Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
29 April 2024, 00:08:33

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,611 Posts in 12,442 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแห่งแผ่นดินสยาม  |  พระราชวังและพระราชพิธี  |  ขบวนเรือต่างๆ ในพระราชพิธีเสด็จทางชลมารค
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: ขบวนเรือต่างๆ ในพระราชพิธีเสด็จทางชลมารค  (Read 580 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,464


View Profile
« on: 21 November 2021, 11:57:28 »

ขบวนเรือต่างๆ ในพระราชพิธีเสด็จทางชลมารค



เรือดั้ง




เรือดั้ง : คือเรือที่ทำหน้าที่ป้องกันกระบวนหน้า เพราะคำว่าดั้งหมายถึงหน้า ไม่พบหลักฐานที่สร้าง ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ กรมอู่ทหารเรือได้ต่อเรือดั้ง ๖ ขึ้นใหม่ โดยวางกงเหล็กเพื่อให้เรือแข็งแรงและทนทานทำให้ ตัวเรือหนักมาก มีการซ่อมใหญ่ในปี พ.ศ.๒๕๒๔

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เรือดั้ง เป็นเรือไม้ทาสีน้ำมัน ไม่มีลวดลายอย่างใด แต่ปัจจุบันหัวเรือปิดทอง มี ๒๒ ลำ มีชื่อเรียกตามลำดับตั้งแต่ เรือดั้ง ๑ ถึง เรือดั้ง ๒๒
ขนาดของเรือ ยาว ๒๓.๖๘ - ๒๗.๓๕ เมตร กว้าง ๑.๕๕ - ๑.๘๑ เมตร จำนวนฝีพาย ๒๖ - ๓๒ นาย ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/




















« Last Edit: 21 November 2021, 11:59:24 by ppsan » Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,464


View Profile
« Reply #1 on: 21 November 2021, 12:01:26 »


เรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่น




ทองขวานฟ้า แปลว่า ขวาน (ทำด้วย) ทอง ตกมาจากท้องฟ้า คนไทยโบราณมักเรียกขวานหินขัด
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบอยู่ในแหล่งต่าง ๆ ว่าเรียกว่า ขวานฟ้า เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง แต่ตกลงมาจากท้องฟ้า

อันที่จริง ชื่อทองขวานฟ้า น่าจะเพี้ยนมาจาก ทองแขวนฟ้า แปลว่า ทองที่ห้อยย้อยลงมาจากท้องฟ้า เรือทองแขวนฟ้าเป็นชื่อเรือคู่หนึ่งที่ปรากฏในกระบวนเรือฯ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นไปได้ว่า ในสมัยต่อมาเรือชื่อทองแขวนฟ้าลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น ทองขวานฟ้า

และอีกลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น ทองบ้าบิ่น เรือทั้งสองลำนี้เป็นเรือดั้งทาน้ำมัน ยอดดั้งปิดทองแกะสลักลวดลาย เป็นเรือคู่หน้าสุดที่นำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคทั้งหมด

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/












Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,464


View Profile
« Reply #2 on: 21 November 2021, 12:02:53 »


เรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์




เรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือ 2 ลำที่ดัดแปลงมาจากเรือรบ (เรือที่ใช้ในการรบหรือการสงคราม)
เป็นเรือนำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคในสมัยโบราณ เรียกเรือลักษณะนี้ว่า เรือพิฆาต เรือแต่ละลำวาดลงสีรูปเสือไว้ที่หัวเรือซึ่งมีช่องที่มีปืนใหญ่ยื่นออกมา
ถือเป็นเรือพิทักษ์กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคด้วย จึงต้องให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายทหารเป็นผู้นั่งประจำในคฤห์ (เก๋ง) ของเรือทั้งสองลำนี้ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อเรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ ปรากฏชื่อในลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคแลทางชลมารคในพุทธศักราช 2387
แต่ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อใด เรือทั้งสองลำนี้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ในพุทธศักราช 2534

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/












Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,464


View Profile
« Reply #3 on: 21 November 2021, 12:04:57 »


เรืออสุรวายุภักษ์ และเรืออสุรปักษี




เรือสองลำนี้ ลงรักปิดทองประดับกระจก
รูป อสุรวายุภักษ์ ใส่เสื้อสีม่วง มือและเท้าเป็นสีคราม ส่วนรูป อสุรปักษี ใส่เสื้อด้านหน้าสีม่วง ด้านหลังสีเขียว มือและเท้าเป็นสีเขียว
เรือทั้งสองลำนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/




















Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,464


View Profile
« Reply #4 on: 21 November 2021, 12:06:30 »


เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรือกระบี่ราญรอนราพณ์




โขนเรือกระบี่ปราบเมืองมาร เป็นรูปวานร (ลิง) ร่างกายสีขาว ไม่สวมเครื่องประดับหัว
ส่วนเครื่องประดับกาย และผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก

ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่าเป็นรูปของหนุมาน ทหารเอกของพระราม ขุนกระบี่ผู้นำกองทัพวานรต่อสู้กับกองทัพของทศกัณฐ์เจ้ากรุงลงกา ความชั่วร้ายของทศกัณฐ์ ทำให้เรียกกรุงลงกาว่า เมืองมาร ถือเป็นฝ่ายอธรรม

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โขนเรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เป็นรูปวานร (ลิง) ไม่สวมเครื่องประดับหัว ร่างกายสีดำ
ส่วนเครื่องประดับกาย และผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก
ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของนิลพัท ขุนกระบี่ผิวดำดั่งชื่อผู้นำกองทัพวานร
ต่อสู้ทำลายล้างกองทัพของราพณ์ (อีกชื่อหนึ่งของทศกัณฐ์ในมหากาพย์รามายณะ เรียกว่า ราวณะ)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/




















Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,464


View Profile
« Reply #5 on: 21 November 2021, 12:09:56 »


เรือพาลีรั้งทวีป และเรือสุครีพครองเมือง




โขนเรือพาลีรั้งทวีป เป็นรูปวานร (ลิง) สวมมงกุฎ ร่างกายสีเขียว เครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก

ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของพาลี พระราชาเมืองขีดขิน แห่งอาณาจักรวานร ในเรื่องรามเกียรติ์ (ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า วาลี ส่วนเมืองชื่อ กีษกินธะ)

ชื่อเรือ พาลีรั้งทวีป มาจากเรื่องราวของพาลีผู้อาจหาญ ทุกๆ เช้าจะข้ามทวีปจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตกและจากเหนือไปใต้เพื่อกราบไหว้พระอาทิตย์ (พระสูรยะ)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โขนเรือสุครีพครองเมือง เป็นรูปวานร (ลิง) สวมมงกุฎ ร่างกายสีแดง เครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก

ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของสุครีพ (ในมหากาพย์รามายณะ เรียกว่า สุครีวะ) น้องชายของพาลี ขึ้นครองเมืองขีดขิน
หลังจากพาลีวายชนม์ อาณาจักรวานรที่สุครีพขึ้นครองเมืองได้นี้ก็เพราะได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากหนุมานและพระรามซึ่งเป็นพระเอกในเรื่องรามเกียรติ์

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/




















Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,464


View Profile
« Reply #6 on: 21 November 2021, 12:17:07 »


เรือครุฑเหินเห็จ และเรือครุฑเตร็จไตรจักร




ชื่อเรือลำนี้สะท้อนถึงอิทธิพลคัมภีร์ปุราณะของอินเดียที่มีต่อคตินิยมและศิลปกรรมไทย ตามคัมภีร์ปุราณะครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งหลาย หรือเทพปักษิน ซึ่งผูกพันกับพระวิษณุ เพราะพระวิษณุทรงท่องไปในสวรรค์โดยมีครุฑเป็นพาหนะ กล่าวกันว่า ครุฑสามารถเปลี่ยนแปลงตนให้เป็นรูปร่างต่างๆ นานาและสามารถไปได้ในทุกหนแห่งตามปรารถนา

ครุฑเป็นศัตรูกับนาคหรือบรรดางูทั้งหลาย เนื่องมาจากมารดาของทั้งสองฝ่ายวิวาทกัน ดังนั้นในศิลปกรรมของศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา ครุฑจึงมักปรากฏในท่าที่ฉวยจับนาคไว้ ไม่ว่าจะเป็นนาคเพียงตัวเดียวหรือหลายตัว ไทยเราเรียกว่า ครุฑยุดนาค

โขนเรือลำนี้เป็นไม้จำหลักรูปครุฑจับนาค ๒ ตัวชูขึ้น ลงรักปิดทองประดับกระจก ทั้งนี้ เรือครุฑเหินเห็จ จะมีครุฑกายสีแดง และ เรือครุฑเตร็จไตรจักร จะมีครุฑกายสีชมพู

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/




















Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,464


View Profile
« Reply #7 on: 21 November 2021, 12:18:50 »


เรือเอกชัยเหินหาว และเรือเอกชัยหลาวทอง




เอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทอง เป็นชื่อเรือ 2 ลำคู่กัน ลักษณะใกล้เคียงกันคือหัวเรือเป็นรูปดั้งเชิดสูงงอนขึ้นไป ลงรักปิดทองเขียนลายรดน้ำรูปเหรา (อ่าน เห-รา) ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนาน ลักษณะคล้ายมังกรแต่มีหัวเป็นงูหรือนาค อย่างไรก็ตามเรือ 2 ลำนี้มีรูปลักษณ์ของหัวเรือที่ต่างกันอยู่บ้างเป็นที่สังเกตได้
 
เอกชัยเหินหาว แปลว่า “ชัยชนะสูงสุดทะยานสู่ท้องฟ้า” เอกชัยหลาวทอง แปลว่า “เรือทองที่บรรจงสร้าง (โดยการหลาวหรือเหลา) เพื่อชัยชนะ” หรือแปลว่า “หลาว (อาวุธ) ทองคำที่นำชัยชนะ”

ชื่อเรือ 2 ลำนี้ปรากฏอยู่ในสมุดภาพเรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) แห่งกรุงศรีอยุธยา
 
เรือเอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทองตามรูปลักษณ์ปัจจุบัน สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352)

เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครสร้างความเสียหายให้กับเรือพระราชพิธีทั้งสองลำนี้มาก
ดังนั้นในพุทธศักราช 2508 กองทัพเรือและกรมศิลปากรร่วมกันบูรณะเรือสองลำนี้ใหม่โดยใช้หัวเรือเดิมมาประกอบ
เรือ 2 ลำถือว่าเป็นเรือคู่ชัก หมายความว่าใช้เป็นเรือชักลากเรือพระที่นั่ง เช่น ชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เมื่อน้ำเชี่ยวหรือต้องการให้แล่นเร็วขึ้น และเป็นเรือคู่นำหน้าเรือพระที่นั่ง ต่อมาใช้เป็นเรือสำหรับให้ข้าราชการชั้นสูงนั่ง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณภาพประกอบ จาก : Facebook เรือพระราชพิธี https://www.facebook.com/royalbargesthailand/




















Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.079 seconds with 20 queries.