Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
17 May 2024, 16:00:40

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,700 Posts in 12,500 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  สถานที่สวยงาม (Moderator: ppsan)  |  วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)  (Read 294 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,553


View Profile
« on: 21 September 2021, 21:05:32 »

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)


วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
วัดประจำรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 9

วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชไทยถึง 4 พระองค์ และยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สถาบันการศึกษาของสงฆ์แห่งแรกในประเทศ ความแตกต่างจากวัดอื่นๆ คือมีพระประธาน 2 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และสำคัญ  ได้แก่ พระสุวรรณเขต พระประธานองค์แรกของอุโบสถวัดนี้ ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัขกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9  ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงเคยผนวช ณ วัดแห่งนี้

 


       วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) มีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

      วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เดิมชื่อ วัดใหม่ เป็นวัดโบราณ เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชได้เสด็จมาประทับ และทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตติกนิกายขึ้นที่วัดนี้เป็นครั้งแรก ถือเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่ง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ณ วัดนี้อีกด้วย

       อีกทั้งหลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) จะอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารประดิษฐานที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ซึ่งจะถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 9













Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,553


View Profile
« Reply #1 on: 21 September 2021, 21:17:58 »

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร วัดงดงาม กลางกรุง สมัยรัตนโกสิทร์

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร วัดงดงาม กลางกรุง สมัยรัตนโกสิทร์
Posted on September 24, 2018 by insidewatthai in Uncategorized


วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร (Wat Bowonniwet Vihara) เป็นพระอารามหลวงแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความงดงามด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังเป็นอย่างมาก เป็นการผสมผสานระหว่างชาติตะวันตก จีน และไทย ได้อย่างสวยงาม

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร เป็นวัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร  ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพฯ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดใหม่อยุ่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขั้นใหม่ วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุง และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นจนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัยปลายรัชกาลที่ 3 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชเป็นพระภิกษุอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เสด็จมาครอง เมื่อ พ.ศ. 2375 ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้น

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชาคณะเสด็จประทับที่วัดนี้แล้วทรง บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุต่างๆเพิ่มเติมขึ้นหลายอย่าง พร้อมทั้งได้รับพระราชทาน ตำหนักจากรัชกาลที่ 3 ด้วย ในสมัยต่อมาวัดนี้ เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรง ผนวชหลายพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ในปัจจุบัน นี้ ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และ ศึกษาได้ เป็นจำนวนไม่น้อย



พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร

พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร   ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสที่สำคัญเริ่มจากพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แต่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้ง รูปแบบของพระอุโบสถ ที่สร้างตามแบบ พระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 มีมุขหน้ายื่นออกมา เป็นพระอุโบสถและมีปีกยื่นออก ซ้ายขวา เป็นวิหารมุขหน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประตูหน้าต่าง และ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น

พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ หลังนี้ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยโปรดฯ ให้มุงกระเบื้องเคลือบลูกฟูก ประดับ ลายหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสี และโปรดฯให้ขรัวอินโข่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ ส่วนภายนอกได้รับการบูรณะ บุผนัง ด้วยหินอ่อนทั้งหมด เสาด้านหน้าเป็นเสาเหลื่ยมมีบัวหัวเสาเป็นลายฝรั่ง ซุ้มประตูหน้าต่างปิดทองประดับกระจก

ด้านหน้ามีใบเสมารุ่นเก่าสมัยอู่ทองทำด้วยหินทรายแดงนำมาจากวัดวังเก่า เพชรบุรี ส่วนใบเสมาอื่นทำแปลกคือติดไว้กับผนังพระอุโบสถแทน การตั้งไว้บนลานรอบพระอุโบสถ หลังพระอุโบสถเป็นเจดีย์กลมสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน



พระพุทธชินสีห์(องค์หน้า) – หลวงพ่อโต(องค์หลัง)

พระสุวรรณเขต หรือเรียกว่าหลวงพ่อโต หรือ “หลวงพ่อเพชร” คือพระประธานองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ด้านในสุดของ วัดบวรนิเวศ เป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา  หน้าตักกว้าง 9 ศอก 21 นิ้ว พระยาชำนิหัตถการได้ปั้นพอกพระศกให้มีขนาดดังที่เห็นในปัจจุบันแล้วลงรักปิดทอง ด้านข้างพระพุทธรูปองค์นี้มีพระอัครสาวกปูนปั้นหน้าตัก 2 ศอก ข้างละ 1 องค์

พระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระพุทธสุวรรณเขต  เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง 5 ศอก 4 นิ้ว สองข้างพระพุทธชินสีห์มีรูปพระอัครสาวกคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่า สมเด็จพระธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารด้านทิศเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถจัตุรมุข วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพุทธศักราช 2374



พระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร

พระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขตพุทธาวาส ต่อจากพระเจดีย์และวิหารเก๋ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างในพุทธศักราช 2402 เดิมที่นี้เป็นคูและที่ตั้งคณะลังกา  แต่โปรดให้ถมและรื้อเพื่อสร้างพระวิหาร  พระวิหารหลังนี้มีขนาด 5 ห้อง มีเฉลียงรอบ  ภายในแบ่งเป็น 2 ตอน คือทางทิศตะวันออก 3 ห้อง  ประดิษฐานพระศาสดา  ทิศตะวันตก 2 ห้อง  ประดิษฐานพระพุทธไสยา   หลังคาซ้อนชั้น 2 ชั้น หน้าบันรวยระกาไม่มีลำยอง ลวดลายหน้าบันเป็นปูนปั้นรูปดอกพุดตาน ตรงกลางเป็นรูปพระมหามงกุฎประดิษฐานบนพาน มีฉัตร 2 ข้าง ซึ่งเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 4 หลังคามุงกระเบื้องกาบกล้วย  ซุ้มประตูหน้าต่างด้านนอกเป็นลวดลายปูนปั้นรูปดอกพุดตานใบเทศปิดทอง  ตรงกลางซุ้มด้านบนทำเป็นรูปพระมหามงกุฎมีฉัตรอยู่ 2 ข้างเช่นเดียวกับหน้าบัน   การก่อสร้างวิหารพระศาสดาค้างมาจนถึงรัชกาลที่ 5 โปรดให้ดำเนินการต่อ  โปรดให้ปิดทองพระศาสดา  พระพุทธไสยาและซุ้มประตูหน้าต่าง  เขียนภาพจิตรกรรมที่บานประตู  หน้าต่าง  เพดานและผนัง



