Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
10 May 2024, 05:07:00

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,650 Posts in 12,467 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เรื่องราวน่าอ่าน  |  เรื่องเล่าจากความทรงจำที่หาฟังยาก  |  Breakfast เค้า break อะไร ทำไมต้อง fast แล้วทำไมการเบรคถึงเกี่ยวกับอาหารเช้า ?
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: Breakfast เค้า break อะไร ทำไมต้อง fast แล้วทำไมการเบรคถึงเกี่ยวกับอาหารเช้า ?  (Read 185 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,503


View Profile
« on: 01 December 2021, 23:28:13 »

Breakfast เค้า break อะไร ทำไมต้อง fast แล้วทำไมการเบรคถึงเกี่ยวกับอาหารเช้า ?


Breakfast เค้า break อะไร ทำไมต้อง fast แล้วทำไมการเบรคถึงเกี่ยวกับอาหารเช้า ?

Breakfast เค้า break อะไร ทำไมต้อง fast แล้วทำไมการเบรคถึงเกี่ยวกับอาหารเช้า ?

เมื่อเร็ว ๆ นี้ผมได้ไปเจอคนตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้มา แล้วถ้าจำไม่ผิดเหมือนเคยอ่านเจอใน 108 ซองคำถาม
วันนี้เลยลองรื้อ ๆ ข้อมูลก็ไปเจอจากเว็บ ๆ นึงที่อธิบายค่อนข้างละเอียด เนื้อหาดังนี้...


Breakfast l อะไร break และทำไมต้อง fast คำศัพท์เกี่ยวกับมื้อเช้าและวัฒนธรรมการกินชาวยุโรป



ไข่ดาว เบคอน และขนมปังปิ้ง คือเบรกฟาสต์หน้าตาฝรั่งที่เราคุ้นเคยเวลาไปพักตามโรงแรมหรือเดินเข้าร้านอาหารนานาชาติ
แต่เคยสงสัยไหมว่า ทำไมอาหารเช้าในภาษาอังกฤษถึงใช้คำว่า ‘Breakfast’
ซึ่งเป็นส่วนผสมจากคำว่า break (v. แตก, หัก, ทำลาย)
และ fast (adj./adv. ว่องไว, รวดเร็ว) ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับอาหารการกินเลย

เป็นไปได้ไหมว่า อาหารเช้าในวัฒนธรรมตะวันตกต้องกินเร็วๆ ถึงใช้คำว่า fast? แล้ว break ในที่นี้หมายถึงอะไรกันแน่?

เราขอชวนคุณมานั่งร่วมโต๊ะเบรกฟาสต์สไตล์ยุโรปเพื่อค้นหาเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่ซุกซ่อนอยู่ในมื้ออาหารนี้ด้วยกัน



Have a breakfast!

    คำว่า Breakfast มองแวบแรกอาจคิดว่าเป็นคำที่ผสมมาจากคำว่า break (v. แตก, หัก, ทำลาย)
และ fast (adj./adv. ว่องไว, รวดเร็ว) แต่จริงๆ แล้ว คำว่า fast ในที่นี้ไม่ได้เป็นคำวิเศษณ์หรือคำคุณศัพท์
ที่แปลว่า เร็ว หากแต่เป็นคำนาม ที่แปลว่า ช่วงเวลาการอดอาหาร

 


fast (N.) ช่วงเวลาการอดอาหาร

    To break fast จึงหมายถึงการทำลายช่วงเวลาอดอาหารจากการนอนหลับมาทั้งคืน แล้วเติมกระเพาะ
ด้วยของอร่อยๆ ยามเช้า หรือแปลง่ายๆ คือการกลับมากินอีกครั้ง หลังจากนอนหลับไปตอนกลางคืนนั่นเอง

     อย่างไรก็ตาม คำว่า Breakfast ไม่เคยถูกนำมาใช้จนกระทั่งเข้าศตวรรษที่ 14 เพราะในภาษาอังกฤษเก่า
(Old English) คำว่า อาหารเช้า คือคำว่า morgenmete ซึ่งเป็นคำที่ผสมจาก morgen หมายถึง morning
(n. ตอนเช้า) และ mete หมายถึง meal (n. มื้ออาหาร) ทั้งยังเป็นรากศัพท์ของคำว่า meat (n. เนื้อสัตว์)
ที่ใช้ในปัจจุบันด้วย ดังนั้น คำว่า morgenmete จึงแปลตรงตัวได้ว่า มื้อเช้า

     ในเมื่อมีคำสละสลวยที่แปลตรงตัวได้ว่า มื้อเช้า อยู่แล้ว คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมคำว่า breakfast
ถึงเข้ามาแทนที่คำว่า morgenmete?




