Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
28 April 2024, 03:08:07

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,605 Posts in 12,440 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  Profile of LAMBERG  |  Show Posts  |  Topics

Show Posts

Messages | * Topics | Attachments

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Topics - LAMBERG

Pages: [1] 2 3 ... 12
2
เอลวิส เพรสลีย์ - 7 เพลง โรแมนติค


<a href="http://www.youtube.com/v/013eosMK28Q?version" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/013eosMK28Q?version</a>

https://www.youtube.com/watch?v=013eosMK28Q

3
สุนทราภรณ์ - รวมเพลง บุษยา รังสี

ขอขอบคุณ คุณนฤรัตน์ เพชรบุรี เป็นอย่างสูงนะครับ ที่นำเพลงชุดนี้มามอบให้แด่ทุกๆท่าน โดยเฉพาะการจัดสรรมาในชุดนี้ ที่เสียงของเธอไม่เพี้ยน ดนตรีก็ได้มาตรฐานเป็นเสียงสเตริโอด้วย การเรียงเพลงก็ลงตัวมากครับ เพลงของคุณบุษยามีเสน่ห์ ฟังได้สบายผ่อนคลาย อบอุ่น ละมุนละไม ฟังต่อเนื่องนานๆได้ทั้งชุด ฟังได้บ่อยๆ เสียงเธอมีเอกลักษณ์ มีสง่าราศรี จึงขอจากคุณนฤรัตน์ เพชรบุรี น่าจะจัดชุดที่รวมเพลงพระราชนินนธ์ในมาตรฐานนี้จากเธออีกชุดด้วยนะครับ ขอบพระคุณมากครับ

<a href="http://www.youtube.com/v/RffkzF3Vuvc?version" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/RffkzF3Vuvc?version</a>

https://www.youtube.com/watch?v=RffkzF3Vuvc


4
อ่านเพชรพระอุมา โดย ท่านพนมเทียน

ลิงค์บนสำหรับอ่านบนหน้าเว็บไซท์
ลิงค์ล่างสำหรับดาวน์โหลดเก็บไว้อ่านที่ไหนก็ได้

เพชรพระอุมา    เล่ม1       ไพรมหากาฬ             
www.mediafire.com/view/a06wel2qdbee2pd/เพชรพระอุมา+เล่ม1+ไพรมหากาฬ.pdf
www.mediafire.com/download/a06wel2qdbee2pd/เพชรพระอุมา+เล่ม1+ไพรมหากาฬ.pdf
เพชรพระอุมา    เล่ม2       ไพรมหากาฬ
www.mediafire.com/view/4dti1yqqolizfo3/เพชรพระอุมา+เล่ม2+ไพรมหากาฬ.pdf
www.mediafire.com/download/4dti1yqqolizfo3/เพชรพระอุมา+เล่ม2+ไพรมหากาฬ.pdf
เพชรพระอุมา    เล่ม 3     ไพรมหากาฬ
www.mediafire.com/view/kobyla18upvh8d9/เพชรพระอุมา+ไพรมหากาฬ+เล่ม+3.pdf
www.mediafire.com/download/kobyla18upvh8d9/เพชรพระอุมา+ไพรมหากาฬ+เล่ม+3.pdf
เพชรพระอุมา    เล่ม 4     ไพรมหากาฬ
www.mediafire.com/view/l9ldr5xb8n657y1/เพชรพระอุมา+เล่ม4+ไพรมหากาฬ.pdf
www.mediafire.com/download/l9ldr5xb8n657y1/เพชรพระอุมา+เล่ม4+ไพรมหากาฬ.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 5    ดงมรณะ
www.mediafire.com/view/kera8wnhr00dyrx/เพชรพระอุมา+เล่ม5+ดงมรณะ.pdf
www.mediafire.com/download/kera8wnhr00dyrx/เพชรพระอุมา+เล่ม5+ดงมรณะ.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 6   ดงมรณะ
www.mediafire.com/view/d7504wg60apv3lg/เพชรพระอุมา+เล่ม6+ดงมรณะ.pdf
www.mediafire.com/download/d7504wg60apv3lg/เพชรพระอุมา+เล่ม6+ดงมรณะ.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 7   ดงมรณะ
www.mediafire.com/view/h6a4o5858u49gcj/เพชรพระอุมา+เล่ม7+ดงมรณะ.pdf
www.mediafire.com/download/h6a4o5858u49gcj/เพชรพระอุมา+เล่ม7+ดงมรณะ.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 8   ดงมรณะ
www.mediafire.com/view/36uz7o382gpxnt0/เพชรพระอุมา+เล่ม8+ดงมรณะ.pdf
www.mediafire.com/download/36uz7o382gpxnt0/เพชรพระอุมา+เล่ม8+ดงมรณะ.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 9   จอมผีดิบมันตรัย
www.mediafire.com/view/v4p3lgc43l22247/เพชรพระอุมา+เล่ม9+จอมผีดิบมันตรัย.pdf
www.mediafire.com/download/v4p3lgc43l22247/เพชรพระอุมา+เล่ม+9+จอมผีดิบมันตรัย.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 10   จอมผีดิบมันตรัย
www.mediafire.com/view/pa87mu7fpdm7z6z/เพชรพระอุมา+เล่ม10+จอมผีดิบมันตรัย.pdf
www.mediafire.com/download/pa87mu7fpdm7z6z/เพชรพระอุมา+เล่ม10+จอมผีดิบมันตรัย.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 11    จอมผีดิบมันตรัย
www.mediafire.com/view/t161fy96wki9s62/เพชรพระอุมา+เล่ม11+จอมผีดิบมันตรัย.pdf
www.mediafire.com/download/t161fy96wki9s62/เพชรพระอุมา+เล่ม11+จอมผีดิบมันตรัย.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 12    จอมผีดิบมันตรัย
www.mediafire.com/view/8s0yrkjbq6xexrq/เพชรพระอุมา+เล่ม12+จอมผีดิบมันตรัย.pdf
www.mediafire.com/download/8s0yrkjbq6xexrq/เพชรพระอุมา+เล่ม12+จอมผีดิบมันตรัย.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 13   อาถรรพณ์นิทรานคร
www.mediafire.com/view/6uuijj30j6zdya8/เพชรพระอุมา+เล่ม13+อาถรรพณ์นิทรานคร.pdf
www.mediafire.com/download/6uuijj30j6zdya8/เพชรพระอุมา+เล่ม13+อาถรรพณ์นิทรานคร.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม  14   อาถรรพณ์นิทรานคร
www.mediafire.com/view/yfd3g3czpwzgb3b/เพชรพระอุมา+เล่ม14+อาถรรพณ์นิทรานคร+.pdf
www.mediafire.com/download/yfd3g3czpwzgb3b/เพชรพระอุมา+เล่ม14+อาถรรพณ์นิทรานคร+.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 15    อาถรรพณ์นิทรานคร
www.mediafire.com/view/i961dr8d95jv9he/เพชรพระอุมา+เล่ม15+อาถรรพณ์นิทรานคร.pdf
www.mediafire.com/download/i961dr8d95jv9he/เพชรพระอุมา+เล่ม15+อาถรรพณ์นิทรานคร.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม  16    อาถรรพณ์นิทรานคร
www.mediafire.com/view/mb8yqu7zmddkhg5/เพชรพระอุมา+เล่ม16+อาถรรพณ์นิทรานคร.pdf
www.mediafire.com/download/mb8yqu7zmddkhg5/เพชรพระอุมา+เล่ม16+อาถรรพณ์นิทรานคร.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 17   ป่าโลกล้านปี
www.mediafire.com/view/b4rywo3t5jmo86m/เพชรพระอุมา+เล่ม17+ป่าโลกล้านปี.pdf
www.mediafire.com/download/b4rywo3t5jmo86m/เพชรพระอุมา+เล่ม17+ป่าโลกล้านปี.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 18   ป่าโลกล้านปี
www.mediafire.com/view/4hoiyra6xzzha1i/เพชรพระอุมา+เล่ม18+ป่าโลกล้านปี.pdf
www.mediafire.com/download/4hoiyra6xzzha1i/เพชรพระอุมา+เล่ม18+ป่าโลกล้านปี.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 19   ป่าโลกล้านปี
www.mediafire.com/view/x6w1se7qau8ksgt/เพชรพระอุมา+เล่ม19+ป่าโลกล้านปี.pdf
www.mediafire.com/download/x6w1se7qau8ksgt/เพชรพระอุมา+เล่ม19+ป่าโลกล้านปี.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 20   ป่าโลกล้านปี
www.mediafire.com/view/zlg1etl8homj4kn/เพชรพระอุมา+เล่ม20+ป่าโลกล้านปี.pdf 
www.mediafire.com/download/zlg1etl8homj4kn/เพชรพระอุมา+เล่ม20+ป่าโลกล้านปี.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 21   แงซายจอมจักรา
www.mediafire.com/view/sio3kef0srt149f/เพชรพระอุมา+เล่ม21+แงซายจอมจักรา.pdf
www.mediafire.com/download/sio3kef0srt149f/เพชรพระอุมา+เล่ม21+แงซายจอมจักรา.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 22   แงซายจอมจักรา
www.mediafire.com/view/lug152q2vvs9w30/เพชรพระอุมา+เล่ม22+แงซายจอมจักรา.pdf
www.mediafire.com/download/lug152q2vvs9w30/เพชรพระอุมา+เล่ม22+แงซายจอมจักรา.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 23   แงซายจอมจักรา
www.mediafire.com/view/9giimfk90qh6amx/เพชรพระอุมา+เล่ม23+แงซายจอมจักรา.pdf
www.mediafire.com/download/9giimfk90qh6amx/เพชรพระอุมา+เล่ม23+แงซายจอมจักรา.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 24   แงซายจอมจักรา (จบภาค 1)
www.mediafire.com/view/zu43yd4b95aqpx6/เพชรพระอุมา+เล่ม24+แงซายจอมจักรา[จบภาค1].pdf
www.mediafire.com/download/zu43yd4b95aqpx6/เพชรพระอุมา+เล่ม24+แงซายจอมจักรา[จบภาค1].pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 25   จอมพราน
www.mediafire.com/view/20r0mhtwb112bvd/เพชรพระอุมา+เล่ม25+จอมพราน.pdf
www.mediafire.com/download/20r0mhtwb112bvd/เพชรพระอุมา+เล่ม25+จอมพราน.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 26   จอมพราน
www.mediafire.com/view/8oi2m19ubc1k8ma/เพชรพระอุมา+เล่ม26+จอมพราน.pdf
www.mediafire.com/download/8oi2m19ubc1k8ma/เพชรพระอุมา+เล่ม26+จอมพราน.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 27    จอมพราน
www.mediafire.com/view/vv2ul6c4mdeeeg6/เพชรพระอุมา+เล่ม27+จอมพราน.pdf
www.mediafire.com/download/vv2ul6c4mdeeeg6/เพชรพระอุมา+เล่ม27+จอมพราน.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 28   จอมพราน
www.mediafire.com/view/d5b0mq7og77o3cf/เพชรพระอุมา+เล่ม28+จอมพราน.pdf
www.mediafire.com/download/d5b0mq7og77o3cf/เพชรพระอุมา+เล่ม28+จอมพราน.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 29   ใอ้งาดำ
www.mediafire.com/view/fjfs69ueszuz0tz/เพชรพระอุมา+เล่ม29+ใอ้งาดำ.pdf 
www.mediafire.com/download/fjfs69ueszuz0tz/เพชรพระอุมา+เล่ม29+ใอ้งาดำ.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 30   ใอ้งาดำ
www.mediafire.com/view/8948yod9n7coiie/เพชรพระอุมา+เล่ม30+ใอ้งาดำ.pdf
www.mediafire.com/download/8948yod9n7coiie/เพชรพระอุมา+เล่ม30+ใอ้งาดำ.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 31   ใอ้งาดำ
www.mediafire.com/view/yxeo6cjba4qzrbe/เพชรพระอุมา+เล่ม31+ใอ้งาดำ.pdf
www.mediafire.com/download/yxeo6cjba4qzrbe/เพชรพระอุมา+เล่ม31+ใอ้งาดำ.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 32   ใอ้งาดำ
www.mediafire.com/view/n4x5hgtr0v1zbp7/เพชรพระอุมา+เล่ม32+ใอ้งาดำ.pdf
www.mediafire.com/download/n4x5hgtr0v1zbp7/เพชรพระอุมา+เล่ม32+ใอ้งาดำ.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 33   จิตรางคนางค์
www.mediafire.com/view/ne90brpv3epxk21/เพชรพระอุมา+เล่ม33+จิตรางคนางค์.pdf
www.mediafire.com/download/ne90brpv3epxk21/เพชรพระอุมา+เล่ม33+จิตรางคนางค์.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 34   จิตรางคนางค์
www.mediafire.com/view/ur9lnx92wm7568d/เพชรพระอุมา+เล่ม34+จิตรางคนางค์.pdf
www.mediafire.com/download/ur9lnx92wm7568d/เพชรพระอุมา+เล่ม34+จิตรางคนางค์.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 35   จิตรางคนางค์
www.mediafire.com/view/ckjvhu4d6genq7d/เพชรพระอุมา+เล่ม35+จิตรางคนางค์.pdf
www.mediafire.com/download/ckjvhu4d6genq7d/เพชรพระอุมา+เล่ม35+จิตรางคนางค์.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 36   จิตรางคนางค์
www.mediafire.com/view/m5p796u9fj0qrt7/เพชรพระอุมา+เล่ม36+จิตรางคนางค์.pdf
www.mediafire.com/download/m5p796u9fj0qrt7/เพชรพระอุมา+เล่ม36+จิตรางคนางค์.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 37   นาคเทวี
www.mediafire.com/view/ncf601ug1f5adn0/เพชรพระอุมา+เล่ม37+นาคเทวี.pdf
www.mediafire.com/download/ncf601ug1f5adn0/เพชรพระอุมา+เล่ม37+นาคเทวี.pdf 
เพชรพระอุมา      เล่ม 38   นาคเทวี
www.mediafire.com/view/g02c61gly6i2bcg/เพชรพระอุมา+เล่ม38+นาคเทวี.pdf 
www.mediafire.com/download/g02c61gly6i2bcg/เพชรพระอุมา+เล่ม38+นาคเทวี.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 39   นาคเทวี
www.mediafire.com/view/vjbjmlb8oo7alze/เพชรพระอุมา+เล่ม39+นาคเทวี.pdf
www.mediafire.com/download/vjbjmlb8oo7alze/เพชรพระอุมา+เล่ม39+นาคเทวี.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 40   นาคเทวี
www.mediafire.com/view/5994zp8lx5vf7bc/เพชรพระอุมา+เล่ม40+นาคเทวี.pdf
www.mediafire.com/download/5994zp8lx5vf7bc/เพชรพระอุมา+เล่ม40+นาคเทวี.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 41   แต่ปางบรรพ์
www.mediafire.com/view/mr5j6bxwhngy23p/เพชรพระอุมา+เล่ม41+แต่ปางบรรพ์.pdf
www.mediafire.com/download/mr5j6bxwhngy23p/เพชรพระอุมา+เล่ม41+แต่ปางบรรพ์.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 42  แต่ปางบรรพ์
www.mediafire.com/view/k9c93wp1rsc7vru/เพชรพระอุมา+เล่ม42+แต่ปางบรรพ์.pdf
www.mediafire.com/download/k9c93wp1rsc7vru/เพชรพระอุมา+เล่ม42+แต่ปางบรรพ์.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 43   แต่ปางบรรพ์
www.mediafire.com/view/spzqxac40kx3v35/เพชรพระอุมา+เล่ม43+แต่ปางบรรพ์.pdf
www.mediafire.com/download/spzqxac40kx3v35/เพชรพระอุมา+เล่ม43+แต่ปางบรรพ์.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 44    แต่ปางบรรพ์
www.mediafire.com/view/6u14k9z2d784nv4/เพชรพระอุมา+เล่ม44+แต่ปางบรรพ์.pdf
www.mediafire.com/download/6u14k9z2d784nv4/เพชรพระอุมา+เล่ม44+แต่ปางบรรพ์.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 45    มงกุฏไพร
www.mediafire.com/view/ymbha7crhvpg5mp/เพชรพระอุมา+เล่ม45+มงกุฏไพร.pdf
www.mediafire.com/download/ymbha7crhvpg5mp/เพชรพระอุมา+เล่ม45+มงกุฏไพร.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 46   มงกุฏไพร
www.mediafire.com/view/ux3vzegztz7cnia/เพชรพระอุมา+เล่ม46+มงกุฏไพร.pdf
www.mediafire.com/download/ux3vzegztz7cnia/เพชรพระอุมา+เล่ม46+มงกุฏไพร.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 47   มงกุฏไพร
www.mediafire.com/view/asg35fxlg5ogcv3/เพชรพระอุมา+เล่ม47+มงกุฏไพร.pdf
www.mediafire.com/download/asg35fxlg5ogcv3/เพชรพระอุมา+เล่ม47+มงกุฏไพร.pdf
เพชรพระอุมา      เล่ม 48   มงกุฏไพร [จบบริบูรณ์]
www.mediafire.com/view/69ac62jarrnw5y6/เพชรพระอุมา+เล่ม48+มงกุฏไพร[จบบริบูรณ์].pdf
www.mediafire.com/download/69ac62jarrnw5y6/เพชรพระอุมา+เล่ม48+มงกุฏไพร[จบบริบูรณ์].pdf



