Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
11 May 2024, 21:57:15

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,674 Posts in 12,487 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  Profile of admin  |  Show Posts  |  Messages

Show Posts

* Messages | Topics | Attachments

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Messages - admin

Pages: [1]
1
ข้อตกลง กฎ กติกา มารยาท ในการใช้เว็บบอร์ดนี้

   
   ๑. ห้ามตั้งกระทู้ โพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ หรือ link ที่ขัดต่อศีลธรรม จรรยา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงามของไทย อย่างเด็ดขาด!
   ๒. ห้ามตั้งกระทู้ โพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ หรือ link ที่เป็นการพาดพิง เกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างเด็ดขาด!
   ๓. ห้ามใช้คำไม่สุภาพ หยาบคาย รุนแรง ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย หรือส่อความหมายไปในทางที่ไม่เหมาะสมในการโพสต์ข้อความ
   ๔. ห้ามการตั้งกระทู้หรือโพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ แสดงความคิดเห็นในลักษณะชวนทะเลาะ ชวนตี หรือใช้คำไม่เหมาะสม ที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย
       แก่สังคม ทั้งทางเว็บบอร์ดและ PM อย่างเด็ดขาด!
   ๕. ห้ามการตั้งกระทู้หรือโพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เชิงดัก ที่ส่อไปในทางไม่เหมาะสมหรือประชดประชัน อย่างเด็ดขาด!
   ๖. ห้ามการตั้งกระทู้หรือโพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ในเชิงพาดพิงถึงบุคคลอื่น หรือข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้อื่นในทางเสียหาย ประจาน
       หรือขุดคุ้ยเรื่องเก่ามาก่อการวิวาทกันอีก
   ๗. ห้ามการตั้งกระทู้หรือโพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ในเชิงตัดสินผู้อื่นในทางเสียหาย หรือคำถามเชิงก่อให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก ทะเลาะวิวาท
       อย่างเด็ดขาด!
   ๘. สำหรับการตั้งกระทู้หรือการโพสต์ข้อความตอบ ควรให้ตรงกับหมวดที่กำหนดไว้ และไม่ควรตั้งกระทู้ที่ไม่มีสาระใด ๆ
       เช่น กระทู้ที่ดักให้ผู้อื่นเข้ามาตอบโดยที่ไม่มีประเด็นอะไรเป็นสำคัญ และไม่ควรทำการตั้งกระทู้หรือทำการโพสต์ข้อความตอบ
       เพื่อเจตนาที่เรียกว่าเป็นการ ‘ขุด’ หรือ ‘ปั่น’ กระทู้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
   ๙. ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินการเว็บไซต์นี้ และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้

หากทางทีมงานตรวจสอบพบข้อความไม่เหมาะสมใด ๆ ก็ตาม เมื่อพิจารณาแล้วจะดำเนินการดังนี้ (ตามแต่วิจารณญาณของทีมงาน)
   ๑. ลบข้อความหรือกระทู้นั้น ๆ ทิ้งทันที โดยไม่ต้องแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้า
   ๒. ลบข้อความหรือกระทู้นั้น ๆ ทิ้งทันที และระงับการใช้งานเว็บบอร์ดของบุคคลที่ทำผิดกฎ (ยกเลิกการเป็นสมาชิก) โดยไม่ต้องแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้า

ข้อควรปฏิบัติ เมื่อพบสิ่งไม่เหมาะสมในเว็บบอร์ด
   * ให้ทำการโพสต์ หรือ แจ้งทีมงานเท่านั้น

     หากทางทีมงานพบว่า สมาชิกท่านใดพยายามที่จะนำเรื่องใด ๆ อันไม่เหมาะสม เช่น การทะเลาะวิวาท ไปสู่สถานที่อื่น
     จะดำเนินการอย่างเด็ดขาดตามกฏข้างต้นเช่นกัน และหากร้ายแรงก็จะดำเนินการทางกฏหมายต่อไป ตามความเหมาะสม
     และทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข เพิ่มเติม หรือทำการเปลี่ยนแปลง กฎ กติกา และ มารยาทในการใช้ได้ตามความเหมาะสม

      จึงแจ้งมาเพื่อทราบและขอความร่วมมือกันปฏิบัติตาม




Smile Siam Rules

1. Always Code your links.

2. If you find non-working or Non-coded links, report it.

3. Never Post Dead Links. Otherwise your post will be deleted.

4. Do not use any link protectors. Your posts will be deleted.

5. This is an English forum. All posts must be made in English language only.

6. Never request by private message or email.

7. Posts with incorrect/missing passwords will be deleted.

8. Incomplete posts will not be accepted and will be deleted.

10. Advertising your site (Not affiliated with FunMasti) is not allowed in your signature text or picture. Use ‘WWW’ option of your profile Page instead.

11. Don't post voting links, survey links or links that a user will profit from in any form or manner. Doing this will warrant an immediate ban.

12. Be polite when asking something.

13. Don't kid with inexperienced/new users.

14. If you have problems with some other member contact someone of the staff in private. Abuse and profanities will not be tolerated.

15. The Administration reserves the rights to reassign names and free up user names already used by inactive low post users

16. Spam, phishing, racism, childish nudity, offensive posts, terrorism, crime related posts, Bestiality, religion, etc! Are prohibited; user will be banned at first sight, guaranteed!

17. We can remove avatars and signatures at our own discretion.

18. Do not reply to spam topics, doing so your post too will be considered as itself. Please be careful. Report the post instead

19. Pictures to be used in posts are not to be hotlinked from sites. Hotlinking is direct linking to a web site's files (images, video, etc.). Use image hosting sites like tinypic, photobucket to host your pics and copy the [IMG] code in your posts
     

20. In case of violation of the rules above, your post may be deleted or you will be banned from FunMasti. Also, we reserve the right to delete any post; deactivate/delete any user account if we think that is the right thing to do.

Other additional rules may be added as needed.

Follow Rules at all times. They are for providing better service to you.

Sincerely,

Smile Siam Staff

2
หน้าอกผู้หญิงเป็นสิ่งที่ดึงดูดสายตาและจิตใจมนุษย์เพศผู้ส่วนใหญ่ ทฤษฎีทางชีววิทยาที่แพร่หลายที่สุดอธิบายไว้ว่าสมองของผู้ชายถูกวิวัฒนาการคัดเลือกมาให้ประเมินประสิทธิภาพในการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงจากขนาดของหน้าอก ผู้หญิงที่มีหน้าอกใหญ่เป็นสัญลักษณ์ของการเป็นแม่พันธุ์ที่ดี ทฤษฎีนี้ก็ฟังดูเข้าทีมีเหตุผล มีหลักฐานงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงที่หุ่นดี, นมโต, เอวคอดกิ่ว เป็นลักษณะที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศหญิงและความสามารถในการตั้งครรภ์ (Proceedings of the Royal Society B DOI: 10.1098/rspb.2004.2712)

อย่างไรก็ตามทฤษฎีข้างต้นมีปัญหาอยู่ตรงที่เพศผู้ไม่น่าจะเป็นฝ่ายที่เรื่องมากในการจับคู่ผสมพันธุ์ เพราะตัวผู้ลงทุนแค่สเปิร์มซึ่งมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับไข่ (รวมถึงการลงทุนแบ่งอาหารมาการเลี้ยงดูตัวอ่อนซึ่งมีราคาแพงมากสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเมีย) ถ้าคิดตามนี้ ต่อให้ผู้หญิงนมโตเป็นแม่พันธุ์ที่ดีกว่า นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายต้องเลือกลงทุนลงแรงเลือกผสมพันธุ์กับผู้หญิงนมโตอย่างเดียว กลยุทธ์ที่น่าจะดีที่สุดสำหรับผู้ชายคือ "ฟันให้หมด" โดยไม่มีอคติเลือกนมเล็กนมใหญ่

ศาสตราจารย์ Larry Young แห่ง Emory University จึงเสนอทฤษฎีใหม่ขึ้นมาว่าความหลงใหลนมอึ๋มๆ ของผู้ชายนั้นเกิดจากลักษณะการจับคู่ของมนุษย์ที่เป็นแบบผูกพันผัวเดียวเมียเดียว (social monogamy) ซึ่งหาได้ยากมากในหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบ 97% มีนโยบายผสมพันธุ์แบบหลายผัวหลายเมีย (ขณะที่นกส่วนใหญ่กลับอยู่กันแบบผัวเดียวเมียเดียว กระนั้นนกผัวเดียวเมียเดียวหลายชนิดก็ยังชอบแอบมีกิ๊กเวลาที่คู่ตัวเองเผลอ)

งานวิจัยก่อนหน้านี้ก็แสดงให้เห็นว่าเวลาโดนสัมผัสที่หัวนม สมองผู้หญิงจะถูกกระตุ้นในส่วนเดียวกับเวลาโดนแตะที่อวัยวะเพศ และกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมน oxytocin ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความรักและความผูกพันออกมา ตอนที่ลูกดูดนมแม่ ฮอร์โมน oxytocin นี่แหละเป็นตัวการสำคัญที่สร้างสายสัมพันธ์แม่-ลูก (ตรงนี้มีข่าวดีสำหรับผู้หญิงคือ การให้ลูกดูดนมไม่มีส่วนทำให้นมคล้อยยาน แต่ข่าวร้ายคือการขยายตัวชั่วคราวของหน้าอกขณะตั้งครรภ์แต่ละครั้งจะทำให้ผิวหนังและเอ็นที่รองรับหน้าอกยืดหย่อนยวบลงไป - Life's Little Mysteries)

ฉะนั้น Larry Young เลยมองว่า ผู้ชายที่มีสัญชาตญาณชอบนม, ชอบซุกหน้าลงไปเฟ้นฟอนเต้า-ดูดหัวนมซ้ายทีขวาทีระหว่างร่วมเพศ ฯลฯ จึงมีแนวโน้มที่จะสร้างสายสัมพันธ์กับคู่ของตนได้แนบแน่น ผู้ชายที่สามารถทำให้ผู้หญิงของตนรักฝังใจกับตนเองก็ย่อมประสบความสำเร็จในการส่งผ่านยีนไปยังรุ่นต่อไปมากกว่า เพราะเท่ากับว่าได้ลดความเสี่ยงที่จะโดนตัวผู้ตัวอื่นเข้ามาแย่งหรือแอบผสมพันธุ์กับคู่ตัวเมียของตน

นอกจากนี้ท่าผสมพันธุ์อันเป็นเอกลักษณ์ของมนุษย์ก็ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้พวกผู้ชายคลั่งนมประสบความสำเร็จด้วย การที่มนุษย์ร่วมเพศในท่าหันหน้าเข้าหากัน เปิดโอกาสให้ผู้ชายเข้าคลุกวงในสัมผัสหน้าอกผู้หญิงได้มากขึ้น ถ้าท่าผสมพันธุ์ของมนุษย์ยังเป็นท่ายอดนิยมของสัตว์แบบตัวผู้ขึ้นคร่อมหลังตัวเมีย การสัมผัสหน้าอกขณะร่วมเพศก็คงทำได้ไม่สะดวกนัก

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์และนักมานุษยวิทยาบางคนก็เห็นว่าทฤษฎีของ Larry Young มีจุดอ่อนอยู่เนื่องจากทฤษฎีไม่ได้ครอบคลุมถึงปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคมซึ่งมีบทบาทอย่างมากในวิวัฒนาการของมนุษย์ เช่น Fran Mascia-Lees แห่ง Rutgers University ยกตัวอย่างชนเผ่าพื้นเมืองในแอฟริกาที่ผู้หญิงเปิดหน้าอกเปลือยโล่ง ไม่มีเครื่องแต่งกายปกคลุมส่วนบน ผู้ชายในเผ่านั้นก็ไม่ได้แสดงอารมณ์หื่นกระหายต่อหน้าอกหรือหัวนมผู้หญิงสักเท่าไร ก็ใช้ชีวิตมีความสัมพันธ์ทางสังคมกันอย่างปกติ

ซึ่งตรงนี้ Larry Young ก็เถียงว่า แม้ผู้ชายชนเผ่านั้นจะไม่ได้แสดงอาการหื่นต่อหน้าอกเปลือยๆ ที่เห็นชาชินอยู่ทุกวัน ก็ไม่ได้หมายความว่าระหว่างร่วมเพศจะไม่มีการสัมผัสกระตุ้นความรู้สึกที่หน้าอกฝ่ายหญิง

Larry Young อธิบายทฤษฎีของตัวเองไว้อย่างละเอียดในหนังสือขายดีของเขา The Chemistry Between Us (Current Hardcover, 2012) ที่แต่งร่วมกับ Brian Alexander


ที่มา - Life's Little Mysteries
แปลโดย http://jusci.net/node/2863


3
ทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะ (1)


บทความพิเศษ  ธีรยุทธ บุญมี  มติชนรายสัปดาห์  วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1296

ไอน์สไตน์ยิ่งใหญ่ไม่ใช่เพราะสมการ E=mc2

แต่เป็นเพราะเป็นผู้เปลี่ยนกระบวนทัศน์เกี่ยวกับเวลาและอวกาศ

จากคนอยู่เหนือจักรวาลมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล

ปีนี้ครบรอบ 100 ปี การเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะของไอน์สไตน์ ซึ่งไอน์สไตน์ค้นพบสำเร็จในเดือนมิถุนายน 1905 และตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ของเยอรมันในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ในโอกาสครบรอบ 100 ปีการค้นพบนี้จึงมีการยกย่องสรรเสริญผลงานไอน์สไตน์กันทั่วโลก

ไอน์สไตน์สำคัญไม่ใช่เพราะไอน์สไตน์อภิมหาอัจฉริยะ ซึ่งเป็นเรื่องปรุงแต่งจนเกินเลยกันภายหลัง ไอน์สไตน์เก่งในเรื่องของหลักคิดฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ซึ่งสำคัญกว่าเทคนิคหรือสมการทางคณิตศาสตร์ ครูของไอน์สไตน์เล่าว่า ไอน์สไตน์หัวช้าทางคณิตศาสตร์ ในการเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปในปี 1915 เขาก็ต้องหานักคณิตศาสตร์ ซึ่งก็คือ Marcel Grossmann มาเป็นเพื่อนช่วยคิด

ไอน์สไตน์สำคัญไม่ใช่ในระดับการเสนอทฤษฎีใหม่หรือการค้นพบสมการสำคัญ เช่น E=mc2 แต่สำคัญเพราะเป็นคนเปลี่ยนกรอบการมองหรือกระบวนทัศน์มนุษย์ให้มองโลกหรือจักรวาลไปสู่กรอบใหม่ กระบวนทัศน์ใหม่ทั้งหมด เพราะถ้ามองในระดับของสมการในช่วงยุคสมัยใหม่ของวิทยาศาสตร์ อาจมีสมการที่เป็นคู่แข่งของสมการ E=mc2 ได้อีกมากมาย เช่น สมการของ Newton, Gauss, Rieman, Maxwell, Boltzman, Dirac, Feynman, Schrodinger, Alexander, Jones, Kauffman, Nambu, Gellman, Salam และ Heisenberg อีกนับร้อย แต่ในระดับกระบวนทัศน์เกี่ยวกับจักรวาลในรอบ 2,000 ปี มีเพียง 2 กระบวนทัศน์คือ แบบยุคลิด-นิวตัน ซึ่งถูกแทนที่โดยกระบวนทัศน์ของไอน์สไตน์ และถ้าจะนับในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา มีเพียง 2 กระบวนทัศน์เกี่ยวกับโลกวัตถุซึ่งแข่งกันอยู่คือ กระบวนทัศน์สัมพัทธภาพกับกระบวนทัศน์แบบควอนตัม

กระบวนทัศน์หรือกรอบการมองอวกาศแบบเดิมที่เราคุ้นเคย คือมองว่าจักรวาลเป็นที่ว่าง หรือภาชนะขนาดใหญ่ ที่คล้ายมีแกนเส้นตรงวิ่งไปทั้งหน้า-หลัง ซ้าย-ขวา บน-ล่าง แล้วมีวัตถุ คือ ดวงดาว กาแล็กซี่ มาล่องลอยอยู่ตามจุดต่างๆ กรอบการมองเช่นนี้ยกฐานะมนุษย์มาอยู่ให้เสมือนพระเจ้า คือมองจักรวาลได้เสมือนว่าจักรวาลเป็นบ้านของตัวเอง คือรู้ได้หมดว่า ณ เวลาหนึ่ง เช่นปัจจุบันหรือเวลา 1 วินาที 1 นาที 5 นาทีข้างหน้า วัตถุต่างๆ ในจักรวาลอยู่ในตำแหน่งใด เคลื่อนไหว แตกดับอย่างไร

ส่วนทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ได้ล้มกระบวนทัศน์แบบเดิมดังกล่าว และสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ที่ถือมนุษย์เป็นส่วนหนึ่ง ของจักรวาล เป็นการลดอำนาจมนุษย์ในจักรวาลให้น้อยลง และมองความสัมพันธ์ระหว่างอวกาศ เวลา และชีวิตมนุษย์ให้ละเอียดอ่อนลึกซึ้งยิ่งขึ้น ไม่น่าเชื่อว่าเพียงแค่มนุษย์เปลี่ยนกระบวนทัศน์เป็นแบบใหม่ เราก็สามารถเข้าใจความสัมพันธ์อวกาศกับเวลาใหม่ มวลสารกับพลังงานใหม่ และเข้าใจจักรวาล เช่น การกำเนิด การล่มสลายของจักรวาลได้อีกมากมาย นี่เป็นเหตุผลให้เราต้องสนใจทฤษฎีทั้งหลายในระดับกระบวนทัศน์มากกว่าระดับสมการ

กระบวนทัศน์ที่มองทั่วจักรวาลได้แบบพระเจ้า เรียกว่ากระบวนทัศน์แบบสมบูรณ์ แต่กระบวนทัศน์ใหม่แบบเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลบอกว่า จักรวาลไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้นได้ จักรวาลอนุญาตให้สังเกตจักรวาลได้จากตำแหน่ง เวลาหนึ่งๆ เท่านั้น ณ จุดที่ต่างกันไป ก็จะสังเกตจักรวาลได้จากอีกแง่มุมหนึ่งไม่เหมือนกัน จึงเรียกกระบวนทัศน์ใหม่นี้ว่ากระบวนทัศน์แบบสัมพัทธ์

ไม่มีใครมองจักรวาลได้ทั้งหมด หรือรู้ได้ว่าช่วงเวลาหนึ่งๆ ส่วนต่างๆ ของจักรวาลมีความเป็นอยู่อย่างไร ไม่มีใครสามารถจินตนาการตัวเองไปอยู่นอกจักรวาล แล้วมองกลับมาเห็นจักรวาลได้ชัดเจนว่ามีรูปร่างอย่างไร ขนาดเท่าใด ทุกคนสังเกตจักรวาลได้จากส่วนเสี้ยวของตน และถึงแม้แต่ละคนจะเอาข้อมูลมารวมกันก็ไม่มีใครสามารถสรุปภาพได้ว่าจักรวาลที่แท้จริงมีลักษณะเป็นเช่นไร เป็นข้อจำกัดของมนุษย์ที่ทุกคนต้องยอมรับ

อันที่จริงนักวิทยาศาสตร์รู้มานานแล้วว่า ณ เทศะ เวลาต่างกัน การสังเกตจะต่างกัน เช่น ถ้าเรานั่งในเครื่องบินเจ๊ตเหนือเสียง รินน้ำใส่แก้ว เราคิดว่าน้ำไหลลงแก้วตรงจุดเดิมข้างหน้าเรา แต่คนบนพื้นโลกจะมองเห็นว่าเราเริ่มรินน้ำที่อโศก แต่น้ำหล่นลงถึงก้นถ้วยที่ราชประสงค์ ซึ่งห่างกันไปตั้งหลายกิโล หรือเด็กหญิงคนหนึ่งตบลูกเทนนิสอยู่บนรถไฟ เธอจะสังเกตเห็นลูกบอลกระเด้งขึ้นลงจากจุดเดิมเสมอ  แต่ในสายตาผู้สังเกตข้างนอก จะเห็นลูกบอลกระดอนขึ้นลงจากคนละจุด

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เป็นตัวอย่างบนรถไฟเช่นกัน เมื่อผ่านสถานี ไฟสัญญาณที่หัวท้ายขบวนจะเปิดขึ้น ผู้สังเกตบนชานชาลาซึ่งอยู่ตรงกลางขบวนพอดี จะสังเกตเห็นสัญญาณไฟเปิดขึ้นพร้อมกัน แต่ผู้สังเกตที่อยู่บนรถไฟ (ตรงจุดกึ่งกลางเช่นกัน) จะสังเกตว่าสัญญาณ A เกิดขึ้นก่อนสัญญาณ B เพราะตัวเองเป็นฝ่ายวิ่งเข้าหาแสง และเห็นแสงจาก A ก่อนแสงจาก B

ดังนี้ ผู้สังเกตบนรถจะสรุปว่า เหตุการณ์ A เกิดก่อนเหตุการณ์ B ใครเป็นฝ่ายผิด ใครเป็นฝ่ายถูก ?