เบรกฟาสต์เป็นของคนอ่อนแอ

    ปัจจุบันเราอาจจะได้ยินคำพูดว่า “มื้อเช้าสำคัญที่สุด” หรือ “Breakfast is the most important meal of the day!”
แต่หากย้อนไปในช่วงยุคกลาง (Middle Ages) ของยุโรป ในช่วงศตวรรษที่ 5-15 ผู้คนจะรับประทานอาหารสองมื้อเท่านั้น
คือ mid-day dinner เทียบได้กับมื้อกลางวัน และ evening supper คือมื้อเย็น

     เหล่าคนชั้นสูงและนักบวชในยุคนั้นจะหลีกเลี่ยงการรับประทานหลังตื่นเช้า เพราะเชื่อว่ามนุษย์เราควรอยู่ในช่วงเวลา
ของการ fasting หรืออดอาหารตั้งแต่ตอนเข้านอน จนถึงเวลากลางวันของวันถัดไป โดยเชื่อมโยงกับคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลว่า
ผู้ที่มีความตะกละคือคนบาป ทำให้การรับประทานอาหารเช้าเป็นเรื่องน่าอับอาย จะมีข้อยกเว้นก็แค่กับชนชั้นต่ำ
ที่ต้องใช้แรงทำงานในตอนเช้าและคนป่วยเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารเช้าได้

     เพราะความเชื่อดังกล่าว การ break fast จึงเป็นคำที่ใช้อ้างถึงการกระทำที่อ่อนแอ ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจ
ให้ตนเองอดอาหารจนถึงมื้อกลางวันได้ แต่แน่นอนว่า ไม่ว่ามนุษย์ยุคไหนตื่นมาก็หิวตอนเช้ากันทั้งนั้น การ break fast
จึงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นคำที่ใช้แทนการรับประทานเช้าในที่สุด

 


Frühstück, Petit-déjeuner, Desayuno

    วัฒนธรรมการ ‘ทำลายการอดอาหาร’ หรือ break fast ในตอนเช้าไม่ได้ปรากฏอยู่แค่ในภาษาอังกฤษเท่านั้น
แต่แพร่กระจายไปยังภาษาต่างๆ ทั่วยุโรป เช่น

     ในภาษาเยอรมัน คำว่า รับประทานอาหารเช้า คือ Frühstück ซึ่งเป็นคำที่ผสมระหว่าง früh (adv. เช้า)
และ stück (n. ชิ้น, ส่วน) ส่วนในภาษาฝรั่งเศส คือคำว่า petit-déjeuner ซึ่งหมายถึง a small breaking of the fast
หรือการทำลายการอดอาหารเล็กๆ น้อยๆ

     สองคำนี้แสดงให้เห็นว่า ตามประวัติศาสตร์และความหมายของคำศัพท์แล้ว คนเยอรมันและฝรั่งเศสจะกินมื้อเช้า
เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะการรับประทานอาหารเช้านับว่าเป็นเรื่องน่าอับอายและผิดบาป โดยยังเชื่อมโยงมาถึง
พฤติกรรมการกินอาหารเช้าของชาวเยอรมันและฝรั่งเศสในปัจจุบันส่วนใหญ่ที่เลือกกินแค่ขนมปัง แยม หรือชีส เท่านั้น
โดยไม่กินเนื้อสัตว์หรือของหนักๆ ด้วย

     ส่วนในภาษาสเปน คำว่า มื้อเช้า คือ desayuno มีความหมายและหลักการเหมือนกับภาษาอังกฤษเป๊ะๆ
คือ sayuno แปลว่า อดอาหาร และ de แปลว่า ทำลาย เพราะฉะนั้น desayuno จึงแปลว่าการทำลายการอดอาหาร
ที่ปฏิบัติมาทั้งคืน