ขอขอบคุณ คุณ Sonya Lee และ ท่านเจ้าของบล๊อคเป็นอย่างสูงครับ
http://atdownloaded.blogspot.com/2014/09/48-pdf.html



5
  ประวัติการรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทย


  การรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทย และการแจ้งสัญญาณเทียบเวลาก่อน พ.ศ. ๒๔๗๖
การตรวจสอบเวลาเพื่อรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทย และการแจ้งสัญญาณเทียบเวลาให้กับประชาชน พลเรือน เพื่อให้ใช้เวลาตรงกันทั่วประเทศนั้น ทางราชการได้มอบหมายให้กองทัพเรือเป็นผู้ดําเนินการ โดยกําหนดให้เป็นหน้าที่ของแผนกดาราศาสตร์ กองอุปกรณ์การเดินเรือ กรมอุทกศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการกําหนดหน้าที่ส่วนราชการในกองทัพเรือ พ.ศ. ๒๕๐๑
   การตรวจสอบเวลาและแจ้งสัญญาณเทียบเวลานั้นมีมาตั้งแต่โบราณกาล หลักฐานเท่าที่สามารถตรวจพบและยังมีปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ คือแท่งหินจัดเรียงเป็นรูปวงกลมขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี ในนามของ Stonehenge อายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปี ใช้สําหรับบอกเวลาและฤดูต่าง ๆ เข้าใจว่าสร้างไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในทางเกษตรกรรมหรือ พิธีกรรมทางศาสนา
   สําหรับประเทศไทย คนในสมัยโบราณ ก็คงใช้หลักจากการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ ในแต่ละวันเป็นเครื่องบอกเวลา เช่น ดวงอาทิตย์ ขึ้น - ตก ดวงจันทร์ ขึ้น - ตก ซึ่งทั้งนี้ก็สามารถบอกเวลาได้อย่างคร่าว ๆ ไม่ละเอียดมากนัก เนื่องจากใช้การสังเกตจากธรรมชาติเป็นหลัก แต่คนในสมัยก่อนก็ไม่ได้ให้ความสนใจในความถูกต้องของเวลามากนัก ส่วนการแจ้งสัญญาณเวลาก็คงจะเป็นการใช้การตีเกราะ เคาะไม้ ตีกลอง บอกสัญญาณเวลาต่าง ๆ ให้ชาวบ้านทั่วไปได้ทราบ
   การดําเนินการในเรื่องการรักษาเวลาของไทย ได้เริ่มให้ความสนใจอย่างจริงจัง โดยใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาประกอบอย่างมีเหตุผล คงจะเริ่มเมื่อได้มีฝรั่งชาวต่างชาติ เดินทางเข้ามาติดต่อ ค้าขาย เชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศไทย เท่าที่ปรากฏตาม ประวัติศาสตร์ วิเคราะห์ได้ว่า น่าจะเริ่มในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์เป็นกษัตริย์ที่สนพระทัยในวิทยาการสมัยใหม่จากฝรั่งต่างชาติ เห็นได้จากใบรายการสั่งซื้อของใน พ.ศ. ๒๑๙๙ มีการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท อีสท์อินดีส ของ ฮอลันดา ซึ่งเป็นตัวแทนจัดการติดต่อการค้าในกรุงศรีอยุธยา เท่าที่ปรากฏหลักฐานมี กล้องโทรทัศน์ โคมไฟ หมวกสักหลาด ชุดผ้าไหม โต๊ะเขียนหนังสือ หนังสือ แว่นตา อื่นๆ แต่ที่สําคัญที่ปรากฏอยู่ในรายการคือ นาฬิกาแบบใช้เครื่องจักรกล แสดงให้เห็นว่าได้เริ่มมีการนํานาฬิกาเข้ามาใช้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ที่ยังไม่แพร่หลายเนื่องจากความรู้ความสามารถในด้านภาษาต่างประเทศของคนไทยในสมัยนั้นยังจํากัดอยู่ในกลุ่มคนไม่มากนัก วิทยาการด้านการรักษาเวลาจึงยังไม่อยู่ในความสนใจของประชาชนโดยทั่วไป
   การรักษาเวลาและการแจ้งเวลาเริ่มแพร่หลายขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงกําหนดระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย โดยเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕ ทรงสร้าง พระที่นั่งภูวดลทัศไนย ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ในสวนหน้าพระพุทธนิเวศน์ พระที่นั่งองค์นี้สร้างเป็นตึกทรงยุโรป สูง ๕ ชั้น ชั้นยอดมีนาฬิกาใหญ่ ๔ ด้าน ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวง สําหรับบอก เวลามาตรฐานของประเทศไทย ในสมัยนั้น การที่เรามีพระที่นั่งภูวดลทัศไนยเป็นหอนาฬิกาสมัยนั้น ถือได้ว่าเป็นการเฉลิมฉลองการเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ ๒๕ ของไทยในทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ในฐานะที่ไทยเป็นชาติใหญ่ในย่านนี้
   ในรัชสมัยของพระองค์นั้น โลกยังไม่มีความเจริญทางวิทยาศาสตร์ถึงขั้นส่งคลื่นวิทยุเป็นสัญญาณเทียบเวลาสากล หรือใช้นาฬิกาปรมาณูจาก CESIUM - 133 ประเทศที่เจริญในช่วงสมัยของ พระองค์ท่าน จะต้องทําการคํานวณทางดาราศาสตร์เพื่อเทียบเวลาของตนเอง โดยสถาบันทางดาราศาสตร์ของชาตินั้น ๆ เป็นผู้ดําเนินการ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ได้ทรงคํานวณดาราศาสตร์และสามารถรักษาเวลามาตรฐานได้อย่างเที่ยงตรง พระองค์ท่านโปรดเกล้าฯ ให้มี พนักงานนาฬิกาหลวง เรียกว่าตําแหน่ง พันทิวาทิตย์ คอยเทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และตําแหน่ง พันพินิตจันทรา คอยเทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตําแหน่งงานทางวิทยาศาสตร์ของไทยชุดแรก อาจกล่าวได้ว่า ระบบเวลามาตรฐานประเทศไทยที่พระองค์ทรงกําหนดขึ้นนี้ได้กระทําก่อนประเทศยุโรปเสียอีก เพราะ รัฐสภาอังกฤษออกพระราชบัญญัติเวลามาตรฐานอังกฤษ (GREENWICH MEAN TIME) ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ และในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ที่ประชุมดาราศาสตร์ในกรุงวอชิงตัน ได้ตกลงให้ เส้นเมอริเดียน ที่ผ่านเมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ เป็นเมอริเดียนหลักที่จะใช้เทียบเวลาของโลก
   เมื่อได้กล่าวถึงเรื่องนี้แล้ว ควรที่จะได้กล่าวถึงพระอัจฉริยภาพในเรื่อง ดาราศาสตร์ เพื่อเสริมความเข้าใจอีกสักเล็กน้อย ในยุคร่วมสมัยของพระองค์ท่านนั้น นักดาราศาสตร์กําลังให้ความสนใจเรื่อง การเคลื่อนที่ของโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ต่างทุ่มเทสติปัญญา เพื่อหาวิธีคํานวณตําแหน่งดวงจันทร์ ขณะที่โคจรรอบโลก ภายใต้แรงดึงดูดของโลก และดวงอาทิตย์ และตําแหน่งดวงจันทร์ขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ภายใต้แรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ต่าง ๆ ซึ่งการแก้ปัญหาทั้ง ๒ อย่างนี้ต้องอาศัยหลักการในงานสาขาดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ในการคํานวณ ผลงานการคํานวณของพระองค์ท่านที่ประสบความสําเร็จคือ การที่พระองค์ท่านทรงคํานวณการเกิดสุริยุปราคาที่ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ถูกต้องแม่นยํา พระองค์ได้ทรงทําการคํานวณแบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน คือ
   ๑. ทําการคํานวณตําแหน่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ โดยใช้ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของ ดวงจันทร์ (THEORY OF LUNAR MOTION)
   ๒. หลังจากคํานวณตําแหน่งดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์แล้ว จะต้องทําการคํานวณตรวจสอบว่า
จะมีโอกาสเกิดอุปราคาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ผ่านไป ถ้าสามารถเกิดขึ้นได้ จึงจะเข้าสู่การคํานวณขั้น ๓ ต่อไป 
   ๓. เมื่อตรวจสอบแล้วว่ามีโอกาสเกิดอุปราคาได้ ก็จะทําการคํานวณในขั้น ๓ คือ คำนวณว่าการเกิดอุปราคานั้น เป็นสุริยุปราคา หรือ จันทรุปราคา มีลักษณะอย่างไร เช่น เป็นชนิดมืดหมดดวง หรือชนิดวงแหวน หรือมืดเป็นบางส่วน และจะเห็นได้ที่ไหน เวลาเท่าไร ถึงเท่าไร ตามระบบเวลามาตรฐานสากล ซึ่งจะต้องนํามาใช้ในการคํานวณด้วยตลอดตั้งแต่ต้น
   ในกรณีที่พระองค์ได้ทรงคํานวณการเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอในวันอังคาร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. ๑๒๓๐ ตรงกับวันอังคาร ที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ เวลาประมาณ ๑๐:๐๔ น. นี้ พระองค์ได้ทรงกระทําตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ และสามารถคํานวณได้อย่างถูกต้องทั้งในลักษณะการเกิด เวลาที่เกิด และตําบลที่ ที่ใช้สังเกต จากการคํานวณเปรียบเทียบหลักฐานจากการคํานวณของหอดูดาวกรีนิช ปรากฏว่าระบบคํานวณของพระองค์ท่านถูกต้อง แต่ตัวเลขของพระองค์ไม่มีในระบบของกรีนิช แสดงว่าพระองค์ท่านได้ทรง คํานวณขึ้นมาด้วยพระองค์เอง มิได้นําเอาผลการคํานวณของชาวต่างประเทศมาดัดแปลงประยุกต์ใช้สําหรับประเทศไทยแต่อย่างใด ฯ