ปกติเรามักจะบอกว่า การสังเกตของผู้อยู่นิ่ง (บนดิน) เป็นพื้นฐานกว่า ถึงแม้เด็กหญิงคนนั้นจะสังเกตต่างกันไป แต่เมื่อเราอธิบายเหตุผลได้ เธอก็จะเข้าใจได้ว่าที่จริงลูกบอลไม่ได้ตกซ้ำ ณ จุดเดิมแต่ไอน์สไตน์แย้งว่า "พระเจ้า" นอกจากไม่อนุญาตให้ใครเป็น "พระเจ้า" ได้แล้ว ยังไม่ให้อภิสิทธิ์เป็นพิเศษแก่คนใดคนหนึ่งด้วย ไอน์สไตน์บอกว่า อาจมีคนอีกหลายร้อยล้านคนอยู่บนดาวดวงหนึ่ง หรือบนยานอวกาศลำใหญ่ที่วิ่งสวนโลก หรือแซงโลกไป คล้ายขบวนรถไฟที่ยกตัวอย่าง จะไม่ง่ายกว่าหรือว่าพวกเขาจะบอกว่า ลูกบอลที่พวกเขาตบนั้นขึ้นลงจากจุดเดิม เพราะนั่นจะเป็นการสังเกตที่ให้ภาพที่ง่ายกว่าการสังเกตของเราบนโลกด้วยซ้ำ

กล่าวเป็นภาษาทางวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น ผลการสังเกตของเขาไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ หรือทางธรรมชาติอื่นใดล้วนมีฐานะความจริงเท่าๆ กัน

กล่าวอีกนัยหนึ่ง กระบวนทัศน์แบบสัมบูรณ์ยินยอมให้มนุษย์มีฐานะเป็นเจ้าของจักรวาล มีอำนาจเหนือจักรวาล เพราะสามารถคิดว่าตัวเองอยู่นิ่งๆ ภายในหรือภายนอกจักรวาล แล้วในแต่ละชั่วขณะก็สามารถมองดูจักรวาลทั้งหมดได้ แต่กระบวนทัศน์แบบสัมพัทธ์บอกว่า ไม่มีใครรู้ว่าตัวเองอยู่ในสถานะอย่างไรแน่ เพราะเราคิดว่าเราอยู่นิ่ง แต่คนอื่นกลับมองเราเคลื่อนไปกับโลก ระบบสุริยะและกาแล็กซี่ในลักษณะที่ซับซ้อนมาก เช่นเดียวกับที่เราก็จะสังเกตมนุษย์ หรือวัตถุบนดวงดาวอื่นๆ เคลื่อนที่อย่างซับซ้อนเช่นกัน จึงสรุปได้ว่าทุกๆ สิ่งในจักรวาลอยู่ในสภาวะเคลื่อนที่อย่างสัมพัทธ์ (เปรียบเทียบ) กันเอง โดยไม่มีใครรู้ว่าจุดที่อยู่นิ่งๆ จริงๆ เป็นอย่างไร เราต้องยอมรับสถานะเช่นนี้ เริ่มต้นมองโลกจากเงื่อนไขจำกัดเช่นนี้ จึงจะสร้างทฤษฎีที่ถูกต้องได้ ไม่ใช่ตั้งเงื่อนไขสมมติว่า เราสามารถหาสภาวะที่อยู่นิ่งๆ จริงๆ ในจักรวาลได้

ไอน์สไตน์บอกกับเราว่า ทฤษฎีที่ตั้งอยู่บนเงื่อนไขสมมตินี้ผิดพลาด และให้ภาพความจริงจักรวาลได้อย่างจำกัด

กระบวนทัศน์ใหม่ของไอน์สไตน์ฟังดูง่าย ไม่ซับซ้อนยุ่งยากมากนัก แต่ผลของมันลึกซึ้งมาก เพราะมันได้ไขความคิด และช่วยแก้ปมปัญหาหลายอย่างให้กับนักวิทยาศาสตร์ เช่น ถ้าคนบนรถไฟถือกระบอกซึ่งแช่แข็งอิเล็กตรอนไว้กับตัว เขาจะวัดได้ว่ากระบอกนั้นมีประจุไฟฟ้าอยู่จำนวนหนึ่ง แต่เราที่อยู่กับที่บนพื้นโลก จะตรวจพบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าวิ่งวนอยู่รอบๆ กระบอกอิเล็กตรอน ถ้าไม่มีทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ คนสองคนที่สังเกตผลได้ต่างกันคงจะเถียงกันไม่จบ คนหนึ่งว่า "มีไฟฟ้าแต่ไม่มีแม่เหล็ก" อีกคนว่า "มีทั้งแม่เหล็กและไฟฟ้า" แต่เมื่อมีทฤษฎีสัมพัทธภาพ เราจะได้แง่คิดทันทีว่า "อ้อ ที่จริงแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสิ่งเดียวกัน แสดงออกมาเป็นสิ่งต่างกัน"

ทฤษฎีที่รวมความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ทฤษฎีหนึ่ง (แต่เผอิญค้นพบมาก่อนไอน์สไตน์ โดย Maxwell ตั้งแต่ปี 1873 ไอน์สไตน์มาช่วยให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างง่ายๆ มากขึ้น ถ้าอยากจะรู้ว่าการเชื่อมแม่เหล็กไฟฟ้าสำคัญมากขนาดไหน ก็อาจจะมองไปรอบๆ ตัวเรา เพราะไฟฟ้า วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ เครื่องบิน ยานอวกาศ ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ ทั้งหมดอาศัยสมการของ Maxwell ทั้งสิ้น)

ในลักษณะเช่นเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งอาจสังเกตพบว่าสิ่งหนึ่งเป็นมวลสาร แต่อีกคนในอีกสถานะหนึ่งค้นพบว่า มันเป็นพลังงาน ทั้งสองคนต่างเป็นฝ่ายถูกต้อง ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ช่วยให้เรารู้ได้ว่า พลังงานและมวลสารเป็นสิ่งเดียวกัน แสดงออกมาในภาวะต่างๆ กันเท่านั้น

นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังเรียกกระบวนทัศน์ของไอน์สไตน์ ซึ่งบอกให้ทุกคนอยู่ในส่วนย่อยๆ ของตน แต่ก็เคารพทุกๆ คน ว่าคือหลัก "ประชาธิปไตย" ที่แท้จริง


___________________________________________________________________________
วิธีคำนวณสูตร E=mc2 โดยคณิตศาสตร์ระดับมัธยม

บทความพิเศษ  ธีรยุทธ บุญมี  มติชนรายสัปดาห์  วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1297

การค้นพบที่มีชื่อเสียงที่สุดคือสมการ E=mc2 ซึ่งไอน์สไตน์บอกกับเราว่า มวลสารกับพลังงานที่จริงเป็นสิ่งเดียวกัน ที่แสดงออกมาในรูปที่ต่างกัน หลักสัมพัทธ์ของไอน์สไตน์ที่บอกว่า สิ่งที่ผู้สังเกตทุกคนสังเกตได้ แม้จะอยู่ในสภาวะความเร็วที่ต่างๆ กันไป ล้วนเป็นความจริง ความถูกต้องทั้งสิ้น นี้แม้ฟังดูง่าย เป็นประชาธิปไตยดี แต่พอเรายอมรับความคิดใหม่นี้ของไอน์สไตน์ เราจะพบความมหัศจรรย์ของจักรวาล พบปริศนาที่น่างวยงง

(คนส่วนใหญ่ที่ได้ฟังผลซึ่งเกิดจากทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะเป็นครั้งแรกแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่เชื่อ และมักจะถามว่าเป็นไปได้อย่างไร ? แต่ขอให้เชื่อเถิด เพราะมีการทดสอบทดลองมาแล้วจนนับครั้งไม่ถ้วน ล้วนปรากฏว่าทฤษฎีไอน์สไตน์ถูกต้อง โดยมีโอกาสผิดพลาดน้อยมาก ในการทดลองบางครั้งผิดพลาดเพียง 1 ในล้านล้านส่วน ทฤษฎีควอนตัมก็มีโอกาสผิดพลาดเพียง 1 ในพันล้านส่วน)

ไอน์สไตน์บอกกับเราว่า คนที่เคลื่อนที่จะวัดระยะทางได้สั้นกว่าคนที่อยู่กับที่ พวกเขาจะวัดมวลสาร เวลา ได้มากกว่าคนที่อยู่กับที่ เช่น ผู้ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง 0.8 ของความเร็วแสง เขาจะพบว่าไม้เมตรยาว 1 เมตร ลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนเวลาบนนาฬิกาข้อมือ 1 ชั่วโมง ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 1/2 ชั่วโมง เวลานี้จะรวมถึงเวลาชีวะ คือความเร็วในการแก่ตัวด้วย จึงเกิดปริศนาฝาแฝดว่า ถ้าแฝดคนหนึ่งเดินทางด้วยความเร็วสูงไปในอวกาศ แล้วย้อนกลับลงมา อาจพบว่าคู่แฝดบนโลกอายุ 80 ปีแล้ว ขณะที่ตัวเองยังอายุ 20 ปีเศษๆ เหมือนเดิม

นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์ความถูกต้องของทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะของไอน์สไตน์ อย่างชนิดไม่ต้องให้มีใครมาเถียงด้วยการผลิตระเบิดปรมาณู ซึ่งยืนยันสูตร E=mc2 อย่างแม่นยำน่าสะพรึงกลัว มีการทดสอบเพื่อวัดเวลาที่เพิ่มขึ้น และระยะทางที่หดสั้นลงหลายหนในยานอวกาศรุ่นต่างๆ ซึ่งส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก ซึ่งก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องหมดทุกอย่าง นักวิทยาศาสตร์ตรวจจับอนุภาคซึ่งเกิดจากรังสีคอสมิกจากดวงอาทิตย์วิ่งมากระทบชั้นบรรยากาศได้บนพื้นโลก ทั้งๆ ที่เมื่อคำนวณอายุขัยของมันตามทฤษฎีแล้ว จะสามารถเคลื่อนที่จากจุดแตกตัวได้ไม่กี่เมตร แต่มันวิ่งลงมาถึงพื้นโลกจนตรวจจับได้ ไม่ใช่เพราะมันวิ่งเร็วอย่างเดียว แต่เป็นเพราะช่วงอายุขัยหรือเวลาของมันยืดยาวขึ้นด้วย (ทั้งหมดนี้ตรงตามที่ไอน์สไตน์คำนวณไว้ทุกประการ)

ความคิดเรื่องภาวะสัมพัทธ์ของไอน์สไตน์มีผลกระทบรุนแรงคล้ายคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ไม่เพียงกระทบโลกวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังกระทบโลกวิทยาศาสตร์ สังคม โลกแห่งปรัชญา และโลกแห่งศิลปะด้วย ในช่วง 1910 Durkheim ชาวฝรั่งเศส ผู้ถือเป็นบิดาของวิชาสังคมวิทยา ก็เสนอแนวคิดซึ่งตีความเชิงสัมพัทธ์ได้ว่า พฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ถูกกำหนดโดยสังคม ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จากแต่ละสังคมจะมีความคิด พฤติกรรมต่างๆ กันไปตามลักษณะของสังคมนั้นๆ

และที่สำคัญมากก็คือ ทฤษฎีภาษาศาสตร์ของ Ferdinand de Saussure ซึ่งถือเป็นบิดาของวิชาสัญศาสตร์ (Semiology) และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดปรัชญาโครงสร้างนิยมและหลังโครงสร้างนิยม (Post Structuralism) ซึ่งก็คือปรัชญาหลังสมัยใหม่นั่นเอง

Saussure เสนอทฤษฎีที่ฟังดูแล้วไม่ต่างไปจากทฤษฎีของไอน์สไตน์เลยก็คือ เขามองภาษาเป็นระบบของความสัมพันธ์ (หรือสัมพัทธ์) "ในระบบภาษามีแต่เพียงความสัมพันธ์และความต่าง (ซึ่งก็คือความสัมพัทธ์) โดยไม่มีความหมายที่สัมบูรณ์เลย (ไม่มี positive term ซึ่งก็คือไม่มีถ้อยคำที่มีความหมายในตัวเองโดยสมบูรณ์)"

ภาพผู้หญิงร้องไห้(1937) โดย ปิกาสโซ

ภาพ เวลาที่หลอมเหลว (1931) โดยDali

ในด้านศิลปะ ปิกาสโซและบร๊ากเป็นผู้บุกเบิกศิลปะ Cubism ในราวปี 1909 ศิลปะ Cubism เป็นศิลปะที่เริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับ Space มีการฉีกรื้อคติเกี่ยวกับ space เดิมซึ่งแน่นอนคงตัว มาเป็น space ที่แยกออกเป็นส่วนๆ คล้ายสัมพันธ์กัน แต่ละส่วนมองวัตถุ ผู้หญิง รูปร่างคน จากแง่มุมที่ต่างๆ กัน เช่น จากด้านตรง ข้าง ด้านหลัง ปิกาสโซถือว่าแต่ละมุมมองมีสิทธิมีฐานะที่จะปรากฏในรูปได้ แล้วเอาเรียงต่อกันให้เกิดเป็นมุมมองใหญ่เดียวกัน ในภาพหญิงสาว ผู้หญิงร้องไห้ ม้าเจ็บปวด กระทิงดุ ฯลฯ

ในแง่นี้เท่ากับว่าปิกาสโซให้คุณค่าแก่ทุกมุมมองเท่าๆ กัน ตามคติคล้ายทฤษฎีสัมพัทธภาพเช่นกัน ศิลปินคนอื่น เช่น Marcel Proust นักเขียนมีชื่อ ยอมรับอิทธิพลความคิดของทฤษฎีสัมพัทธภาพโดยตรง เขากล่าว่า "มีเรขาคณิตของแผ่นระนาบ ขณะเดียวกันก็มีเรขาคณิตของอวกาศ สำหรับผมนิยายมิใช่เป็นเพียงจิตวิทยาในเชิงระนาบเท่านั้น แต่เป็นจิตวิทยาของเวลาและอวกาศด้วย"

เวลาเขียนรูป ปิกาสโซเอามุมมองหลากหลายมุมมองมาตีแผ่ ไม่ใช่มุมมองเดียวที่สมบูรณ์แบบจิตรกรในยุคคลาสสิค ในการบรรยายบุคลิกตัวละคร

Proust ก็ไม่ยอมรับบทบาทของผู้ประพันธ์ในฐานะผู้มีความรู้อย่างสมบูรณ์ และสามารถพรรณนาทุกๆ ด้านของตัวละคร Proust มองตัวละครของเขา "กระจัดกระจายอยู่ในอวกาศและเวลา" F. T. Marinetti ผู้ให้กำเนิดศิลปะแบบ Futurist เขียนในคำประกาศแรกของกลุ่มว่า "เวลาและอวกาศตายไปแล้วเมื่อวานนี้" กลุ่ม Dada และ Surrealist ได้อิทธิพลจากไอน์สไตน์ชัดเจนดังภาพเขียนเวลาที่หลอมเหลวของ Dali

นอกจากนี้ ในวงการปรัชญศาสน์ (Theosophy) ในกลุ่มของ Steiner ซึ่งพยายามจะเชื่อมโยงศาสนาเข้ากับวิทยาศาสตร์หรือปรัชญาวิทยาศาสตร์ ก็ได้อิทธิพลจากแนวทฤษฎีของไอน์สไตน์มาเช่นกัน โดยตีความว่า การปรากฏอย่างปาฏิหาริย์ของ "เหตุการณ์ศักดิ์สิทธิ์" ต่างๆ เป็นไปได้ เนื่องจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์โผล่ตัวมาจากมิติพิเศษที่นอกเหนือไปจาก 3 มิติของเรา จินตนาการว่ามดขังนักโทษมดไว้ในกรงขัง 2 มิติของตน สมมติว่ามดไม่สามารถเงยหน้ามองด้านบน-ล่างได้ จะมองได้ก็แต่ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง เท่านั้น ถ้ามนุษย์ (พระเจ้า) ใช้มือหยิบนักโทษมดขึ้นมาด้านบน มดผู้คุมจะตื่นตกใจว่ามดนักโทษหายตัวไปเฉยๆ (เพราะพวกเขาไม่สามารถมองมิติพิเศษคือด้านบน-ล่างได้)

วงการปรัชญศาสน์จึงฮือฮากันกับการตีความปาฏิหาริย์โดยมิติพิเศษที่เพิ่มขึ้นมาตามทฤษฎีของไอน์สไตน์กันมาก

