Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
28 April 2024, 04:25:10

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,605 Posts in 12,440 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแห่งแผ่นดินสยาม  |  พระราชวังและพระราชพิธี  |  เรือพระราชพิธี
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เรือพระราชพิธี  (Read 350 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,458


View Profile
« on: 20 November 2021, 23:27:17 »

เรือพระราชพิธี


เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์



เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในปลายรัชสมัย รัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 โดยตั้งชื่อตามเรือพระที่นั่งโบราณของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เรือศรีสุพรรณหงส์ หรือ เรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์



เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 โดยตั้งชื่อตามเรือพระที่นั่งโบราณของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เรือศรีสุพรรณหงส์ หรือ เรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2091 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมีชื่อเรือพระที่นั่ง สุวรรณหงส์ สมัยรัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่ง สุวรรณหงส์ และ รัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394) ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่ง ศรีสุพรรณหงส์





หัวเรือพระที่นั่งนี้มีโขนเรือรูปหัวของหงส์ ลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ จำหลักไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกมีพู่ห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือทาสีแดง ตอนกลางลำเรือมีที่ประทับเรียก ราชบัลลังก์กัญญา สำหรับพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เรือมีความยาว 46.15 เมตร กว้าง 3.17 เมตร ลึกจนถึงท้องเรือ 94 เซนติเมตร กินน้ำลึก 41 เซนติเมตร น้ำหนัก 15 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน คนขานยาวทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือโดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่นๆ
     
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นเรือมรดกโลก จากองค์กรที่เรียกว่า World Ship Trust เมื่อพุทธศักราช 2535




..........

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์



ชื่อเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อเนกะชาตะภุชงฺคะ แปลว่า งูหลากหลายชนิดซึ่งสอดคล้องกับรูปโขนเรือที่ลงรักปิดทองมีลายรูปงูตัวเล็กๆ จำนวนมาก คำภาษาสันสกฤตคือ ภุชงฺคะ มีความหมายเดียวกันกับ นาคะ
     
ชื่อเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อเนกะชาตะภุชงฺคะ แปลว่า งูหลากหลายชนิดซึ่งสอดคล้องกับรูปโขนเรือที่ลงรักปิดทองมีลายรูปงูตัวเล็กๆ จำนวนมาก คำภาษาสันสกฤตคือ ภุชงฺคะ มีความหมายเดียวกันกับ นาคะ นาคะหรือไทยเรียกว่า นาค เป็นเทพในฮินดูปกรณัมปรัมปรา บางครั้งก็ปรากฏในพระพุทธศาสนาด้วย นาคที่เป็นเทพหรือทิพยนาคเป็นตัวแทนแห่งพลังอำนาจ ความรอบรู้ และความอุดมสมบูรณ์ เทพเจ้าหลายองค์ของศาสนาฮินดูโยงใยกับนาคหรือที่ปรากฏในรูปร่างของงู หรืองูเทพ (งูทิพย์) เช่น พระวิษณุบรรทมบนพญานาคอนันตะหรือเศษะนาคทอดตัวอยู่เหนือแผ่นน้ำ รูปแบบของงูหรือนาคตัวเล็กๆ จำนวนมากที่หัวเรือเช่นนี้ น่าจะหมายถึงนาคที่มีจำนวนนับพันซึ่งเป็นเหล่าบรรดานาคที่กำเนิดจากมหาฤษีกัศยปะและนางกัทรุ นาคเหล่านี้อาศัยอยู่ในโลกบาดาล เรียกว่า นาคโลก แปลว่า โลกของนาคทั้งหลาย ตามปรากฏในคัมภีร์ปุราณะ
     
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 (พุทธศักราช 2411 - 2453) ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง หัวเรือลงรักปิดทองลายรดน้ำเป็นรูปนาคตัวเล็กๆ จำนวนมาก ตอนกลางลำเรือมีราชบัลลังก์กัญญา ซึ่งเป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระเจ้าอยู่หัวก่อนเสด็จขึ้นหรือลงเรือพระที่นั่งอีกลำ เรือมีความยาว 45.67 เมตร กว้าง 2.91 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 91 เซนติเมตร กินน้ำลึก 46 เซนติเมตร น้ำหนัก 7.7 ตัน กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 61 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน คนขานยาวทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือ โดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่นๆ




..........

