Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
09 May 2024, 16:30:12

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,649 Posts in 12,466 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  เหนือเกล้าชาวสยาม  |  พระบรมโพธิสัตว์เจ้าแห่งแผ่นดินสยาม (Moderator: Smile Siam)  |  'นภันต์ เสวิกุล' ผู้บันทึก "ย่างพระบาทที่ยาตรา"
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: 'นภันต์ เสวิกุล' ผู้บันทึก "ย่างพระบาทที่ยาตรา"  (Read 345 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,502


View Profile
« on: 12 October 2021, 23:19:12 »

'นภันต์ เสวิกุล' ผู้บันทึก "ย่างพระบาทที่ยาตรา"



ทุกเส้นทางที่พระองค์เสด็จฯ ไปทรงงาน เรื่องความยากลำบากไม่ต้องพูดถึง บางพื้นที่ต้องเดินเท้านานนับชั่วโมง

“เอาง่ายๆ อย่างไปแม่แจ่ม สมัยโน้นไม่ใช่ขึ้นไปอินทนนท์แล้วลงมามีถนนลาดยางลงถึง ไม่ใช่ ต้องไปอ้อมฮอดแล้ววกเข้ามาข้างใน ถนนไม่มี ทางลูกรังอย่างเดียว ก็แปลว่าจะไปแม่แจ่มนี่สิบชั่วโมงไม่ถึง ขับรถไม่ถึง ไม่ใช่ไม่ถึงสิบชั่วโมงนะ สิบชั่วโมงไม่ถึง ออกตีสามบ้าง ตีสองบ้าง

แต่เราว่าลำบากแล้วพระองค์ท่านลำบากกว่าเราอีก เพราะว่าบางทีเราได้รูปแล้วเราก็หยุด แต่พระองค์ท่านยังไม่ได้น้ำ น้ำหมายความว่า พระองค์ทรงไปหาน้ำให้ชาวเขา เสด็จพระราชดำเนินขึ้นเขาไปสามลูกสี่ลูก บางทีเราก็ไม่ตาม”

เมื่อมองย้อนกลับไป นภันต์ยอมรับว่า แม้ตัวเองจะเหนื่อย

“แต่พระองค์ท่านเหนื่อยกว่าแน่ๆ แต่ไม่แสดงออก”

“อย่างที่เสด็จฯ ปลวกแดงเนี่ย วันนั้นทหารเป็นเจ้าภาพ เขาก็ไปปรับที่ เพราะราษฎรทั้งระยอง ทั้งปราจีนฯ มากันเต็ม ซุ้มรับเสด็จฯ นี่ยาวเป็นกิโล เขาก็เอาหินฝุ่นหยาบมาโรย สวยนะครับ แต่ร้อนนะฮะ ร้อนแบบสาหัสเลย แล้วมันก็คมด้วย เราเดินไปแป๊บเดียวก็จะเป็นลมแล้ว พระองค์ท่านประทับอยู่ถึงสี่ทุ่มกว่า”


สำหรับการถ่ายภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ช่างภาพคนนี้บอกว่า ความง่ายอยู่ตรง “พระองค์ประทับนิ่งและนาน” ส่วนความยากคือเรื่องสภาพแวดล้อม

“เรื่องที่พระองค์ท่านทรงคุยกับราษฎรก็จะเป็นเรื่องเดิมๆ ทรงรับสั่งถามว่า พอมีพอกินไหม อะไรคืออุปสรรคปัญหา น้ำมีไหม น้ำอยู่ที่ไหน ปีนี้ได้ข้าวเท่าไหร่ ต่างๆ นานา พระราชอิริยาบถของพระองค์นิ่งๆ เพราะฉะนั้นการถ่ายภาพก็ง่าย แต่เราอยู่ในตำแหน่งที่ถ่ายยาก เพราะว่าจะมีองครักษ์ เจ้าหน้าที่กองราชเลขาธิการ

ถ้าเป็นปักษ์ใต้ก็จะมีล่าม ซึ่งจะบัง เราก็ต้องหลบ หลบเหลี่ยมให้พ้นแล้วก็ไม่ทำอะไรที่เป็นที่ผิดสังเกต เช่น ไม่ยุกยิก ต้องรู้ว่าถ่ายรูปแล้วต้องรีบลดกล้อง หลีกเลี่ยงการใช้แฟลช อันนี้เราก็จะรู้หน้าที่อยู่”