**สำหรับผู้อ่านที่มีพื้นคณิตศาสตร์ ไอน์สไตน์บอกว่า มวลสารที่เคลื่อนที่ m = m0/(1-v2/c2)? m0 = มวลสารที่หยุดนิ่ง v = ความเร็วของวัตถุ c = ความเร็วแสง จากสมการนี้ใช้การกระจายแบบ binomial ซึ่งนักเรียนมัธยมปลายก็เรียนกันแล้ว จะพบว่า (1-v2/c)? = 1- v2/2c2… เมื่อแทนค่าลงไปในสมการจะได้ (m0-m)c2 = ?mc2 = ?mv2 = E ซึ่งเป็นเค้าร่างที่จะบอกเราว่า พลังงาน = มวลสารที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง (ไอน์สไตน์พิสูจน์สมการนี้อย่างละเอียดลึกซึ้งกว่านี้) สมการดังกล่าวให้ข้อสรุปที่น่าสนใจ กล่าวคือ ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับแสง ค่าในวงเล็บจะเท่ากับ (1-1) = 0 จากคณิตศาสตร์เบื้องต้นอะไรหารด้วยศูนย์ย่อมเท่ากับค่านับไม่ถ้วน infinity ดังนั้น ถ้าวัตถุที่เคลื่อนด้วยความเร็วแสง มวลสารจะเพิ่มเป็นอนันต์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะต้องใช้พลังงานมหาศาลมากเกินไปที่จะขับเคลื่อนวัตถุให้เร็วขนาดนั้นได้ สมการที่บอกว่าความยาวจะหดสั้นลงคือ x = x0(1-v2/c2)? ก็น่าสนใจ เพราะถ้ามีสิ่งที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับแสง (เช่น อนุภาคแสงคือโฟตอนเอง หรืออนุภาคนิวตริโน v จะเท่ากับ c และค่าในวงเล็บจะเท่ากับ 0 เช่นกัน แสดงว่าแสงแม้จะวิ่งเร็วมากคือ 186,000 ไมล์/วินาที มันจะรู้สึกว่ามันไม่ได้เดินทางเลย เพราะระยะทางที่มันเดินทางเป็น 0 ตลอดเวลา นี่เป็นการค้นพบครั้งสำคัญที่อาจทำให้เราเข้าใจจักรวาลตอนเริ่มต้นได้ เพราะในตอนเริ่มต้น จักรวาลซึ่งมีแต่อนุภาคหรือพลังงานที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสง จักรวาลจะมีขนาดเป็น 0 หรือ infinity หรือค่าเท่าใดก็ไม่สำคัญ เพราะอนุภาคเหล่านั้นจะไม่รู้สึกว่าตัวเองกินระยะทางเลย ปัญหาขนาดของจักรวาลจึงเป็นปัญหาของมนุษย์ที่มีทิฐิสร้างขึ้นมาให้เป็นปัญหาเอง แต่ไม่ใช่ปัญหาของอนุภาคเหล่านั้น และเวลาสำหรับแสงหรือพระเจ้าในช่วงกำเนิดจักรวาลก็จะมีค่าเป็นอนันต์ คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดข้นเลย จึงไม่ต้องตั้งคำถามว่า ก่อนหน้ามีจักรวาลจะเป็นอย่างไร


___________________________________________________________________________
วิถีขบถในชีวิตไอน์สไตน์

บทความพิเศษ ธีรยุทธ บุญมี มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1299

ชีวิตของไอน์สไตน์จากเด็กยากจน มาเป็นบุรุษที่มีชื่อเสียงก้องโลกที่สุดในหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา และอาจจะยังอยู่สืบไปอีกหลายศตวรรษ ฟังดูแล้วคล้ายเป็นเทพนิยาย แต่ในชีวิจริงของไอน์สไตน์มีช่วงของความทุกข์ยากตกต่ำ การดิ้นรนต่อสู้ อันตราย การคุกคามจนถึงขั้นชีวิต แรงกดดันทั้งชีวิตการงานและความผิดพลาดทั้งหนักและเบา

ไอน์สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 1879 ในเมือง Ulm ประเทศเยอรมนี ไอน์สไตน์เป็นนักอุตสาหกรรมที่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก Pauline แม่ของไอน์สไตน์เกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง และได้ช่วยเหลือเกื้อกูลไอน์สไตน์ในยามตกต่ำ แต่ชีวิตไอน์สไตน์ก็มาตกต่ำอย่างมากในช่วงเป็นวัยรุ่นจนจบมหาวิทยาลัย เพราะธุรกิจของพ่อล้มละลายต้องย้ายไปอิตาลี ตัวไอน์สไตน์ถูกทิ้งให้เรียนอยู่ในโรงเรียนประจำในมิวนิกซึ่งเข้มงวด จนไอน์สไตน์ซึ่งชอบโดดเรียนและละเมิดกฎเกณฑ์เกือบจะถูกไล่ออก

ไอน์สไตน์หาทางออกแบบเด็กวัยรุ่น ด้วยการให้หมอช่วยเขียนจดหมายว่าเขาเป็นโรควิตกกังวลและจิตใจห่อเหี่ยว จนอาจเป็นโรคประสาทได้ถ้าไม่ได้กลับไปอยู่กับครอบครัว พ่อแม่ของไอน์สไตน์นั้นกังวลมากและตัดสินใจส่งเสียให้ไอน์สไตน์ได้ไปเรียนที่วิทยาลัยโพลีเทคนิคซูริก (ซึ่งมีฐานะเท่ามหาวิทยาลัย) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทั้งที่ยังไม่จบมัธยมปลาย (ระบบการศึกษาสวิสในสมัยนั้นยังอนุญาตให้นักเรียนสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้โดยวัดจากผลสอบล้วนๆ)

ผลปรากฏว่าไอน์สไตน์สอบตกในครั้งแรก และมาได้เข้าเรียนในปีที่ 2

ไอน์สไตน์ดูจะมีพรสวรรค์ในด้านทฤษฎีฟิสิกส์มากกว่าการทดลองทางฟิสิกส์ ในช่วงวัยเด็กซึ่งครอบครัวยังมีฐานะดี เพื่อนชาวยิวที่ยากจนคนหนึ่งชื่อ Talmud มาอาศัยกินอาหารเย็นที่บ้านเป็นประจำ และชักชวนให้ไอน์สไตน์อ่านหนังสือตำราเรขาคณิตและปรัชญาของ Kant ซึ่งมีอิทธิพลต่อไอน์สไตน์มาตลอดชีวิต (ปรัชญาของ Kant บอกว่า โลกหรือจักรวาลมีโครงสร้างลี้ลับบางอย่างที่เป็นสากล เป็นแก่นแกนอันแท้จริงที่กำหนดความเป็นไปของโลกวัตถุที่เราสังเกตได้ในจักรวาล ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปและความพยายามรวมแรงต่างๆ (Unified Field Theory ของไอน์สไตน์ก็ตั้งอยู่บนแนวปรัชญาเช่นนี้)

ไอน์สไตน์ซึ่งมีแนวโน้มที่ชื่นชอบปรัชญาหลักคิดและทฤษฎีฟิสิกส์มาแต่ต้น เขาชอบงานสร้างสรรค์ทางความคิดมากกว่าการถูกจำกัดอยู่ในกรอบกฎเกณฑ์ต่างๆ ไอน์สไตน์ซึ่งได้คะแนนแย่มากในหลายวิชา เช่น วิชาการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งไอน์สไตน์ไม่สนใจทำตามขั้นตอนกระบวนการทดลองซึ่งเขาคิดว่าไม่เป็นประโยชน์ จนครูสอนเคยบ่นใส่ไอน์สไตน์ว่า "คนอย่างเธอไม่มีอนาคตในวงการฟิสิกส์หรอก ที่ดีเธอควรเปลี่ยนไปเรียนหมอ วรรณคดี หรือไม่ก็กฎหมายเสียดีกว่า"

ครูคนนี้ซึ่งควรสนับสนุนให้ไอน์สไตน์ได้งานผู้ช่วยอาจารย์ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่นักเรียนทุกคนควรได้เมื่อจบมหาวิทยาลัย ปฏิเสธที่จะสนับสนุนไอน์สไตน์ และยังไม่แนะนำให้อาจารย์คนอื่นๆ รับไอน์สไตน์เข้าทำงานด้วย ซึ่งปิดความหวังและอนาคตของไอน์สไตน์ในแวดวงวิทยาศาสตร์ลงเกือบสิ้นเชิง

ปี 1900 ซึ่งไอน์สไตน์เรียนจบ เป็นปีที่ย่ำแย่ที่สุดของเขา ทางบ้านขาดเงินสนับสนุน ตัวเองหางานทำไม่ได้ คนรักของไอน์สไตน์ก็สอบตกซ้ำสอง จึงหมดโอกาสที่จะหางานด้านวิชาการได้ Mileva Maric คนรักของไอน์สไตน์มักถูกเขียนถึงในแง่ไม่ดีนัก ในแง่ความเป็นผู้หญิงร้าย เห็นแก่ตัว แต่ในแง่หนึ่งเธออาจเป็นเฟมินิสต์คนแรกๆ ของโลกก็ได้

เธอเป็นชาวเซอร์เบียจากคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งปกติไม่มีชื่อเสียงในด้านฟิสิกส์ แต่เธอรักวิชานี้ แต่โชคไม่ดีที่ประเทศเยอรมนีในช่วงนั้นยังไม่ยอมรับผู้หญิงเข้าเรียนแผนกฟิสิกส์ เธอจึงต้องดิ้นรนไปเรียนที่ซูริกในชั้นเรียนเดียวกับไอน์สไตน์ เธอเป็นคนมั่นใจในตัวเอง และไม่สนใจในความเก่งกาจของไอน์สไตน์แต่อย่างใด ครอบครัวและเพื่อนๆ ไม่ค่อยเห็นด้วยกับความรักของคู่นี้ แต่ทั้งสองคนก็ยังหัวแข็งและใฝ่ฝันที่จะค้นความลี้ลับของจักรวาลร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อเธอสอบตกเป็นครั้งที่สอง เธอเสียใจจนล้มเลิกความฝันเดิม และเดินทางกลับบ้านเกิดในปี 1901 ในปี 1900 ซึ่งไอน์สไตน์พยายามดิ้นรนหางานทำ ด้วยการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้กับวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง รวมทั้งรับสอนพิเศษแก่เด็กมีสตางค์ทั่วไป

เขาได้ข่าวที่เจ็บปวดว่า Mileva ได้คลอดลูกสาวของพวกเขา ซึ่งไอน์สไตน์ไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าแม้กระทั่งรูปถ่าย เพราะยังเป็นปมปริศนาอยู่ว่า ลูกสาวของไอน์สไตน์ตายเพราะเป็นไข้ร้ายแรงชนิดหนึ่ง หรือถูกมอบเป็นบุตรบุญธรรมของครอบครัวอื่น

ในปี 1902 ไอน์สไตน์เขียนจดหมายถึงศาสตราจารย์ Ostwald แห่งเมือง Leipzis เพื่อของานทำ "ท่านครับ ผมได้แรงบันดาลใจจากหนังสือเกี่ยวกับวิชาเคมีของท่าน ผมจึงถือโอกาสนี้ส่งสำเนาผลงานชิ้นหนึ่งของผมมาให้ท่าน เพื่อให้ท่านสนใจว่าจะมีโอกาสให้นักฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ มาช่วยท่านทำงาน ผมต้องถือวิสาสะขอร้องท่านเช่นนี้ ก็เพราะผมอยู่ในภาวะที่ขัดสนอับจนจริงๆ ครับ …" ไอน์สไตน์ไม่ได้รับจดหมายตอบรับให้เข้าทำงาน แต่อีก 10 ปีให้หลัง ศาสตราจารย์คนเดียวกันนี้เป็นคนแรกที่เสนอให้ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบล ช่วงนี้เป็นช่วงที่เคราะห์ร้ายได้กระหน่ำซ้ำไอน์สไตน์ในวัยหนุ่ม ทั้งการพลัดพรากจากภรรยาและลูก ความอัตคัดขัดสน เราไม่รู้ว่าไอน์สไตน์เคยคิดฆ่าตัวตายหรือไม่ แต่ประโยคหนึ่งที่เขาเคยเขียนไว้ก็สะท้อนความห่อเหี่ยวที่รุนแรงในชีวิตของเขา "ผมไม่มีค่าความหมายอะไรเลย นอกจากการเป็นภาระให้กับญาติๆ … จะเป็นสิงที่ดีขึ้นแน่นอน ถ้าหากว่าผมไม่เคยมีชีวิตอยู่เลย"

ตลอดชีวิตไอน์สไตน์โชคดีตรงที่ได้เพื่อนที่ดี นอกจากเพื่อนในวัยเด็กที่ชักชวนให้เขาอ่านหนังสือแล้ว Marcel Grossman เพื่อนประจำชั้นเรียนในมหาวิทยาลัยซูริก ซึ่งภายหลังได้เป็นเพื่อนช่วยคิดทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปกับไอน์สไตน์ ก็เป็นคนแนะนำให้ไอน์สไตน์ได้เข้าทำงานตำแหน่งเสมียนที่สำนักงานจดสิทธิบัตรของกรมไปรษณีย์ที่กรุงเบิร์น ในปี 1902 ที่นี่เองเป็นจุดพลิกผันชีวิตของไอน์สไตน์และวงการวิทยาศาสตร์โลก

นับตั้งแต่ปี 1666 ซึ่งคนคนเดียว คือนิวตันในวัย 23 ปี ได้ค้นพบทฤษฎีแรงดึงดูดโลก ค้นพบคณิตศาสตร์แบบแคลคูลัส ค้นพบทฤษฎี Binomial และทฤษฎีเกี่ยวกับสี ก็มีปี 1905 ซึ่งไอน์สไตน์โดยตัวเองคนเดียวได้นำเสนอบทความ 5 ชิ้น

ใน 5 ชิ้นนี้มี 2 ชิ้นที่เปลี่ยนแปลงโลกวิทยาศาสตร์ในระดับกระบวนทัศน์ และยังคงเป็นกระบวนทัศน์หลักให้กับทฤษฎีฟิสิกส์อยู่ถึงปัจจุบัน

กระบวนทัศน์แรก กระบวนทัศน์แบบควอนตัม คือการมองว่าแรงมีลักษณะเป็น "ทวิภาวะ" (duality) คือเป็นทั้งคลื่นและอนุภาค และพลังงานของคลื่นนี้มีค่าเท่ากับค่าคงตัว (h หรือ Plank"s constant) คูณด้วยความถี่ของคลื่น

กระบวนทัศน์ที่ 2 คือ กระบวนทัศน์สัมพัทธภาพที่บอกว่า ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนอยู่ในภาวะเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันไป แต่ละสิ่งล้วนมีฐานะทัดเทียมกันในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นที่มาของทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะ

3 ใน 5 บทความของไอน์สไตน์ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Annalen der Physik ฉบับที่ 17 ในเดือนกันยายน 1905 และถือเป็นฉบับที่สำคัญที่สุด ในปี 1994 ฉบับจริงของนิตยสารเล่มนี้ขายได้ราคาเล่มละ 600,000 บาท

ในช่วงต้นของการตีพิมพ์บทความไม่มีปฏิกิริยาขานรับใดๆ จากแวดวงวิทยาศาสตร์เลย ไม่มีวี่แววว่าการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ได้เกิดขึ้นแล้ว แต่พอถึงปี 1906 ก็เริ่มมีการถกเถียงพูดคุยกันมากขึ้น จนแว่วไปถึง Max Planck ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นบิดาแห่งสมการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ของเยอรมันคนหนึ่ง เขาจึงได้ส่งนักวิทยาศาสตร์ผู้ช่วย Max von Laue ให้มาพบเสมียนหนุ่มที่กรุงเบิร์น (ทั้งคู่ได้เป็นเพื่อนที่ดีต่อกันไปตลอดชีวิต) จึงช่วยให้ชื่อเสียงของไอน์สไตน์โด่งดังยิ่งขึ้น

ในปี 1908 มีตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยซูริกว่างลง คู่แข่ง 2 คนที่จะชิงตำแหน่งนี้ก็คือไอน์สไตน์กับ Fredrich Adler ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวยิวเหมือนไอน์สไตน์ Adler มีชื่อเสียงในวงการมาก่อนและเป็นลูกชายของผู้ก่อตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตยของออสเตรีย ซึ่งเป็นที่คาดหมายว่า Adler จะได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งนี้แน่นอน แต่ที่ผิดความคาดหมายก็คือ Adler ซึ่งเป็นนักอุดมคติคนหนึ่ง ตระหนักถึงความสามารถพิเศษของไอน์สไตน์ จึงเขียนจดหมายยกย่องไอน์สไตน์อย่างจริงใจ เพื่อเปิดทางให้ไอน์สไตน์ได้รับตำแหน่งสำคัญนี้ และแผ้วทางให้ไอน์สไตน์ได้เข้าสู่โลกวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ แต่ก็เป็นโศกนาฏกรรมชีวิตเช่นกัน

เพราะในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 Adker คนเดียวกันนี้ได้เปลี่ยนอุดมคติจากวิทยาศาสตร์ไปสู่การเมือง แล้วลอบสังหารท่านเคาต์ Karl von Sturgkh นายกรัฐมนตรีเผด็จการในสมัยนั้น เขาโดนจับและมีโอกาสถูกตัดสินประหารชีวิตสูงมาก ไอน์สไตน์ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากแล้วในขณะนั้น เสนอตัวให้การเพื่อเป็นประโยชน์ต่อจำเลยอย่างไม่ลังเล แต่ศาลไม่ได้เรียกตัวเขา

Adler ถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ด้วยจดหมายของไอน์สไตน์และคนอื่นๆ ช่วยทำให้เขาได้รับการลดโทษเหลือเป็นจำคุกตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลสมัยสงครามล้มลงเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติ Adler ได้อิสรภาพ ได้รับเลือกเข้าสู่รัฐสภาและเป็นผู้นำที่มีชื่อเสียงของขบวนกรรมกรต่อมา

ในปี 1912 ไอน์สไตน์ได้รับเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลเป็นครั้งแรก แต่คณะกรรมการยังไม่เข้าใจความสำคัญของทฤษฎีสัมพัทธภาพ รางวัลจึงตกเป็นของนักวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาการสร้างประภาคารสำหรับการเดินเรือแทน

ในปี 1913 ไอน์สไตน์ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งราชบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์แห่งปรัสเซียที่ทรงเกียรติ ในปี 1914 เขาย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลินตามคำเชิญของ Max Planck

ปี 1915 หลังจากมีลูกกับไอน์สไตน์ 2 คน Mileva ก็ตัดสินใจแยกทางกับไอน์สไตน์ โดยชนะคดีในการขอสิทธิเลี้ยงดูลูก ซึ่งเป็นความทุกข์ใจครั้งใหญ่อีกครั้งของไอน์สไตน์