ภาพวาด French Breakfast โดย Marcia Morrow



dinner ก็แปลว่า มื้อกลางวัน ได้

    แม้ว่าตามปกติแล้ว เราจะเรียกมื้อเย็นว่า dinner หรือ supper แต่จริงๆ แล้วคำว่า dinner มีที่มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า disner
ซึ่งแปลว่า อาหารมื้อแรกของวัน (ในยุคนั้นหมายถึง มื้อกลางวัน) โดยเป็นมื้อหลักที่มีขนาดใหญ่ มีเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้
ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ โดยในปัจจุบัน ร้านอาหารบางแห่งในยุโรปยังคงใช้คำว่า dinner ในความหมายว่าอาหารกลางวัน
และ supper แทนมื้ออาหารเย็น



     ลองมาดูการใช้คำว่า dinner และ supper จากหนังสือ Bleak House ของ Chales Dickens กัน

อ้างถึง
.....
    It is somewhere about ffiive or six o’clock in the afternoon, and a balmy fragrance of warm tea hovers in Cook’s Court.
     It hovers about Snagsby’s door. The hours are early there: dinner at half-past one and supper at half-past nine.

     — Charles Dickens, Bleak House, 1853
....

    จะเห็นว่า Charles Dickens ใช้คำว่า dinner เพื่ออ้างถึงอาหารที่รับประทานตอนบ่ายโมงครึ่ง และ supper เพื่ออ้างถึง
อาหารที่รับประทานตอนสามทุ่มครึ่ง

     ตามรากศัพท์แล้ว supper เป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า soper หรือ souper หมายถึงอาหารเย็น โดยยังเป็นราก
ของคำว่า soup ในภาษาอังกฤษด้วย เพราะในยุคนั้น ชาวยุโรปมักรับประทานอาหารเย็นเป็นซุป เช่น ซุปผัก ซุปข้าวโพด
และซุปหัวหอม นั่นเอง




ขอขอบคุณที่มา
merriam-webster.com/words-at-play/dinner-vs-supper-difference-history-meaning
medium.com/the-philipendium/word-connections-breakfast-lunch-dinner-2e5d06c79bac
theffiinertimes.com/Middle-Ages/food-in-the-middle-ages.html

เรียบเรียงข้อมูลโดย
adaybulletin.com
WORLD WIDE WORDS
4 Apr 2019
เรื่องโดย:
ฐิติชญา อนันต์ศิริภัณฑ์, พัทธมน วงษ์รัตนะ

..........





Have a breakfast!

     คำว่า Breakfast มองแวบแรกอาจคิดว่าเป็นคำที่ผสมมาจากคำว่า break (v. แตก, หัก, ทำลาย)
และ fast (adj./adv. ว่องไว, รวดเร็ว) แต่จริงๆ แล้ว คำว่า fast ในที่นี้ไม่ได้เป็นคำวิเศษณ์หรือคำคุณศัพท์
ที่แปลว่า เร็ว หากแต่เป็นคำนาม ที่แปลว่า ช่วงเวลาการอดอาหาร

 


fast (N.) ช่วงเวลาการอดอาหาร

     To break fast จึงหมายถึงการทำลายช่วงเวลาอดอาหารจากการนอนหลับมาทั้งคืน แล้วเติมกระเพาะ
ด้วยของอร่อยๆ ยามเช้า หรือแปลง่ายๆ คือการกลับมากินอีกครั้ง หลังจากนอนหลับไปตอนกลางคืนนั่นเอง

     อย่างไรก็ตาม คำว่า Breakfast ไม่เคยถูกนำมาใช้จนกระทั่งเข้าศตวรรษที่ 14 เพราะในภาษาอังกฤษเก่า
(Old English) คำว่า อาหารเช้า คือคำว่า morgenmete ซึ่งเป็นคำที่ผสมจาก morgen หมายถึง morning
(n. ตอนเช้า) และ mete หมายถึง meal (n. มื้ออาหาร) ทั้งยังเป็นรากศัพท์ของคำว่า meat (n. เนื้อสัตว์)
ที่ใช้ในปัจจุบันด้วย ดังนั้น คำว่า morgenmete จึงแปลตรงตัวได้ว่า มื้อเช้า

     ในเมื่อมีคำสละสลวยที่แปลตรงตัวได้ว่า มื้อเช้า อยู่แล้ว คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมคำว่า breakfast
ถึงเข้ามาแทนที่คำว่า morgenmete?