พระศาสดา

พระศาสดา   เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 4 คืบ 8 นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก  ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด  ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)ทราบเรื่อง จึงให้อัญเชิญพระศาสดาจากวัดบางอ้อยช้างมาไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบและมีพระราชดำริว่า  พระศาสดานั้นสร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพทรงให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร  พระศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหารที่เดียวกับพระพุทธชินสีห์  เป็นเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ แต่ยังมิได้สร้างสถานที่ประดิษฐาน  จึงโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังมุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามไปพลางก่อนเมื่อพุทธศักราช 2396 ครั้นสร้างพระวิหารพระศาสดาจวนแล้วเสร็จจึงโปรดให้อัญเชิญพระศาสดามาประดิษฐาน เมื่อพุทธศักราช  2407



พระพุทธไสยา

พระพุทธไสยา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร  เป็นพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทองปางไสยาสน์ สมัยสุโขทัย ยาวตั้งแต่พระบาทถึงพระจุฬา 6 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สร้างขึ้นราว พุทธศักราช 1800 – 1893  เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช 2376 ทอดพระเนตรว่ามีลักษณะงามกว่าพระไสยาองค์อื่นๆ  ครั้นเมื่อเสด็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงได้โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถ เมื่อพุทธศักราช 2390 ครั้นสร้างวิหารพระศาสดาแล้วจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วิหารพระศาสดาห้องทิศตะวันตก ที่ฐานพระพุทธไสยาบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส



จิตรกรรมฝาผนังในห้องพระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร

จิตรกรรมฝาผนังวิหารพระศาสดา เป็นจิตรกรรมที่เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 จากรูปแบบของภาพจิตรกรรมอาจกล่าวได้ว่าเป็นฝีมือลูกศิษย์ของขรัวอินโข่ง  เรื่องราวในภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารพระศาสดาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ภาพจิตรกรรมในห้องพระศรีศาสดา และจิตกรรมให้ห้องพระไสยา



จิตรกรรมฝาผนังนห้องพระไสยา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร

เรื่องราวที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังช่วงรัชกาลที่ 4-5  ในสกุลช่างขรัวอินโข่งนิยมเขียนเรื่องที่เป็นพงศาวดาร หรือปริศนาธรรม เป็นส่วนใหญ่  ในวิหารพระศาสดานี้ก็เป็นเรื่องธุดงควัตร 13  เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อที่พระสงฆ์ปวารณาตัวเพื่อประพฤติปฏิบัติ เพื่อกำจัดกิเลส  เรื่องตำนานการสร้างพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา ก็เป็นเรื่องแสดงความยึดมั่นนับถือและศรัทธาในพระพุทธศาสนา  ส่วนภาพจิตรกรรมในห้องพระไสยาแม้จะเป็นภาพเรื่องพุทธประวัติตอนปรินิพพาน  แต่ก็มีรูปแบบต่างไปจากภาพเขียนในอดีตที่มักเขียนเป็นภาพเรื่องราวตั้งแต่ทรงปรารภเรื่องปรินิพพานกับพระอานนท์  การเดินทางไปเมืองกุสินารา   การรับบิณฑบาตและฉันอาหารมื้อสุดท้ายจากนายจุนนะ  ทรงอาพาธ  สุภัทธะปริพาชกบวชเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นรูปสุดท้าย  และภาพตอนมหาปรินิพพานใต้ต้นสาละ  ส่วนจิตรกรรมในห้องพระไสยานั้นใช้พระไสยาเป็นองค์ประกอบภาพแทนพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานและเขียนภาพไม้สาละคู่  และเหล่าพระสาวกซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนที่แปลกออกไปจากเดิม



พระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร

พระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหารก่อพระฤกษ์เมื่อเดือน 10 ขึ้น 11 ค่ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ.1193 (วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พุทธศักราช 2374) ในสมัยรัชกาลที่ 3 และใช้เวลาก่อสร้างต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 องค์พระเจดีย์มีสัณฐานกลม มีคูหาภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ 2 ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา 4 ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก 4 องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง



ตำหนักปั้นหยา

ตำหนักปั้นหยา  เป็นตึกฝรั่ง 3 ชั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ เมื่อทรง อาราธนาให้เสด็จมาประทับที่วัดนี้ และประทับอยู่ที่ตำหนักปั้นหยาตลอดเวลาผนวช ต่อมา ตำหนักนี้ได้เป็นที่ประทับของเจ้านายหลายพระองค์ที่ผนวชและประทับอยู่ที่วัดนี้ รูปทรงของ ตำหนักเป็นตึกก่ออิฐถือปูนหน้าจั่วประดับด้วยกระเบื้องเคลือบอยู่ซ้ายมือของกลุ่ม ตำหนัก ต่างๆ



ตำหนักจันทร์

ตำหนักจันทร์ เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยทรัพย์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจันทราสรัทธาวาส กรมขุน พิจิตเจษฐฃฏาจันทร์ถวายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ในบริเวณตำหนักจันทร์ด้าน ทิศตะวันออกติดกับรั้วเหล็กมีศาลาเล็กๆ มีพาไล 2 ด้าน ฝาล่องถุนก่ออิฐถือปูนโถงเป็นเครื่องไม้ หลังคามุงกระเบื้อง ศาลาหลังนี้เดิมเป็นพลับพลา ที่ ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สร้างไว้ในสวนพระราชวังเดิม โปรดให้ย้ายมาปลูกไว้ เมื่อ พ.ศ.2452ในกลุ่มพระตำหนัก นี้