ปี 1917 สุขภาพของไอน์สไตน์เริ่มแย่ลงอย่างมาก ด้วยโรคร้ายที่คาดการณ์ว่าจะเป็นมะเร็งในขั้นต้น แต่การตรวจภายหลังพบว่าเป็นเพียงโรคกระเพาะอักเสบ ช่วงนี้ Elsa ลูกพี่ลูกน้องคนหนึ่งของไอน์สไตน์เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด จนในที่สุดพวกเขาก็ได้แต่งงานกันในปี 1919

ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่มีการพิสูจน์ได้ว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ถูกต้อง ซึ่งเป็นงานที่สำคัญและยิ่งใหญ่กว่างานทั้งหมดที่ไอน์สไตน์ได้เสนอมา


___________________________________________________________________________
ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity)

บทความพิเศษ  ธีรยุทธ บุญมี  มติชนรายสัปดาห์  วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1300

ในตอนที่ผ่านมาผู้เขียนได้ชี้ว่า แม้แต่คนที่นั่งอยู่ในรถยนต์บนทางด่วนหรือไฮเวย์กับคนที่เดินถนน จะอยู่ในเวลาอวกาศที่ต่างๆ กันไป บางคนเวลาสั้นลง ระยะทางยาวขึ้น บางคนระยะทาง-เวลาเป็นปกติ เวลา-อวกาศจึงไม่เป็นผืนเดียวกัน การสังเกตการณ์ของแต่ละคนก็จะต่างกันไปหมด (วัวควายข้างทางตัวสั้นลง เดินเร็วขึ้น ช้าลง ฯลฯ) ถ้าจะเทียบเคียงกับศาสนาพุทธก็คล้ายกับว่า แต่ละคนอยู่ในสถานะต่างๆ กัน ก็เพราะบุญกรรมทำแต่งมาให้ต่างๆ กัน พวกเขามองโลก มองทุกข์สุขของชีวิตไปต่างๆ กัน ตามกรรมตามทิฐิอุปาทานที่มีมาต่างๆ กัน

ไอน์สไตน์กับ Minkowski บอกว่า ถ้าเรายกระดับตัวเองไปอยู่ในโลก 4 มิติ ที่เชื่อมเวลา-อวกาศเข้าด้วยกัน คือไปอยู่ในมิติที่สูงขึ้น เช่น แทนที่จะมองระยะทาง มองความต่างเวลาแบบเดิม ให้มองเป็นระยะหว่างของเวลา-อวกาศ (ศัพท์ศาสนาพุทธก็คือ ไปอยู่ในภพภูมิที่สูงขึ้น) เราจะพบว่า ทฤษฎีฟิสิกส์ต่างๆ นั้นง่ายขึ้น อธิบายโลกได้มากขึ้น เช่น อธิบายมวลสารเป็นพลังงาน อธิบายแม่เหล็กเป็นไฟฟ้าได้

ถ้าดึงมาเทียบเคียงศาสนาพุทธอีกก็คล้ายว่า ถ้ายกระดับจิตใจเราสูงขึ้น ก็จะได้ค้นพบกฎแห่งกรรม กฎอิทัปปัจจยตา หรือกฎความเป็นไปของโลก หลุดพ้นมาจากการมองโลกด้วยความเคยชินแบบเคลื่อนด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน การมองโลกในระดับมิติที่สูงขึ้นนี้ ต่อมาเป็นทิศทางใหญ่ในการทำความเข้าใจจักรวาลของนักวิทยาศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้เราจะพูดถึงความพยายามสำคัญอีกครั้งของไอน์สไตน์ในการขยายทฤษฎีสัมพัทธภาพจากเฉพาะไปสู่ทั่วไป

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเป็นความสำเร็จยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของไอน์สไตน์ เป็นกระบวนทัศน์ใหญ่ทางฟิสิกส์ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาทฤษฎีต่างๆ ตามหลังมาอีกมากมาย

การเคลื่อนที่ในจักรวาลมีเพียง 3 แบบคือ การหมุนรอบตัวเอง การเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วสม่ำเสมอ (หยุดนิ่งคือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับศูนย์) กับเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราเร่ง คือเร็วขึ้นเรื่อยๆ หรือความเร็วลดลงเรื่อยๆ หัวใจทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะ (Special Theory of Relativity) ก็คือ คนที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่างๆ กัน มีสถานะเท่าเทียมกันในการสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์

หัวใจของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity) โดยชื่อของมันก็บอกว่าครอบคลุมลักษณะการเคลื่อนที่ที่หลากหลายรูปแบบขึ้น กล่าวคือ ถ้ามีการเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร่ง (คือเร็วขึ้นเรื่อยๆ หรือลดความเร็วลงเรื่อยๆ) ต่างๆ กัน หรืออยู่กับที่ หรือด้วยความเร็วคงที่ ก็มีสถานะเท่าเทียมกันในการสังเกตทางวิทยาศาสตร์

ไอน์สไตน์กล่าวในปี 1915 ถึงการค้นพบว่าการเคลื่อนที่ทุกอย่างทัดเทียมกัน คือเป็นการเคลื่อนที่อย่างวิถีธรรมชาติทั้งหมดว่าเป็น "ความคิดที่ทำให้ผมมีความสุขที่สุดในชีวิต" ซึ่งไอน์สไตน์จะสรุปจุดนี้ได้ ไอน์สไตน์จะต้องหาทางพิสูจน์ว่า การเคลื่อนที่ในสนามโน้มถ่วงซึ่งทำให้เกิดอัตราเร่งเช่นกันเป็นสิ่งเดียวกัน ไอน์สไตน์จะทำได้หรือในเมื่อนิวตันได้ตั้งทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของเขามาได้ 200 ปีเศษ และก็ใช้ได้ผลในการปฏิบัติตลอดมา ?

ไอน์สไตน์เสนอทฤษฎีนี้ในปี 1915 ทฤษฎีได้รับการยืนยันในปี 1919 ซึ่งทำให้ไอน์สไตน์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลกยิ่งขึ้นไปอีก และได้รับการยกย่องจากหนังสือพิมพ์และวารสารชั้นนำของโลก เช่น Times ของลอนดอน New York Times กับอีกนับร้อยฉบับ ให้ทัดเทียมกับนิวตันและ Copernicus

จากหลักแห่งความสัมพัทธ์ เนื่องจากการบอกว่าทุกๆ จุด ทุกๆ ส่วนของจักรวาล ไม่ว่าจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าไร ล้วนมีศักดิ์มีฐานะเท่าเทียมกัน ถือเป็นการปฏิวัติความคิดครั้งใหญ่ ไม่แพ้ความคิดของ Copernicus หรือนิวตัน

หลักการใหม่นี้ส่งผลต่อการปฏิวัติความคิดใหญ่ของนักคิดตะวันตกทุกสาขาวิชา ไม่ใช่เฉพาะแต่วงการวิทยาศาสตร์เท่านั้น เนื่องจากประวัติศาสตร์ความคิดของยุโรปสมัยใหม่ซึ่งเริ่มจากการปฏิวัติ renaissance หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ที่จริงก็คือปรัชญาความคิดแบบมนุษยนิยม กล่าวคือ การลดฐานะของพระเจ้าลงแล้วเอามนุษย์เข้าไปแทนที่ เกิดลัทธิมนุษยนิยม คือมนุษย์เป็นใหญ่ เป็นอธิการ (ประธาน) ของความรู้ เป็นผู้กำหนดศีลธรรมจรรยาของตัวเอง เป็นผู้กำหนดว่าความงามคืออะไร การเมืองควรจะต้องเป็นอย่างไร

แนวคิดมนุษยนิยมนี้นิวตันได้รับเอามาสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลแบบภาพนิ่ง ที่มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ เป็นอธิการที่รับรู้ภาพรวมของจักรวาลในลักษณะภาพนิ่งนี้ได้ และคำนวณการเคลื่อนไหวของวัตถุในจักรวาลภาพนิ่งนี้ได้ ก็เป็นหลักคิดเดียวกับลัทธิมนุษยนิยมหรือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง

ในประเทศตะวันตกในยุคของไอน์สไตน์ ในทางการเมืองได้เคลื่อนตัวมาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ด้านสังคมวัฒนธรรมก็กำลังเคลื่อนตัวเช่นกัน ดังนั้น เมื่อไอน์สไตน์เสนอทฤษฎีซึ่งทำให้มนุษย์ไม่ว่าเป็นใครในสภาวะใดจะมีความทัดเทียมกันหมด (The Equivalence Principle) จึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และส่งผลสะเทือนต่อโลกศิลปวัฒนธรรมและสังคมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

แต่ก็มีคำถามต่อมาว่า ถ้าทุกๆ คนเป็นฝ่ายถูกต้อง จะมองอะไร จะสังเกตอะไรก็ถูกต้องใช้ได้หมด จักรวาลซึ่งมีผู้คนอยู่หลากหลายสถานะ (เช่น วิ่งด้วยความเร็วคงที่ หกคะเมนตีลังกา หมุนรอบตัวเอง หมุนรอบดวงอาทิตย์ ฯลฯ) จะมิกลายเป็นจักรวาลอนาธิปไตย ? เป็นอภิมหาโกลาหล ?

ไอน์สไตน์ย้ำหลักแห่งความทัดเทียม ไม่ใช่เท่าเทียม (ซึ่งตรงจุดนี้คนส่วนใหญ่มักมองข้ามไป และมองว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพบอกว่า มุมมองใดๆ ก็ย่อมถูกต้อง เท่าเทียมกันทั้งหมด) หลักแห่งความทัดเทียมนี้มีแง่มุมรายละเอียดซึ่งลึกซึ้งมาก ทั้งในทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และศาสตร์เกี่ยวกับสังคมและมนุษย์

แม้ไอน์สไตน์จะเคารพผลการสังเกตของแต่ละผู้สังเกตการณ์ แต่หลักแห่งความทัดเทียมไม่ได้บ่งบอกว่าทุกคนเท่าเทียมกันทั้งหมด สังเกตสิ่งต่างๆ ได้เท่ากัน เหมือนกันทั้งหมด การสังเกตสิ่งต่างๆ ซึ่งศัพท์ทางปรัชญาเรียกว่า phenomenon เป็นเปลือกหรือปรากฏการณ์มากกว่าเป็นแก่นแท้อาจได้ผลออกมาต่างกันได้

ไอน์สไตน์เสนอว่า ทฤษฎีฟิสิกส์ต้องมีลักษณะเป็นแก่นแท้ที่ไม่ผันแปร "ทฤษฎีฟิสิกส์จะเหมือนๆ กัน คือมีลักษณะคงรูป (invariant) ไม่ว่าจะสังเกตจากผู้สังเกตในสถานะใดๆ ก็ตาม" (ในที่นี้กล่าวโดยภาษาง่ายๆ ที่จริงไอน์สไตน์ค้นพบเฉพาะภาวะคงรูปของผู้ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วธรรมดาและเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร่งเท่านั้น ส่วนกฎแห่งสภาวะคงตัวค้นพบโดย Noether อัจฉริยะสตรีทางด้านคณิตศาสตร์ของโลกศตวรรษที่ 20 ส่วนกฎการคงรูปของการเคลื่อนที่แบบแปลกๆ เช่นใน internal space เป็นผลงานนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆ)

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แม้เราจะสังเกตได้ผลที่ต่างกัน แต่เมื่อสรุปเป็นทฤษฎีแล้วจะต้องได้ทฤษฎีที่เสมือนๆ กัน ในปี 1915 ไอน์สไตน์บรรลุแง่คิดนี้และเรียกมันว่า "ความคิดที่ทำให้ผมมีความสุขที่สุดในชีวิต" (The happiest thought of my life)

สูตรหรือสมการที่คงรูปคงตัว (invariant) ที่ไอน์สไตน์ค้นพบในปี 1915 นั้นทำให้เขาเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งอธิบายแรงโน้มถ่วงได้ถูกต้องกว่าของนิวตัน และเป็นที่มาของทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา (cosmology) ที่อธิบายกำเนิดจักรวาล การขยายตัวจักรวาล หลุมดำ ฯลฯ ได้

ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีที่ซับซ้อนยุ่งยากเพียงใด เช่น ทฤษฎีซุปเปอร์สตริง ทฤษฎี M ทฤษฎีทวิสเตอร์ ทั้งหมดล้วนต้องเริ่มต้นจากการค้นหาสูตร สมการ หรือสิ่งที่คงตัวคงรูป (invariant) ดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น

นี่จึงเป็นการปฏิวัติกระบวนทัศน์ใหญ่ เป็นมรดกล้ำค่าที่ไอน์สไตน์ทิ้งไว้ให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q2/article2005june18p4.htm



4

      

ใจความสำคัญ

เป็นพระประวัติตรัสเล่า ไม่มีคำเรียบเรียงของผู้แต่งคละปน
เพราะเป็นที่รวบรวมเฉพาะพระพุทธภาษิตที่ตรัสถึงประวัติของพระองค์เอง.
จากคัมภีร์พระไตรปิฎกล้วน เลือกเก็บเอามาร้อยกรองให้เป็นหมวดหมู่ ติดต่อกันเป็นลำดับ,
มุ่งแสดงหลักธรรมที่แนบอยู่ในพระชนม์ชีพของพระองค์ แทนการมุ่งทางตำนานประวัติ
หรือนิยายประวัติ เพื่อให้เป็นหนังสือส่งเสริมปฏิบัติธรรมเล่มหนึ่ง เป็นส่วนใหญ่
รวมทั้งเป็นแก่นแห่งเรื่องพุทธประวัติด้วย, เป็นส่วนพิเศษ.

– ผู้รวบรวม (พุทธทาสภิกขุ)


(โดยละเอียด)

อักษรย่อชื่อคัมภีร์ | วิธีใช้หนังสือเล่มนี้

ภาคนำ

ข้อความให้เกิดความสนใจในพุทธประวัติ (๑๒ เรื่อง)


โลกธาตุหนึ่ง ๆ มีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว (พ.ม.)
การปรากฏของพระตถาคตมีได้ยากในโลก (พ.ม.อ.)
โลกที่กำลังมัวเมา ก็ยังสนใจในธรรมของพระตถาคต (พ.ม.)
การมีธรรมของพระตถาคตอยู่ในโลก คือความสุขของโลก (พ.ม.)
พระตถาคตเกิดขึ้นเพื่อความสุขของโลก (พ.ม.)
พระตถาคตเกิดขึ้นในโลก เพื่อแสดงแบบแห่งการครองชีวิตอันประเสริฐแก่โลก (พ.ม.)
พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรมเพื่อความรำงับ, ดับ, รู้ (พ.ม.)
ธรรมชาติ ๓ อย่าง ทำให้พระองค์เกิดขึ้นเป็นประทีปของโลก (พ.ม.ส.)
ผู้เชื่อฟังพระตถาคต จะได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน (พ.ม.)
ทรงขนานนามพระองค์เองว่า "พุทธ"
เรื่องย่อ ๆ ที่ควรทราบก่อน
เรื่องสั้น ๆ ที่ควรทราบก่อน (อีกหมวดหนึ่ง)
(พ.ม.อ.)



ภาคนำ

ข้อความให้เกิดความสนใจในพุทธประวัติ (๑๒ เรื่อง)

โลกธาตุหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว

อานนท์! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะนั้น ย่อมรู้ว่า ข้อนี้มิใช่ฐานะ ข้อนี้มิใช่โอกาสที่จะมี คือข้อที่ในโลกธาตุอันเดียว จะมีพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ สององค์ เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่ก่อน ไม่หลังกัน. นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.

ส่วนฐานะ อันมีได้นั้น คือข้อที่ใน โลกธาตุอันเดียว มีพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะองค์เดียว เกิดขึ้น. นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้
.


บาลี พหุธาตุกสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๑๗๑/๒๔๕.
ตรัสแก่พระอานนท์ ที่เชตวัน.

 
การปรากฏของพระตถาคต มีได้ยากในโลก

ภิกษุ ท.! การมาปรากฏของ บุคคลเอก (ไม่มีใครซ้ำสอง) มีได้ยากในโลก. ใครเล่า เป็นบุคคลเอก? ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง เป็นบุคคลเอก (ไม่มีใครซ้ำสอง).

ภิกษุ ท.! การมาปรากฏของบุคคลเอกนี้แล มีได้ยากในโลก.


บาลี เอก, อํ. ๒๐/๒๙/๑๔๐.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.

      
โลกที่กำลังมัวเมา ก็ยังสนใจในธรรมของพระตถาคต

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุที่ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้นจึงเกิดมี ของน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี สี่อย่างนี้ปรากฏขึ้น. สี่อย่างอะไรเล่า?

๑. ภิกษุ ท.! ประชาชนทั้งหลาย พอใจในกามคุณ ยินดีในกามคุณบันเทิงอยู่ในกามคุณ, ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับกามคุณประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุ ท.! นี่คือของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่หนึ่ง, มีขึ้นมา เพราะการบังเกิดของตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

๒. ภิกษุ ท.! ประชาชนทั้งหลาย พอใจในการถือตัว ยินดีในการถือตัว บันเทิงอยู่ในการถือตัว, ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่กำจัดการถือตัวประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุ ท.! นี่คือของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่สอง, มีขึ้นมา เพราะการบังเกิดของตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

๓. ภิกษุ ท.! ประชาชนทั้งหลาย พอใจในความวุ่นวายไม่สงบยินดีในความวุ่นวายไม่สงบ บันเทิงอยู่ในความวุ่นวายไม่สงบ, ครั้นตถาคตแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบ ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุ ท.! นี่คือของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่สาม, มีขึ้นมา เพราะการบังเกิดของตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

๔. ภิกษุ ท.! ประชาชนทั้งหลาย ประกอบอยู่ด้วยอวิชชา เป็นคนบอด ถูกความมืดครอบงำเอาแล้ว, ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่กำจัดอวิชชาประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุ ท.! นี่คือของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่สี่, มีขึ้นมา เพราะการบังเกิดของตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.


บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๗/๑๒๘.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

      
การมีธรรมของพระตถาคตอยู่ในโลก คือความสุขของโลก

ภิกษุ ท.! เมื่อพระสุคตก็ดี ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี ยังคงมีอยู่ในโลกเพียงใด อันนั้นก็ยังเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก, เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท.! พระสุคตนั้นคือใครเล่า? คือตถาคต บังเกิดขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดี รู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. นี้คือ พระสุคต.

 ภิกษุ ท.! ระเบียบวินัยของพระสุคตนั้นคืออะไรเล่า? คือตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. ธรรมที่ตถาคตแสดง พรหมจรรย์ที่ตถาคตประกาศ นี้แล คือ ระเบียบวินัยของพระสุคต.

 ภิกษุ ท.! เมื่อพระสุคตก็ดี ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี ยังคงมีอยู่ในโลกเพียงใด อันนั้น ก็ยังเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก, เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, อยู่เพียงนั้น.


บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.

      
พระตถาคตเกิดขึ้นเพื่อความสุขของโลก

พราหมณ์เอย ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กลางคืนแท้ๆ ก็เข้าใจไปว่ากลางวัน* กลางวันแท้ๆ ก็เข้าใจไปว่ากลางคืน. ข้อนี้ เรากล่าวว่าเป็นเพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น ผู้อยู่ด้วยความหลง.

พราหมณ์เอย ! ส่วนเราตถาคต ย่อมเข้าใจกลางคืนเป็นกลางคืนกลางวันเป็นกลางวัน.

พราหมณ์เอย ! เมื่อใครจะเรียกผู้ใดให้เป็นการถูกต้องว่า เป็นสัตว์ผู้มีความไม่หลงอยู่เป็นปรกติ และเกิดขึ้นเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก, เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายแล้ว; เขาเมื่อจะเรียกให้ถูกต้องเช่นนั้น พึงเรียกเราตถาคตนี้แล ว่าเป็นสัตว์ผู้มีความไม่หลงอยู่เป็นปรกติ เกิดขึ้นเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออนุเคราะห์โลก. เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.


บาลี ภยเภรวสูตร มู.ม. ๑๒/๓๗/๔๖.
ตรัสแก่ชาณุสโสณีพราหมณ์ ที่เชตวัน.

* คำว่า กลางคืน กลางวัน ในที่นี้ มิได้มีความหมายตามตัวหนังสือ.
       

พระตถาคตเกิดขึ้นในโลก
เพื่อแสดงแบบแห่งการครองชีวิตอันประเสริฐแก่โลก


ภิกษุ ท.! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุ ท.! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหมซึ่งหมู่สัตว์กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.

ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

คฤหบดี หรือลูกคฤหบดี หรือคนที่เกิดในตระกูลอื่นใดในภายหลังย่อมฟังธรรมนั้น. ครั้นฟังแล้ว ย่อมเกิดศรัทธาในตถาคต. กุลบุตรนั้นผู้ประกอบอยู่ด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า "ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี; ส่วน บรรพชา เป็นโอกาสว่าง. มันไม่เป็นไปได้โดยง่ายที่เราผู้อยู่ครองเรือนเช่นนี้ จะประพฤติพรหมจรรย์นั้น ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดสะอาดดีแล้ว. ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือนไป, บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนเถิด." ....

บาลี มู.ม. ๑๒/๔๘๙/๔๕๔.
ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน, และบาลีอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก.

      
พระตถาคตเกิดขึ้น แสดงธรรมเพื่อความรำงับ, ดับ, รู้.

ภิกษุ ท.! ตถาคต เกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ธรรมที่ตถาคตแสดง นั้น เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบ รำงับ, เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความดับเย็นสนิท, เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความรู้ครบถ้วน, เป็นธรรมที่ประกาศไว้โดยพระสุคต.


บาลี อฎฐก. อํ. ๒๓/๒๒๙/๑๑๙.
ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่ป่ามะม่วงของหมอชีวก ใกล้กรุงราชคฤห์.

      
ธรรมชาติ ๓ อย่าง ทำให้พระองค์เกิดขึ้นเป็นประทีปของโลก

ภิกษุ ท.! ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้, ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ; และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก. ธรรมชาติ ๓ อย่างนั้น คืออะไรเล่า? คือ ชาติด้วย ชราด้วย มรณะด้วย. ภิกษุ ท.! ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้, ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ; และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก.

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุใดแล ที่ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในโลก, เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ; และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก.


บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๕๔/๗๖.
ตรัสแก่ภิกษุ ท..

      
ผู้เชื่อฟังพระตถาคต จะได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน

ภิกษุ ท.! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่องโลกนี้ ฉลาดในเรื่อง โลกอื่น, เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฏฏะอันเป็นที่อยู่ของมาร ฉลาดต่อ วิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมาร, เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฏฏะอันเป็นที่อยู่ของมฤตยู ฉลาดต่อ วิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมฤตยู. ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟังควรเชื่อ ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.

(ครั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้แล้ว พระสุคตได้ตรัสคำอื่นอีกดังนี้ว่า :-)

ทั้งโลกนี้แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่ ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว. ทั้งที่ที่มารไปไม่ถึง และที่ที่มฤตยูไปไม่ถึง ตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัด ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะความรู้โลกทั้งปวง. ประตูนครแห่งความไม่ตาย ตถาคตเปิดโล่งไว้แล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงถิ่นอันเกษม. กระแสแห่งมารผู้มีบาป ตถาคตปิดกั้นเสียแล้ว กำจัดเสียแล้ว ทำให้หมดพิษสงแล้ว. ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากมูมด้วยปราโมทย์ ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะเถิด.


บาลี จูฬโคปาลสูตร มู.ม. ๑๒/๔๒๑/๓๙๑.
ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้เมืองอุกกเวลา.

      
ทรงขนานนามพระองค์เองว่า "พุทธะ"

(การสนทนากับโทณพราหมณ์, เริ่มในที่นี้ด้วยพราหมณ์ทูลถาม)

"ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นเทวดาหรือ ?"

พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นเทวดาดอก.

"ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นคนธรรพ์หรือ ?"

พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นคนธรรพ์ดอก.

"ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นยักษ์หรือ ?"

พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นยักษ์ดอก.

"ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นมนุษย์หรือ ?"

พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นมนุษย์ดอก.

"ท่านผู้เจริญของเรา ! เราถามอย่างไรๆ ท่านก็ตอบว่ามิได้เป็นอย่างนั้นๆ, ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นอะไรเล่า ?"

พราหมณ์เอย ! อาสวะ เหล่าใด ที่จะทำให้เราเป็น เทวดา เพราะยังละมันไม่ได้, อาสวะเหล่านั้นเราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว, พราหมณ์เอย ! อาสวะเหล่าใดที่จะทำให้เราเป็น คนธรรพ์ เป็น ยักษ์ เป็น มนุษย์ เพราะยังละมันไม่ได้, อาสวะเหล่านั้น เราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว.

พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนดอกบัวเขียว บัวหลวง หรือบัวขาว, มันเกิดในน้ำเจริญในน้ำโผล่ ขึ้นพ้นน้ำตั้งอยู่ น้ำไม่เปียกติดมันได้ ฉันใดก็ฉันนั้นนะพราหมณ์ ! เรานี้เกิดในโลก เจริญในโลก ก็จริง แต่เราครอบงำโลกเสียได้แล้ว และอยู่ในโลก โลกไม่ฉาบทาแปดเปื้อน เราได้.

พราหมณ์ ! ท่านจงจำเราไว้ว่า เป็น "พุทธะ" ดังนี้เถิด.


บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๔๙/๓๖.
ตรัสแก่โทณพราหมณ์ ที่โคนไม้ระหว่างทางแห่งหนึ่ง.

      
เรื่องย่อ ที่ควรทราบก่อน

บัดนี้ เราผู้โคตมโคตร เจริญแล้วใน สากยตระกูล เคยตั้งความเพียรไว้ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ....

นครของเราชื่อ กบิลพัสดุ์, บิดาของเราเป็นราชาชื่อ สุทโธทนะ, มารดาผู้ให้กำเนิดเราชื่อ มายาเทวี. เราอยู่ครองเรือน ๒๙ ปี มี ปราสาทสูงสุด ๓ หลัง ชื่อ สุจันทะ โกกนุทะ และโกญจะ มีหญิงประดับดีแล้วสี่หมื่นนาง, นารีผู้เป็นชายาชื่อ ยโสธรา, ลูกเราชื่อ ราหุล.

เพราะได้เห็น นิมิตทั้งสี่ เราจึงออกด้วยม้าเป็นพาหนะ ทำความเพียรถึงหกปี, เราได้ทำสิ่งที่ใครๆ ทำได้โดยยาก. เราเป็น ชินะ (ผู้ชนะ) ประกาศธรรมจักร ที่ป่าอิสิปตนะ เมืองพาราณสี, เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อ โคตมะเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย.

ภิกษุผู้เป็นอัครสาวกสองรูป ชื่อ โกลิตะ และ อุปติสสะ, อุปัฏฐากผู้ใกล้ชิดของเราชื่อ อานนท์, ภิกษุณีผู้เป็นอัครสาวิกาสองรูป ชื่อ เขมา และ อุบลวัณณา, อุบาสกผู้เป็นอัครอุปัฏฐากสองคน ชื่อ จิตตะ และ หัตถาฬวกะ,อุบาสิกาผู้เป็นอัครอุปัฏฐายิกาสองชื่อ นันทมาตา และ อุตตรา. เราได้บรรลุสัมมาสัมโพธิณาณอันสูงสุด ณ ควงแห่งไม้อัสสัตถะ.... .


บาลี พุทธว. ขุ. ๓๓/๕๔๓/๒๖.

      
เรื่องสั้นๆ ที่ควรทราบก่อน
(อีกหมวดหนึ่ง)

ภิกษุ ท.! ในภัททกัปป์นี้ ในบัดนี้ เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก.

ภิกษุ ท.! ในบัดนี้ เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ เป็นกษัตริย์โดยชาติ บังเกิดแล้วในขัตติยสกุล.

ภิกษุ ท.! ในบัดนี้ เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ โดยโคตร เป็นโคตมโคตร.

ภิกษุ ท.! ในบัดนี้ ประมาณอายุขัย (แห่งสัตว์ในยุค) ของเราสั้นมาก : ผู้ที่เป็นอยู่ได้นาน ก็เพียงร้อยปีเป็นอย่างยิ่ง, ที่เกินร้อยปีขึ้นไปมีน้อยนัก.

ภิกษุ ท.! ในบัดนี้ เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะได้ตรัสรู้ ณ ควงแห่งไม้ อัสสัตถะ.*

ภิกษุ ท.! ในบัดนี้ สาวกสองรูปมีนามว่า สารีบุตร และ โมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกคู่เลิศของเรา.

ภิกษุ ท.! ในบัดนี้ สาวกสันนิบาตของเรา มีเพียงครั้งเดียว และมีภิกษุถึง ๑๒๕๐ รูป. สังฆสันนิบาตแห่งสาวกของเราในครั้งนี้ ผู้เข้าประชุมล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น.

ภิกษุ ท.! ในบัดนี้ ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากใกล้ชิดของเรา คือ อานนท์จัดเป็นอุปัฏฐากอันเลิศ.

ภิกษุ ท.! ในบัดนี้ พระราชานามว่า สุทโธทนะ เป็นบิดาของเรา, พระเทวีนามว่า มายา เป็นมารดาผู้ให้กำเนิดแก่เรา, นครชื่อ กบิลพัสดุ์ เป็นราชธานี (แห่งบิดาของเรา).


บาลี มหาปทานสูตร มหา. ที. ๑๐/๒-๘/๑-๙.
ตรัสแก่ภิกษุ ท. ณ กุฎีใกล้ไม้กุ่ม ในอารามเชตวัน.
เป็นข้อความที่ตรัสเปรียบเทียบเรื่องราวของพระองค์เอง
กับพระพุทธเจ้าองค์อื่นอีก ๖ พระองค์.

จบภาคนำ.
____________________________________

* คือ ไม้ Ficus religiosa ซึ่งเรียกกันในบัดนี้ ตามมูลเหตุที่พุทธองค์ได้ตรัสรู้ใต้โคนของมันว่า "ต้นโพธิ์" ในที่นี้ ที่ทรงเรียกว่าไม้อัสสัตถะนั้น เรียกชื่อพื้นเมืองเดิม. ต้นไม้จะเป็นไม้ประเภทใดก็ตาม หากมีพระพุทธเจ้าองค์ใด ใช้เป็นต้นตรัสรู้แล้ว ไม้ประเภทนั้นพลอยได้เกียรตินามใหม่ในพุทธกาลของพระพุทธเจ้าองค์นั้น ว่า "ไม้โพธิ์" ทั้งสิ้น. ในพุทธกาลนี้ ไม้อัสสัตถะซึ่งเป็นไม้ตระกูลมะเดื่อชนิดหนึ่ง, มีเกียรติได้นามใหม่ว่า "ไม้โพธิ์" มาจนบัดนี้.
      


ภาค ๑

เริ่มแต่การเกิดแห่งสากยวงศ์ จนถึงออกผนวช (๒๑ เรื่อง)

การเกิดแห่งวงศ์สากยะ
พวกสากยะอยู่ใต้อำนาจพระเจ้าโกศล
แดนสากยะขึ้นอยู่ในแคว้นโกศล
การอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต (พ.ม.)
การเกิดในดุสิต
การดำรงอยู่ในดุสิต
การดำรงอยู่ตลอดอายุในดุสิต
การจุติจากดุสิตลงสู่ครรภ์ (พ.ม.)
เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการจุติจากดุสิต (พ.ม.)
แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการจุติ (พ.ม.)
การลงสู่ครรภ์ (พ.ม.)
การอยู่ในครรภ์ (พ.ม.)
มารดามีศีล
มารดาไม่มีจิตในทางกามารมณ์
มารดามีลาภ
มารดาไม่มีโรค, เห็นโพธิสัตว์
มารดาอุ้มครรภ์เต็มสิบเดือน
การประสูติ (พ.ม.)
ยืนคลอด
เทวดารับก่อน
เทพบุตรทั้งสี่รับมาถวาย
ไม่เปื้อนมลทินครรภ์
ท่อธารจากอากาศ
การเปล่งอาสภิวาจา
เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการประสูติ (พ.ม.)
แผ่นดินไหวเนื่องด้วยการประสูติ (พ.ม.)
ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒
บุรพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ
ประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต
ทรงได้รับการบำเรอในราชสำนัก
กามสุข กับ ความหน่าย
ทรงหลงกาม และ หลุดจากกาม
ความรู้สึกที่ถึงกับทำให้ออกผนวช (พ.ม.)
การออกผนวช
ออกผนวชเมื่อพระชนม์ ๒๙


การเกิดแห่งวงศ์สากยะ

อัมพัฎฐะ! เรื่องดึกดำบรรพ์, พระเจ้า อุกกากราช ปรารถนาจะยกราชสมบัติประทานแก่โอรสของพระมเหสีที่โปรดปรานต้องพระทัย จึงได้ทรงขับราชกุมารผู้มีชนมายุแก่กว่า คือเจ้า อุกกามุข, กรกัณฑุ, หัตถินีกะ, สินีปุระ,ออกจากราชอาณาจักร ไปตั้งสำนักอยู่ ณ ป่าสากใหญ่ ใกล้สระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์. เธอเหล่านั้น กลัวชาติจะระคนกัน จึงสมสู่กับพี่น้องหญิงของเธอเอง. ต่อมา พระเจ้าอุกกากราชตรัสถามอำมาตย์ว่า "บัดนี้กุมารเหล่านั้นอยู่ที่ไหน?"

กราบทูลว่า บัดนี้กุมารเหล่านั้นเสด็จอยู่ ณ ป่าสากใหญ่ ซึ่งอยู่ใกล้สระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์พระกุมารทั้งหลายกลัวชาติระคนกัน จึงสมสู่กับภคินีของตนเอง.

ขณะนั้น พระเจ้าอุกกากราชทรงเปล่งพระอุทานว่า "กุมารผู้อาจหาญหนอ, กุมารผู้อาจหาญอย่างยิ่งหนอ". เพราะเหตุนั้นเป็นเดิม จึงเป็นพวกที่ได้ชื่อว่า "สากยะ"* สืบมา.... .


ความตอนนี้ ตรัสแก่อัมพัฎฐมาณพ ศิษย์พราหมณ์โปกขรสาติ ที่ป่าอิจฉานังคละ.
บาลีอัมพัฎฐสูตรที่ ๓ สี. ที.๙/๑๒๐/๑๔๙.

* ชื่อนี้มีมูลมาจากต้นสากก็ได้, แห่งคำว่ากล้าหาญก็ได้, เพราะสักก–กล้าหาญ, สักกเราเรียกในเสียงภาษาไทยกันว่า สากยะ, เรื่องเกิดวงศ์สากยะมีกล่าวไว้อย่างพิสดารในอรรถกถาของอัมพัฎฐสูตรนี้เอง เช่นเรื่องไม้กะเบาเป็นต้น จะกล่าวในโอกาสหลัง.


พวกสากยะอยู่ใต้อำนาจพระเจ้าโกศล

....วาเสฏฐะ ! พระราชา ปเสนทิโกศล ย่อมทราบว่า 'พระสมณโคดมผู้ยอดเยี่ยม บวชแล้วจากสากยตระกูล'. วาเสฏฐะ ! ก็แหละพวกสากยะ ท. เป็นผู้อยู่ใกล้ชิด และอยู่ในอำนาจของพระราชาปเสนทิโกศล. วาเสฏฐะ ! ก็พวกสากยะ ท. ย่อมทำการต้อนรับ, ทำการอภิวาท ลุกขึ้นยืนรับ ทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรม ในพระราชาปเสนทิโกศล. วาเสฏฐะ ! พวกสากยะกระทำการต้อนรับเป็นต้น แก่พระราชาปเสนทิโกศลอย่างไร, พระราชาปเสนทิโกศลย่อมกระทำการต้อนรับเป็นต้นแก่ตถาคต (เมื่อออกบวชแล้ว) อย่างนั้น*.

บาลี อัคคัญญสูตร ปา. ที. ๑๑/๙๑/๕๔.
ตรัสแก่วาเสฏฐะกับเพื่อน.

_____________________________
* ความข้อนี้เราไม่อยากจะเชื่อกันโดยมากว่าจะเป็นอย่างนี้โดยที่เราไม่อยากให้ตระกูลของพระองค์เป็นเมืองขึ้นของใคร แต่พระองค์เองกลับตรัสตรงไปทีเดียวว่าเป็นเมืองขึ้นของโกศล, ต้องนอบน้อมต่อพระเจ้าปเสนทิ. แต่เมื่อพระองค์ออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว. พระเจ้าปเสนทิโกศลกลับทำตรงกันข้าม คือนอบน้อมต่อพระองค์ เช่นเดียวกับที่พวกสากยะเคยนอบน้อมต่อพระเจ้าปเสนทิ. บาลีตรงนี้ คือ รญฺโ ปเสนทิสฺส โกสลสฺส อนนฺตรา อนุยนฺตา. คำว่า อนุยนฺตา อรรถกถาแก้ดังนี้ อนุยนฺตาติ วสวตฺติโน, (สุมัง. ๓, น.๖๒), แปลว่า อยู่ในอำนาจ.