   ย้อนกลับมาถึงเรื่องแจ้งสัญญาณบอกเวลา ในสมัยก่อน การบอกสัญญาณแจ้งเหตุและอันตรายต่าง ๆ เช่น การตีเกราะ ตีกลอง หรือยิงปืนนั้น มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเข้าใจว่าได้มาจากเมืองจีน ประเพณีนี้ได้มีมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คือมีทั้งยิงปืนและตีกลอง การตีกลองนั้นเดิมทีมีหอกลองอยู่ที่หน้าวัดพระเชตุพน หอหนึ่งเป็นสามชั้น ที่หอนั้นแขวนกลองไว้สามใบ ใบละชั้น ใบใหญ่อยู่ชั้นล่าง แล้วเล็กขึ้นไปตามลําดับ กลองใบใหญ่ที่อยู่ชั้นล่างมีชื่อว่า ย่ำพระสุริศรี สําหรับตีบอกเวลาเมื่อดวงทิตย์ตกดินเพื่อเป็นสัญญาณให้ปิดประตูพระนคร กลองใบชั้นกลางมีชื่อว่า อัคคีพินาศ สําหรับตีเมื่อเกิดไฟไหม้ เป็นสัญญาณเรียกราษฎรให้มาช่วยกันดับไฟ ดูเหมือนมีกําหนดว่าถ้าไฟไหม้นอกพระนคร ตีสามครั้ง ถ้าไฟไหม้ในพระนครตีมากกว่านั้น กลองใบที่สามที่ชั้นยอด มีชื่อว่า พิฆาตไพรินทร์ สําหรับตีให้รู้ว่ามีข้าศึกมาประชิดติดพระนคร ทุกคนจะต้องมาประจํารักษาหน้าที่โดยพร้อมเพรียงกัน
   การยิงปืนบอกเวลานั้น มีมานานแล้วเช่นกัน เดิมทีเดียว (ก่อน พ.ศ. ๒๔๓๐) ที่ป้อมมุม พระบรมมหาราชวัง มีปืนใหญ่ประจําอยู่ทุกป้อม ป้อมละกระบอก เป็นปืนสัญญาณ ปืนที่อยู่ที่ป้อมมุมวัดพระเชตุพนจะยิงบอกเวลาเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นทุกวัน เพื่อเป็นสัญญาณให้เปิดประตูวัง เพราะเวลากลางคืนประตูวังจะปิดและเปิดการลดหย่อนการพิทักษ์รักษาการอยู่เวรยามในพระราชวังในเวลากลางคืน แต่บางคนบอกว่าที่ยิงปืนนั้นเป็นการเปลี่ยนดินปืนอีกนัยหนึ่ง การยิงปืนยังใช้ยิงเป็นสัญญาณเมื่อไฟไหม้ นอกพระนครจะยิงนัดเดียว ถ้าไฟไหม้ในพระนครจะยิงสามนัด และถ้าไฟไหม้พระบรมราชวัง จะยิงติดต่อกันไปหลายนัดจนกว่าไฟจะดับถึงจะหยุดยิง
   การรักษาเวลามาตรฐาน โดยพนักงานนาฬิกาหลวงคือ พันทิวาทิตย์และพันพินิตจันทรา ทําหน้าที่มาได้ช่วงเวลาหนึ่ง โดยคงจะทําควบคู่ไปกับการยิงปืนบอกเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นที่ป้อมมุมวัดพระเชตุพน
   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้จ้างฝรั่งชาวยุโรปเข้ามารับราชการ เพื่อวางรากฐานงานด้านต่าง ๆ ในแทบจะทุกวงการ ทางด้านทหารเรือก็เช่นเดียวกัน สําหรับการรักษาเวลานั้น งานของทหารเรือมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเวลาในการวัดดาราศาสตร์เพื่อใช้ในการเดินเรือและการสํารวจแผนที่ ชาวต่างชาติเหล่านี้คงจะได้นําความรู้ความสามารถในการวัดดาราศาสตร์ หาเวลามาตรฐาน และการใช้นาฬิกาโครโนเมตร สําหรับการรักษาเวลาได้อย่างเที่ยงตรง มาแสดงให้ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ พระชลยุทธโยธิน (Andre’ du Plessis de Richelieu) ซึ่งรับราชการอยู่ในกรมทหารเรือในขณะนั้น เป็นเจ้าพนักงาน ออบเซอร์เวตตอรี่หลวง มีหน้าที่คอยตรวจสอบนาฬิกา (เวลา) ความสําคัญของตําแหน่ง พันทิวาทิตย์และพันพินิตจันทรา จึงลดลงจนหมดไปในที่สุด
   นอกจาก พระชลยุทธโยธินชาวเดนมาร์กแล้ว ในช่วงเวลาเดียวกันก็ยังมี พระนิเทศชลธี หรือ กัปตันลอฟตัส ชาวอังกฤษอีกผู้หนึ่งที่มีความสามารถในเรื่องการหาเวลา เห็นได้จากการที่ท่านได้ ประดิษฐ์นาฬิกาแดดขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ ซึ่งปัจจุบันยังตั้งอยู่ที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ดังได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ ๒
   สําหรับการยิงปืนบอกเวลาเที่ยงหรือที่เรียกว่า ยิงปืนเที่ยง นั้น เกิดขึ้นในเวลาต่อมา ครั้งแรกมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรตัวอย่างที่ อังกฤษยิงปืนสัญญาณที่เมืองสิงค์โปร์ เพื่อให้ประชาชนและชาวเรือต่าง ๆ ตั้งนาฬิกา จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้มีการยิงปืนที่กรุงเทพ ฯ บ้าง ครั้งแรกโปรดเกล้า ฯ ให้ทหารเรือยิงปืนเที่ยงที่ ตําหนักแพ (ท่าราชวรดิฐ) ก่อน และยิงเฉพาะใน วันเสาร์ เท่านั้น โดยมีพระชลยุทธโยธิน เจ้าพนักงานออบเซอร์เวตตอรี่หลวง เป็นผู้ควบคุมกําหนดเวลายิง ครั้น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม จัดตั้งทหารปืนใหญ่ขึ้นในทหารล้อมวัง จึงขอรับหน้าที่ยิงปืนเที่ยง มาให้ทหารปืนใหญ่ล้อมวังที่ ป้อมทัศนนิก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระบรมหาราชวัง และเปลี่ยนมาเป็นยิงปืนเมื่อ เวลาเที่ยงทุกวัน ดังประกาศยิงปืนจากราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๙ จุลศักราช ๑๒๔๙ ดังต่อไปนี้
   ประกาศยิงปืน
   วัน ๓ เดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีชวด ยังเป็นนพศก ๑๒๔๙ (พ.ศ. ๒๔๓๐)
   ด้วย พระชลยุทธโยธิน เจ้าพนักงานออบเซอร์เวตตอรี่หลวง รับพระบรมราชโองการ ใส่เกล้า ฯ สั่งว่าแต่ก่อนได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยิงปืนเที่ยงในวันเสาร์ เพื่อจะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่จะต้องการตั้งนาฬิกาให้ตรงกับ เวลามัธยม (คือมินไตน์) กรุงเทพ ฯ เสมอทุกวันเสาร์มา แต่ถึงกระนั้นก็ยังเป็นที่ลําบากอยู่ ทุกวันนี้การค้าขายเจริญมากขึ้น เรือที่เข้าออกมีขึ้นเป็นอันมากแลมีความปรารถนาเวลามัธยมกรุงเทพ ฯ อยู่ด้วยกันทุกลํา เพราะฉะนั้นจึงทรงพระราชดําริ โดยความที่ทรงพระกรุณาแก่ราษฎรที่ไปมาค้าขายในกรุงเทพ ฯ เพื่อจะได้ประโยชน์ที่จะตั้งนาฬิกาได้ตรงเวลามัธยมกรุงเทพ ฯ จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ยิงปืนเวลาเที่ยงทุก ๆ วัน เมื่อผู้ใดได้ยินเสียงปืนแล้ว ต้องเข้าใจว่าเป็นเวลาเที่ยงตามเวลามัธยม (มินไตน์) กรุงเทพ ฯ ที่หอออบเซอร์เวตอรีหลวง ซึ่งตั้งอยู่ แลตติจูด ๑๓๔๕๓๘๘ เหนือ ลองติจูด ประมาณ ๑๐๐๒๘๔๕ ตะวันออก ของเมืองกรีนิช กําหนดจะได้ยิงปืนใหญ่ที่ป้อมทัศนนิกทีละด้าน ตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง แต่ ณ วัน ๗ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีชวด ยังเป็นนพศก ตรงเวลาเที่ยงเสมอไปทุกๆ วัน อย่าให้ผู้ใดผู้หนึ่งสงสัยตกใจว่าเกิดเพลิงหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ถ้าพ้นเวลาเที่ยงแล้ว หรือก่อนเที่ยงจึงควรถือเอาว่ามีเหตุได้ ถ้าเกิดเพลิงขึ้นในเวลาเที่ยงหรือใกล้เที่ยงจะยิงปืนเป็นสองนัดจึงให้ถือเอาว่ามีเหตุได้
   (จากราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙ จุลศักราช ๑๒๔๙)
   ต่อมาภายหลัง ได้กลับมอบหน้าที่ให้ทหารเรือเป็นผู้ยิงปืนเที่ยงอีก และเป็นผู้รักษาเวลาด้วย กรมทหารเรือได้จัดให้มีการยิงปืนเที่ยงที่ เรือพระที่นั่งจักรี อยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วได้มอบให้กรมยุทธศึกษาทหารเรือจัดการยิงปืนเที่ยงที่ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ โดยให้ นักเรียนนายเรือ เป็นผู้ยิง ภายหลังปรากฏว่าไม่สะดวกเพราะนักเรียนนายเรือไม่ได้อยู่กรุงเทพ ฯ ตลอดเวลา ต้องออกไปฝึก  ภาคทะเลบ่อย ๆ จึงมอบหน้าที่การยิงปืนเที่ยงให้เป็นหน้าที่ของ กรมเรือกล ชั้น ๔ เป็นผู้ยิงปืนเที่ยงทุกวัน ที่สนามหญ้าท่าราชวรดิฐ
   สําหรับการรักษาเวลาที่ได้มอบให้ทหารเรือเป็นผู้รักษานั้น หลังจากพระชลยุทธโยธินได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเจ้าพนักงานออบเซอร์เวตตอรี่หลวง ท่านแรกแล้ว ยังหาหลักฐานไม่พบว่าท่านผู้ใดเป็นผู้ดํารงตําแหน่งหรือทําหน้าที่ควบคุมการวัดดาราศาสตร์หาเวลามาตรฐานต่อมา แต่เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องมาคือ
   - ใน พ.ศ. ๒๔๓๗ ทางราชการได้ย้าย น.ต.ริเชลิว (Louis du Plessis de Richelieu) น้องชายของพระชลยุทธโยธิน ซึ่งย้ายไปปฏิบัติราชการจนเป็น ผู้ช่วยเจ้ากรมแผนที่ กลับมารับราชการทางกรมทหารเรืออีก มีตําแหน่งเป็น หัวหน้าสํานักงานแผนที่ทะเล (ได้เลื่อนยศเป็นนาวาโท – ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระพลสินธวาณัตก์)
   - พ.ศ. ๒๔๓๙ ยกฐานะ สํานักงานแผนที่ทะล เป็น กองแผนที่ทะเล ขึ้นตรงต่อกรมทหารเรือ