ภาพ : เฟซบุ๊กคุณ Napan Sevikul


เมื่อถามถึงเบื้องหลังภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่พระองค์ประทับยืนถือแผนที่โดยมีฉากหลังเป็นภูเขา (ภาพปกเสาร์สวัสดีฉบับนี้) ซึ่งมีการแชร์กันเป็นจำนวนมาก
นภันต์เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นว่า

“รูปนั้นเป็นวันเสด็จฯ บ้านแกน้อย ที่จริงอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่เลย ขับรถชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึงแล้ว แต่วันนั้นเราขับรถไปสี่ห้าชั่วโมงกว่าจะถึง พระองค์เสด็จฯ มากับเฮลิคอปเตอร์ เราไปยืนรอก่อน โอ้โห...ตัวละลาย เพราะว่าข้างหน้าคือฝุ่นแดงอันมหาศาล ทั้งภูเขาไม่มีต้นไม้เลย มีแต่ความแห้งแล้ง ตรงที่พระองค์เสด็จฯ เป็นบ้านมูเซอแดง แล้วก็เป็นโรงเรียน

บ้านแกน้อย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ถ่ายเมื่อปี ค.ศ.1982 (พ.ศ.๒๕๒๕)
Photographer: Napan Sevikul
 


ภาพนี้ ถ่ายหลังจากเหตุการณ์ลมหมุนรอบพระองค์จนแผนที่หลุดจากพระหัตถ์ ประมาณ 10 นาที ..​
แต่ที่อยากให้เห็นคือขนาดของแผนที่ ที่พระเจ้าอยู่หัวของเราใช้ทรงงาน.. ทรงงานกลางแจ้งทุกวี่วัน


แล้วระหว่างที่พระองค์ท่านประทับกับราษฎร ผมยืนอยู่ห่างสักประมาณสิบเมตร ถ่ายรูปพระองค์เสร็จก็ยืนคอยอยู่เฉยๆ ปรากฏว่ามีลมหมุน ฟรืด…ดินแดงก็วนขึ้นมาแล้วก็ไปคลุมพระองค์ท่านจนกระทั่งแผนที่หลุดไปจากพระหัตถ์ข้างหนึ่ง พระองค์ก็ทรงตะปบ ก็เห็นว่าฝุ่นเข้าพระพักตร์ ทุกคนก็ตกใจ พอฝุ่นจางหน่อย ตอนนั้นพระองค์ท่านทรงถอดฉลองพระเนตรออกแล้วทรงเช็ดพระเนตร แล้วทรงกางแผนที่ใหม่ ทรงงานต่อ

เราร้องไห้เลย ร้องไห้เพราะว่าพระองค์ไม่ต้องมาอย่างนี้ก็ได้ ก็เป็นภาพที่ตัวเองประทับใจมากๆ

หลังจากนั้นอีกสามสิบปีถัดมา ผมไปที่นั่นอีกครั้ง มันเป็นอะไรที่ช็อค
เพราะว่าจากภูเขาหลายลูกที่เป็นทะเลทรายในวันนั้น วันนี้มันเขียวไปหมด
บ้านแกน้อยก็เป็นโครงการหลวงที่ทำรายได้สูงมาก
.....
 


สามทุ่ม .. สี่ทุ่ม
ไม่ว่าจุดไหน มุมของประเทศ พระราชกรณียกิจสำหรับวันนั้นจะไม่มีวันจบสิ้น ถ้าปัญหาของราษฎรคนสุดท้ายที่มารอเฝ้ารับเสด็จฯ ยังไม่ได้รับการแก้ไขคลี่คลายหมดสิ้น หรือราษฎรผู้ป่วยเจ็บคนสุดท้าย ยังไม่ได้รับการรักษา ด้วยทั้งสองพระองค์ยึดมั่นในพระราชหฤทัยเสมอมา ว่า "ทุกข์ สุข ของราษฎร คือ ทุกข์ สุข ของพระองค์ท่านเอง"

รูปนี้ ..ทันสมัยแล้วนะ เพราะใช้ไฟฉายแบบมีนีออนด้วย ก่อนหน้านี้ ไม่มีหรอก ใช้กันแต่ไฟฉายแบบใส่ถ่านสองก้อน

- ตามภาพ จะเห็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ ประทับราบกับพื้น ส่วนพระเจ้าอยู่หัว นั่งคุกเข่า
เห็นรูปอย่างนี้ ช่างภาพตอบได้ว่า เป็นการเยี่ยมราษฎรที่จังหวัด หรือทหารมาจัดเตรียมพื้นที่ไว้ให้ล่วงหน้า .. และดูเหมือนจะเรียบร้อยสบายดี
แต่ที่จริง พื้นแบบนี้แหละ สุดทรมาน เพราะเป็นหินฝุ่นแบบหยาบ เศษหินจะคม และฝุ่นจะอมความร้อน(มาก) ทั้งสองพระองค์ก็จะประทับแบบนี้แหละ วันละ 5-6 ชั่วโมง ปีละ 7 เดือน คิดเสียว่า 200 วัน... และน่าจะเกิน 60 ปี
.....