แดนสากยะขึ้นอยู่ในแคว้นโกศล

ตรัสตอบแก่พระเจ้าพิมพิสารว่า :-

"ราชะ! ชนบทตรงข้างภูเข้าหิมพานต์ สมบูรณ์ด้วยความเพียรเครื่องหาทรัพย์ เป็นเมืองขึ้น* แห่งโกศล มีพวกชื่อ อาทิตย์โดยโคตร ชื่อ สากยะโดยชาติ. อาตมาภาพออกบวชจากตระกูลนั้น จะปรารถนากามก็หามิได้..."

บาลี ปัพพชาสูตร มหาวัคค์ สุ.ขุ. ๒๕/๔๐๗/๓๕๔

* ศัพท์นี้ว่า นิเกติโน, พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เคยทรงแปลไว้ในพุทธประวัติเล่ม ๑ ว่า "เป็นถิ่น", ในอรรถกถาแก้ศัพท์นี้ไว้ ส่อความว่าเป็นเมืองขึ้นนั้นเอง. คำว่าถิ่นก็คือเมืองขึ้นเหมือนกัน.


การอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต*

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์ ! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม บังเกิดขึ้นในหมู่ เทพชั้นดุสิต" ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! ข้อที่พระโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม บังเกิดขึ้นในหมู่เทพชั้นดุสิต นี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์! โพธิสัตว์มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงอยู่ ในหมู่เทพชั้นดุสิต" ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อที่พระโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต นี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์! โพธิสัตว์มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต จนกระทั่งตลอดกาลแห่งอายุ" ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้อที่พระโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิตจนกระทั่งตลอดกาลแห่งอายุ นี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.


_________________________________________
* บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๗/๓๖๐-๑-๒, เป็นคำที่พระอานนท์เล่าแก่ภิกษุทั้งหลาย ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ถึงเรื่องที่เคยได้ฟังมาจากพระผู้มีพระภาคเอง, นับว่าเป็นข้อความจากพระโอษฐ์ เฉพาะตอนที่อยู่ในอัญญประกาศ.
บาลีอัจฉริยอัพภูตธัมมสูตรอันว่าด้วยเรื่องอยู่ในดุสิต เรื่องจุติ เรื่องประสูติ เหล่านี้ซึ่งล้วนแต่เป็นปาฎิหาริย์, จะเป็นเรื่องที่ควรถือเอาตามนั้นตรงตามตัวอักษรไปทั้งหมด หรือว่าเป็นเรื่องที่ท่านแฝงไว้ในปุคคลาธิษฐาน จะต้องถอดให้เป็นธรรมาธิษฐานเสียก่อนแล้วจึงถือเอา เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยกันอีกต่อหนึ่ง, ข้าพเจ้าผู้รวบรวมสังเกตเห็นความแปลกประหลาดของเรื่องเหล่านี้ ตอนที่ไม่ตรัสเล่าเสียเอง ยกให้เป็นหน้าที่ของพระอานนท์ เป็นผู้เล่ายืนยันอีกต่อหนึ่ง ขอให้วินิจฉัยกันดูเถิด. ที่นำมารวมไว้ในที่นี้ด้วย ก็เพราะมีอยู่ในบาลี เป็น พุทธภาษิตเหมือนกัน แม้จะโดยอ้อม โดยผ่านทางปากของพระอานนท์อีกต่อหนึ่ง ซึ่งลักษณะเช่นนี้มีแต่เรื่องตอนนี้เท่านั้น.


การจุติจากดุสิตลงสู่ครรภ์

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์! โพธิสัตว์มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา" ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.

บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๘/๓๖๓.

      
เกิดแสงสว่างเนื่องด้วย การจุติจากดุสิต

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิตแล้ว ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา ในขณะนั้น แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้, ได้ปรากฏขึ้นในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์ ถึงแม้ในโลกันตริกนรก อันโล่งโถงไม่มีอะไรปิดกั้น แต่มืดมน หาการเกิดแห่งจักขุวิญญาณมิได้ อันแสงสว่างแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิอานุภาพอย่างนี้ ส่องไปไม่ถึงนั้น แม้ในที่นั้น แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ ก็ได้ปรากฏขึ้นเหมือนกันสัตว์ที่เกิดอยู่ ณ ที่นั้น รู้จักกันได้ด้วยแสงสว่างนั้น พากันร้องว่า 'ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ผู้อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้ นอกจากเรา ก็มีอยู่เหมือนกัน' ดังนี้ และหมื่นโลกธาตุนี้ ก็หวั่นไหว สั่นสะเทือนสะท้าน. แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เกินกว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้." ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่าเป็นของน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.

(ข้อความเช่นนี้ ที่อยู่ในรูปพุทธภาษิตล้วนๆ ก็มี คือ บาลีสัตตมสูตร ภยวัคค์ จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๖/๑๒๗, เป็นอัศจรรย์ครั้งที่ ๑ (จุติ), ครั้งที่ ๒ (ประสูติ), ครั้งที่ ๓ (ตรัสรู้), ฯลฯ ไปตามลำดับ, สังเกตดูได้ที่ตอนตรัสรู้เป็นต้นไป, ในที่นี้ไม่นำมาใส่ไว้ เพราะใจความซ้ำกัน)

บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๘/๓๖๔,
และ จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๖/๑๒๗.

      
แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการจุติ

ดูก่อนอานนท์ ! เหตุปัจจัยที่ทำให้ปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง มีอยู่แปดประการ. ....

ดูก่อนอานนท์ ! เมื่อใดโพธิสัตว์ จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต มีสติสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา; เมื่อนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน. อานนท์ ! นี้เป็นเหตุปัจจัยคำรบสามแห่งการปรากฏการไหวของแผ่นดินอันใหญ่หลวง.


บาลี อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๒,๓๒๓/๑๖๗.
ตรัสแก่พระอานนท์ ที่ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี.

      
การลงสู่ครรภ์

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์กำลังก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา ในกาลนั้นเทพบุตรทั้งหลายย่อมทำการอารักขาในทิศทั้งสี่ แก่โพธิสัตว์ โดยประสงค์ว่ามนุษย์หรืออมนุษย์หรือใครๆ ก็ตาม อย่าได้เบียดเบียนโพธิสัตว์ หรือมารดาแห่งโพธิสัตว์เลย" ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่าเป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.

บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๙/๓๖๕.

      
การอยู่ในครรภ์

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์! ในกาลใด โพธิสัตว์ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา ในกาลนั้นมารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมเป็นผู้มีศีลอยู่โดยปกติ เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท เว้นจากสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งของความประมาท" ดังนี้.

ฯลฯ "ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดาในกาลนั้น มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อม ไม่มีความคิดอันเจือด้วยกามคุณ ในบุรุษทั้งหลาย, อนึ่ง มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมเป็นผู้ที่บุรุษใดๆ ไม่คิดจะล่วงเกินด้วยจิตอันกำหนัด" ดังนี้.

ฯลฯ "ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดาในกาลนั้น มารดาแห่งโพธิสัตว์ เป็นผู้มีลาภ ด้วยกามคุณทั้งห้า*, มารดาแห่งโพธิสัตว์นั้น อิ่มเอิบด้วยกามคุณทั้งห้า เพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาประคบประหงมอยู่" ดังนี้.

ฯลฯ "ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดาในกาลนั้น มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อม ไม่มีอาพาธไรๆ มีความสุข ไม่อ่อนเพลีย, อนึ่ง มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อม แลเห็นโพธิสัตว์ ผู้อยู่ในครรภ์มารดา มีอวัยวะน้อยใหญ่สมบูรณ์ มีอินทรีย์ไม่ทราม. เหมือนอย่างว่า แก้วไพฑูรย์อันงดงามโชติช่วงสดใสเจียระไนดีแล้ว มีด้ายร้อยอยู่ในแก้วนั้น สีเขียว เหลืองแกมเขียวแดง ขาว หรือเหลือง ก็ตาม บุรุษที่ตายังดี เอาแก้วนั้นวางบนฝ่ามือแล้วย่อมมองเห็นชัดเจนว่า นี้แก้วไพฑูรย์ อันงดงามโชติช่วงสดใส เจียระไนดีแล้ว, นี้ด้าย ซึ่งร้อยอยู่ในแก้วนั้น จะเป็นสีเขียว เหลืองแกมเขียว แดง ขาว หรือเหลืองก็ตาม; ฉันใดก็ฉันนั้น ที่มารดาแห่งโพธิสัตว์ เป็นผู้ไม่มีอาพาธ มีความสบายไม่อ่อนเพลีย แลเห็นโพธิสัตว์ผู้นั่งอยู่ในครรภ์ มีอวัยวะน้อยใหญ่สมบูรณ์ มีอินทรีย์ไม่ทราม" ดังนี้.

ฯลฯ "ดูก่อนอานนท์ ! หญิงอื่นๆ อุ้มครรภ์ไว้เก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง จึงจะคลอด, ส่วนมารดาแห่งโพธิสัตว์ ไม่เป็นเช่นนั้น, ย่อม อุ้มครรภ์ไว้สิบเดือนเต็ม ทีเดียว แล้วจึงคลอด" ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แม้ข้อนี้ๆ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี, เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.


บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๙-๒๕๑/๓๖๖-๗-๘-๙, ๓๗๑.

____________________________________
* กามคุณห้า ในที่นี้ หมายเพียงเครื่องบำรุงตามธรรมดา มิได้หมายถึงที่เกี่ยวกับกามารมณ์โดยตรง เพราะมีปฏิเสธอยู่ในข้อต้นจากนี้อยู่แล้ว.


การประสูติ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำเอามาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า "ดูก่อนอานนท์ ! หญิงอื่นๆ ย่อมนั่งคลอดบ้าง นอนคลอดบ้าง. ส่วนมารดาแห่งโพธิสัตว์ หาเป็นอย่างนั้นไม่, มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อม ยืนคลอด โพธิสัตว์" ดังนี้.

ฯลฯ "ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดา ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายย่อมเข้ารับก่อน ส่วนมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเข้ารับต่อภายหลัง" ดังนี้.

ฯลฯ "ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดายังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทพบุตรทั้งสี่ ย่อม รับเอามาวางตรงหน้าแห่งมารดา ทูลว่าแม่เจ้าจงพอพระทัยเถิด บุตรอันมีศักดาใหญ่ของแม่เจ้า เกิดแล้ว" ดังนี้.

ฯลฯ "ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดาในกาลนั้นเป็นผู้สะอาดหมดจด ไม่เปื้อนด้วยเมือก ไม่เปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปื้อนด้วยเลือด ไม่เปื้อนด้วยหนอง ไม่เปื้อนด้วยของไม่สะอาดอย่างใดๆ เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดหมดจดมาทีเดียว. เหมือนอย่างว่า แก้วมณีที่วางอยู่บนผ้าเนื้อเกลี้ยงอันมาแต่แคว้นกาสี, แก้วก็ไม่เปื้อนผ้า ผ้าก็ไม่เปื้อนแก้ว, เพราะเหตุใด, เพราะเหตุว่ามันเป็นของสะอาดหมดจดทั้งสองอย่าง; ฉันใดก็ฉันนั้น ที่โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดา เป็นผู้สะอาดหมดจด ไม่เปื้อนด้วยเมือก ไม่เปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปื้อนด้วยเลือด ไม่เปื้อนด้วยหนอง ไม่เปื้อนด้วยของไม่สะอาดอย่างใดๆ เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดหมดจดมาทีเดียว" ดังนี้.

ฯลฯ "ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดาในกาลนั้น ท่อธารแห่งน้ำสองท่อ ปรากฏจากอากาศ เย็นท่อหนึ่งร้อนท่อหนึ่ง, อันเขาใช้ในกิจอันเนื่องด้วยน้ำ แก่โพธิสัตว์ และแก่มารดา" ดังนี้.

ฯลฯ "ดูก่อนอานนท์ ! โพธิสัตว์ผู้คลอดแล้วเช่นนี้ เหยียบพื้นดินด้วยฝ่าเท้าอันสม่ำเสมอ มีพระพักตร์ทางทิศเหนือ ก้าวไป ๗ ก้าว, มีฉัตรสีขาวกั้นอยู่ ณ เบื้องบน, ย่อมเหลียวดูทิศทั้งหลาย และกล่าว อาสภิวาจา* ว่า "เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก, เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก, เราเป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งโลก. ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย. บัดนี้ ภพใหม่ย่อมไม่มี" ดังนี้.


บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๕๑/๓๗๒-๓-๔-๕-๖-๗.

_____________________________
* อาสภิวาจา คือวาจาอันประกาศความสูงสุด
ภาษาบาลีมีว่า อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เชฏโ€หมสฺมิ โลกสฺส เสฏโ€หมสฺมิ โลกสฺส. อยมนฺติมา. ชาติ. นตฺถิทานิ ปุนพภฺโว.
อคฺโค หมายถึงเป็นยอดคน.
เชฏฺโ€ หมายถึงพี่ใหญ่ กว่าเขา ทั้งหมด.
เสฏฺโ€ หมายถึงสูงด้วยคุณธรรม กว่าเขาทั้งหมด. คำทั้งสามนี้น่าคิดดู.


เกิดแสงสว่าง เนื่องด้วยการประสูติ

ฯลฯ "ดูก่อนอานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์คลอดจากท้องแห่งมารดาในกาลนั้นแสงสว่างอันโอฬาร จนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์. ถึงแม้ในโลกันตริกนรก อันโล่งโถงไม่มีอะไรปิดกั้น แต่มืดมนหาการเกิดแห่งจักขุวิญญาณมิได้ อันแสงสว่างแห่งดวงจันทร์แลดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพอย่างนี้ ส่องไปไม่ถึงนั้น แม้ในที่นั้น แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ ก็ได้ปรากฏขึ้นเหมือนกัน. สัตว์ที่เกิดอยู่ในที่นั้น รู้จักกันได้ด้วยแสงสว่างนั้น พากันร้องว่า 'ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ผู้อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้นอกจากเราก็มีอยู่เหมือนกัน' ดังนี้. และหมื่นโลกธาตุนี้ก็หวั่นไหวสั่นสะเทือนสะท้าน. แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เกินกว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้" ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แม้ข้อนี้ๆ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี, เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.


บาลี อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๕๓/๓๗๘,
และ จตุกฺก. อํ.๒๑/๑๗๖/๑๒๗

      
แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการประสูติ

ดูก่อนอานนท์ ! เหตุปัจจัยที่ทำให้ปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง มีอยู่แปดประการ. ....

ดูก่อนอานนท์ ! เมื่อใด โพธิสัตว์ มีสติสัมปชัญญะ ออกจากท้องแห่งมารดา; เมื่อนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน. อานนท์ ! นี้เป็นเหตุปัจจัยคำรบสี่ แห่งการปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง.


บาลี อฎฺ€ก. อํ. ๒๓/๓๒๒, ๓๒๓/๑๖๗.
ตรัสแก่พระอานนท์ ที่ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี.

      
ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒

ภิกษุ ท. ! มหาบุรุษ (คือพระองค์เองก่อนผนวช) ผู้ประกอบด้วย มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ ย่อมมีคติเป็นสอง หาเป็นอย่างอื่นไม่ คือ :-

ถ้าเป็นฆราวาส ย่อมเป็นจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม มีแว่นแคว้นจดมหาสมุทรทั้งสี่เป็นที่สุด มีชนบทอันบริบูรณ์ ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ. แก้ว ๗ ประการ ย่อมเกิดแก่มหาบุรุษนั้นคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว และปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗. มีบุตรผู้กล้าหาญ มีแววแห่งคนกล้าอันใครๆ จะย่ำยีมิได้ ตามเสด็จกว่า ๑๐๐๐. มหาบุรุษนั้นชนะแล้วครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นที่สุดโดยรอบ, ไม่มีหลักตอเสี้ยนหนาม มั่งคั่ง เบิกบาน เกษม ร่มเย็น ปราศจากเสนียดคือโจร, ทรงครอบครองโดยธรรมอันสม่ำเสมอ มิใช่โดยอาญาและศาสตรา.

ถ้า ออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกื้อกูลด้วยเรือน ยอมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกิเลสเครื่องปกปิดอันเปิดแล้ว ในโลก.

ภิกษุ ท.! มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการนั้น เหล่าไหนเล่า? คือ :-

๑. มหาบุรุษ มีพื้นเท้าสม่ำเสมอ.
๒. มหาบุรุษ ที่ฝ่าเท้ามีจักรเกิดแล้ว, มีซี่ตั้งพัน พร้อมทั้งกงและดุม.
๓. มหาบุรุษ มีส้นเท้ายาว.
๔. มหาบุรุษ มีข้อนิ้วยาว.
๕. มหาบุรุษ มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนละมุน.
๖. มหาบุรุษ มีลายฝ่ามือฝ่าเท้าดุจตาข่าย.
๗. มหาบุรุษ มีข้อเท้าอยู่สูง.
๘. มหาบุรุษ มีแข้งดุจแข้งเนื้อทราย.
๙. มหาบุรุษ ยืนไม่ย่อตัวลง แตะเข่าได้ด้วยมือทั้งสอง.
๑๐. มหาบุรุษ มีองคชาตตั้งอยู่ในฝัก.
๑๑. มหาบุรุษ มีสีกายดุจทอง คือมีผิวหนังดุจทอง.
๑๒. มหาบุรุษ มีผิวหนังละเอียด ละอองจับไม่ได้.
๑๓. มหาบุรุษ มีขนขุมละเส้น เส้นหนึ่งๆ อยู่ขุมหนึ่งๆ.
๑๔. มหาบุรุษ มีปลายขนช้อนขึ้น สีดุจดอกอัญชัน ขึ้นเวียนขวา
๑๕. มหาบุรุษ มีกายตรงดุจกายพรหม.
๑๖. มหาบุรุษ มีเนื้อนูนหนาในที่ ๗ แห่ง (คือหลังมือหลังเท้าบ่าคอ).
๑๗. มหาบุรุษ มีกายข้างหน้า ดุจราชสีห์.
๑๘. มหาบุรุษ มีหลังเต็ม (ไม่มีร่องหลัง).
๑๙. มหาบุรุษ มีทรวดทรงดุจต้นไทย กายกับวาเท่ากัน.
๒๐. มหาบุรุษ มีคอ กลมเกลี้ยง.
๒๑. มหาบุรุษ มีประสาทรับรสอันเลิศ.
๒๒. มหาบุรุษ มีคางดุจคางราชสีห์.
๒๓. มหาบุรุษ มีฟัน ๔๐ ซี่บริบูรณ์.
๒๔. มหาบุรุษ มีฟันเรียบเสมอ.
๒๕. มหาบุรุษ มีฟันสนิท (ชิด).
๒๖. มหาบุรุษ มีเขี้ยวสีขาวงาม.
๒๗. มหาบุรุษ มีลิ้น (ใหญ่และยาว) เพียงพอ.
๒๘. มหาบุรุษ มีเสียงดุจเสียงพรหม พูดเหมือน นกการวิก.
๒๙. มหาบุรุษ มีตาเขียวสนิท (สีนิล).
๓๐. มหาบุรุษ มีตาดุจตาวัว.
๓๑. มหาบุรุษ มีอุณาโลมหว่างคิ้ว ขาวอ่อนเหมือนสำลี.
๓๒. มหาบุรุษ มีศีรษะรับกับกรอบหน้า.