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช



ชื่อเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราชะ มาจากคำ 3 คำ คือ อนนฺตะ (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาคะ (แปลว่า นาค หรือ งู) ราชะ (แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา) ดังนั้นคำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตะ ราชาแห่งนาค หรืองูทั้งหลาย
     
ชื่อเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราชะ มาจากคำ 3 คำ คือ อนนฺตะ (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาคะ (แปลว่า นาค หรือ งู) ราชะ (แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา) ดังนั้นคำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตะ ราชาแห่งนาคหรืองู ทั้งหลาย ในฮินดูปกรณัมปรัมปรา อนันตะ หมายถึง งูเทพ หรือ งูทิพย์ ผู้มีพลังยิ่งใหญ่ รู้จักกันในชื่อ เศษะ หรือ อาทิเศษะ เป็นผู้ที่มีเศียรหนึ่งพัน และ (ประดับด้วย) อัญมณีหนึ่งพันที่ส่องประกายสว่างจ้าไปทุกหนแห่ง คัมภีร์ปุราณะของอินเดียกล่าวว่า อนันตะอาศัยอยู่ลึกลงไปกว่าโลกบาดาลทั้ง 7 ชั้น และแบกโลกทั้งหมดไว้บนเศียร คราใดที่อนันตะหาว โลกก็สั่นไหว บางคัมภีร์อธิบายว่า อนันตะมีชื่ออีกอย่างว่า วาสุกิ (ไทยเรียกวาสุกรี) ซึ่งมีเจ็ดเศียรและอยู่ในโลกบาดาลชั้นที่ 7 อนันตะปกครองนาคทั้งหลาย เรื่องราวจากคัมภีร์ข้างต้นให้อิทธิพลต่อความเชื่อของคนไทยที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ใต้โลกของเรามีปลาอานนท์ ซึ่งแบกโลกไว้ คราใดปลาอานนท์ขยับตัว โลกจะสั่นคลอนเกิดแผ่นดินไหว และยังมีความเชื่ออีกว่า พญานาคเจ็ดเศียรบันดาลให้เกิดฝน ความเชื่อที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินของไทยเป็นอวตารของพระวิษณุลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ ดังนั้นพระองค์จึงควรมีเรือพระที่นั่งเป็นพญาอนันตนาคราชซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวที่ว่า พระวิษณุประทับบรรทมบนพญาอนันตนาคราชในช่วงกาลดับสลายและเริ่มต้นการสร้างโลกและจักรวาลขึ้นใหม่
     
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำแรกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394) แต่เริ่มใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมารคในสมัยรัชกาลที่ 4 (พุทธศักราช 2394 - 2411) ปรากฏชื่อว่า เรือพระที่นั่งบัลลังก์อนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 (พุทธศักราช 2453 - 2468)
และเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เมษายน พุทธศักราช 2457
     
หัวเรือจำหลักรูปพญานาคเจ็ดเศียร ลงรักปิดทองประดับกระจก ท้องเรือภายในทาสีแดง ภายนอกทาสีเขียว กลางลำเรือเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปหรือผ้าพระกฐิน เรือมีความยาว 44.85 เมตร กว้าง 2.58 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 87 เซนติเมตร กินน้ำลึก 31 เซนติเมตร ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 54 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนถือบังสูรย์-พัดโบก-พระกลด 3 คน และคนเห่เรือ 1 คน




..........