   - พ.ศ. ๒๔๔๖ ทางราชการได้จัดส่วนราชการใหม่ ให้ กองแผนที่ทะเลไปขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารเรือ มีหน้าที่ สํารวจแผนที่ทะเล ตรวจสอบและรักษาเวลามาตรฐาน สําหรับใช้ในราชนาวี
   จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ข้างต้น สันนิษฐานว่า พระชลยุทธโยธิน (ต่อมาเป็น พระยาชลยุทธโยธิน - รองผู้บัญชาการทหารเรือ) คงจะมอบหมาย งานรักษาเวลาให้สํานักงานแผนที่ทะเลซึ่งมี น.ต.ริเชลิว   ผู้เป็นน้องชายและเป็นผู้มีความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ดีอยู่แล้วเป็นหัวหน้าสํานักงาน เมื่อสํานักงานแผนที่ทะเลได้รับการยกฐานะเป็นกองแผนที่ทะเล งานรักษาเวลามาตรฐานจึงได้ตกทอดมาอยู่ในความรับผิดชอบของกองแผนที่ทะเลด้วย และเมื่อย้ายกองแผนที่ทะเลมาสังกัดกรมยุทธศึกษาทหารเรือ ทางราชการจึงได้มอบหน้าที่การยิงปืนเที่ยงให้กรมยุทธศึกษาทหารเรือ โดยมีนักเรียนนายเรือ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นผู้ทําการยิง
   การยิงปืนเที่ยงมาเลิกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ เพราะมีไฟฟ้าและวิทยุใช้แล้ว การเทียบเวลาโรงไฟฟ้าจะทํา ไฟกระพริบ เป็นสัญญาณให้เทียบนาฬิกา เมื่อ เวลาสองทุ่ม สําหรับ วิทยุ ก็บอกสัญญาณให้เทียบนาฬิกาในเวลาเดียวกันเช่นกัน
   ในช่วงเวลาเหล่านี้มีประกาศพระราชกฤษฎีกา และประกาศของทางราชการเกี่ยวกับเรื่องเวลาหลายฉบับด้วยกัน เช่นในสมัยก่อน พ.ศ. ๒๔๖๐ การขึ้นวันใหม่เริ่มต้นวันเมื่อ ย่ำรุ่ง (คือ ๐๖:๐๐ นาฬิกา) จนใน พ.ศ. ๒๔๖๐ มีประกาศพระราชกฤษฎีกาฉบับหนึ่ง ให้ใช้การขึ้นวันใหม่เช่นเดียวกับชาวยุโรป คือ เริ่มต้นวัน เมื่อ ๑๒ ชั่วโมง ก่อนเที่ยงวัน (เที่ยงคืน) และสิ้นวันเมื่อ ๑๒ ชั่วโมง ภายหลังเที่ยงวัน และก่อน พ.ศ.๒๔๖๓ ประเทศไทยได้ใช้ เวลาอัตรา เร็วกว่าเวลาสมมุติกรีนิช ๖ ชั่วโมง ๔๑ นาที ๕๗.๓๐ วินาที จึงใน พ.ศ. ๒๔๖๒ มีประกาศพระราชกฤษฎีกาฉบับหนึ่ง เปลี่ยนเป็นให้ใช้ เวลาอัตราเร็วกว่าเวลาสมมุติกรีนิช ๗ ชั่วโมง ตั้งแต่ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นต้นไป
การรักษาเวลามาตรฐานจาก พ.ศ.๒๔๗๖ เป็นต้นมา
   การวัดดาราศาสตร์เพื่อหาเวลามาตรฐานตั้งแต่เริ่มแรกมานั้นสันนิษฐานว่าคงจะใช้ เครื่องวัดแดดในการวัดมุมและใช้นาฬิกาโครโนเมตรบันทึกเวลา ต่อมากรมอุทกศาสตร์ได้รับ นาฬิกาชนิดลูกตุ้ม ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบําราบปรปักษ์ ทรงประทานให้ ๑ เรือน และได้สั่งซื้อจากประเทศเดนมาร์กอีก ๑ เรือน เพื่อใช้เป็น นาฬิกามาตรฐาน แทนนาฬิกาที่ใช้อยู่เดิม นาฬิกาทั้ง ๒ เรือน เป็นนาฬิกาแบบไขลานที่มีความเที่ยงตรงสูง มีบทบาทในการรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทยมาหลายทศวรรษ ปัจจุบันก็ยังใช้ราชการอยู่ และยังทํางานได้อย่างสมบูรณ์ แม้จะใช้งานมานานมากแล้วก็ตาม
   ในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๖ การตรวจสอบเวลาเพื่อใช้ทั่วประเทศตามที่กรมอุทกศาสตร์ได้ ทําอยู่ในเวลานั้น ถ้าเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว เฉพาะเครื่องมือนับได้ว่าล้าสมัยหลายสิบปี เกือบจะเรียกได้ว่าไม่มีประเทศที่เจริญแล้วประเทศใดใช้วิธีอย่างไทย กรมอุทกศาสตร์เล็งเห็นถึงความจําเป็นที่จะต้องเปลี่ยนใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เพราะเวลาที่ใช้นั้นไม่ใช่เฉพาะประชาชนพลเรือนเท่านั้น ยังต้องใช้เทียบเคียงกับต่างประเทศและชาวเรือโดยทั่วไปด้วย โดยเฉพาะชาวเรือ และการเดินเรือย่อมต้องการความละเอียดถูกต้องของเวลามาก กรมอุทกศาสตร์ จึงมีความต้องการที่จะจัดหาเครื่องมือตรวจสอบ และรักษาเวลาที่ทันสมัยให้เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ก็ยังติดขัดด้วยงบประมาณ
   ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๖ การรักษาเวลาอยู่ในความรับผิดชอบของ หมวดเครื่องมือเดินเรือ กองอุปกรณ์การเดินเรือ โดยใช้ นาฬิกาลูกตุ้มเรือนเกณฑ์ เป็น นาฬิกาหลัก ในการรักษาเวลา และทําการวัดดาราศาสตร์ ตรวจหาความผิดของนาฬิกาลูกตุ้มเรือนเกณฑ์โดยกําหนด ๗ วัน ต่อครั้ง ถ้าวันไหนอากาศไม่ดี เช่น มีเมฆมากหรือฝนตก ไม่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ ก็จะเลื่อนตรวจในวันต่อไป วิธีการตรวจโดย การวัดสูงเท่าของดวงอาทิตย์ ด้วย เครื่องวัดแดด (SEXTANT) จดเวลาด้วยนาฬิกาโครโนเมตร แล้วนําไปเทียบกับนาฬิกาลูกตุ่มเรือนเกณฑ์อีกชั้นหนึ่ง ความผิดของนาฬิกาคํานวณถึงเพียงทศนิยม ๓ ตําแหน่ง ของวินาที อัตราเปลี่ยนประจําวันใช้เพียงทศนิยม ๓ ตําแหน่ง เช่นในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้ใช้การตรวจโดยวิธีวัดสูงของดวงอาทิตย์ ๓๔ ครั้ง คิดเฉลี่ย ๑๑ วันต่อครั้ง อัตราผิดประจําวันของ นาฬิกาลูกตุ้มเรือนเกณฑ์ ก. อย่างสูงไม่เกิน ๐.๙๗๑ วินาที อย่างต่ำไม่น้อยกว่า ๐.๐๐๒ วินาที อัตราผิดประจําวันของ นาฬิกาลูกตุ้มเรือนเกณฑ์ ข. อย่างสูงไม่เกิน ๐.๘๕๗ วินาที อย่างต่ำไม่น้อยกว่า ๐.๐๑๓ วินาที
   หมายเหตุ นาฬิกาเรือนเกณฑ์ ก. ตั้งตามเวลาสมมุติที่กรีนิช (Greenwich Mean Time) นาฬิกาเรือนเกณฑ์ ข. ตั้งตามเวลามาตรฐานประเทศไทย (Standard Mean Time) ที่กรุงเทพ ฯ ในช่วงระยะ เวลาที่ดําเนินการตรวจรักษาเวลานั้น ได้ทําการตรวจความผิดของ นาฬิกาโครโนเมตร ที่มีอยู่ด้วย โดยทําการตรวจทุกครั้งภายหลังที่ตรวจความผิดของนาฬิกาเรือนเกณฑ์ แล้วตรวจโดยวิธีเทียบกับนาฬิกาเรือนเกณฑ์ การคํานวณความผิดและอัตราเปลี่ยนประจําวันใช้เพียงทศนิยม ๓ ตําแหน่ง ของวินาที เช่นเดียวกับนาฬิกาเรือนเกณฑ์
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ นาฬิกาโครโนเมตร เรือนที่เดินเที่ยงตรงดีที่สุด มีอัตราเปลี่ยนประจําวันอย่างมากเพียง ๐.๕๓๘ วินาที อย่างน้อย ๐.๐๒๘ วินาที เรือนที่เร็วที่สุดมีอัตราผิดประจําวันอย่างมาก  ๖.๑๕๕ วินาที อย่างน้อย ๒.๑๘๕ วินาที
   สําหรับนาฬิกาโครโนเมตรที่จ่ายให้กับเรือต่าง ๆ ก่อนจ่ายจากคลังเครื่องมือเดินเรือ เจ้าหน้าที่ประจําหมวดจะเทียบหาความผิดและอัตราเปลี่ยนประจําวันให้ก่อนทุกครั้ง
ในช่วงเวลานั้น เนื่องจากการติดต่อสื่อสารในระบบบริการของกองอุปกรณ์การเดินเรือ ยังไม่มีความเจริญก้าวหน้ามากนัก ดังนั้นจึงมีหน่วยงานราชการและเอกชน ๆ อื่นนอกกองทัพเรือ ได้นํานาฬิกามาให้กรมอุทกศาสตร์ ตรวจสอบหาความผิดและเปรียบเทียบให้ โดยเมื่อมีผู้ส่งนาฬิกาให้ตรวจสอบความผิด เจ้าหน้าที่ประจําหมวดจะรับตรวจและจดรับรองรายการเทียบให้เสมอ เว้นแต่เจ้าของผู้มาขอเทียบนั้นๆ เป็นนายทหารเรือพรรคนาวินอยู่แล้ว ผู้มาขอเทียบมักทําการเทียบด้วยตนเอง เจ้าหน้าที่ประจําหมวดเป็นแต่ช่วยให้ความสะดวกในการแสดงรายการต่าง ๆ เท่าที่ผู้มาขอเทียบต้องการทราบเท่านั้น
   ตามปกติ มีผู้ขอเทียบความผิดของนาฬิกา หรือตั้งเวลาเป็นประจํา คือบรรดาเรือหลวงที่นาฬิกาโครโนเมตรประจําเรือสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง กรมอู่ทหารเรือ สัปดาห์ละ ๒ ครั้ง กรมไปรษณีย์โทรเลข แผนกวิทยุกระจายเสียงเทียบไปตั้งบอกเวลา ๒๐:๐๐ น. ทางวิทยุกระจายเสียงสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง กรมรถไฟหลวงสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ที่ไม่มีกําหนดแน่นอนแต่มาขอเทียบเสมอ คือ กรมเจ้าท่า, ห้าง เอส.เอ.บี.,   ห้าง แอลยีรอกันติ, บริษัทไฟฟ้าสยาม, บริษัท ซี.ฮวด นอกจากนี้ยังมีสถานที่ราชการ ห้างร้าน    บริษัทต่า ง ๆ และท่าเรือได้ขอเทียบและตั้งเวลาโดยทางโทรศัพท์อีกเป็นอันมาก
   ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ กรมอุทกศาสตร์ ได้สั่ง กล้องวัดดาว นาฬิกา และเครื่องโครโนกราฟ สําหรับใช้ในการตรวจสอบนาฬิกา ซึ่งอุปกรณ์และเครื่องมือดังกล่าวได้ตรวจรับไว้ใช้ในราชการ เมื่อ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ มีรายการดังนี้
   ๑. กล้องวัดดาว ชนิด Meridian Transit Instrument (Askania Werke A.G.) ๑ กล้อง      ราคา ๒๑,๑๗๕.๒๕ บาท
   ๒. นาฬิกาดาราศาสตร์ ชนิด Ritfler เรือนเกณฑ์ ๑ เรือน เรือนที่สอง ๑ เรือน พร้อมเครื่อง ประกอบ ราคา ๗,๗๓๗.๖๐ บาท
   ๓. โครโนกราฟ สําหรับใช้ประกอบกับกล้องวัดดาว และนาฬิกาดาราศาสตร์ชนิด Wetzer Tape Chronograph ๑ ชุด ราคา ๑,๖๖๗.๘๔ บาท