“มีหลายครั้งที่ผมไปถ่ายภาพพระองค์ท่านแล้วเห็นพระองค์ประทับราบอยู่กับพื้น หัวเข่าเปื้อนทรายเต็มไปหมด ผมเคยยกกล้องขึ้นถ่ายรูปเมื่อพระองค์ประทับบนบัลลังก์ในวันฉัตรมงคล พอเห็นภาพอย่างนี้เมื่อไหร่ผมก็น้ำตาไหล คือ

ทำไมพระองค์ต้องมาทำอย่างนี้ ทรงงานทุกวัน
ตีสามตีสี่ พระองค์ก็ยังทรงงาน
พระองค์เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกวัน 11 โมงเช้า กลับมาได้เสวยพระกระยาหารค่ำตอนสี่ทุ่ม

เป็นเราก็อยู่ไม่ได้ ไม่มีทาง แต่พระองค์ทรงทำได้ด้วยความเต็มพระราชหฤทัย

 
โครงการของพระองค์สี่พันกว่าโครงการ ทรงติดตามความคืบหน้าทุกโครงการด้วยพระองค์เอง

แล้วโครงการเหล่านั้นก็ได้เดินทางไปสู่ความสำเร็จทุกโครงการด้วยพระองค์เอง

ทรงคิดได้อย่างไร ทรงทำได้อย่างไร คนธรรมดาทำไม่ได้ ไม่มีวัน

 

ในฐานะช่างภาพบางครั้งก็สงสัยว่าพระองค์ท่านทรงถ่ายอะไร
บางทีแอบ แอบเลยล่ะ แอบไปยืนข้างหลังว่าพระองค์ทรงถ่ายอะไร คือ พระองค์ท่านทรงยกกล้องมาแต่ละครั้งทรงถ่ายของไม่ดีทั้งนั้น ดินแดงแห้งผาก รากไม้ ต้นไม้ล้ม พระองค์ทรงถ่ายภาพเหล่านี้ แต่อีกสิบปีกลับไปดูสิ ตรงนั้นจะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำใหญ่ พระองค์ท่านทรงถ่ายไปต้องคิดไปด้วยแน่ๆ ว่าจะเอาไปทำอะไร เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้มาจากรูปของพระองค์ก็คือชีวิต”

 

ในฐานะช่างภาพที่มีโอกาสได้ตามเสด็จฯ และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ข่าวการเสด็จสวรรคตจึงเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเช่นเดียวกับพสกนิกรทั่วไป

“ตั้งแต่เสด็จสววรคตก็ร้องไห้ใหญ่ๆ สักสองครั้ง มันเหมือนน้ำตาตกในมั้ง ทุกวันนี้ตื่นเช้ามาก็ยังถามตัวเองว่า จริงเหรอ แต่สุดท้ายก็คิดว่า

พระองค์ท่านยังอยู่กับเรา ไม่เคยไปไหน
พระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่รอบ ๆ ตัวเรา
ในคอมพิวเตอร์ผม มีแต่รูปพระเจ้าอยู่หัว


ในวาระแห่งความสูญเสียนี้ นภันต์มีความในใจที่ต้องการส่งถึงคนรุ่นใหม่หรือคนที่อาจจะยังไม่ได้รับรู้ในพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

“เราต้องมีพระเจ้าอยู่หัวอยู่ในหัวใจ อยู่ในจิตวิญญาณของความเป็นคนไทย คนไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ไม่ต้องพระองค์ไหน ไม่ต้องอะไร ขอให้มีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่กับคนไทย เราก็จะเป็นคนไทย ถ้าเราคิดว่าเรารักประเทศเรา เราก็ต้องเคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์โดยไม่ต้องมีเงื่อนไข รักแล้วไม่ต้องถาม ไม่ต้องสงสัย ผมไม่เคยสงสัยอะไรเลย...ผมรัก”


นภันต์ เสวิกุล ผู้บันทึกย่างพระบาทที่ยาตรา
#เฟซบุ๊กNapanSevikul



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,502


View Profile
« Reply #1 on: 12 October 2021, 23:25:27 »