พระตำหนักเพ็ชร

พระตำหนักเพ็ชร  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักเพ็ชร ถวายเป็นท้องพระโรงแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อปีพุทธศักราช 2457 ที่ตั้งพระตำหนักนี้ เคยเป็นที่ตั้งโรงพิมพ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งทรงครองวัดนี้ สำหรับพิมพ์บทสวดมนต์ และหนังสือพุทธศาสนาอื่นๆแทนหนังสือใบลาน โดยใช้ตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่

 
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร นับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าเข้า น่าท่องเที่ยววัดในกรุงเทพ  เป็นวัดพระอารามหลวง ที่น่าไปเช็คอินเป็นอย่างมาก



แผนที่ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร


ข้อมูลวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

นิกาย : เถรวาท ธรรมยุตินิกาย
สถานที่ตั้ง : ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
เบอร์ติดต่อ : 02-629-5854
http://www.watbowon.com

ภาพโดย : insidewattha



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,553


View Profile
« Reply #2 on: 21 September 2021, 21:28:21 »

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร


วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร


วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๖

ประวัติและที่ตั้งของวัดบวรนิเวศวิหาร
   
วัดบวรนิเวศวิหารเป็นวัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพฯ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดใหม่อยุ่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขั้นใหม่ วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุง และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นจนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัยปลายรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชเป็นพระภิกษุอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เสด็จมาครอง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆขึ้น




เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชาคณะเสด็จประทับที่วัดนี้แล้วทรง บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุต่างๆเพิ่มเติมขึ้นหลายอย่าง พร้อมทั้งได้รับพระราชทาน ตำหนักจากรัชกาลที่ ๓ ด้วย ในสมัยต่อมาวัดนี้ เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรง ผนวชหลายพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ในปัจจุบัน นี้ ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และ ศึกษาได้ เป็นจำนวนไม่น้อย


ศิลปกรรมที่ควรชมภายในวัดบวรนิเวศวิหาร



วัดบวรนิเวศวิหารนี้มีศิลปกรรม และถาวรวัตถุที่มีค่าควรแก่การศึกษาไม่น้อย แบ่งออกเป็น ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสและศิลปกรรมในเขตสังฆวาส เขตทั้งสองนี้ถูกแบ่งโดย กำแพง และ คูน้ำมีสะพานเชื่อมถึงกันเดินข้ามไปมาได้สะดวก ศิลปกรรมที่สำคัญ ของวัดนี้ที่น่า สนใจ มีดังนี้


ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาส


พระอุโบสถ
   
ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสที่สำคัญเริ่มจากพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สร้างวัดในรัชกาลที่ ๓ แต่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้ง รูปแบบของพระอุโบสถ ที่สร้างตามแบบ พระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีมุขหน้ายื่นออกมา เป็นพระอุโบสถและมีปีกยื่นออก ซ้ายขวา เป็นวิหารมุขหน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประต?หน้าต่าง และ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น

พระอุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยโปรดฯ ให้มุงกระเบื้องเคลือบลูกฟูก ประดับ ลายหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสี และโปรดฯให้ขรัวอินโข่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ ส่วนภายนอกได้รับการบูรณะ บุผนัง ด้วยหินอ่อนทั้งหมด เสาด้านหน้าเป็นเสาเหลื่ยมมีบัวหัวเสาเป็นลายฝรั่ง ซุ้มประตูหน้าต่างปิดทองประดับกระจก

ด้านหน้ามีใบเสมารุ่นเก่าสมัยอู่ทองทำด้วยหินทรายแดงนำมาจากวัดวังเก่า เพชรบุรี ส่วนใบเสมาอื่นทำแปลกคือติดไว้กับผนังพระอุโบสถแทน การตั้งไว้บนลานรอบพระอุโบสถ หลังพระอุโบสถเป็นเจดีย์กลมสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาได้หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน

พระอุโบสถหลังนี้มีรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะต่างไปจากพระอุโบสถทั่วไป เพราะเป็นการผสมกันระหว่างศิลปะแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ ๓ ซึ่งกระเดียดไปทาง ศิลปะจึนและศิลปะแบบรัชกาล ที่ ๔ ซึ่งเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลฝรั่ง จึงทำให้พระอุโบสถหลังนี้ีมีลักษณะผสมของอิทธิพลศิลปะต่างชาติทั้งสองแบบ แต่ทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของศิลปะไทย เมื่อโดยรวมแล้วพระอุโบสถหลังนี้ มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่งดงามแปลกตาไม่น้อยทีเดียว

ศิลปกรรมภายในพระอุโบสถ นอกเหนือไปจากพระพุทธรูปแล้วก็มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้ขรัวอินโข่งเขียนขึ้น เป็นงานจิตรกรรม ฝาผนัง ที่มีค่ายิ่ง เพราะเป็นรูปแบบของ จิตรกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อของการรับอิทธิพลยุโรป หรือ ฝรั่งเข้า มาผสมผสานกับแนวคิดตามขนบนิยมของไทย ภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ สันนิษฐานว่าเขียนตั้งแต่สมัยที่ พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯเข้าครองวัด โดยเขียนบนผนังเหนือประตูหน้าต่างขึ้นไป มีอยู่ ๑๖ ตอน เริ่มต้นจากทางหลังของผนังด้านซ้ายทางทิศตะวันตก นับเป็นผนังที่ ๑ วนทักษิณาวัตพระพุทธรูปในพระอุโบสถตามลำดับ มีคำจารึกพรรณาเขียนไว้ที่ช่องประตู หน้าต่างรวม ๑๖ บาน