   ในช่วงที่กรมอุทกศาสตร์ดําเนินการสั่งซื้ออุปกรณ์ตรวจสอบเวลาดังกล่าวข้างต้นในพ.ศ. ๒๔๗๗
   กรมอุทกศาสตร์ ก็ได้จัดสร้าง หอตรวจดาว ขึ้นภายในบริเวณสนามหญ้าชั้นในหน้าท้องพระโรงพระราชวังเดิม ใกล้กับโรงเรียนนายเรือเดิม อาคารหอตรวจดาว เป็นรูปตึกคอนกรีตชั้นเดียว ๘ เหลี่ยม กว้างเหลี่ยมละ ๒.๐๐ เมตร สูง ๓.๔๐ เมตร หลังคาทําให้ ปิด - เปิด ได้กว้าง ๒.๐๐ เมตร ช่องหลังคาที่ปิด – เปิดได้นี้อยู่ใน แนวทิศเหนือ - ใต้จริง ตอนกลางมีแท่นสําหรับตั้งกล้องวัดดาว และมีผนังอิสระสําหรับติดนาฬิกาดาราศาสตร์ และเครื่องประกอบ เมื่อได้สร้างเสร็จแล้วจึงได้โอนตึกนี้ขึ้นมาอยู่กับหมวดเครื่องมือเดินเรือ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ถูกติดตั้งตามคําแนะนําซึ่งได้รับจากบริษัทที่ผลิตเครื่องมือ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ต่อจากนั้นได้มีการตรวจแก้หาความผิดและศึกษาลักษณะของเครื่อง ความสัมพันธ์จากตัวเครื่องจริง ๆ ประกอบกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับเครื่องเท่าที่จะทําได้ แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ในหมวดเครื่องมือเดินเรือ ในระยะนั้นมีจํานวนน้อย เวลาที่ใช้ในการศึกษาก็มีวิธีใช้เครื่องเพียงเท่าที่ปลีกมาได้ จากเวลาที่เหลือจากงานประจํา ดังนั้นในช่วงระยะแรก ๆ จึงยังใช้กล้องนี้ทํางานไม่ได้ผล แต่ต่อมาก็ได้ผลดีขึ้น
   ค่าก่อสร้างหอนาฬิกาและหอกล้องวัดดาวใช้งบประมาณ ๑,๕๐๐. - บาท โดยใช้งบประมาณประเภทเงินการจร พ.ศ. ๒๔๗๘ การดําเนินการในการตรวจสอบเวลา และการบริการสัญญาณเทียบเวลาในระยะนี้เป็นการดําเนินงานที่ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากยังไม่สามารถให้บริการส่งสัญญาณเทียบเวลาออกอากาศได้ เป็นแต่เพียงรักษาเวลานาฬิกามาตรฐานที่มีอยู่ให้แน่นอนเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะนาฬิกาลูกตุ้มเรือนเกณฑ์ที่มีอยู่ ไม่มีเครื่องประกอบเมื่อส่งสัญญาณเวลา ดังนั้นการบริการก็มีเฉพาะบริการเพียงเวลาถามทางโทรศัพท์ และการนํานาฬิกาเทียบที่กรมอุทกศาสตร์
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ กล้องวัดดาวได้รับความเสียหายต้องส่งกลับไปซ่อมที่โรงงาน เสร็จแล้วได้นํากลับมาติดตั้งใช้งานที่หอตรวจดาวบนดาดฟ้าอาคาร ๑ ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ และได้เตรียม ก่อสร้างแท่นตั้งกล้องวัดดาวไว้อย่างดี กล่าวคือ แท่นนี้ได้ก่อสร้างก่อนตัวอาคาร โดยการตอกเสาเข็มลึกลงไปถึงชั้นดินแข็งจนตอกเสาเข็มไม่ลง เพื่อไม่ให้มีการทรุดตัว จากนั้นจึงผูกเหล็กเทคอนกรีตเป็นแท่นสี่เหลี่ยมแกนกลวง กว้าง ๑.๕๐ เมตร ยาว ๒.๐๐ เมตร แยกต่างหากจากตัวอาคารเพื่อมิให้การสั่นสะเทือนจากตัวอาคารและจากพื้นดินโดยรอบมากระทบถึงแท่นตั้งกล้อง ดังนั้นในขณะตรวจวัดดาว ภาพจะไม่มีการสั่นไหวแม้ว่าจะใช้กําลังขยายสูงมากก็ตาม นาฬิกาลูกตุ้มเรือนเกณฑ์ทั้ง ๒ เรือน ก็ติดตั้งอยู่กับแท่นนี้เช่นกัน เพื่อไม่ให้ได้รับความสั่นสะเทือนจากสภาวะโดยรอบ
   วิธีการตรวจดาวนั้น กล้องตรวจดาวจะติดตั้งใน แนวเมอริเดียน มีนาฬิกาดาราศาสตร์ (Sidereal Clock) ๒ เรือน ๆ หนึ่งอยู่บนหอตรวจดาว อีกเรือนหนึ่งอยู่ชั้นล่าง เก็บรักษาไว้ในครอบแก้วที่ ดูดอากาศออกจนเป็นสุญญากาศ มีสายสัญญาณซินโครนัสต่อขึ้นไปบนหอตรวจดาวเพื่อเปรียบเทียบกับนาฬิกาดาราศาสตร์บนหอ ที่นาฬิกาลูกตุ้มเรือนเกณฑ์ ๒ เรือน จะมีหน้าสัมผัสต่อสัญญาณไปเปรียบเทียบ กับนาฬิกาดาราศาสตร์ โดยใช้โครโนกราฟซึ่งอ่านได้ละเอียดถึง ๑ ใน ๑,๐๐๐ ของวินาที เวลาดาวผ่าน    เมอริเดียน จะต้องคํานวณอย่างละเอียด เพื่อเปรียบเทียบกับเวลาดาวผ่านจริง หาอัตราผิดของนาฬิกาดาราศาสตร์แต่ละคืนต้องวัดหลายดวง เพื่อหาค่าเฉลี่ยอัตราผิด แล้วแปลงเป็นเวลาดวงอาทิตย์เปรียบเทียบหาอัตราแก้ของนาฬิกาเรือนเกณฑ์ด้วยโครโนกราฟ การปรับแก้หยาบใช้เกลียวหมุนปรับความยาวของลูกตุ้ม การปรับแก้อย่างละเอียด ต้องใช้การถ่วงน้ําหนักด้วยแผ่นอลูมิเนียมบาง ๆ ซึ่งตัดตามน้ำหนักที่ต้องการ ขนาดเบาที่สุดเพียง ๐.๐๐๑ กรัม นับเป็นงานที่ละเอียดอ่อนมาก
   การรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทยโดยใช้กล้องวัดดาวผ่าน เมอริเดียน ได้ดําเนินการมา จนถึงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๕ กล้องตรวจดาวเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน ประกอบกับการเทียบเวลาในขณะนั้น สามารถจะใช้วิธีรับสัญญาณเทียบเวลาจากสถานีที่รัฐฮาวาย ของสหรัฐอเมริกา, สถานีที่กรุงโตเกียว ของญี่ปุ่น และสถานีที่กรุงปักกิ่ง ของจีน ได้สะดวกและถูกต้องกว่า จึงหันไปใช้การรับสัญญาณเทียบเวลาจากสถานีดังกล่าวแทน โดยคํานวณแก้เวลาด้วยค่าคงที่ เนื่องจากระยะทาง และเทียบหาอัตราผิดของนาฬิกาเรือนเกณฑ์ ด้วยโครโนกราฟ การวัดดาวหาเวลามาตรฐานจึงค่อย ๆ เลิกไป สําหรับการรับสัญญาณเวลานั้น ก็ได้ใช้เป็นหลักอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๔ เมื่อกรมอุทกศาสตร์ เปลี่ยนระบบรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทย เป็นระบบเวลาจาก นาฬิกาปรมาณู จึงใช้เวลาจากระบบใหม่เป็นหลัก และใช้การรับสัญญาณจากสถานีต่าง ๆ เพื่อการเปรียบเทียบ ปัจจุบันกล้องตรวจดาวเก็บรักษ  าไว้ที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ จ.สมุทรปราการ
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ กองอุปกรณ์การเดินเรือ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งแผนกดาราศาสตร์ขึ้นใหม่ เพื่อให้รับผิดชอบงานรักษาเวลามาตรฐานประเทศไทย และงานด้านดาราศาสตร์ ผู้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าแผนกดาราศาสตร์คนแรก คือ น.ท.สมชาย ชั้นสุวรรณ (รักษาราชการ) ขณะนั้นดํารงตําแหน่งหัวหน้ากองอุปกรณ์การเดินเรือด้วย
   พ.ศ. ๒๕๐๓ แผนกดาราศาสตร์ กองอุปกรณ์การเดินเรือ ได้เสนอโครงการเวลามาตรฐาน (TIME SERVICE PROJECT) เพื่อเสนอขออนุมัติต่อจากกองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์ ๕ ประการ คือ
   ๑. รักษาเวลามาตรฐานของประเทศ
   ๒. ส่งสัญญาณเทียบเวลาทางวิทยุ
   ๓. รักษาความถี่มาตรฐาน
   ๔. ส่งความถี่มาตรฐานทางวิทยุ
   ๕. บริการเทียบเวลาทางโทรศัพท์
   ระบบเวลาดังกล่าวนี้เป็นระบบที่มีความทันสมัย ในช่วงเวลานั้นสามารถตรวจสอบและ รักษาเวลาในระบบดาราศาสตร์ และเปรียบเทียบสัญญาณเวลาความถี่มาตรฐานจากต่างประเทศได้ ซึ่งจะทําให้ระบบการรักษาเวลามีความถูกต้องและเป็นมาตรฐานสากลสูงขึ้น แต่เนื่องจากโครงการดังกล่าวใช้ งบประมาณในการดําเนินการค่อนข้างสูง คือ ประมาณ ๑,๑๓๐,๐๐๐. - บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสามหมื่นบาทถ้วน)
   ในช่วงเวลานั้น กองทัพเรือยังไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณได้ จึงได้ชะลอโครงการ ดังกล่าวไว้ก่อน โครงการเวลามาตรฐานได้รับอนุมัติให้ดําเนินการได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยจัดสรร งบประมาณให้เป็นปี ๆ ไป ซึ่งได้ดําเนินการไปจนถึงขึ้นเปิดปฏิบัติงานได้ ดังนี้
   ปีงบประมาณ ๒๕๑๓ ได้จัดซื้ออุปกรณ์เวลามาตรฐานจากประเทศเยอรมันนี เป็นเงิน ๑,๓๙๙,๕๐๐.- บาท ประกอบไปด้วย
   - นาฬิกาควอทซ์ ความถี่สูงขนาดใหญ่ ๓ เรือน ซึ่งมีอัตราผิด ๑/๑๐๐,๐๐๐ วินาทีต่อวัน นาฬิกานี้ นอกจากจะรักษาเวลาได้อย่างเที่ยงตรงแล้ว ยังสามารถผลิตความถี่มาตรฐานได้ ๓ ความถี่ คือ ๕ MHz, ๑ MHz และ ๐.๑ MHz สําหรับบริการตรวจสอบความถี่ของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือ เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
   - เครื่องเทียบความถี่ เพื่อใช้เทียบความถี่ของ นาฬิกาควอทซ์ กับ ความถี่มาตรฐานสากล เช่น จากสถานี Rugby ในประเทศอังกฤษ โดยมีเครื่องรับความถี่อยู่ภายใน และสามารถปรับความถี่ของนาฬิกาควอทซ์ ให้ลงรอยความถี่มาตรฐานสากลได้ โดยอัตโนมัติตลอด ๒๔ ชั่วโมง
   - เครื่องบันทึกการเปรียบเทียบความถี่ของนาฬิกาควอทซ์ กับความถี่มาตรฐานสากล ให้เห็นได้ตลอดเวลาว่ามีการปรับแต่งไปอย่างไรบ้าง และความถี่ของนาฬิกาควอทซ์ ตรงกับความถี่มาตรฐานสากลหรือไม่
