื่องสั้นชื่อ “ เพื่อนแพง” วรรณกรรมเรื่องยาวอย่าง สามก๊ก (ฉบับวณิพก) ความเรียงปกิณกะเรื่องสินในหมึก เป็นต้น

เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 เป็นบุตรของเจ้าอินแปง เทพวงศ์ เชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ มารดาชื่อจ้อย เป็นต้นห้องของหม่อมเฉื่อยในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โชติ แพร่พันธุ์ เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ได้รับการอุปถัมภ์จากพระยาพิทักษ์ภูบาลอยู่ระยะหนึ่ง กระทั่งถึงยุคเศรษฐกิจตกต่า โชติต้องกลับมาเร่ร่อนอีกครั้งหนึ่ง จนมีโอกาสได้เข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์ เริ่มจากสยามรีวิว และธงไทย

ในปี พ.ศ. 2472 กุหลาบ สายประดิษฐ์ จัดตั้งคณะสุภาพบุรุษ ออกหนังสือสุภาพบุรุษ รายปักษ์ คราวหนึ่ง อบ ไชยวสุ ซึ่งเป็นนักเขียนตลกประจำฉบับ ส่งต้นฉบับไม่ทัน กุหลาบ จึงขอให้โชติเขียนแทน โดยตั้งนามปากกาให้ว่า ยาขอบ เลียนแบบจากนักเขียนเรื่องตลกชาวอังกฤษ ชื่อ เจ.ดับบลิว. ยาค็อบ ทำให้เกิดงานประพันธ์ชิ้นแรกในนาม ยาขอบ ชื่อ จดหมายเจ้าแก้ว พ.ศ. 2474 โชติ แพร่พันธุ์ ได้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สุริยารายวัน และเริ่มเขียนนิยายเรื่อง ยอดขุนพล แต่หนังสือพิมพ์สุริยามีอายุไม่ยืน เมื่อกุหลาบ สายประดิษฐ์ ไปทำหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2475 โชติจึงเขียนเรื่อง ยอดขุนพล ต่อ โดยมาลัย ชูพินิจ เปลี่ยนชื่อให้ใหม่เป็น ผู้ชนะสิบทิศ โดยผู้ชนะสิบทิศเขียนมาจากพงศาวดารที่โชติมีโอกาสได้อ่านเพียง 8 บรรทัดเท่านั้น แต่ความเป็นอัจฉริยะทางวรรณกรรมกลับถ่ายทอดได้อย่างหลากอรรถรส มากถึง 8 เล่ม

โชติ แพร่พันธุ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2499 ขณะอายุ 48 ปี ด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง และเบาหวาน



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.058 seconds with 20 queries.