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9



นารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระวิษณุทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณะ (ไทยเรียก นารายณ์) เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ 9 เพื่อสื่อให้ประจักษ์ว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
     
นารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระวิษณุทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณะ (ไทยเรียก นารายณ์) เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ ๙ เพื่อสื่อให้ประจักษ์ว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องจากชื่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณมีมาแล้วแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394)
     
หัวเรือพระที่นั่งจำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ บ่งบอกอิทธิพลศาสนาฮินดูตามคัมภีร์ปุราณะจากอินเดียที่มีต่อประเพณีนิยมและศิลปกรรมไทย พระวิษณุเป็นหนึ่งในเทพเจ้าสำคัญที่สุด 3 องค์ อีก 2 องค์ คือพระพรหมและพระศิวะ พระวิษณุเป็นเทพเจ้าแห่งการพิทักษ์รักษา พระองค์ถือกำเนิดบนโลกมนุษย์ในรูปร่างต่างๆ เรียกว่า อวตาร เชื่อกันว่าทรงแบ่งภาคลงมากำเนิดเป็นพระราชาได้ในทุกสถานที่และทุกกาลเวลา ในพุทธศตวรรษที่ 19 ราชสำนักไทยได้รับเอาแนวคิดเช่นนี้มาสร้างให้เกิดความเชื่อในหมู่ประชาชนซึ่งเกื้อหนุนสถานภาพของพระมหากษัตริย์ให้สูงส่งประหนึ่งเทพ อย่างไรก็ดี โขนเรือพระที่นั่งลำนี้มิได้แสดงรูปพระรามซึ่งเป็นอวตารของพระวิษณุ ซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์มีสมมติพระนามโดยเรียกตามนามของพระราม แต่ได้แสดงรูปพระวิษณุและลักษณะอันโดดเด่นของพระองค์ เช่น พระวรกายคล้ำ ในพระกรทั้ง 4 ทรงถือจักร สังข์ คทา และตรีศูล ประทับบนครุฑยุดนาค หรือครุฑที่จับนาค 2 ตัวชูขึ้น ตามคัมภีร์ปุราณะ ครุฑกับนาคเป็นศัตรูกัน แต่ทั้งสองก็รับใช้พระวิษณุ ครุฑเจ้าแห่งนกทั้งหลาย เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของท้องฟ้า นาคเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของน้ำ เมื่อพระวิษณุอยู่เหนือครุฑและนาค ย่อมแสดงว่าพระองค์ทรงมีพลังในการพิทักษ์ปกป้องโลกทั้งมวล
     
เรือนารายณ์ทรงสุบรรณสร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อพุทธศักราช 2539 ดำเนินการโดยกองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากร
     
โขนเรือและตัวเรือจำหลักลงรักปิดทองประดับกระจก ที่หัวเรือเบื้องใต้ครุฑเป็นช่องสำหรับปืนใหญ่ กลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาและมีแท่นประทับ เรือมีความยาว 44.30 เมตร กว้าง 3.20 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 1.10 เมตร กินน้ำลึก 40 เซนติเมตร น้ำหนัก 20 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน และคนเห่เรือ 1 คน




..........



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,458


View Profile
« Reply #1 on: 20 November 2021, 23:31:03 »


เรือเอกชัยเหินหาว และ เรือเอกชัยหลาวทอง



เอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทอง เป็นชื่อเรือ 2 ลำคู่กัน ลักษณะใกล้เคียงกันคือหัวเรือเป็นรูปดั้งเชิดสูงงอนขึ้นไป ลงรักปิดทองเขียนลายรดน้ำรูปเหรา (อ่านเห-รา) ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนาน ลักษณะคล้ายมังกรแต่มีหัวเป็นงูหรือนาค อย่างไรก็ตามเรือ 2 ลำนี้มีรูปลักษณ์ของหัวเรือที่ต่างกันอยู่บ้างเป็นที่สังเกตได้
     
เอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทอง เป็นชื่อเรือ 2 ลำคู่กัน ลักษณะใกล้เคียงกันคือหัวเรือเป็นรูปดั้งเชิดสูงงอนขึ้นไป ลงรักปิดทองเขียนลายรดน้ำรูปเหรา (อ่าน เห-รา) ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนาน ลักษณะคล้ายมังกรแต่มีหัวเป็นงูหรือนาค อย่างไรก็ตามเรือ 2 ลำนี้มีรูปลักษณ์ของหัวเรือที่ต่างกันอยู่บ้างเป็นที่สังเกตได้ เอกชัยเหินหาว แปลว่า “ชัยชนะสูงสุดทะยานสู่ท้องฟ้า” เอกชัยหลาวทอง แปลว่า “เรือทองที่บรรจงสร้าง (โดยการหลาวหรือเหลา) เพื่อชัยชนะ” หรือแปลว่า “หลาว (อาวุธ) ทองคำที่นำชัยชนะ” ชื่อเรือ 2 ลำนี้ปรากฏอยู่ในสมุดภาพเรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) แห่งกรุงศรีอยุธยา
     
เรือเอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทองตามรูปลักษณ์ปัจจุบัน สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครสร้างความเสียหายให้กับเรือพระราชพิธีทั้งสองลำนี้มาก ดังนั้นในพุทธศักราช 2508 กองทัพเรือและกรมศิลปากรร่วมกันบูรณะเรือสองลำนี้ใหม่โดยใช้หัวเรือเดิมมาประกอบ
     
เรือ 2 ลำถือว่าเป็นเรือคู่ชัก หมายความว่าใช้เป็นเรือชักลากเรือพระที่นั่ง เช่น ชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เมื่อน้ำเชี่ยวหรือต้องการให้แล่นเร็วขึ้น และเป็นเรือคู่นำหน้าเรือพระที่นั่ง ต่อมาใช้เป็นเรือสำหรับให้ข้าราชการชั้นสูงนั่ง เรือแต่ละลำมีความยาว 27.50 เมตร กว้าง 1.97 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 60 เซนติเมตร กินน้ำลึก 72 เซนติเมตร น้ำหนัก 7.7 ตัน แต่ละลำมีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 38 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน




..........

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และ เรือกระบี่ราญรอนราพณ์



ชื่อเรือทั้งสองลำนี้ สะท้อนความรับรู้วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย

ชื่อเรือทั้งสองลำนี้ สะท้อนความรับรู้วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย
     
โขนเรือกระบี่ปราบเมืองมาร เป็นรูปวานร (ลิง) ร่างกายสีขาว ไม่สวมเครื่องประดับหัว ส่วนเครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่าเป็นรูปของหนุมาน ทหารเอกของพระราม ขุนกระบี่ผู้นำกองทัพวานรต่อสู้กับกองทัพของทศกัณฐ์เจ้ากรุงลงกา ความชั่วร้ายของทศกัณฐ์ทำให้เรียกกรุงลงกาว่า เมืองมาร ถือเป็นฝ่ายอธรรม
     
โขนเรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เป็นรูปวานร (ลิง) ไม่สวมเครื่องประดับหัว ร่างกายสีดำ ส่วนเครื่องประดับกาย และผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของนิลพัท ขุนกระบี่ผิวดำดั่งชื่อผู้นำกองทัพวานรต่อสู้ทำลายล้างกองทัพของราพณ์ (อีกชื่อหนึ่งของทศกัณฐ์ในมหากาพย์รามายณะ เรียกว่า ราวณะ)
     
เรือทั้งสองลำสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) แต่ปรากฏชื่อเรือชัดเจนในเอกสารสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พุทธศักราช 2394 - 2411) เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครสร้างความเสียหายให้กับเรือพระราชพิธีทั้งสองลำนี้มาก ดังนั้นในพุทธศักราช ๒๕๐๘ กองทัพเรือและกรมศิลปากรจึงร่วมกันปฏิสังขรณ์เรือสองลำนี้ใหม่โดยใช้หัวเรือเดิมมาประกอบ
     
เรือแต่ละลำมีความยาว 26.80 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 51 เซนติเมตร หนัก 5.62 ตัน มีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 36 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 คน และคนตีกลองชนะ 10 คน




..........