เบรกฟาสต์เป็นของคนอ่อนแอ

     ปัจจุบันเราอาจจะได้ยินคำพูดว่า “มื้อเช้าสำคัญที่สุด” หรือ “Breakfast is the most important meal of the day!”
แต่หากย้อนไปในช่วงยุคกลาง (Middle Ages) ของยุโรป ในช่วงศตวรรษที่ 5-15 ผู้คนจะรับประทานอาหารสองมื้อเท่านั้น
คือ mid-day dinner เทียบได้กับมื้อกลางวัน และ evening supper คือมื้อเย็น

     เหล่าคนชั้นสูงและนักบวชในยุคนั้นจะหลีกเลี่ยงการรับประทานหลังตื่นเช้า เพราะเชื่อว่ามนุษย์เราควรอยู่ในช่วงเวลา
ของการ fasting หรืออดอาหารตั้งแต่ตอนเข้านอน จนถึงเวลากลางวันของวันถัดไป โดยเชื่อมโยงกับคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลว่า
ผู้ที่มีความตะกละคือคนบาป ทำให้การรับประทานอาหารเช้าเป็นเรื่องน่าอับอาย จะมีข้อยกเว้นก็แค่กับชนชั้นต่ำ
ที่ต้องใช้แรงทำงานในตอนเช้าและคนป่วยเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารเช้าได้

     เพราะความเชื่อดังกล่าว การ break fast จึงเป็นคำที่ใช้อ้างถึงการกระทำที่อ่อนแอ ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจ
ให้ตนเองอดอาหารจนถึงมื้อกลางวันได้ แต่แน่นอนว่า ไม่ว่ามนุษย์ยุคไหนตื่นมาก็หิวตอนเช้ากันทั้งนั้น การ break fast
จึงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นคำที่ใช้แทนการรับประทานเช้าในที่สุด

 


Frühstück, Petit-déjeuner, Desayuno

     วัฒนธรรมการ ‘ทำลายการอดอาหาร’ หรือ break fast ในตอนเช้าไม่ได้ปรากฏอยู่แค่ในภาษาอังกฤษเท่านั้น
แต่แพร่กระจายไปยังภาษาต่างๆ ทั่วยุโรป เช่น

     ในภาษาเยอรมัน คำว่า รับประทานอาหารเช้า คือ Frühstück ซึ่งเป็นคำที่ผสมระหว่าง früh (adv. เช้า)
และ stück (n. ชิ้น, ส่วน) ส่วนในภาษาฝรั่งเศส คือคำว่า petit-déjeuner ซึ่งหมายถึง a small breaking of the fast
หรือการทำลายการอดอาหารเล็กๆ น้อยๆ

     สองคำนี้แสดงให้เห็นว่า ตามประวัติศาสตร์และความหมายของคำศัพท์แล้ว คนเยอรมันและฝรั่งเศสจะกินมื้อเช้า
เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะการรับประทานอาหารเช้านับว่าเป็นเรื่องน่าอับอายและผิดบาป โดยยังเชื่อมโยงมาถึง
พฤติกรรมการกินอาหารเช้าของชาวเยอรมันและฝรั่งเศสในปัจจุบันส่วนใหญ่ที่เลือกกินแค่ขนมปัง แยม หรือชีส เท่านั้น
โดยไม่กินเนื้อสัตว์หรือของหนักๆ ด้วย

     ส่วนในภาษาสเปน คำว่า มื้อเช้า คือ desayuno มีความหมายและหลักการเหมือนกับภาษาอังกฤษเป๊ะๆ
คือ sayuno แปลว่า อดอาหาร และ de แปลว่า ทำลาย เพราะฉะนั้น desayuno จึงแปลว่าการทำลายการอดอาหาร
ที่ปฏิบัติมาทั้งคืน


..........
ข้อมูลจาก
http://www.sookjai.com/index.php?topic=223781.0



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.055 seconds with 19 queries.