   
นอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังแล้วที่เสาพระอุโบสถเขียนภาพแสดงปริศนาธรรมเปรียบด้วย น้ำใจคน ๖ ประเภทเรียกว่า ฉฬาภิชาติ ด้วย ภายในพระอุโบสถนี้ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ ๒ องค์ คือ พระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่หน้าพระเพลากว้าง ๙ ศอก ๑๒ นิ้ว กรมพระราชวังบวรฯ ผู้สร้างวัดได้ทรงอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน เพชรบุรี โดยรื้อออกเป็น ท่อนๆ แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่ สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระทวาราวดี พระศกเดิมโต พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรม พระราชวังบวรฯ เลาะออกทำพระศกใหม่ด้วยดินเผาให้เล็กลง ลงรักปิดทองมีพระสาวกใหญ่ นั่งคู่หนึ่งเป็นพระปั้นหน้าตัก ๒ ศอก



พระพุทธชินสีห์(องค์หน้า) - หลวงพ่อโต(องค์หลัง)
   
ส่วนพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งคือ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก โดยอัญเชิญมาทั้งองค์เมื่อฤดูน้ำปี พ.ศ.๒๓๗๓ และ ในปีต่อมาได้ปิดทองกาไหล่พระรัศมี ฝังพระเนตรใหม่ และตัดพระอุณาโลม พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่งดงามอย่างยิ่งองค์หนึ่ง ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน รอบฐานพระเจดีย์มี ศาลาจีนและซุ้มจีน หลังเจดีย์ออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน ข้างในมีภาพเขียน ฝีมือช่างจีน เทคนิค และฝีมืออยู่ในเกณฑ์ดี



พระศาสดา

พระศาสดา เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ๘ นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) ทราบเรื่อง จึงให้อัญเชิญพระศาสดาจากวัดบางอ้อยช้างมาไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบและมีพระราชดำริว่า พระศาสดานั้นสร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพทรงให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหารที่เดียวกับพระพุทธชินสีห์ เป็นเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ แต่ยังมิได้สร้างสถานที่ประดิษฐาน จึงโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังมุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามไปพลางก่อนเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ ครั้นสร้างพระวิหารพระศาสดาจวนแล้วเสร็จจึงโปรดให้อัญเชิญพระศาสดามาประดิษฐาน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๗



พระพุทธไสยา

เป็นพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทองปางไสยาสน์ สมัยสุโขทัย ยาวตั้งแต่พระบาทถึงพระจุฬา ๖ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สร้างขึ้นราว พุทธศักราช ๑๘๐๐ – ๑๘๙๓ เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๖ ทอดพระเนตรว่ามีลักษณะงามกว่าพระไสยาองค์อื่นๆ ครั้นเมื่อเสด็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงได้โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๐ ครั้นสร้างวิหารพระศาสดาแล้วจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วิหารพระศาสดาห้องทิศตะวันตก ที่ฐานพระพุทธไสยาบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส



พระพุทธบาทจำลอง
   
ในบริเวณพุทธาวาสนั้นมีศิลปกรรมน่าสนใจอีกหลายอย่างเช่น พระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็น พระ พุทธบาทโบราณสมัยสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ในศาลาข้าง พระอุโบสถพลับพลา เปลื้อง เครื่อง สร้างเป็นเครื่องแสดงว่าวัด นี้รับพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตรา ที่พระเจ้าแผ่นดิน เสด็จ เปลื้องเครื่องทรงในศาลานี้ก่อนเสด็จเข้าวัด
 
นอกจากนี้ที่ซุ้มประตูด้านหน้าพระอุโบสถบานประตูมีรูปเซี่ยวกาง แกะสลักปิดทอง เป็นฝีมือ ช่างงดงามทีเดียว


ศิลปกรรมในเขตสังฆวาส


ตำหนักปั้นหยา
   
ศิลปกรรมในเขตสังฆวาสส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ เพื่อเป็น ตำหนักที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่ผนวชในวัดนี้ เริ่มจากตำหนักปั้นหยา ซึ่งเป็นตึกฝรั่ง ๓ ชั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ เมื่อทรง อาราธนาให้เสด็จมาประทับที่วัดนี้ และประทับอยู่ที่ตำหนักปั้นหยาตลอดเวลาผนวช ต่อมา ตำหนักนี้ได้เป็นที่ประทับของเจ้านายหลายพระองค์ที่ผนวชและประทับอยู่ที่วัดนี้ รูปทรงของ ตำหนักเป็นตึกก่ออิฐถือปูนหน้าจั่วประดับด้วยกระเบื้องเคลือบอยู่ซ้ายมือของกลุ่ม ตำหนัก ต่างๆ



ตำหนักจันทร์
   
ถัดจากตำหนักปั้นหยาคือ ตำหนักจันทร์ เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยทรัพย์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจันทราสรัทธาวาส กรมขุน พิจิตเจษฐฃฏาจันทร์ถวายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ในบริเวณตำหนักจันทร์ด้าน ทิศตะวันออกติดกับรั้วเหล็กมีศาลาเล็กๆ มีพาไล ๒ ด้าน ฝาล่องถุนก่ออิฐถือปูนโถงเป็นเครื่องไม้ หลังคามุงกระเบื้อง ศาลาหลังนี้เดิมเป็นพลับพลา ที่ ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สร้างไว้ในสวนพระราชวังเดิม โปรดให้ย้ายมาปลูกไว้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ ในกลุ่มพระตำหนัก นี้



ตำหนักเพชร

ยังมี พระตำหนักเพชร อีกตำหนักหนึ่งอยู่ขวามือเมื่อเข้าจากหน้าวัด เป็นตำหนัก สองชั้นแบบ ฝรั่ง มุขหน้าประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุงดงาม ตำหนักนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างถวายเป็นท้องพระโรง ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส อย่างไรก็ตามศิลปกรรมและถาวรวัตถุของวัดบวรนิเวศวิหารยังมีอีกหลายอย่างส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ ในสภาพดี



