Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
01 November 2024, 06:48:06

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
26,368 Posts in 12,805 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ข้อควรปฎิบัติ  |  ห้องรับแขก (ยังไม่เป็นสมาชิกก็ถามได้ที่นี่นะครับ)  |  Post reply ( Re: คนโบราณเค้าด่ากันอย่างไร )

Post reply

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.

Note: this post will not display until it's been approved by a moderator.

Name:
Email:
Subject:
Message icon:

shortcuts: hit alt+s to submit/post or alt+p to preview


Topic Summary

Posted by: ppsan
« on: 15 February 2022, 10:45:01  »

คนโบราณเค้าด่ากันอย่างไร


คนโบราณเค้าด่ากันอย่างไร




คนโบราณเค้าด่ากันอย่างไร และคำด่าที่เป็นอมตะมาจนถึงวันนี้คืออะไร

คนโบราณเค้าด่ากันอย่างไร มีเอกสารรวมคำด่าเจ็บแสบของยุค และคำด่าที่เป็นอมตะมาจนถึงวันนี้คืออะไร

คนผิดใจกัน ไม่พอใจกันก็มีการกระทบกระทั่ง หนักข้อหน่อยก็ถึงขั้น “ด่า” คำที่ด่ากันก็มีทั้งด่าตรงๆ เจ็บไม่ต้องแปล, ด่าอ้อมๆ ให้กลับได้แค้นที่บ้าน ฯลฯ

แต่วันนี้เราจะมาดูว่า คนสมัยก่อนเค้าด่ากันอย่างไร

เริ่มจากสมัยอยุธยาหลักฐานคำด่าที่เราพบในเอกสารสมัยอยุธยาคือ “พระไอยลักษณวิวาทด่าตีกัน” มาตรา 36 เช่น ไอ้ (อี) ขี้ตรุ ขี้เมา ขี้ฉ้อ ขี้ขโมย ขี้ข้า ขี้ครอก ฯลฯ ไปจนถึง อีดอกทอง

คำด่าพวกนี้น่าจะเป็นเพียงตัวอย่างที่ท่านนำมาอ้างในกฎหมายเท่านั้น ในชีวิตจริงคงมีการประดิษฐ์ถ้อยคำสำนวนกันตามใจชอบเท่าที่จะสะใจคนด่า

ใครสนใจลองหา “บทละครเรื่องนางมโนห์รา” ครั้งกรุงเก่ามาดูก็ได้ โดยเฉพาะตอนที่นางมโนห์รากับแม่แดกดันและด่าทอกันอุตลุด

มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในบทละครนอกหรือบทเสภาก็มีคำด่าปรากฏอยู่ไม่น้อย หนักบ้างเบาบ้างตามแต่สถานการณ์ เช่น

ใน “ขุนช้างขุนแผน” นางวันทองด่านางลาวทอง ซึ่งเป็นคนเชียงใหม่ในทำนองเหยียดหยามชาติกำเนิดว่า “ทุดอีลาวชาวดอนค่อนเจรจา อีกินกิ้งก่ากินกบจะตบมัน”

หรือในพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ว่า “อีเอยอีคนคด ช่างประชดประชันน่าหมั่นไส้” นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ เท่านั้น

พจนานุกรม อักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ ซึ่งพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2416 สมัยต้นรัชกาลที่ 5 มีบรรจุคำด่าสมัยนั้นไว้ไม่น้อย ในหมวด “ไอ้” “อ้าย” และ “อี”

คำจิกหัวเรียกว่า “อี” นั้น มีคำอธิบายว่า “เปนคำหยาบสำหรับเรียกชื่อหญิงคนยาก, ที่เปนหญิงทาษีนั้น ”

ส่วน “ไอ้” หรือ “อ้าย” อธิบายว่า “…เดี๋ยวนี้เขาเรียกชื่อผู้ชายเปนทาษเปนต้น” ความหมายที่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ไว้ก็คือ ที่จริงแล้วคำว่า “ไอ้” (หรือ “อ้าย”) หรือ “อี” นั้นในสมัยก่อนยังใช้เป็นคำเรียกคนที่ต้องโทษด้วย

ตัวอย่างคำด่าในอักขราภิธานศรับท์ ที่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับในพระไอยลักษณวิวาทด่าตีกัน เช่น “อีดอกทอง” “ไอ้บ้า” “ไอ้ชาติข้า” “อีขี้ข้า” “อีร้อยซ้อน” ส่วนมากนอกนั้นล้วนเป็นคำใหม่ๆ ที่คนเรียบเรียงพจนานุกรมฉบับนี้ไปรวบรวมมาจำนวนหนึ่งจากภาษาชาวบ้านร้านถิ่น

บางคำถ้าเอามาใช้ในยุคนี้น่าจะไม่เข้าใจกันแล้ว เช่น “อีแดกแห้ง” “อีร้อยซ้อน” “อีทิ้มขึ้น” เป็นต้น แต่ก็มีอีกหลายคำที่ยังคงเป็นที่เข้าใจหรือยังใช้กัน เช่น “อีผีทะเล” “อีชาติชั่ว” “อีเปรต” “ไอ้ถ่อย” “ไอ้ระยำ” “ไอ้จังไร”


แต่ที่เป็นอมตะมาตลอดก็คือ “อีดอกทอง” ส่วน “อีห่าฟัด” (หรือ “ไอ้ห่าฟัด” รวมไปถึงคำตระกูล “ห่า” ทั้งหลาย ที่ไม่ได้ถูกรวมไว้ในอักขราภิธานศรับท์ เช่น “ห่าจิก” “ห่าราก” “ห่ากิน”) คนชนบทรุ่นเก่าๆ ยังใช้กันอยู่

คำด่านั้นสะท้อนค่านิยมตามยุคสมัยของสังคม ไม่ว่าจะเรื่องสถานะชนชั้น เรื่องเพศ เรื่องอำนาจ ฯลฯ เอาคำด่าของสังคมหนึ่งวัฒนธรรมหนึ่งไปด่าคนในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง คนที่ถูกด่านอกจากจะไม่เจ็บแสบแล้วบางทีไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนด่ากำลังพูดเรื่องอะไร

ที่มา : นิตยสารศิลปวัฒนธรรม - silpa-mag.com

..........
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.sookjai.com/index.php?topic=226772.0



SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.162 seconds with 15 queries.