   - เครื่องทําโปรแกรมสัญญาณ จํานวน ๒ เครื่อง สําหรับสัญญาณเทียบเวลาระบบอเมริกันเพื่อส่งสัญญาณเทียบเวลาทางวิทยุให้กับเรือต่าง ๆ ในทะเล คือจะเริ่มส่งสัญญาณเทียบเวลาตั้งแต่ นาทีที่ ๕๕ ทุกนาที จนถึงนาทีที่ ๖๐ ของทุกชั่วโมง อีกเครื่องหนึ่งสําหรับทําสัญญาณเทียบเวลาระบบอังกฤษเพื่อ ส่งสัญญาณเทียบเวลาให้ประชาชนทั่วไป คือจะส่งสัญญาเทียบเวลาทุก ๑๐ วินาที ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
   - นาฬิกาควบคุมเวลา เป็นนาทีและวินาที สําหรับใช้ควบคุมเวลาที่จะส่งไปให้นาฬิกาพ่วงตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ ๓๐ เรือน
   - สโคปเวลา สําหรับดูเพื่อเปรียบเทียบคลื่นความถี่ เวลาระหว่างนาฬิกาของแต่ละเรือน และสามารถเปรียบเทียบคลื่นความถี่เวลาจากสถานีความถี่มาตรฐานต่างประเทศกับคลื่นความถี่เวลาของนาฬิกาแต่ละเรือนได้อีกด้วย สโคปเวลานี้สามารถอ่านความแตกต่างกันได้ถึง ๑/๑,๐๐๐,๐๐๐ วินาที
   - เครื่องรับวิทยุ แบบรับความถี่ประจํา สําหรับสัญญาณจากสถานีวิทยุต่างประเทศที่เชื่อถือได้ แล้วส่งไปเปรียบเทียบเวลาให้ดูได้ที่สโคปเวลา
   - แบตเตอรี่ สําหรับใช้กับอุปกรณ์ทั้งหมดเมื่อไฟฟ้าดับ ได้นานถึง ๔๐ ชั่วโมง โดยอัตโนมัติ อุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นติดตั้งเสร็จเรียบร้อยเมื่อ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๔
ปีงบประมาณ ๒๕๑๔ จัดซื้ออุปกรณ์ผลิตความถี่มาตรฐาน ด้วยพลังงานปรมาณูจากธาตุ รูบีเดียม ๘๗ พร้อมทั้งระบบเวลาเพื่อนําไปใช้เดินนาฬิกา ที่มีเป็นพิเศษอยู่แล้ว ๑ เรือน เป็นเงิน ๔๔๙,๓๐๐.- บาท อุปกรณ์นี้ผลิตความถี่มาตรฐานได้ ๖,๘๓๔,๖๘๒,๕๓๙ รอบต่อ ๑ วินาที มีอัตราผิดเพียง ๑/๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ รอบต่อเดือน เมื่อนําไปใช้เดินนาฬิกาแล้ว จากผลการตรวจสอบในระยะเวลา ๓๐ วัน ปรากฏว่านาฬิกามีอัตราผิดเพียง ๑/๑,๐๐๐,๐๐๐ วินาที นอกจากนั้นยังใช้ควบคุมความถี่ของนาฬิกาควอทซ์ทั้ง ๓ เรือน โดยต่อเข้ากับเครื่องเทียบความถี่ที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้ไม่จําเป็นต้องใช้เทียบความถี่มาตรฐานสากล เช่น จากสถานี Rugby ในอังกฤษอีกต่อไป อุปกรณ์นี้ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยเมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
   ปีงบประมาณ ๒๕๑๕ จัดซื้อเครื่องประกอบสําหรับแจ้งสัญญาณเทียบเวลาให้แก่ประชาชนทางโทรศัพท์โดยอัตโนมัติ เป็นเงิน ๑๔๙,๘๕๐.- บาท เครื่องประกอบนี้ใช้ต่อกับเครื่องทําโปรแกรมสัญญาณ ติดตั้งเสร็จเรียบร้อย เมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ พร้อมกันนี้ องค์การโทรศัพท์ยังได้กรุณาติดตั้งโทรศัพท์อัตโนมัติ ให้อีก ๙ เลขหมาย เพื่อบริการความสะดวกในการเทียบเวลาของประชาชนยิ่งขึ้น คือ หมายเลข ๖๖๑๑๗๐ ถึง หมายเลข ๖๖๑๑๗๘ (ในปัจจุบันองค์การโทรศัพท์ได้เปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ทั้ง ๙ หมายเลขดังกล่าวเป็นโทรศัพท์อัตโนมัติหมายเลข ๑๘๑) และเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ พล.ร.อ. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขณะทรงพระยศเป็น ร.ท.เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ ได้เสด็จพระราชดําเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเครื่องอุปกรณ์รักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
   หลังจากเสร็จโครงการในระยะแรกแล้ว กรมอุทกศาสตร์ ก็ได้จัดหาอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ มาเสริมการทํางานของระบบเวลามาตรฐานประเทศไทย ให้สามารถคงสมรรถนะและสามารถบริการประชาชนได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามลําดับ ดังนี้
   ปีงบประมาณ ๒๕๑๖ จัดซื้อนาฬิกาแบบ Digital Clock ซึ่งเป็นนาฬิกาที่แสดงเวลาตัวตัวเลข โดยตัวเลขจะเคลื่อนตัวเปลี่ยนไปทุก ๆ วินาที และ Digital Programmer เพื่อขยายโปรแกรมสัญญาณบอกเวลา และเป็นเครื่องสํารองที่มีใช้อยู่เดิมแล้ว เป็นเงิน ๑๔๓,๐๐๐.- บาท
   ปีงบประมาณ ๒๕๑๗ จัดซื้ออุปกรณ์ Digital Signal Generator ซึ่งสามารถส่งความถี่ได้ ตั้งแต่ ๓๐๐ Hz ถึง ๓๒ MHz เพื่อใช้ในการปรับแต่งความถี่ของเครื่องมือตรวจวัดต่าง ๆ และเครื่องมือที่ต้องการความถูกต้องในด้านความถี่สูงให้ถูกต้องแก่หน่วยงานราชการต่าง ๆ เป็นเงิน ๑๕๘,๐๐๐.- บาท
   ปีงบประมาณ ๒๕๑๘ จัดซื้ออุปกรณ์ Time Code Generator เป็นเงิน ๑๕๑,๗๕๐.- บาท เครื่อง Remote Display เป็นเงิน ๖๓,๕๐๐.- บาท และ Time Code Reader เป็นเงิน ๔๔,๙๐๐.- บาท เพื่อส่งสัญญาณเวลาให้แก่หน่วยราชการต่า ง ๆ เช่น กรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
   ปีงบประมาณ ๒๕๑๙ จัดซื้อเครื่องควบคุมความถี่ (Frequency Controller) จํานวน ๒ เครื่อง เพื่อควบคุมความถี่ที่ผลิตได้ให้ตรงกับความถี่มาตรฐานของประเทศ เป็นเงิน ๒๘๙,๘๐๐.- บาท
   ปีงบประมาณ ๒๕๒๒ จัดหาอุปกรณ์ผลิตความถี่มาตรฐานด้วยพลังงานปรมาณูจากธาตุ ซีเซี่ยม (Caesium Frequency Standard) มาใช้แทน ธาตุรูบีเดียม ๘๗ เป็นเงิน ๖๔๖,๐๐๐.- บาท
   ปีงบประมาณ ๒๕๓๔ ได้จัดซื้อเครื่องรับสัญญาณเวลามาตรฐานสากลจากสัญญาณ ดาวเทียม ระบบ GPS (G.P.S. Satellite Timing Receiver แบบ FTS.800) จํานวน ๑ เครื่อง เพื่อใช้  เปรียบเทียบกับสัญญาณเวลามาตรฐานประเทศไทย เป็นเงิน ๘๑๘,๐๐๐.- บาท
   ปีงบประมาณ ๒๕๓๖ จัดซื้อนาฬิกาบอกเวลา (S[eaking Clock) จํานวน ๑ เครื่อง เพื่อใช้ ทดแทนนาฬิกาบอกเวลาเดิม เป็นเงิน ๖๘,๖๐๐.- บาท
   ปีงบประมาณ ๒๕๓๗ ดําเนินการย้ายอุปกรณ์รักษาเวลามาตรฐานประเทศไทย จากห้องรักษาเวลาเดิมซึ่งตั้งอยู่บริเวณแผนกดาราศาสตร์ชั้นล่าง อาคาร ๒ มาไว้ที่ห้องเวร กรมอุทกศาสตร์เดิม ชั้นล่าง อาคาร ๑ หน้าห้องแผนกเอกสารการเดินเรือ เหตุที่ย้ายเนื่องจากสภาพอาคาร ๒ ไม่ปลอดภัยในการ ใช้งาน ทําการย้ายเมื่อวันที่ ๒ – ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
   ปีงบประมาณ ๒๕๓๙ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ กรมอุทกศาสตร์ได้ส่งนายทหารจํานวน ๓ นาย มี น.ท.ไชยวุฒิ นาวิกาญจนะ หัวหน้าแผนกดาราศาสตร์ กองอุปกรณ์การเดินเรือ น.ท.จักรกฤช มะลิขาว หัวหน้าแผนกยีออฟิสิกส์ กองสํารวจแผนที่ และ น.ต.ชัยฤทธิ์ เกิดผล หัวหน้าแผนกเอกสารการเดินเรือ กองอุปการณ์การเดินเรือ ไปดูงานและฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบอุปกรณ์รักษาเวลามาตรฐาน ที่โรงงานบริษัท HEWLETT PACKARD และโรงงานบริษัท DATUM มลรัฐ California ประเทศ สหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกัน เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้จัดซื้อเครื่องผลิตความถี่มาตรฐาน CAESIUM จากบริษัท HEWLETT PACKARD รุ่น HP 5071 A ราคา ๒,๔๘๒,๔๐๐.- บาท ต่อมาได้จัดส่งนายทหาร จํานวน ๒ นาย คือ น.ท.ไชยวุฒิ นาวิกาญจนะ เสนาธิการ หมวดเรืออุทกศาสตร. และ น.ท.จักรกฤช มะลิขาว หน.สํารวจแผนที่ทะเล ไปศึกษาอบรมหลักสูร Time & Frequency Standard ที่ สถาบัน National Physical laboratory เมือง Teddington ประเทศ อังกฤษ
   ปีงบประมาณ ๒๕๔๐ ได้จัดซื้อเครื่องรับสัญญาณเวลามาตรฐานสากลจากสัญญาณดาวเทียม ระบบ GPS (G.P.S. Satellite timing receiver) จากบริษัท DATUM INC. จํานวน ๑ เครื่อง เพื่อ ใช้เปรียบเทียบกับสัญญาณเวลามาตรฐานประเทศไทย เป็นเงิน ๔๙๒,๒๐๐.- บาท
   ปีงบประมาณ ๒๕๔๑ จัดซื้อระบบรักษาเวลามาตรฐานเพิ่มเติม จํานวน ๑ ระบบ เป็นเงิน ๘,๗๗๑,๘๒๖.- บาท เพื่อทดแทนระบบเดิมเกือบทั้งหมดที่เสื่อมสภาพ
   ปีงบประมาณ ๒๕๔๘ ดําเนินการจัดหาอุปกรณ์พร้อมติดตั้ง ดังนี้
   - เครื่องผลิตความถี่มาตรฐาน (Cesium) รับมอบอุปกรณ.พร้อมติดตั้งเมื่อ ๒๐ พ.ค.๔๘
   - ระบบให้เวลาทาง Internet รับมอบอุปกรณ์พร้อมติดตั้งเมื่อ ๒๐ พ.ค.๔๘
   - เครื่องรับสัญญาณเวลา GPS Satellite Timing Receiver รับมอบอุปกรณ์พร้อมติดตั้งเมื่อ ๒๐ พ.ค.๔๘
   - เครื่องบอกเวลาทางโทรศัพท์ (Speaking Clock) รับมอบอุปกรณ์พร้อมติดตั้งเมื่อ ๓๐ ส.ค.๔๘
   - เครื่องสอบเทียบเวลาระดับ Primary รับมอบอุปกรณ์พร้อมติดตั้งเมื่อ ๒๓ ส.ค.๔๘