มหามกุฏราชวิทยาลัย

มหามกุฏราชวิทยาลัย   
ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2436 โดยพระบรมราชานุญาตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดำริพระสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาพระวชิรญาณวโรรส เพื่อเป็นสถานศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ทรงประกาศตั้งสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาขึ้นเมื่อวันที 30 ธันวาคม 2488 และมหาเถรสมาคมได้รับรองสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2517 เป็นการศึกษาที่ไม่เก็บค่าเล่าเรียน
   
การศึกษาระดับปริญญาตรีแบ่งเป็น 4 คณะคือ คณะศิลปศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา คณะสังคมศาสตร์ และคณะ ศึกษาศาสตร์ พระภิกษุสามเณรที่จะเข้ารับศึกษาในระดับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตจะต้องมีความรู้เปรียญ 4 ประโยค นักธรรมเอก หรือเทียบเท่า ม.ศ.5 หรือ ม.6 สายปรยัติ กำหนดเวลาเรียน 7 ปี แบ่งเป็นชั้นบุรพศึกษา 1 ปี เตรียมปี 1 และ เตรียมปี 2 รวม 3 ปี ทั้งนี้เฉพาะผู้ที่ไม่มีคุณวุฒิเทียบเท่า ม.ศ.5 หรือ ม.6 ส่วนชั้นนักศึกษา 4 ปี และต้องออกปฏิบัติงาน 1 ปี รวมเป็น 8 ปี จึงจะจบหลักสูตร และต้องสอบได้เป็นเปรียญ 5 ประโยคด้วยจึงจะได้รับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต    ส่วนการศึกษาระดับปริญญาโทศาสนศาสตรมหาบัณฑิตเริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นมา











สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร


วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
248 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 02 282 8303, 02 281 6427

ความสำคัญ - - พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร, วัดประจำรัชกาลที่ ๖, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)
สังกัดคณะสงฆ์ - ธรรมยุติกนิกาย
พระประธานในอุโบสถ - พระพุทธชินสีห์ พระโต (องค์ใหญ่)
เว็บไซต์ วัดบวรนิเวศวิหาร
เฟซบุุ๊ก - วัดบวรนิเวศวิหาร @WatBovoranivesVihara


..........
เรื่องและภาพจาก
http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watbowon.php



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,553


View Profile
« Reply #3 on: 21 September 2021, 21:37:38 »

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร งดงามงานศิลป์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวงแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ อันสะท้อนถึงความผูกพันของสถาบันพระมหากษัตริย์และพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
         
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ เป็นหนึ่งในวัดสำคัญของกรุงเทพฯ ที่ขึ้นชื่อทั้งในเรื่องความงดงามทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งในอดีตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระผนวช และได้เสด็จมาประทับที่วัดนี้เป็นครั้งแรกก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ และพระมหากษัตริย์อีกหลายพระองค์ รวมถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้วยเช่นกัน นับได้ว่าเป็นวัดสำคัญประจำราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน



ประวัติวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างโดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ "วังหน้า" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน หลังจากที่วัดนี้สร้างเสร็จแล้ว สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้นิมนต์ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งขณะนั้นทรงพระผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาส ให้มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดบวรนิเวศวิหารแห่งนี้

          1. เรื่องเล่ารอบรั้ววัดบวรนิเวศราชวรวิหาร







          วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นสถานที่ที่รวบรวมศิลปกรรมของไทยไว้หลายช่วงสมัย ทั้งศิลปะไทยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศิลปะแบบจีน หรือแม้กระทั่งศิลปะแบบตะวันตก ผ่านการรังสรรค์ผลงานอย่างประณีตและลงตัวในทุกรายละเอียด และเพียงแค่เราเดินชมไปรอบ ๆ บริเวณวัด รับรองเลยว่าคุณจะได้รับความรู้มากมายเลยทีเดียวเชียว

          - พระอุโบสถ













          พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร งดงามและโดดเด่นด้วยศิลปะผสมผสานทั้งแบบจีนและตะวันตก สร้างขึ้นโดยฝีมือช่างวังหน้าในรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารตรีมุข คือมีลักษณะเป็นอาคาร 3 หลังต่อกัน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบและลวดลายปูนปั้น ตามพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3


พระสุวรรณเขต  พระประธานองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่ด้านใน เป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถนี้ และพระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระ

พุทธสุวรรณเขต





          เมื่อเข้ามายังในตัวพระอุโบสถ เราจะเจอกับพระประธาน ซึ่งวัดบวรนิเวศราชวรวิหารจะมีความแตกต่างจากวัดอื่น ตรงที่จะมีพระประธานอยู่ด้วยกันถึงสององค์ พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ทางด้านหลังคือ "พระสุวรรณเขต" เป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และเป็นพระประธานเดิมในพระอุโบสถแห่งนี้



          ส่วนพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ทางด้านหน้าคือ "พระพุทธชินสีห์" โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ครั้งอดีต ซึ่งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จมาถวายสักการบูชาในโอกาสต่าง ๆ นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยมากที่สุดองค์หนึ่ง

           - พระเจดีย์

         ออกจากพระอุโบสถมาไม่ไกลเราก็จะเจอกับพระเจดีย์ อันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แต่มาแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4





รูปสัตว์ เหนือซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์ใหญ่ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย






รูปตุ๊กตาจีนบริเวณพระเจดีย์ใหญ่


เทวรูปประจำทิศทั้ง 6 อยู่โดยรอบพระเจดีย์



พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4




ทางเข้าสู่คูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่



พระไพรีพินาศเจดีย์


พระเจดีย์กะไหล่ทอง

         ภายในพระพระเจดีย์ใหญ่ ประดิษฐานพระเจดีย์สำคัญ คือ "พระไพรีพินาศเจดีย์" เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ และ "พระเจดีย์กะไหล่ทอง" บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ฐานพระเจดีย์เป็นแท่นศิลา สลักภาพพุทธประวัติ ปางประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ด้านละปาง มีอักษรจารึก พระวาจา พระอุทาน และพระพุทธวจนะไว้เหนือแผ่นภาพสลักนั้นด้วย


พระไพรีพินาศ
 
         อีกทั้งพระเจดีย์ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งนั่นคือ "พระไพรีพินาศ" เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร พระหัตถ์ขวาหงายขึ้น งดงามด้วยศิลปะสมัยศรีวิชัย มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระไพรีนินาศที่น่าสนใจ ด้วยเพราะครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้รับพระองค์นี้มาจากผู้ที่นำมาถวาย ปรากฏว่าเรื่องราวที่กำลังเป็นที่โจษขานเกี่ยวกับพระองค์ รวมถึง "ไพรี" หรือ "ศัตรู" ของพระองค์ท่านก็พ่ายแพ้ไปจริง ๆ จึงได้พระราชทานนามว่า "พระไพรีพินาศ" จนเป็นที่เลื่องลือในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนโดยทั่วไป
 
          -  พระวิหารพระศาสดา









          เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญที่ต้องมาเยือนเมื่อมาเที่ยววัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระศาสดา พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งแต่เดิมประดิษฐานอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหารแห่งนี้





          ความน่าสนใจของพระวิหารพระศรีศาสดา ไม่เพียงแต่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์สำคัญเท่านั้น หากลองสังเกตให้ดี ทางด้านมุขหลังของพระวิหาร เราจะพบ "พระพุทธไสยา" ประดิษฐานอยู่ เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ศิลปะสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ภายใต้ฐานของพระไสยายังบรรจุพระสรีรางคารของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์อีกด้วย

          - วิหารเก๋ง





          สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จ และโปรดให้ประดับตกแต่งด้วยลวดลายอย่างจีน พร้อมภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊ก

          ด้านในของพระวิหารเก๋งจีนหลังนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของอดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้แก่

          - พระพุทธวชิรญาณ เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

          - พระพุทธปัญญาอัคคะ พระพุทธรูปฉลองพระองค์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

          - พระพุทธมนุสสนาค พระพุทธรูปฉลองพระองค์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

          นอกจากนี้ภายใต้ฐานพระพุทธชินสีห์จำลองภายในพระวิหารเก๋ง ยังเป็นที่บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สสกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อีกด้วย

          - พระตำหนักเพ็ชร







          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักเพ็ชร ถวายเป็นท้องพระโรงแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อปี พ.ศ. 2457 ที่ตั้งพระตำหนักนี้เคยเป็นที่ตั้งโรงพิมพ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งทรงครองวัดนี้ สำหรับพิมพ์บทสวดมนต์และหนังสือพุทธศาสนาอื่น ๆ แทนหนังสือใบลาน โดยใช้ตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่

          ปัจจุบันภายในห้องพระโรงในพระตำหนักเพ็ชรเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขนาดเท่าพระองค์จริง ด้วยช่างผีมือไทยรัชกาลที่ 4 นอกจากนี้ยังประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6, พระรูปสีน้ำมัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และตู้พัดยศ พัดรอง ตลอดจนเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน ๆ

          - พระตำหนักปั้นหย่า







          อีกหนึ่งสถานที่สำคัญในเขตสังฆาวาสภายในวัดบวรนิเวศวิหาร งดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบยุโรป เดิมพระตำหนักปั้นหย่าตั้งอยู่สวนขวาในพระบรมมหาราชวัง ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาสร้างใหม่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่ยังทรงพระผนวชได้เสด็จมาประทับ หลังจากนั้นมาพระตำหนักปั้นหย่าก็กลายเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ที่มาผนวชที่วัดนี้ รวมถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ก็เคยประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้

         - กังหันชัยพัฒนา





         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระอัจฉริยภาพ และได้มีพระราชดำริคิดค้นงานประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่ล้วนก่อเกิดประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยมากมาย รวมถึง "กังหันชัยพัฒนา" ที่ทรงประดิษฐ์ คิดค้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสีย โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูง โดยกังหันน้ำชัยพัฒนาตัวแรกได้นำไปติดตั้งทดลองใช้บำบัดน้ำเสีย ภายในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 และที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เพื่อศึกษาวิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระยะเวลา 4-5 ปี ก่อนนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

2. คำแนะนำสำหรับการเข้ากราบพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

          แต่เดิมตามธรรมเนียมการสร้างวัดประจำรัชกาล เมื่อพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น ๆ สวรรคต หรือมีการถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว จะมีการอัญเชิญพระสรีรางคารมาประดิษฐานไว้ที่ฐานพระประธานของวัดประจำรัชกาล หากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา ไม่ได้มีการสร้างวัดประจำรัชกาลตามคติธรรมเนียมเดิมอีก แต่พระมหากษัตริย์ทรงรับวัดไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์ต่าง ๆ และให้ถือว่าวัดนั้นเป็นวัดประจำรัชกาลไป





          ซึ่งวัดบวรนิเวศราชวรวิหารแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ไว้ใต้ฐานพระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถ รวมถึงพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้วยเช่นกัน