ภิกษุ ท. ! นี้เป็นมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ ของมหาบุรุษ.


บาลี ลักขณสูตร ปา. ที. ๑๑/๑๕๗/๑๓๐.
ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน.

      
บุรพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ

....ภิกษุ ท.! พวกฤๅษีภายนอก จำมนต์มหาปุริสลักขณะได้ก็จริง แต่หารู้ไม่ว่า การที่มหาบุรุษได้ลักขณะอันนี้ๆ เพราะทำกรรมเช่นนี้ๆ :

(ก) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้บากบั่นในกุศล ถือมั่นในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต, ในการบริจาคทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ การปฏิบัติมารดา บิดาการปฏิบัติสมณพราหมณ์ การอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล และในอธิกุศลธรรมอื่น. เพราะได้กระทำ ได้สร้างสม ได้พอกพูน ได้มั่วสุมกรรมนั้นๆ ไว้, ภายหลังแต่การตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ตถาคตนั้นถือเอายิ่งกว่าในเทพเหล่าอื่นโดย ฐานะ ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ สัมผัสทิพย์; ครั้นจุติจากภพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีฝ่าเท้าเสมอ จดลงก็เสมอ ยกขึ้นก็เสมอ ฝ่าเท้าถูกต้องพื้นพร้อมกัน... (ลักขณะที่ ๑), ย่อมเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นต่อข้าศึกทั้งภายในและภายนอก คือราคะ โทสะ โมหะ ก็ตาม สมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ก็ตาม ในโลก ที่เป็นศัตรู.

(ข) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....* ได้เป็นผู้นำสุขมาให้แก่มหาชน เป็นผู้บรรเทาภัยคือความสะดุ้งหวาดเสียว จัดการคุ้มครองรักษาโดยธรรม ได้ถวายทานมีเครื่องบริวาร. เพราะได้กระทำ....กรรมนั้นๆ ไว้....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ ภายใต้ฝ่าเท้ามีจักรทั้งหลายเกิดขึ้น มีซี่ตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง มีระยะอันจัดไว้ด้วยดี....(ลักขณะที่ ๒), ย่อมเป็นผู้มีบริวารมาก : ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ย่อมเป็น บริวารของตถาคต.

(ค) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต วางแล้วซึ่งศาสตราและอาชญา มีความละอาย เอ็นดู กรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์มีชีวิตทั้งปวง. เพราะ...กรรมนั้นๆ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะทั้ง ๓ ข้อนี้ คือ มีส้นยาว มีข้อนิ้วยาว มีกายตรงดุจกายพรหม.... (ลักขณะที่ ๓,๔,๑๕), ย่อมเป็นผู้มีชนมายุยืนยาวตลอดกาลนาน; สมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ก็ตาม หรือใครๆ ที่เป็นศัตรู ไม่สามารถปลงชีวิตตถาคตเสียในระหว่างได้.

(ง) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ให้ทานของควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่ม มีรสอันประณีต. เพราะ....กรรมนั้นๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือมีเนื้อนูนหนาในที่ ๗ แห่ง คือที่มือทั้งสอง ที่บ่าทั้งสอง และที่คอ.. (ลักขณะที่ ๑๖), ย่อมได้ของควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่มอันมีรสประณีต.

(จ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้สงเคราะห์ผู้อื่นด้วยสังคหวัตถุทั้งสี่ คือ การให้สิ่งของ วาจาที่ไพเราะ การประพฤติประโยชน์ผู้อื่น และความมีตนเสอมกัน. เพราะ.. กรรม นั้นๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ มีมือและเท้าอ่อนนุ่มมีลายฝ่ามือฝ่าเท้าดุจตาข่าย.... (ลักขณะที่ ๕,๖), ย่อมเป็นผู้สงเคราะห์บริษัท คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ย่อมได้รับความสงเคราะห์จากตถาคต.

(ฉ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยอรรถด้วยธรรม แนะนำชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำประโยชน์สุขมาให้แก่ชนทั้งหลาย ตนเองก็เป็นผู้บูชาธรรม. เพราะ....กรรมนั้นๆ.... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือ มีข้อเท้าอยู่สูง มีปลายขนช้อนขึ้น.... (ลักขณะที่ ๗,๑๔), ย่อมเป็นผู้เลิศประเสริฐเยี่ยมสูงกว่าสัตว์ทั้งหลาย.

(ช) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้บอกศิลปวิทยา ข้อประพฤติ และลัทธิกรรมด้วยความเคารพ ด้วยหวังว่าสัตว์เหล่านั้นพึงรู้ได้รวดเร็วพึงปฏิบัติได้รวดเร็ว ไม่พึงเศร้าหมองสิ้นกาลนาน. เพราะ....กรรมนั้นๆ ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีแข้งดังแข้งเนื้อทราย(ลักขณะที่ ๘), ย่อมได้วัตถุอันควรแก่สมณะ เป็นองค์แห่งสมณะเป็นเครื่องอุปโภคแก่สมณะ โดยเร็ว.

(ซ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้เข้าไปหาสมณพราหมณ์แล้วสอบถามว่า 'ท่านผู้เจริญ ! อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ ทำอะไรไม่มีประโยชน์ เป็นทุกข์ไปนาน ทำอะไรมีประโยชน์ เป็นสุขไปนาน'. เพราะ ....กรรมนั้นๆ.... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือมีผิวละเอียดอ่อน ธุลีไม่ติดอยู่ได้....(ลักขณะที่ ๑๒), ย่อมเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญาเครื่องปลื้มใจ ปัญญาแล่น ปัญญาแหลม ปัญญาแทงตลอด,ไม่มีสัตว์อื่นเสมอ หรือยิ่งไปกว่า.

(ฌ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความแค้น แม้ชนเป็นอันมาก ว่ากล่าวเอา ก็ไม่เอาใจใส่ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่คุมแค้น ไม่แสดงความโกรธ ความร้ายกาจ ความเสียใจให้ปรากฏ. ทั้งเป็นผู้ให้ทานผ้าเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ สำหรับลาดและนุ่งห่ม อันมีเนื้อละเอียดอ่อน. เพราะ....กรรมนั้นๆ.... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีกายดุจทอง มีผิวดุจทอง....(ลักขณะที่ ๑๑), ย่อมเป็นผู้ได้ผ้าเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์สำหรับลาดและห่ม มีเนื้อละเอียดอ่อน.

(ญ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้สมานญาติมิตร สหายชาวเกลอ ผู้เหินห่างแยกกันไปนาน, ได้สมานไมตรีมารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่น้องชายกับพี่น้องหญิง พี่น้องหญิงกับพี่น้องชาย, ครั้นทำความสามัคคีแล้ว พลอยชื่นชมยินดีด้วย. เพราะ.... กรรมนั้นๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ข้อนี้คือ มีคุยหฐาน(อวัยวะที่ลับ) ซ่อนอยู่ในฝัก.... (ลักขณะที่ ๑๐), ย่อมเป็นผู้มีบุตร (สาวก) มากมีบุตรกล้าหาญ มีแววแห่งคนกล้า อันเสนาแห่งบุคคลอื่นจะย่ำยีมิได้ หลายพัน.

(ฎ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้สังเกตชั้นเชิงของมหาชน รู้ได้สม่ำเสมอ รู้ได้เอง รู้จักบุรุษธรรมดา และบุรุษพิเศษว่าผู้นี้ ควรแก่สิ่งนี้ๆ, ได้เป็นผู้ทำประโยชน์อย่างวิเศษในชนชั้นนั้นๆ. เพราะ....กรรมนั้นๆ.... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือมีทรวดทรงดุจต้นไทร, ยืนตรงไม่ย่อกาย ลูบถึงเข่าได้ด้วยมือทั้งสอง....(ลักขณะที่ ๑๙,๙), ย่อมมั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก. ทรัพย์ของตถาคตเหล่านี้คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะทรัพย์คือการศึกษา (สุตะ) ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา.

(ฐ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ใคร่ต่อประโยชน์ ใคร่ต่อความเกื้อกูล ใคร่ต่อความผาสุข ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะแก่ชนเป็นอันมาก ว่า 'ไฉนชนเหล่านี้พึงเป็นผู้เจริญด้วยศรัทธา ด้วยศีล ด้วยการศึกษา ด้วยความรู้ ด้วยการเผื่อแผ่ ด้วยธรรม ด้วยปัญญา ด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก ด้วยนาและสวน ด้วยสัตว์สองเท้าสี่เท้า ด้วยบุตรภรรยา ด้วยทาสกรรมกรและบุรุษ ด้วยญาติมิตรและพวกพ้อง'. เพราะ....กรรมนั้นๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๓ ข้อนี้ คือมีกึ่งกายเบื้องหน้า ดุจสีหะ,มีหลังเต็ม, มีคอกลม.. (ลักขณะที่ ๑๗,๑๘,๒๐), ย่อมเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดาคือไม่เสื่อมจากศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา, ไม่เสื่อมจากสมบัติทั้งปวง.

(ฑ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ด้วยฝ่ามือก็ตาม ก้อนดินก็ตาม ท่อนไม้ก็ตาม ศาสตราก็ตาม. เพราะ....กรรมนั้นๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือมีประสาทรับรสอันเลิศ มีปลายขึ้นเบื้องบน เกิดแล้วที่คอ รับรสโดยสม่ำเสมอ....(ลักขณะที่ ๒๑), ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีความร้อนแห่งกายเป็นวิบากอันสม่ำเสมอ ไม่เย็นเกินร้อนเกิน พอควรแก่ความเพียร.

(ฒ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ....ได้เป็นผู้ไม่ถลึงตา ไม่ค้อนควัก ไม่จ้องลับหลัง, เป็นผู้แช่มชื่นมองดูตรงๆ มองดูผู้อื่นด้วยสายตาอันแสดงความรัก. เพราะ....กรรมนั้นๆ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือมีตาเขียวสนิท; มีตาดุจตาโค.... (ลักขณะที่ ๒๙, ๓๐), ย่อมเป็นที่ต้องตาของชนหมู่มาก เป็นที่รักใคร่พอใจของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์.

(ณ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นหัวหน้าของชนเป็นอันมาก ในกุศลธรรมทั้งหลาย ได้เป็นประธานของชนเป็นอันมาก ในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต, ในการจำแนกทาน การสมาทานศีลการรักษาอุโบสถ การประพฤติเกื้อกูลในมารดาบิดา สมณพราหมณ์, การนอบน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล ในอธิกุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะ....กรรมนั้นๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้ คือมีศีรษะรับกับกรอบหน้า....(ลักขณะที่ ๓๒), ย่อมเป็นผู้ที่มหาชนประพฤติตาม คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ประพฤติตาม.

(ด) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ละเว้นจากมุสาวาท พูดคำจริง หลั่งคำสัจจ์ เที่ยงแท้ ซื้อตรง ไม่หลอกลวงโลก. เพราะ....กรรมนั้นๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือมีขนขุมละเส้น, มีอุณาโลมหว่างคิ้วขาวอ่อนดุจสำลี, …. (ลักขณะที่๑๓,๓๑), ย่อมเป็นผู้ที่มหาชนเป็นไปใกล้ชิด คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ใกล้ชิด.

(ต) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ละเว้นวาจาส่อเสียด (คือคำยุให้แตกกัน), คือไม่ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายชนพวกนี้, ไม่ฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายชนพวกโน้น, เป็นผู้สมานพวกแตกกันแล้ว และส่งเสริมพวกที่พร้อมเพรียงกัน; เป็นผู้ยินดีในการพร้อมเพรียง เพลินในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้เกิดความพร้อมเพรียง. เพราะ....กรรมนั้นๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้วจึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ อย่างนี้ คือมีฟันครบ ๔๐ ซี่ มีฟันสนิท ไม่ห่างกัน....(ลักขณะที่ ๒๓, ๒๕), ย่อมเป็นผู้มีบริษัทไม่กระจัดกระจาย คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เป็นบริษัทไม่กระจัดกระจาย.

(ถ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ละเว้นการกล่าวคำหยาบ, กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เป็นสุขแก่หู เป็นที่ตั้งแห่งความรักซึมซาบถึงใจ เป็นคำพูดของชาวเมือง เป็นที่พอใจและชอบใจของชนเป็นอันมาก. เพราะ....กรรมนั้นๆ.... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือมีลิ้นอันเพียงพอ, มีเสียงเหมือนพรหม พูดเหมือนนกการวิก.... (ลักขณะที่ ๒๗,๒๘), ย่อมเป็นผู้มีวาจาที่ผู้อื่นเอื้อเฟื้อเชื่อฟัง คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง.

(ธ) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ละเว้นการพูดเพ้อเจ้อ, เป็นผู้กล่าวควรแก่เวลา กล่าวคำจริง กล่าวเป็นธรรม กล่าวมีอรรถ กล่าวเป็นวินัย กล่าวมีที่ตั้ง มีหลักฐาน มีที่สุด ประกอบด้วยประโยชน์. เพราะ....กรรมนั้นๆ .... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว ย่อมได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้ คือมีคางดุจคางราชสีห์....(ลักขณะที่ ๒๒), ย่อมเป็นผู้ที่ศัตรูทั้งภายในและภายนอกกำจัดไม่ได้ : ศัตรู คือ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ สมณะ พราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก กำจัดไม่ได้.

(น) ภิกษุ ท.! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ละมิจฉาชีพ มีการเลี้ยงชีพชอบ เว้นจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม ด้วยเครื่องตวงเครื่องวัด จากการโกงการลวง เว้นจากการตัด การฆ่า การผูกมัด การร่วมทำร้าย การปล้น การกรรโชก. เพราะ....กรรมนั้นๆ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนั้น คือมีฟันอันเรียบเสมอ, มีเขี้ยวขาวงาม....(ลักขณะที่ ๒๔,๒๖), ย่อมเป็นผู้มีบริวารเป็นคนสะอาด คือมีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เป็นบริวารอันสะอาด.


บาลี ลักขณสูตร ปา. ที. ๑๑/๑๕๙-๑๙๓/๑๓๐-๑๗๑.

________________________________
* ที่ละไว้ด้วยจุด .... ดังนี้ ทุกแห่งหมายความว่า คำที่ละไว้นั้นซ้ำกันเหมือนในข้อ (ก) ข้างบน. เติมเอาเองก็ได้ แม้ไม่เติมก็ได้ความเท่ากัน.


ประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต

....ถูกแล้วอานนท์ ! ถูกแล้วอานนท์ ! จริงเทียว มารดาแห่งโพธิสัตว์มีชนมายุน้อย. เมื่อประสูติพระโพธิสัตว์แล้วได้ ๗ วัน มารดาแห่งโพธิสัตว์ย่อมสวรรคต, ย่อมเข้าถึงเทวนิกาย ชั้นดุสิต.

ความตอนนี้ ตรัสแก่พระอานนท์.
บาลี อัปปายุกสูตร โสณัตเถรวรรค อุ.ขุ.๒๕/๑๔๕/๑๑๑

      
ทรงได้รับการบำเรอ

ภิกษุ ท.! เราเป็นผู้ละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ละเอียดอ่อนอย่างที่สุด ดังเราจะเล่าให้ฟัง, ภิกษุ ท.! เขาขุดสระ ๓ สระในวังแห่งบิดาของเรา, ในสระหนึ่งปลูกอุบล (บัวเขียว), สระหนึ่งปลูกปทุม (บัวหลวง), สระหนึ่งปลูกบุณฑริกะ (บัวขาว), เพื่อประโยชน์แก่เรา.

ภิกษุ ท.! มิใช่ว่าจันทน์ที่เราใช้อย่างเดียว ที่มาแต่เมืองกาสี, ถึงผ้าโพก, เสื้อ, ผ้านุ่ง ผ้าห่ม, ก็ล้วนมาแต่เมืองกาสี. ภิกษุ ท.! เขาคอยกั้นเศวตฉัตรให้เรา ด้วยหวังว่าความหนาว, ความร้อน, ละออง, หญ้า, หรือน้ำค้าง อย่าได้ถูกต้องเรา ทั้งกลางวันและกลางคืน.

ภิกษุ ท.! มีปราสาทสำหรับเรา ๓ หลัง ; หลังหนึ่งสำหรับฤดูหนาว หลังหนึ่งสำหรับฤดูร้อน, และหลังหนึ่งสำหรับฤดูฝน. เราอยู่บนปราสาทสำหรับฤดูฝน ตลอดสี่เดือนฤดูฝน ให้เขาบำเรออยู่ด้วยดนตรีอันปราศจากบุรุษ, ไม่ลงจากปราสาท.

ภิกษุ ท.! ในวังของบิดาเรา, เขาให้ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีเจือด้วยเนื้อแก่ทาสและคนงาน (ดาษดื่น) เช่นเดียวกับที่ที่อื่นเขาให้ข้าวปลายเกรียนกับน้ำส้มแก่พวกทาสและคนใช้.*

ภิกษุ ท.! เมื่อเราเพียบพร้อมไปด้วยการได้ตามใจตัวถึงเพียงนี้ มีการได้รับความประคบประหงมถึงเพียงนี้ ความคิดก็ยังบังเกิดแก่เราว่า "บุถุชนที่มิได้ยินได้ฟัง ทั้งที่ตัวเองจะต้องแก่ ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้, แต่ครั้นเห็นคนอื่นแก่ ก็นึกอิดหนาระอาใจสะอิดสะเอียน ไม่นึกถึงตัวเสียเลย. ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้องแก่ ไม่ข้ามพ้นความแก่ไปได้, แต่ว่าเมื่อจะต้องแก่ ไม่พ้นความแก่ไปได้แล้ว จะมาลืมตัว อิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียนเมื่อเห็นคนอื่นแก่นั้น ไม่เป็นการสมควรแก่เรา." ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาในความหนุ่ม ของเรา ได้หายไปหมดสิ้น.

ภิกษุ ท.! บุถุชนที่ไม่ได้ยินได้ฟัง ทั้งที่ตัวเองจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้, ครั้นเห็นคนอื่นเจ็บไข้ ก็นึกอิดหนาระอาใจสะอิดสะเอียนไม่นึกถึงตัวเสียเลย. ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้, แต่ว่าเมื่อจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้แล้ว จะมาลืมตัวอิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียนเมื่อเห็นคนอื่นเจ็บไข้นั้น ไม่การสมควรแก่เรา. ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาในความไม่มีโรค ของเราก็หายไปหมดสิ้น.