6
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อความเอียงของแกนหมุนของโลกกำลังลดลง

นิพนธ์ ทรายเพชร

บทคัดย่อ
แกนหมุนรอบตัวเองของโลกเอียงจากแนวตั้งฉากของระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นมุม e สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเพราะดาวขนาดใหญ่เท่าดาวอังคารชนโลกจนทำให้เกิดดวงจันทร์ ด้วย e มีค่าไม่คงที เพราะแรงรบกวนจากภายนอก โดยเฉพาะจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ซึ่งทำให้แกนโลกส่ายรอบละ 25,800 ปี ทั้งนี้เพราะโลกโป่งออกบริเวณแถบศูนย์สูตร ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จึงช่วยกันดังให้แกนโลกตั้งตรง นอกจากนี้ยิ่งมีแรงรบกวนจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ทำให้วงโคจรของโลกส่ายรอบละ 71,000 ปี การส่ายของแกนหมุนและการส่ายของวงโคจรของโลกคือสาเหตุที่ทำให้ e มีคาบประมาณ 41,000 ปี โดยมีค่าเฉลี่ย 23.3 องศา ค่าต่ำสุด 22.6 องศา ค่าสูงสุด 24.2 องศา ปัจจุบัน e มีค่า 23.4 องศา อยู่ในช่วงกำลังลดลงในอัตรา 0.475" ต่อปี หากคิดเป็นระยะทางจะได้ 14.7 เมตรต่อปี หรือ 1.47 กิโลเมตรต่อศตวรรษ นั่นคือเส้นที่แบ่งเขตร้อนกำลังเคลื่อนที่เข้าหาเส้นศูนย์สูตรของโลกด้วยความเร็วสูงอย่างไม่น่าเชื่อ 14.7 เมตรต่อปี สูงกว่าอัตราการเลื่อนของเพลตเทคโทนิก ซึ่งเลื่อนเพียงปีละ 13 เซนติเมตรเป็นอย่างมาก เมื่อเขตร้อนลดลงเขตหนาวก็ต้องเพิ่มขึ้น นั่นคือแกนโลกเอียงลดลงกำลังพาโลกไปสู่ยุคน้ำแข็ง และแกนโลกเอียงน้อยที่สุด 22.6 องศาในอีก 10,200 ปี
บทนำ
โลกไม่อยู่นิ่ง ๆ แต่มีการเคลื่อนที่สำคัญ 2 ประการ คือ หมุนรอบตัวเองรอบละ 1 วัน และเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 1 ปี โดยพาดวงจันทร์ซึ่งเคลื่อนรอบโลกรอบละ 1 เดือนไปด้วย แกนที่โลกหมุนรอบไม่ตั้งฉากกับระนาบทางโคจรขอบโลกรอบดวงอาทิตย์ แต่เอียงจากแนวตั้งฉากเป็นมุมประมาณ 23.5 องศา โลกจึงไม่อยู่โดดเดี่ยว เพราะมีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ ๆ แม้ว่าระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์และระยะระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่เปลี่ยนแปลงไม่มาก นอกจากนี้ยังมีดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์กับโลกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงมีแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อโลกในสัดส่วนที่ค่อนข้างมากตลอดเวลาจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และแรงที่กระทำต่อโลกในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ แรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อโลกจากดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์จึงไม่คงที่ แรงเหล่านี้เองที่ทำให้ความเอียงของแกนหมุนของโลกเปลี่ยนแปลง โดยมีคาบของการเปลี่ยนแปลงประมาณ 41,000 ปี ปัจจุบันความเอียงของแกนหมุนของโลกเท่ากับ 23 องศา 26 ลิปดา 11 พิลิปดา มุมนี้มีค่าน้อยลงเรื่อย ๆ การลดลงหรือเพิ่มขึ้นของความเอียงของแกนหมุนของโลก ส่งผลกระทบมาถึงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันที่อยู่เหนือสุด (21 มิถุนายน) และในวันที่อยู่ใต้สุด (22 ธันวาคม)
ทำไมแกนโลกจึงเอียง
แกนโลกเอียงเพราะในยุคต้น ๆ ของกำเนิดดาวเคราะห์ มีดาวขนาดดาวอังคารวิ่งเข้าชนโลก ทำให้ชิ้นส่วนของโลกที่หลุดออกมาและส่วนที่เหลือของดาวที่มาชนหลอมรวมกันกลายเป็นดวงจันทร์โคจรรอบโลก ส่วนโลกถูกชนจนแกนเอียงและหมุนรอบแกนด้วยความเร็วสูงรอบละ 1 วัน
กำเนิดของดาวเคราะห์ชั้นในได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร เกิดจากเนบิวลาเดียวกันกับที่ให้กำเนิดเป็นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ดวงอื่น แต่ในยุคต้น ๆ บริเวณดาวเคราะห์ชั้นในจะมีดาวขนาดเล็กจำนวนมากที่ถูกดวงใหญ่ดึงให้ตกลงสู่ดาวเคราะห์เหล่านั้น จนดาวเคราะห์นั้นในมีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่จำนวนวัตถุขนาดเล็กลดลง และพลังงานของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์จะผลักดันโมเลกุลหรือสารที่ระเหยได้ง่าย รวมทั้งก๊าซที่เบาให้หลุดลอยออกจากดาวเคราะห์ชั้นในไปอยู่ ณ ชั้นนอกของระบบสุริยะ ทำให้ดาวเคราะห์ชั้นในเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นหินแข็ง มีความหนาแน่นสูง ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกเป็นดาวเคราะห์ก๊าซมีความหนาแน่นต่ำ
ดาวเคราะห์ทุกดวงมีแกนเอียงต่าง ๆ กัน ดาวเคราะห์ที่มีแกนเอียงคล้ายโลกที่สุดคือ ดาวอังคาร ซึ่งมีแกนหมุนเอียงจากแนวดิ่งของระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นมุมประมาณ 25 องศา
แกนโลกเอียงเท่าใด
ความเอียงของแกนหมุนของโลกคือ มุมระหว่างแกนหมุนรอบตัวเองของโลก และแกนที่ผ่านขั้วทั้งสองของทรงกลมฟ้าที่มีเส้นสุริยวิถีเป็นเส้นแบ่งครึ่ง ซึ่งเท่ากับมุมระหว่างระนาบสุริยวิถีกับระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลก ตรงกับภาษาอังกฤษว่า obliquity มีสัญลักษณ์ว่า e
ปัจจุบัน e มีค่าประมาณ 23o 26' และกำลังอยู่ในช่วงลดลงด้วยอัตราประมาณ 0.475" ต่อปี มุมนี้จะลงไปต่ำสุดที่ 22.6o ในอีก 10,200 ปี หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นทีละน้อยอีกครั้งหนึ่งจนกระทั่งถึงค่าสูงสุด 24.2o ค่าสูงสุดนี้เกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้าปัจจุบันประมาณ 10,000 ปี
การเปลี่ยนแปลงของ e ในระยะเวลา 700,000 ปีที่ผ่านมา ปรากฏดังรูป
ในเวลา 700,000 ปี e เปลี่ยนแปลงไป 17 รอบ ดังนั้น 1 รอบของการเปลี่ยน e จะยาวนานประมาณ 41,000 ปี ซึ่งเรียกว่า คาบของการเปลี่ยนแปลงของ e
ค่าเฉลี่ยของ e คือ 23.3 องศา ในปัจจุบันโลกจึงอยู่ในจังหวะที่ e ลดลงเข้าใกล้ค่าเฉลี่ย
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของ e
ความเอียงของแกนหมุนของโลกคือ มุมระหว่างแกนหมุนรอบตัวเองของโลก และแกนที่ผ่านขั้วทั้งสองของทรงกลมฟ้าที่มีเส้นสุริยวิถีเป็นเส้นแบ่งครึ่ง ซึ่งเท่ากับมุมระหว่างระนาบสุริยวิถีกับระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลก ตรงกับภาษาอังกฤษว่า obliquity มีสัญลักษณ์ว่า e
e มีค่าไม่คงที่เพราะสาเหตุ 2 ประการ คือ
    เปรียบเทียบการส่ายของแกนหมุนของโลกและของลูกข่าง
(ก.) การส่ายของแกนหมุนของโลกอันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ที่พยายามดึงแกนโลกให้ตั้งตรง ทำให้แกนโลกส่ายรอบละ 25,800 ปี ดาวเหนือในแต่ละยุคจึงไม่ใช่ดาวดวงเดียวกัน เช่น ในปัจจุบันดาวเหนือคือ ดาวแอลฟา-หมีเล็ก เมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว ดาวเหนือคือ ดาวทูแบน ในอนาคตอีก 10,000 ปี ดาววีกา จะเป็นดาวเหนือที่สว่างโชติช่วง
เนื่องจากโลกโป่งออกบริเวณเส้นศูนย์สูตร แรงลัพธ์ที่ดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์กระทำต่อโลกจึงไม่ผ่านจุดศูนย์กลางโลก แต่ผ่านใต้จุดนี้ ผลที่เกิดขึ้นคือ มีแรงที่พยายามดึงแกนโลกให้ตั้งตรงดังกล่าวแล้ว แกนโลกจึงส่ายในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางของการหมุนแทนที่จะส่ายในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการหมุนของลูกข่าง
(ข.) การส่ายของทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์อันเนื่องมาจากแรงรบกวนจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ในระบบสุริยะ คาบของการส่ายของทางโคจรของโลกยาวนานประมาณ 71,000 ปี การส่ายของแกนหมุนและการส่ายของทางโคจรของโลก ทำให้ e มีคาบประมาณ 41,000 ปี
แกนโลกเอียงคือสาเหตุของการเกิดฤดูกาลของโลก
ในปัจจุบันขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนมิถุนายน ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อน แต่ในเดือนธันวาคมขั้วโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์ซีกโลกเหนือได้รับความร้อนลดลงจึงเป็นฤดูหนาว
ในระยะยาวอีกประมาณ 12,000 ปีจากปัจจุบัน ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนธันวาคมและหันออกในเดือนมิถุนายน ดังนั้นฤดูกาลจึงกลับกันกับในปัจจุบัน คือซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อนในเดือนธันวาคมและเป็นฤดูหนาวในเดือนมิถุนายน ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเพราะการส่ายของแกนหมุนของโลกรอบละ 25,800 ปี
ทิศทางที่แสงแดดตกกระทบผิวโลกจะช่วยบอกให้ทราบว่าโลกบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำ หากแสงอาทิตย์ส่องมาตรง ๆ หรือตั้งฉากกับผิวโลกจะทำให้ผิวโลกบริเวณนั้นร้อนกว่า เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมาเฉียง ๆ ทั้งนี้เพราะเมื่อแสงส่องมาเฉียงความร้อนจะแผ่กระจายเป็นบริเวณกว้าง อุณหภูมิเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่จึงน้อยกว่าเมื่อแสงส่องมาตรง ๆ ซึ่งความร้อนแผ่กระจายเป็นบริเวณแคบ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่มีค่าสูง
ปัจจุบันโลกมีบริเวณต่าง ๆ ที่แบ่งตามภูมิอากาศคือ เขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว
เขตร้อน อยู่ระหว่างละติจูด 23.5o ใต้ ถึง 23.5o เหนือ
เขตอบอุ่นเหนือ อยู่ระหว่างละติจูด 23.5o เหนือ ถึง 66.5o เหนือ
เขตอบอุ่นใต้ อยู่ระหว่างละติจูด 23.5o ใต้ ถึง 66.5o ใต้
เขตหนาวเหนือ อยู่ระหว่างละติจูด 66.5o เหนือ ถึงขั้วโลกเหนือ
เขตหนาวใต้ อยู่ระหว่างละติจูด 66.5o ใต้ ถึงขั้วโลกใต้
    แกนโลกเอียงน้อยลงทำให้เขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาเส้นศูนย์สูตรโลก
ละติจูด 23.5 องศา คือขอบของเขตร้อนที่อยู่ระหว่างละติจูด 23.5 องศาใต้กับละติจูด 23.5 องศาเหนือ มุม 23.5 องศาคือ ความเอียงของแกนหมุนของโลกจากแนวตั้งฉากกับระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งแทนด้วย e ถ้า e ลดลง เขตร้อนของโลกก็ต้องลดลงด้วย ปัจจุบัน e ลดลงในอัตราประมาณ 0.475" ต่อปี หรือ 47.5" ต่อศตวรรษ หากคิดเป็นระยะทางจะได้ 14.7 เมตรต่อปี หรือ 1.47 กิโลเมตรต่อศตวรรษ นั่นคือ เส้นที่แบ่งเขตร้อนซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่าเส้นทรอปิก (tropics) กำลังเคลื่อนเข้าหาเส้นศูนย์สูตรของโลกด้วยความเร็วสูงอย่างไม่น่าเชื่อ 14.7 เมตรต่อปี สูงกว่าอัตราการเลื่อนของเพลตเทกโทนิก ซึ่งเลื่อนเพียงปีละ 13 เซนติเมตรเป็นอย่างมาก
หากคิดเป็นพื้นที่เขตร้อนจะลดลงปีละประมาณ 1,080 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณที่เป็นทะเลเป็นมหาสมุทร บริเวณที่เป็นพื้นดินประมาณ 330 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น และทวีปแอฟริกาเป็นผืนแผ่นดินผืนใหญ่ที่เส้นแบ่งเขตร้อนทั้งสองผ่าน
เมื่อเขตร้อนลดลง เขตหนาวก็ต้องเพิ่มขึ้น นั่นคือ แกนโลกเอียงลดลงกำลังพาโลกไปสู่ยุคน้ำแข็ง แกนโลกเอียงน้อยที่สุด 22.6 องศา ในอีก 10,200 ปีซึ่งเป็นช่วงที่เขตร้อนเหลือน้อยที่สุด หลังจากนั้นแกนโลกจะเริ่มเอียงมากขึ้นทีละน้อย เขตร้อนเพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์โลกร้อนขึ้นเพราะแกนโลกเอียงมากขึ้นก็จะตามมา กลายเป็นโลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งละลายเนื่องจากเขตหนาวลดลง
การส่ายของแกนหมุนของโลกทำให้เส้นศูนย์สูตรฟ้าเลื่อนไปตัดกับสุริยวิถีทางทิศตะวันตกของจุดเดิมปีละ 50"
เมื่อสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนฟ้าจะพบว่า ดวงอาทิตย์เลื่อนไปทางทิศตะวันออกวันละประมาณเกือบ 1 องศา พอครบปีก็กลับมาที่เก่า ทั้งนี้เป็นเพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เส้นทางที่ดวงอาทิตย์ผ่านไปเรียกว่า สุริยวิถี ซึ่งเอียงกับระนาบเส้นศูนย์สูตรเป็นมุม e จุดตัดกันของสุริยวิถีและเส้นศูนย์สูตรฟ้ามี 2 จุดคือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในวันที่ 21 มีนาคม และ 23 กันยายน ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันที่ 21 มีนาคม เรียกว่า วสันตวิษุวัต ซึ่งควรเรียกว่า วิษุวัตในเดือนมีนาคม สุริยวิถีผ่านกลุ่มดาวจักรราศี 12 กลุ่มและกลุ่มดาวเหล่านี้อยู่คงที่บนฟ้า เป็นกลุ่มดาวที่ใช้อ้างอิงซึ่งไทยเรานำมาตั้งเป็นชื่อเดือนสุริยคติ เช่น กลุ่มดาวแมงป่อง เป็นที่มาของเดือนพฤศจิกายน พฤศจิก แปลว่า แมงป่อง อายน แปลว่า มาถึง หรือ มาแล้ว สิ่งที่มาถึงกลุ่มดาวแมงป่องก็คือดวงอาทิตย์ ในอดีตเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแมงป่องตลอดเดือนพฤศจิกายน แต่ในปัจจุบันดวงอาทิตย์จะเข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่องตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน โดยช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งซึ่งอยู่ถัดกลุ่มดาวแมงป่องในทิศตะวันตก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะการส่ายของแกนหมุนของโลกทำให้จุดวสันตวิษุวัตเลื่อนไปทางทิศตะวันตกของจุดเดิมปีละ 50" ในเวลา 2,000 ปี จุดวสันตวิษุวัตเลื่อนไปทางทิศตะวันตกเกือบ 28 องศา จุดวสันตวิษุวัตคือจุดตั้งต้นของราศีเมษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเดือนเมษายนและกลุ่มดาวแกะ ปัจจุบันนี้จุดนี้อยู่ในกลุ่มดาวปลา ต้องรอถึงปลายเดือนเมษายน ดวงอาทิตย์จึงจะเข้าไปสู่กลุ่มดาวแกะ เช่นเดียวกันกับต้องรอถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ดวงอาทิตย์จึงจะเข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่อง
เส้นแบ่งเขตร้อนเหนือกับเขตอบอุ่นเหนือที่เรียกว่า Tropic of Cancer นั้นปัจจุบันไม่ได้อยู่ในกลุ่มดาวปู (Cancer) แต่อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) ดังนั้นจึงควรเรียกว่า Tropic of Gemini ในทำนองเดียวกัน เส้นแบ่งเขตร้อนใต้กับเขตอบอุ่นใต้ต้องเปลี่ยนจาก Tropic of Capricorn เป็น Tropic of Sagittarius (คนยิงธนู)
บทสรุป
ความเอียงของแกนหมุนของโลกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้นบนโลก ความเอียงนี้ไม่คงที่ แต่เปลี่ยนแปลงเป็นรอบ ๆ รอบละประมาณ 41,000 ปี สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการส่ายของแกนหมุนและการส่ายของวงโคจรของโลก ปัจจุบันมุมเอียงของแกนโลกลดลงทำให้เขตร้อนลดลง เส้นแบ่งเขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาเส้นศูนย์สูตรด้วยความเร็วสูงอย่างไม่น่าเชื่อ 14.7 เมตรต่อปี เขตต้อนลดลงเขตหนาวต้องเพิ่มขึ้น ดังนั้นแกนโลกเอียงลดลงกำลังพาโลกไปสู่ยุคน้ำแข็ง