          สำหรับประชาชนที่ต้องการเดินทางเข้ากราบพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จะมีเจ้าหน้าที่ของทางวัดเป็นผู้จัดระเบียบแถว ให้ทยอยเข้าไปภายในพระอุโบสถอย่างเป็นระเบียบ เมื่อเข้ามาภายในพระอุโบสถแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่คอยบอกคำแนะนำอย่างชัดเจน โดยขั้นแรกให้กราบเบญจางคประดิษฐ์ (แบบแบมือ) 3 ครั้ง เพื่อสักการะพระพุทธชินสีห์ และตามด้วยกราบพระบรมราชสรีรางคาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 (ไม่แบมือ) 1 ครั้ง เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ทางวัดเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามากราบไหว้ ระหว่างเวลา 09.00-17.00 น. และในเวลา 20.00 น. ทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)

การเดินทางมายังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

          เข้ามาทางถนนหลานหลวง ตรงไปเรื่อยจนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หลังจากนั้นจะเจอแยกไฟแดงแรก  ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ไม่นานจะเห็นวัดบวรนิเวศราชวรวิหารตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือ (สามารถดูเส้นทางการเดินทางได้ที่ GPS วัดบวรนิเวศวิหาร หรือโทรศัพท์ 02 629 5854)

          หากใครอยากชื่นชมสถาปัตยกรรมที่มีความหลากหลาย ทั้งสไตล์ตะวันตกและไทยประยุกต์ ต้องไม่พลาดมาเที่ยววัดบวรนิเวศราชวรวิหาร อันเป็นเครื่องสะท้อนถึงสายสัมพันธ์พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแต่ละพระองค์ ในฐานะองค์พระบรมราชูปถัมภ์แห่งวัดบวรนิเวศราชวรวิหารอย่างหาที่สุดมิได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก วัดบวรนิเวศวิหาร, เว็บไซต์ watbowon.com


..........
เรื่องและภาพจาก
https://travel.kapook.com/view188640.html



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,553


View Profile
« Reply #4 on: 21 September 2021, 21:43:00 »

วัดบวรนิเวศวิหาร วัดสวย กรุงเทพ พระอารามหลวง ประจำ 2 รัชกาล

วัดบวรนิเวศวิหาร วัดสวย กรุงเทพ พระอารามหลวง ประจำ 2 รัชกาล

SummerB
28 เมษายน 2564 ( 18:00 )
     
หากกล่าวถึง พระอารามหลวง ที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ หนึ่งในนั้นก็ต้องมี วัดบวรนิเวศริหาร วัดสวย กรุงเทพ อย่างแน่นอนค่ะ เพราะนอกจากมีความเกี่ยวของกับพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีหลายพระองค์แล้ว ศิลปกรรมภายในวัดเองก็มีความวิจิตรอ่อนช้อย และมีความสำคัญต่อพุทธศาสนาในเมืองไทยอีกด้วยค่ะ


วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดสวย กรุงเทพ
พระอารามหลวง ประจำ 2 รัชกาล
 

ประวัติ วัดบวรนิเวศราชวิหาร

     วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร เรียกชื่อเต็มๆ คือ วัดบวรนิเวศวิหารราชวิหาร เป็นวัดประจำ 2 รัชกาลของกรุงรัตนโกสินทร์ คือ รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 9 ตั้งอยู่ระหว่าง ถนนตะนาว และ ถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อ วัดใหม่ ตั้งอยู่ใกล้กับ วัดรังษีสุทธาวาส แต่แล้วก็ได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกันโดย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ใน รัชกาลที่ 3 และมีการทำนุบำรุง บูรณะปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมาจนสมัย สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงมาประทับ และก่อตั้ง คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ขึ้น รวมถึงบูรณะปฏิสังขรณ์ และสร้างเสริมถาวรวัตถุไว้มากมาย



วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี รวมถึงบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ทรงเคยมาผนวช เช่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  6,  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  7  และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 
     
นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ถึง 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์,  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,  สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เรียกได้ว่า วัดบวรนิเวศวิหาร นั้นมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นอย่างมากเลยค่ะ


ศิลปกรรมที่น่าสนใจใน วัดบวรนิเวศวิหาร

วัดบวรนิเวศวิหาร ถือเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงามมากๆ แห่งหนึ่งเลยค่ะ ยิ่งรวมเข้ากับบรรยากาศสุดคลาสสิกแถบ บางลำพู ก็ยิ่งทำให้รู้สึกเหมือนได้ย้อนวันวานไปยังย่านพระนครในอดีตเลยทีเดียว



เมื่อเข้าไปในวัด จะพบว่าพื้นที่ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆวาส โดยมีกำแพงและคูน้ำกั้น ในส่วนของเขตพุทวาสจะมี พระอุโบสถ ที่ประดิษฐานของ พระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) ที่อันเชิญมาจาก วัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เชื่อว่าเดิมเป็นศิลปะขอมตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรม พระราชวังบวรฯ เลาะออกทำพระศกใหม่ด้วยดินเผาให้เล็กลง ลงรักปิดทอง ทำให้มีกลิ่นอายของศิลปะยุครัตนโกสินทร์ และ พระพุทธชินสีห์ ที่อิญเชิญมาจาก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก



สถาปัตยกรรมของพระอุโบสถมีการผสมผสานระหว่างหลายวัฒนธรรม ไทย จีน และ ยุโรป ทำให้พระอุโบสถของ วัดบวรนิเวศวิหาร มีความยิ่งใหญ่และวิจิตรงดงามในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ภายในวัดก็ยังมีจุดที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น พระอุโบสถวัดรังสี วิหารพระศาสดา วิหารเก๋ง พระมหาเจดีย์ หอระฆัง และ หอไตร เป็นต้น



ในส่วนของเขต สังฆวาส ก็จะมีพระตำหนักต่างๆ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเคยผนวชที่วัดนี้ เช่น ตำหนักปั้นหยา เป็นสถาปัตยกรรมแบบอาคารบ้านเรือนฝรั่ง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตำหนักจันทร์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 และ ตำหนักเพชร อีกตำหนักที่มีการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและฝรั่งเข้าด้วยกัน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ค่ะ

 