ภิกษุ ท.! บุถุชนที่ไม่ได้ยินได้ฟัง ทั้งที่ตัวเองจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้, ครั้นเห็นคนอื่นตาย ก็อิดหนาระอาใจสะอิดสะเอียน ไม่นึกถึงตัวเสียเลย. ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้, แต่ว่าเมื่อจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้แล้ว จะมาลืมตัว อิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียนเมื่อเห็นคนอื่นตายนั้น ไม่เป็นการสมควรแก่เรา. ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาในชีวิตความเป็นอยู่ ของเราได้หายไปหมดสิ้น.


บาลี นวมสูตร เทวทูตวรรค ปฐมปัณณาสก์ ติก. อํ. ๒๐/๑๘๓/๔๗๘.

_________________________________
* สำนวนเช่นนี้ เป็นการส่อความบริบูรณ์ด้วยอาหาร ในภาษาบาลี


กามสุขกับความหน่าย*

....มาคัณฑิยะ ! ครั้งเมื่อเรายังเป็นคฤหัสถ์ ประกอบการครองเรือนได้อิ่มพร้อมไปด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาบำเรอตนด้วยรูปที่เห็นได้ด้วยจักขุ, ด้วยเสียงที่ฟังได้ด้วยหู, ด้วยกลิ่นอันดมได้ด้วยจมูก, ด้วยรสอันลิ้มได้ด้วยลิ้น, ด้วยโผฏฐัพพะอันสัมผัสได้ด้วยกาย ล้วนแต่ที่สัตว์อยากได้ รักใคร่พอใจ ยวนใจเข้าไปตั้งไว้ซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งราคะ.

มาคัณฑิยะ ! ปราสาทของเรานั้น มีแล้ว ๓ แห่ง ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน, ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว, ปราสาทหนึ่งสำหรับฤดูร้อน. มาคัณฑิยะ ! เราให้บำเรอตนอยู่ด้วยดนตรี ล้วนแต่สตรี ไม่มีบุรุษเจือปน ณ ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝนสี่เดือน ไม่ลงจากปราสาท. ครั้นล่วงไปถึงสมัยอื่นมามองเห็นเหตุเป็นที่บังเกิด, และ ความที่ตั้งอยู่ไม่ได้, และ ความอร่อย, และโทษอันต่ำทราม, และอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น, แห่งกาม ท. ตามเป็นจริง, จึงละความอยากในกามเสีย บรรเทาความเดือดร้อนเพราะกาม ปราศจากความกระหายในกาม มีจิตสงบ ณ ภายใน. เรานั้น เห็นสัตว์เหล่าอื่น ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกตัณหาในกามเคี้ยวกินอยู่ ถูกความกระวนกระวายในกามรุมเผาเอาอยู่ แต่ก็ยังขืนเสพกาม, เรามิได้ทะเยอทะยานตามสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในการเสพกามนั้นเลย. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุใด? มาคัณฑิยะ ! เพราะว่าคนเรา ถึงแม้ยินดีด้วยความยินดี ที่ปราศจากกาม หรือปราศจากอกุศลแล้ว** ก็ยังจัดเป็นสัตว์ที่เลวทรามอยู่, เราจึงไม่ทะเยอทะยานตามสัตว์เหล่านั้น ขืนเสพกามอีกเลย.

มาคัณฑิยะ ! คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมากเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า ให้เขาบำเรอตนด้วย รูป, เสียง, กลิ่น, รส, และโผฏฐัพพะ อันสัตว์ปรารถนารักใคร่ชอบใจ ยั่วยวน, เข้าไปตั้งอยู่ด้วยความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ. ถ้าหากเขานั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายกับเหล่าเทพในดาวดึงส์, เทพบุตรนั้น มีนางอัปสรแวดล้อมอยู่ในนันทวัน อิ่มหนำ เพียบพร้อมด้วยกามให้นางอัปสรบำเรอตนด้วยกามคุณห้าอันเป็นทิพย์ในดาวดึงส์นั้น. เทวบุตรนั้นหากได้เห็นคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดี (ในมนุษย์โลกนี้) อิ่มหนำเพียบพร้อมด้วยกาม ให้เขาบำเรอตนด้วยกามอยู่. มาคัณฑิยะ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร, เทพบุตรนั้นจะทะเยอทะยานต่อกามคุณของคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดีนั้นบ้างหรือหรือจะเวียนมาเพื่อกามอันเป็นของมนุษย์นี้บ้าง?

"พระโคดม ! หามิได้เลย เพราะว่ากามที่เป็นทิพย์ น่ารักใคร่กว่า ประณีตกว่า กว่ากามของมนุษย์."


_____________________________
* บาลี มาคัณฑิยสูตร ปริพพาชกวรรค ม.ม. ๑๓/๒๗๔/๒๘๑.
ครั้งหนึ่งประทับอยู่ ณ นิคมกัมมาสธัมมะ ในหมู่ชนชาวกุรุ พักอยู่กะพราหมณ์ภารทวาชโคตร ที่โรงบูชาไฟ มีเครื่องลาดล้วนไปด้วยหญ้า. มาคัณฑิยปริพพาชกเพื่อนของภารทวาชพราหมณ์ได้มาเยี่ยม ในที่สุดได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อได้ตรัสความที่พระองค์ทำลายความยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะให้ปริพพาชกนั้นเลื่อมใสแล้ว ได้ตรัสเล่าพระประวัติตอนนี้เพื่อแสดงความที่ได้เคยเสวยกามสุขมาแล้วอย่างมาก และความรู้สึกหน่ายในกามนั้น.
** เช่นยินดีในรูปฌาน อันจัดเป็นภวตัณหาเป็นต้น.


ทรงหลงกามและหลุดจากกาม

ดูก่อนมหานาม ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ แม้เป็นผู้มีสติระลึกได้ว่า "กามทั้งหลาย มีรสที่น่ายินดีน้อยมีทุกข์มาก, มีความคับแค้นมาก, โทษอันแรงร้ายมีอยู่ในกามนั้นอย่างยิ่ง" ก็ดีแต่เรานั้นยังไม่ได้บรรลุสุขอันเกิดแต่ปีติ หรือธรรมอื่นที่สงบยิ่งไปกว่าปีติสุขนั้น, นอกจากได้เสวยแต่กาม และอกุศลธรรมอย่างเดียว; เราจึงเป็นผู้หมุนกลับจากกามไม่ได้, ไม่รู้อย่างแจ่มแจ้งในกามทั้งหลาย อยู่เพียงนั้น.

ดูก่อนมหานาม ! เมื่อใด เป็นอันว่าเราได้เห็นข้อนี้อย่างดี ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงว่า "กามทั้งหลาย มีรสที่น่ายินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก, โทษอันแรงร้าย มีอยู่ในกามนั้นอย่างยิ่ง" แล้ว; ....เมื่อนั้นเราก็เป็นผู้ไม่หมุนกลับมาสู่กามทั้งหลาย รู้จักกามทั้งหลายอย่างแจ่มแจ้งได้.


บาลี จูฬทุกขักขันธสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๑๘๐/๒๑๑.
ตรัสแก่ท้าวมหานาม ที่นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์.

      
ความรู้สึก ที่ถึงกับทำให้ออกผนวช

ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ตนเองมีความเกิด เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง, ตนเองมีความแก่ เป็นธรรมดาอยู่แล้วก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง, ตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง, ตนเองมีความตาย เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความตาย เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง, ตนเองมีความโศก เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง, ตนเองมีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง อีก.

ภิกษุ ท. ! ก็อะไรเล่า เป็นสิ่งที่มีความเกิด (เป็นต้น) ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน (เป็นที่สุด) เป็นธรรมดา?

ภิกษุ ท. ! บุตรและภรรยา มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา. ทาสหญิงทาสชาย มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา. แพะ แกะ มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา. ไก่ สุกร มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา. ช้าง โค ม้า ลา มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา. ทองและเงิน เป็นสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา. สิ่งที่มนุษย์เข้าไปเทิดทูนเอาไว้ เหล่านี้แลที่ชื่อว่าสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา ซึ่งคนในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ ในสิ่งเหล่านี้ จึงทำให้ตนทั้งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ ที่มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา อยู่นั่นเอง อีก.*

ภิกษุ ท. ! ความคิดอันนี้ ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "ทำไมหนอ เราซึ่งมีความเกิด ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว จะต้องไปมัวแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่อีก. ไฉนหนอ เราผู้มีความเกิด ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ครั้งได้รู้สึกถึงโทษอันต่ำทรามของการมีความเกิด ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดานี้แล้ว เราพึงแสวงหา นิพพาน อันไม่มีความเกิด อันเป็นธรรมที่เกษมจากเครื่องร้อยรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเถิด".

ภิกษุ ท. ! เรานั้นโดยสมัยอื่นอีก ยังหนุ่มเทียว เกสายังดำจัด บริบูรณ์ด้วยความหนุ่มที่กำลังเจริญ ยังอยู่ในปฐมวัย, เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนาด้วยกำลังพากันร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่, เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว.

(ในบาลี สคารวสูตร** มีที่ตรัสไว้สรุปแต่สั้น ๆ ว่า :-)

ภารทวาชะ ! ในโลกนี้ ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความคิดนี้เกิดมีแก่เรา ว่า "ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสว่าง; ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดดีแล้ว, โดยง่าย นั้นไม่ได้. ถ้าไฉนเราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน เถิด" ดังนี้. ภารทวาชะ ! เรานั้นโดยสมัยอื่นอีกยังหนุ่มเทียว....


บาลี ปาสราสิสูตร โอปัมมวรรค มู.ม. ๑๒/๓๑๖/๓๑๖.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่อาศรมของรัมมกพราหมณ์ ใกล้เมืองสาวัตถี.

_____________________________________
* การจำแนกว่าอะไรบ้างเป็นสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดานี้ อยู่ก่อนตรัสปรารภพระองค์เอง แต่ในที่นี้เรียงไว้หลัง เพื่อเข้าใจง่าย. ของเดิมก็อยู่ติดกันเช่นนี้. สำหรับในสมัยพุทธกาลทรงจำแนกสิ่งที่คนในโลกพากัน "เทิดทูน" ไว้เช่นนี้. แต่สำหรับสมัยนี้จะจำแนกเป็นอะไรได้บ้างนั้น ผู้อ่านทุกคนนึกเอาได้เอง.
** บาลี สคารวศุตร พราหมณวรรค ม.ม. ๑๓/๖๖๙/๗๓๘. ตรัสแก่พราหมณ์หนุ่ม ชื่อสคารวะ, ที่หมู่บ้านปัจจลกัปป์. ข้อความเช่นนี้ ยังมีในสูตรอื่นอีก เช่นบาลีมหาสัจจกสูตร มู.ม. หน้า ๔๔๒ บรรพ ๔๑๑ เป็นต้น.


การออกผนวช

....ราชกุมาร ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในใจว่า "ชื่อว่าความสุขแล้ว ใครๆ จะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มี, ความสุขเป็นสิ่งที่ใครๆ บรรลุได้โดยยาก," ดังนี้. ราชกุมาร! ครั้นสมัยอื่นอีก เรานั้นยังหนุ่มเทียว เกสายังดำจัด บริบูรณ์ด้วยเยาว์อันเจริญในปฐมวัย, เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนาด้วย กำลังพากันร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่, เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว....

บาลี โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ม.ม. ๑๓/๔๔๓/๔๘๙.
ตรัสแก่กุมารชื่อนั้น ที่ปราสาทสร้างใหม่ของเขา.

      
ออกผนวชเมื่อพระชนม์ ๒๙

....ดูก่อนสุภัททะ ! เรามีอายุได้ สามสิบหย่อนหนึ่งโดยวัย, ได้ออกบรรพชา แสวงหาว่า "อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นกุศล"* ดังนี้

ตรัสแก่สุภัททะ
ในมหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐/๑๗๖/๑๓๙.

จบภาค ๑.

* ออกผนวชในเพศแห่งนักจาริกแสวงบุญ ซึ่งเป็นธรรมเนียมอยู่ในครั้งนั้น.



ภาค ๖

การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ (๒๐ เรื่อง)


คำชี้แจงเกี่ยวกับภาค ๖
ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว เพราะไม่รู้อริยสัจจ์
ตลอดวัฏฏสงสาร ไม่เคยทรงบังเกิดในสุทธาวาส
ในวัฏฏสงสาร เคยทรงบูชายัญญ์ และบำเรอไฟ มาแล้วเป็นอย่างมาก
ทิฏฐานุคติแห่งความดี ที่ทรงสั่งสมไว้แต่ภพก่อน ๆ
เคยทรงบังเกิดเป็นมหาพรหม, สักกะ, ฯลฯ (พ.ม.อ.)
ครั้งมีพระชาติเป็น โชติปาลมาณพ
ครั้งมีพระชาติเป็น พระเจ้ามหาสุทัศน์
ครั้งมีพระชาติเป็น ปุโรหิต สอนการบูชายัญญ์
ครั้งมีพระชาติเป็น พระเจ้ามฆเทวราช
ครั้งมีพระชาติเป็น มหาโควินทพราหมณ์
ครั้งมีพระชาติเป็น รถการ ช่างทำรถ (พ.ม.)
ครั้งมีพระชาติเป็น อกิตติดาบส
ครั้งมีพระชาติเป็น พระจันทกุมาร
ครั้งมีพระชาติเป็น สังขพราหมณ์
ครั้งมีพระชาติเป็น เวลามพราหมณ์ (พ.ม.)
ครั้งมีพระชาติเป็น พระเวสสันดร
ครั้งมีพระชาติเป็น มาตังคชฎิล
ครั้งมีพระชาติเป็น จูฬโพธิ
ครั้งมีพระชาติเป็น เจ้าชายยุธัญชยะ
ที่สุดแห่งการท่องเที่ยวของพระองค์


ภาค ๖
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ (๒๐ เรื่อง)

ภาค ๖
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
ซึ่งเต็มไปด้วยทิฏฐานุคติอันสาวกในภายหลังพึงดำเนินตาม.   


      
คำชี้แจงเฉพาะภาคนี้

เรื่องราวที่กล่าวถึงพระชาติในอดีตของพระองค์ ซึ่งข้าพเจ้าประมวลมาไว้ในภาคนี้นั้นเลือกเก็บแต่เรื่องที่มีในคัมภีร์ชั้นบาลีพระไตรปิฎก, เว้นเรื่องจำพวกที่เราเรียกกันว่า "ชาดก" และอรรถกถาเสีย, จึงได้มาไม่กี่เรื่อง. สำหรับท้องเรื่องชาดก (อรรถกถาชาดก) ที่มีตอนประชุมกลับชาติเป็นพระพุทธภาษิต ดังที่เราเคยอ่านกันทั่วไปนั้น ไม่มีในบาลี จึงมิได้นำเรื่องประเภทนี้มารวบรวมไว้ด้วย และมีมากมายจนเหลือที่จะรวบรวมมา.

อนึ่ง เฉพาะคัมภีร์บาลีจริยาปิฎก ซึ่งมีอยู่ ๓๕ เรื่องนั้น ได้ประมวลมาไว้ในที่นี้เพียง ๘ เรื่อง เลือกเอาเฉพาะแปลกกัน และจัดไว้ตอนปลายของภาคอีกพวกหนึ่ง นอกจากเรื่องมหาสุทัศนจริยาซึ่งใส่ไว้ตอนกลาง.

ประการหนึ่ง, การที่นำเรื่องบุรพชาติของพระองค์มากล่าวไว้ในเรื่อง "พุทธประวัติจากพระโอษฐ์" นี้ มีความมุ่งหมายให้ผู้อ่านกำหนดพิจารณาให้เห็นพระพุทธจริยา ที่เรียกกันว่าการสร้างบารมีหรือสั่งสมความดีของพระองค์, เพื่อถือเอาเป็นทิฏฐานุคติเครื่องดำเนินตาม มิได้มุ่งเล่านิยาย, เพราะหนังสือเล่มนี้มุ่งกล่าวหนักไปทางธรรม แทนการกล่าวหนักไปทางนิยาย หรือตำนานดั่งที่เคยปรารภมาแล้วข้างต้น เท่านั้น. --ผู้รวบรวม.

      

ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว, เพราะไม่รู้อริยสัจจ์

ภิกษุ ท.! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจจ์สี่อย่าง, เราแหละพวกเธอทั้งหลายจึงท่องเที่ยวไปแล้วในวัฏฏสงสาร ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้. ภิกษุ ท.! เพราะไม่รู้ถึง เพราะไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจจ์สี่อย่างเหล่าไหนเล่า? สี่อย่างคือ อริยสัจจ์คือทุกข์, อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์, อริยสัจจ์คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, อริยสัจจ์คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุ ท.! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจจ์สี่ประการเหล่านี้แล, เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้ว ในสังสารวัฏตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้. ...ฯลฯ...

(ในบาลีแห่งอื่น กล่าวอริยธรรมสี่ คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุตติ แทนที่อริยสัจจ์สี่ข้างบนนี้. – มหา. ที. ๑๐/๑๔๒/๑๐๙).

บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่โกฏิคาม แคว้นวัชชี.

      
ที่สุดแห่งการท่องเที่ยวของพระองค์

เราเมื่อยังค้นไม่พบแสงสว่าง, มัวเสาะหานายช่างปลูกเรือน (คือตัณหาผู้ก่อสร้างเรือนคืออัตตภาพ) อยู่, ได้ ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ กล่าวคือ ความเกิดแล้วเกิดอีกเป็นอเนกชาติ. ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไปทุกชาติ.

แน่ะนายช่างผู้ปลูกสร้างเรือน! เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว, เจ้าจักสร้างเรือนให้เราต่อไปอีก ไม่ได้, โครงเรือน (คือกิเลส ที่เหลือเป็นเชื้อเกิดใหม่) ของเจ้า เราหักเสียยับเยิน หมดแล้ว. ยอดเรือน (คืออวิชชา) เราขยี้เสียแล้ว, จิตของเราถึงความเป็นธรรมชาติ ที่อารมณ์จะยุแหย่ยั่วเย้าไม่ได้เสียแล้ว มันได้ลุถึงความหมดอยากทุกอย่าง.


พระวาจาเย้ยตัณหาซึ่งทรงเปล่งขึ้นทันที
ในขณะที่ทรงรู้สึกพระองค์ว่าได้สิ้นตัณหาแล้ว.
บาลี ธ. ขุ. ๒๕/๓๕/๒๑.

จบภาค ๖.

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
จบ.


   


กลุ่มพุทธทาสศึกษา ตู้ ปณ.๓๘ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๑๐
e-mail : info@buddhadasa.org


"พุทธประวัติจากพระโอษฐ์" ฉบับออนไลน์

http://www.buddhadasa.org/html/life-work/dhammakot/01-buddha/toc-full.html


Pages: [1]
SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.224 seconds with 19 queries.