เรือพาลีรั้งทวีป และ เรือสุครีพครองเมือง



ชื่อเรือ 2 ลำนี้คือ พาลีรั้งทวีปและสุครีพครองเมือง สะท้อนความรับรู้เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2351) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย
     
ชื่อเรือ ๒ ลำนี้คือ พาลีรั้งทวีปและสุครีพครองเมือง สะท้อนความรับรู้เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย
     
โขนเรือพาลีรั้งทวีป เป็นรูปวานร (ลิง) สวมมงกุฎ ร่างกายสีเขียว เครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของพาลี พระราชาเมืองขีดขิน แห่งอาณาจักรวานร ในเรื่องรามเกียรติ์ (ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า วาลี ส่วนเมืองชื่อ กีษกินธะ) ชื่อเรือ พาลีรั้งทวีป มาจากเรื่องราวของพาลีผู้อาจหาญ ทุกๆ เช้าจะข้ามทวีปจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตกและจากเหนือไปใต้เพื่อกราบไหว้พระอาทิตย์ (พระสูรยะ)
     
โขนเรือสุครีพครองเมือง เป็นรูปวานร (ลิง) สวมมงกุฎ ร่างกายสีแดง เครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของสุครีพ (ในมหากาพย์รามายณะ เรียกว่า สุครีวะ) น้องชายของพาลี ขึ้นครองเมืองขีดขินหลังจากพาลีวายชนม์ อาณาจักรวานรที่สุครีพขึ้นครองเมืองได้นี้ก็เพราะได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากหนุมานและพระรามซึ่งเป็นพระเอกในเรื่องรามเกียรติ์
     
เรือ 2 ลำนี้สร้างครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) แต่ชื่อเรือพาลีรั้งทวีปใช้ว่า เรือพาลีล้างทวีป หัวเรือกว้างมีรูกลมสำหรับติดตั้งปืนใหญ่ เรือแต่ละลำมีความยาว 27.54 เมตร กว้าง 1.99 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 59 เซนติเมตร น้ำหนัก 6.97 ตัน มีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 34 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 คน




..........

เรือครุฑเหินเห็จ และ เรือครุฑเตร็จไตรจักร



ชื่อเรือ 2 ลำนี้สะท้อนถึงอิทธิพลคัมภีร์ปุราณะของอินเดียที่มีต่อคตินิยมและศิลปกรรม ไทย ตามคัมภีร์ปุราณะครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งหลาย หรือเทพปักษิน ซึ่งผูกพันกับพระวิษณุ เพราะพระวิษณุทรงท่องไปในสวรรค์โดยมีครุฑเป็นพาหนะ
     
ชื่อเรือ 2 ลำนี้สะท้อนถึงอิทธิพลคัมภีร์ปุราณะของอินเดียที่มีต่อคตินิยมและศิลปกรรมไทย ตามคัมภีร์ปุราณะครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งหลาย หรือเทพปักษิน ซึ่งผูกพันกับพระวิษณุ เพราะพระวิษณุทรงท่องไปในสวรรค์โดยมีครุฑเป็นพาหนะ กล่าวกันว่า ครุฑสามารถเปลี่ยนแปลงตนให้เป็นรูปร่างต่างๆ นานาและสามารถไปได้ในทุกหนแห่งตามปรารถนา ครุฑเป็นศัตรูกับนาคหรือบรรดางูทั้งหลาย เนื่องมาจากมารดาของทั้งสองฝ่ายวิวาทกัน ดังนั้นในศิลปกรรมของศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา ครุฑจึงมักปรากฏในท่าที่ฉวยจับนาคไว้ ไม่ว่าจะเป็นนาคเพียงตัวเดียวหรือหลายตัว ไทยเราเรียกว่า ครุฑยุดนาค
     