ภาพ : เฟซบุ๊กคุณ Napan Sevikul













เวลาสั้นๆ ที่ทรงพระเกษมสำราญมากที่สุด เมื่อเสด็จไปทรงเยี่ยมสถานีเกษตรหลวงอ่างขางก็จะเป็นตอนเย็นๆ หลังจากทรงงานเสร็จ ก็มักจะเสด็จย้อนกลับมา(ที่เป็นร้านอาหารเดี๋ยวนี้-หน้าสวน 80 ปี) มูเซอร์ดำ จะถักกำไลพระกร ที่ทำด้วยดอกหญ้ามาถวาย หัวเราะเอิ๊กอ๊าก สนุกสนานทั้งผู้ให้ผู้รับ




ตรงไหนสักแห่ง ที่อำเภอแม่แจ่ม
พ.ศ. 2521

ผมใส่รองเท้าหุ้มข้อ ..
ระหว่างยืนรอรถพระที่นั่งใกล้เข้ามา ทราย และผงดินลูกรังที่หนาสูงกว่ารองเท้าหุ้มข้อ ค่อยๆไหลลงไปในรองเท้า ร้อนแทบสะดุ้ง
ฝุ่นควันจากการเผาทำลายป่าต้นน้ำ ยังคละลุ้งไปทั่วบริเวณ

...สิบกว่าปีหลังจากนี้ ดินเหล่านี้ก็กลับถูกปกคลุมด้วยไม้โตเร็วชนิดต่างๆ .. เมื่อความชุ่มชื้นกลับมา ต้นไม้ก็เริ่มซับน้ำได้อีกครั้ง

ภาพแบบนี้ ผู้คนสมัยใหม่ ไม่ได้เห็นหรอก ..
.....



Napan Sevikul  24 ตุลาคม 2016  ·
เมื่อราวปลายปี 2525 หรือต้นปี 2526 ระหว่างแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน มีการเสด็จฯ ส่วนพระองค์ครั้งหนึ่ง ซึ่งผมตามเสด็จฯไปด้วย

โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขับรถพระที่นั่งไปยังวัดภูเขาทอง เสด็จฯ ขึ้นไปบนลานพระเจดีย์ ทรงพระสำราญ และทรงใช้เวลาประทับอยู่ถึงหลังพระอาทิตย์ตกเป็นเวลานาน ...

เมื่อเสด็จฯ กลับลงมาถึงด้านล่าง .. ผมก็ยืนอยู่ไกลๆ เห็นพระองค์ท่านรับสั่งกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ แล้วทรงพระดำเนินตรงมาที่ผม รับสั่งว่า "ทราบว่ารู้ภูมิประเทศแถวนี้ ช่วยพาไปวัดพุทไธสวรรค์หน่อย"

ผมก็แข้งขาอ่อนอยู่ตรงนั้น ทำอะไรไม่ถูก ..
มีเสียงอื่นแทรกมาอีก ว่า .. "ก็นำไปสิ ไปนั่งรถคันหน้าเลย"

ถวายคำนับเสร็จ .. ถอยหลังสามก้าว ผมก็หันหลังวิ่งไปขึ้นรถฉลามบกที่เป็นรถนำ ..​สมองหมุนติ้ว (ผมว่าผมหน้ามืดด้วย)
"ไปทางไหน ..ไปทางไหน..ไปทางไหน" ถามตัวเองเป็นสิบๆครั้ง (และอีกยี่สิบครั้ง ที่คนขับรถฉลามบกคันนั้นถามอื้ออึงกรอกหู)​
... คิดไม่ออก รู้แต่ต้องหาทางตัดเข้าไปทางสะพานที่ข้ามไปเจอโรงเหล้า แล้วเลี้ยวขวาก่อนข้ามสะพาน ตรงที่เป็นทรากวัดไชยวัฒนาราม .. แต่ไปทางนั้น (วันนั้น)

มันไม่ใช่ถนน มันเป็นทางควายเดิน หลุมกลางถนน ใหญ่พอรถพระที่นั่งตกลงไปได้เลย
แต่สิ้นคิดแล้ว .. ไปทางนั้นแหละ!!!!

ในที่สุดก็ถึง .. ปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จแล้วพระพุทธเจ้าข้า .. หัวใจพองโตคับซี่โครง!!