อ้างอิง :
http://www.dhammathai.org/
http://www.resource.lib.su.ac.th/

ข้อมูล วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ที่อยู่ : 248 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พิกัด : https://goo.gl/maps/kHMnTU2Kw6iViEo59
เปิดให้เข้าชม : 08.00-17.00 น.
โทร : 0-2281-5052
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/WatBovoranivesVihara/


.....
เรื่องและภาพจาก
https://travel.trueid.net/detail/2Kbg78jjw7eW



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,553


View Profile
« Reply #5 on: 21 September 2021, 21:47:04 »

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

ไปด้วยกัน
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพ
1 January 2021

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร  วัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพ เป็นพระอารามหลวงแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความงดงามด้านสถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก เป็นการผสมผสานระหว่างชาติตะวันตก จีน และไทย ได้อย่างสวยงาม เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์เมื่อทรงผนวชหลายพระองค์ จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ




พระอุโบสถ  ที่สร้างตามแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 มีมุขหน้ายื่นออกมา เป็นพระอุโบสถและมีปีกยื่นออก ซ้ายขวาเป็นวิหารมุขหน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประตูหน้าต่าง และ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น
 



พระเจดีย์ใหญ่ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ 2 ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา 4 ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก 4 องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง






นอกจากนี้ภายในวัดบวรฯยังมีกลุ่มอาคารและพระตำหนักต่างๆที่มีความคลาสสิค ผสมผสานระหว่างชาติตะวันตก จีน และไทย ได้อย่างสวยงาม ที่เปิดให้เข้าไปถ่ายภาพรอบตัวอาคารได้



พระตำหนักเพ็ชร  อาคารสีเหลืองโดดเด่น อาคารปัจจุบันเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขยื่นออกมาคลุมทางเดินขึ้นพระตำหนักฝั่งตะวันออก หน้าบันมุขประดับตราวชิราวุธ พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 6 กรอบหน้าบันและสันหลังคาประดับลายปูนปั้นแบบไทย ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มโค้งประดับปูนปั้นลวดลายดอกไม้








พระตำหนักจันทร์ อาคารสีขาวสองชั้น หลังคาปั้นหยา ชายคาประดับลายไม้ฉลุ เหนือบานหน้าต่างกลางของแต่ละด้านประดับตราพระเกี้ยว พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 5 ด้านตะวันตกของพระตำหนักมีทางเชื่อมไปยังพระตำหนักซ้ายซึ่งเป็นสถานที่ทรงงาน




นอกจากนี้ภายในเขตสังฆาวาสของวัดบวรฯ  ยังเป็นที่ตั้งของพระตำหนักและอาคารที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชวงศ์อยู่หลายหลัง แต่ละหลังมีความสำคัญ และความสวยงามทางศิลปะที่แตกต่างกันออกไป



ตรอกทางเดินไปรวมกับทางหลักที่มาจากประตูหน้าพระวิหารเก๋ง เมื่อหันกลับมาจะเห็นแนวตึกพระตำหนักและกุฏิเรียงกันอย่างสวยงาม





กำแพงวัดที่หันมองกลับมา จะเจอกับกลุ่มอาคารสีเหลืองแบบคลาสสิค ที่ตั้งอยู่ด้านนอก เป็นภาพที่สวยงาม





Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,553


View Profile
« Reply #6 on: 21 September 2021, 21:53:51 »

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร


พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร


พระพุทธชินสีห์ (หน้า) และพระสุวรรณเขต (หลัง) พระประธาน ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร




วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร


วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร


วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร


พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร


พระพุทธชินสีห์(องค์หน้า) – หลวงพ่อโต(องค์หลัง)


พระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร


พระศาสดา
10

พระพุทธไสยา


พระพุทธบาทจำลอง
















20



















30



















40


พระแท่นที่ประทับของพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่เสด็จออกทรงผนวช





ซุ้มปรางค์พระพุทธรูป อยู่ข้างพระอุโบสถนอกกำแพงแก้วข้างละซุ้ม



ตุ๊กตาปูนปั้นที่นี่ก็มีเยอะแยะมากมายเลยครับ (เอ๊ะ หรือว่าหินแกะสลัก แฮะๆ)











พระพุทธบาทจำลอง

50



















60


Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,553


View Profile
« Reply #7 on: 21 September 2021, 21:57:13 »





พระวิหารเก๋ง





พระพุทธวชิรญาณ


พระพุทธมนุสสนาค


พระพุทธปัญญาอัคคะ


พระศาสดา


พระพุทธไสยา


หอสหจร


พระตำหนักทรงพรต


อาคารมนุษยนาควิทยาทาน หรือเรารู้จักกันในชื่อ พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร





ภายในอาคาร จะมีการจัดแสดงแยกเป็นห้องต่างๆ











80


พุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ ที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคาร


พระพุทธชินสีห์ องค์พระประธานภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร


จุดประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคาร ในหลวง ร.9 พุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์


พระพุทธชินสีห์












90



















100



ทางขึ้นพระอุโบสถ น่าจะเป็นตัวเหรา ผมคิดว่านะ ลักษณะอาจไม่ตรงตามข้อมูลสัตว์หิมพานต์ซะทีเดียว แต่ก็ใกล้เคียง




เซี่ยวกาง  หรือ ยักษ์ เทพ ฯ  เฝ้าประตู  ที่ทวารบาล


เรื่องเล่าว่า สมัยก่อนมีคนจีนติดฝิ่น มานอนเสียชีวิตที่หน้าประตู แล้วไปเข้าฝันว่าจะเฝ้าวัดให้ ให้เซ่นไหว้ด้วยฝิ่น  คราบดำๆ ตอนแรกผมคิดว่าจาระบีซะงั้น อยากลองเอามือจับดู กลัวเขาว่า


ตำหนักเพ็ชร








ประติมากรรม ที่ฐานพระศาสดา




















120



Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.105 seconds with 16 queries.