โขนเรือทั้งสองลำเป็นไม้จำหลักรูปครุฑจับนาค ๒ ตัวชูขึ้น ลงรักปิดทองประดับกระจก เรือครุฑเหินเห็จ ครุฑกายสีแดง ส่วน เรือครุฑเตร็จไตรจักร ครุฑกายสีชมพู
     
เรือ 2 ลำนี้สร้างครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  (พุทธศักราช 2325 - 2352) แต่ชื่อเรือครุฑเหินเห็จ ใช้ชื่อว่า เรือครุฑเหิรระเห็จ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครสร้างความเสียหายให้กับเรือพระราชพิธีทั้ง 2 ลำนี้มาก ดังนั้นในพุทธศักราช 2508 กองทัพเรือและกรมศิลปากรจึงร่วมกันบูรณะเรือสองลำนี้ใหม่โดยใช้หัวเรือเดิมมาประกอบ
     
เรือแต่ละลำมีความยาว 28.58 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 56 เซนติเมตร มีกำลังพลประกอบด้วยฝีพาย 34 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 คน




..........

เรืออสุรวายุภักษ์ และ เรืออสุรปักษี



ชื่อเรือสองลำนี้มาจากคำภาษาสันสกฤต มีความหมายดังนี้ อสุรวายุภักษ์ แปลว่า “อสูรผู้มีลมเป็นอาหาร” อสุรปักษี แปลว่า “อสูรผู้เป็นนก” หัวเรือของเรือทั้งสองลำมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือมีร่างกายเป็นนก มีหัวหรือหน้าเป็นยักษ์
     
ชื่อเรือสองลำนี้มาจากคำภาษาสันสกฤต มีความหมายดังนี้ อสุรวายุภักษ์ แปลว่า “อสูรผู้มีลมเป็นอาหาร” อสุรปักษี แปลว่า “อสูรผู้เป็นนก” หัวเรือของเรือทั้งสองลำมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือมีร่างกายเป็นนก มีหัวหรือหน้าเป็นยักษ์ (ไทยเรามักเรียก อสูร ว่า ยักษ์) ลงรักปิดทองประดับกระจก รูปอสุรวายุภักษ์ ใส่เสื้อสีม่วง มือและเท้าเป็นสีคราม ส่วนรูปอสุรปักษี ใส่เสื้อด้านหน้าสีม่วง ด้านหลังสีเขียว มือและเท้าเป็นสีเขียว
     
เรือทั้งสองลำนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พุทธศักราช 2394 - 2411) เรืออสุรปักษี ใช้ชื่อว่า อสุรปักษีสมุทร หรือ อสุรปักษา บูรณะในพุทธศักราช 2508 ดำเนินการโดยความร่วมมือกันระหว่างกองทัพเรือกับกรมศิลปากร   
     
เรือแต่ละลำมีความยาว 31 เมตร กว้าง 2.03 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 62 เซนติเมตร มีกำลังพลประกอบด้วยฝีพาย 40 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 คน และคนตีกลองชนะ 10 คน




..........

เรือเสือทะยานชล และ เรือเสือคำรณสินธุ์



เรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือ 2 ลำที่ดัดแปลงมาจากเรือรบ (เรือที่ใช้ในการรบหรือการสงคราม) เป็นเรือนำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ในสมัยโบราณ เรียกเรือลักษณะนี้ว่า เรือพิฆาต
     
เรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือ 2 ลำที่ดัดแปลงมาจากเรือรบ (เรือที่ใช้ในการรบหรือการสงคราม) เป็นเรือนำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ในสมัยโบราณ เรียกเรือลักษณะนี้ว่า เรือพิฆาต เรือแต่ละลำวาดลงสีรูปเสือไว้ที่หัวเรือซึ่งมีช่องที่มีปืนใหญ่ยื่นออกมา ถือเป็นเรือพิทักษ์กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคด้วย จึงต้องให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายทหารเป็นผู้นั่งประจำในคฤห์ (เก๋ง) ของเรือทั้งสองลำนี้ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) เรือนำหน้ากระบวนพยุหยาตราชลมารคประกอบด้วย เรือพิฆาต 3 ลำ และเรือแซ 5 ลำ ทหารมีฝีมือประจำบนเรือพิฆาต อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายทหารประจำบนเรือแซ
     