ยังไม่จบครับ เสด็จฯ ออกมาจากรถ ก็รับสั่งอีกว่า "ไป พาไปหอไตรหน่อย"

หน้ามืด .. และตายอีกรอบ พระสงฆ์องคเจ้าแถวนั้นก็ไม่มีให้ถาม มืดก็มืด
ก็รื้นฟื้นความจำอย่างรวดเร็ว(มาก) ก็นำเสด็จไปจนถึง (เพราะไม่ห่างจากที่จอดรถขบวนมากนัก)​

.. ทางขึ้นหอไตรไม่มี มีแต่บันไดลิงพาดอยู่อันเดียว ยังไม่ทันคิดอ่านว่าจะทำอะไร? อย่างไรดี ทหาร และกรมวังสองคนก็ถือไฟฉายนีออนนำขึ้นไป แล้วก็เสด็จฯ ตามขึ้นไป ..

พระเจ้าอยู่หัวยังขึ้นไม่ถึงเลย ก็มีเสียง ตุ้บ .. ตุ้บ อยู่ด้านหลัง (สืบได้ความในภายหลังว่า มีเณรโตๆ แอบขึ้นไปสูบบุหรี่ พอเห็นทหารมากันเยอะแยะก็ตกใจ กระโดดลงมาทางหน้าต่าง)

ประทับอยู่ที่นั่นสักชั่วโมงเห็นจะได้ ก็เสด็จฯ กลับ ขากลับนี่ผมกลับไปนั่งที่นั่งตัวเอง เพราะคุณตำรวจแจ้งว่า นำเสด็จฯกลับไปได้แล้ว

ทุกวันนี้ ไปถ่ายรูปแถวนั้น ทุกครั้งที่ผ่านถนเส้นนี้ ผมไม่เคยลืมที่จะนึกย้อนไปถึงวันนั้น .. วันที่แทบจะขาดใจตายหลายครั้ง

Photo Challenge ภาพที่ 1 #ย่างพระบาทที่ยาตรา
.....



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,502


View Profile
« Reply #2 on: 14 October 2021, 22:58:25 »


สืบเนื่องจาก..."ย่างพระบาทที่ยาตรา"



ภาพต้นฉบับ




ภาพที่เผยแพร่

Waran Rbj Suwanno added 3 new photos.
37 mins · Bangkok ·

ขอเขียนไว้สั้นๆโดยสรุปนะครับ ... หลายคนแชร์ไป ... บางทีด้วยเจตนาดี ... แต่ก็มีหลายคนเจตนาดีกว่านั้น คือ รูปท่านไม่ควรทำการตัดต่อใดๆ เป็นการปกป้องด้วยความรักละกฏเกณฑ์อย่างที่ควรจะเป็นซึ่งก็ถือว่าถูกต้องครับ และในฐานะ คนที่ทำการตัดต่อ ขอเรียนชี้แจงดังนี้นะครับ

1. ภาพต้นฉบับได้มาจากช่างภาพผู้ที่ถ่ายภาพนี้โดยตรง โดยผมสแกนฟิล์มใบนี้เองกับมือ เป็นไฟล์ TIFF โดยใช้เครื่องสแกนฟิล์ม และรับฟิล์มจากช่างภาพที่ถวายงานโดยตรง

2. ภาพนี้จะถูกนำใช้เป็นปกหนังสืออย่างเป็นทางการของโครงการหลวง ดังนั้นจากภาพต้นฉบับที่มีราษฎรและข้าราชการอื่นๆในภาพ จึงอาจจะไม่เหมาะกับการวางเป็นปก(เนื่องด้วยเหตุผลบางประการ)

... ทางคณะผู้จัดทำ จึงได้ ทำเรื่องขออนุญาต ในการดัดแปลงและแก้ไขภาพต้นฉบับ โดยจัดวางเลย์เอาท์ แล้วส่งไปทางผู้รับผิดชอบได้พิจารณา ... ซึ่งได้รับหนังสือตอบกลับ อนุญาตให้ทำได้ จึงเป็นที่มาของภาพดังกล่าว

3. ทั้งนี้เจตนาที่นำมาเผยแพร่ เป็นการระลึกถึงพระองค์ท่าน ซึ่งตอนที่เผยแพร่ครั้งแรก ในปี 2013 นั้น ได้ระบุในคำบรรยายภาพชัดเจนว่า
เป็นภาพตัดต่อ เพื่อทำเป็นปกหนังสือ / มิได้มีเจตนาจะเปลี่ยนเนื้อหาใจความของภาพแต่อย่างใด

จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน

ขอบพระคุณครับ

วราณ สุวรรณโณ
คณะผู้จัดทำหนังสือ



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.108 seconds with 17 queries.