ชื่อเรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ ปรากฏชื่อในลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคแลทางชลมารคในพุทธศักราช 2387 แต่ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อใด เรือทั้งสองลำนี้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ในพุทธศักราช 2534
     
เรือทั้ง 2 ลำ ภายในท้องเรือทาสีแดง มีความยาว 22.23 เมตร กว้าง 1.75 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 70 เซนติเมตร กินน้ำลึก 2.45 เมตร มีกำลังพลประกอบด้วย คนนั่งประจำคฤห์ 3 คน ฝีพาย 26 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน




..........

เรือทองขวานฟ้า และ เรือทองบ้าบิ่น



ทองขวานฟ้า แปลว่า ขวาน (ทำด้วย) ทอง ตกมาจากท้องฟ้า คนไทยโบราณมักเรียกขวานหินขัดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบอยู่ในแหล่งต่างๆ ว่า ขวานฟ้า เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง แต่ตกลงมาจากท้องฟ้า

ชื่อ ทองขวานฟ้า แปลว่า ขวาน (ทำด้วย) ทอง ตกมาจากท้องฟ้า คนไทยโบราณมักเรียกขวานหินขัดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบอยู่ในแหล่งต่างๆ ว่า ขวานฟ้า เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง แต่ตกลงมาจากท้องฟ้า อันที่จริง ชื่อทองขวานฟ้า น่าจะเพี้ยนมาจาก ทองแขวนฟ้าแปลว่า ทองที่ห้อยย้อยลงมาจากท้องฟ้า เรือทองแขวนฟ้าเป็นชื่อเรือคู่หนึ่งที่ปรากฏในกระบวนเรือฯ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นไปได้ว่า ในสมัยต่อมาเรือชื่อทองแขวนฟ้าลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น ทองขวานฟ้า
และอีกลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นทองบ้าบิ่น

เรือทั้งสองลำนี้เป็นเรือดั้งทาน้ำมัน ยอดดั้งปิดทองแกะสลักลวดลาย เป็นเรือคู่หน้าสุดที่นำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคทั้งหมด เรือแต่ละลำมีความยาว 32.08 เมตร กว้าง 1.88 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 64 เซนติเมตร มีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 39 คนนายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน
พลสัญญาณ 1 คน




..........

โขนเรือ



โขนเรือ: โขนเรือพระราชพิธีส่วนหนึ่ง  ได้รับความเสียหายจากระเบิดเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เห็นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโขนเรือที่ได้นำมาเก็บรักษา และจัดแสดงให้ผู้สนใจได้เห็นถึงวิถีและความปราณีตของคนไทยที่มีต่อเรือ  ทั้งที่ใช้ประกอบในพระราชพิธี  และที่ใช้เพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน  โดยจัดแสดงไว้ในโรงเก็บเรือพระราชพิธี  ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี




..........

โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ (ของเดิม)



โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ (ของเดิม): โขนเรือที่เห็นนี้เป็นโขนเดิมที่ยกเลิกใช้งานและนำมาจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย

เลขที่ 80/1 ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700   โขนเรืออันเดิมที่จัดแสดงที่เห็นนี้จัดแสดงอยู่ด้วยกันกับเรือพระราชพิธีอีกหลายลำ  ผู้สนใจสามารถศึกษาหรือเปรียบเทียบลักษณะของโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ (ของเดิม) กับโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ที่จอดแสดงอยู่ได้ด้วยตนเอง




.....
ข้อมูลและภาพจาก
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges/index.php/th/hilight/เรือพระราชพิธี.html



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.099 seconds with 21 queries.