7
ผีเสื้อ - ชรัส เฟื่องอารมย์

<a href="http://www.youtube.com/v/PcuNUx6JTGI?hl" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/PcuNUx6JTGI?hl</a>

http://www.youtube.com/watch?v=PcuNUx6JTGI

8
เพชรพระอุมา โดย ท่านพนมเทียน บทประพันธ์ที่เป็นหนังสือ ๔๘ เล่ม ๗๙๗๔ หน้ากระดาษ คงจะเป็นทั้งสุดยอดนวนิยาย และเป็นนิยายที่ยาวที่สุดในโลกมังครับ

เพชรพระอุมา 1-1 ตอน ไพรมหากาฬ

<a href="http://www.youtube.com/v/MeHiPwt4ZY4?list" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/MeHiPwt4ZY4?list</a>

อัปโหลดเมื่อ 24 ก.ย. 2011

บันทึกย้อนหลัง "เพชรพระอุมา" ภาคแรก ตอนหนึ่ง "ไพรมหากาฬ"
ลำดับที่ 1 ประจำวันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

รายการ "เสียงไพรในวรรณกรรม" กับวรรณกรรมเรื่อง "เพชรพระอุมา"
บทประพันธ์ของ "พนมเทียน" ดำเนินรายการ โดย ไท ศิลารักษ์
ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 21.30 - 23.00 น. สถานีวิทยุ 106 FM GREEN RADIO จังหวัดสุรินทร์
รับฟังออนไลน์ได้ทาง www.seangpri.com , www.106fmgreenradio.com

ขอขอบคุณ ห้องสมุดคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอด มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ผู้จัดทำหนังสือเสียงวรรณกรรมเรื่องนี้


เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่มีขนาดความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และนับว่าเป็นนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดในโลก บทประพันธ์โดย พนมเทียน ซึ่งเป็นนามปากกาของนายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และตีพิมพ์ต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน ใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี โดยพนมเทียนเริ่มต้นการประพันธ์เพชรพระอุมาในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 และสิ้นสุดเนื้อเรื่องทั้งหมดในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533 รวมระยะเวลาในการประพันธ์ทั้งสิ้น 25 ปี 7 เดือน กับ 2 วัน

เพชรพระอุมา ถูกนำมาตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มซ้ำใหม่หลาย ๆ ครั้งในรูปแบบของพ็อกเก็ตบุ๊ค จำนวน 48 เล่ม โดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ลิขสิทธิ์โดยพนมเทียน (เดิมเป็นชนิดปกแข็งจำนวน 53 เล่ม แต่ละเล่มมีความหนาประมาณ 33 ยก หรือ 16 หน้ายก และเมื่อนำมารวมกันทั้งหมดจะมีความหนาประมาณ 1,749 ยก แบ่งเป็นสามภาคได้แก่ ภาคแรก จำนวน 24 เล่ม ภาคสอง จำนวน 15 เล่ม และ ภาคสาม จำนวน 14 เล่ม แต่ปัจจุบันได้รวบรวมเนื้อหาในแต่ละภาคและลดลงคงเหลือเพียงแค่ 48 เล่ม) แบ่งเป็นสองภาค คือภาคแรก จำนวน 24 เล่ม 6 ตอน และภาคสมบูรณ์ จำนวน 24 เล่ม 6 ตอน ตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2541 และทำการปรับปรุงต้นฉบับเดิมพร้อมกับตีพิมพ์ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2544 และตีพิมพ์ครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2547

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://th.wikipedia.org/wiki/เพชรพระอุมา

หมายเหตุ – ไฟล์ PDF ที่นำมาให้ทุกท่านได้ดาวน์โหลดกันนั้น เป็นการรวบรวมมาจากเว็บไซด์ต่างๆ ผมไม่ได้เป็นผู้จัดทำขึ้น หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยทุกท่านมา ณ ที่นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องขอขอบพระคุณคุณ พนมเทียน สำหรับวรรณกรรมเรื่องเยี่ยมเรื่องนี้ ซึ่งโดยส่วนตัวผม ถือว่า เพชรพระอุมา เป็นเสมือนมรดกคู่บ้านคู่แผ่นดินของพวกเราชาวไทยสยามทุกคน…




จะทยอยนำมาไว้ที่นี่จนจบเรื่องนะครับ

9
ตั้งเวลาในคอมพิวเตอร์ของเราให้ตรงกับเวลามาตราประเทศไทย ... ?

แบบแรกนี้ สำหรับท่านที่ใช้ Windows XP

๑. ดับเบิ้ลคลิกที่เวลาในหน้าจอของเราที่มุมขวาล่าง
๒. จะเห็นมีกรอบเล็กๆอันหนึ่งโผล่ขึ้นมา ชื่อว่า Date and Time Properties
๓. ให้กดเลือกที่คำว่า Internet Time
๔. ก๊อปปี้คำนี้ time1.nimt.or.th ไปแป่ะในช่องที่ทางขวามีปุ่ม Update Now
๕. กดปุ่ม Update Now
๖. รอสักพักจน บรรทัดข้างล่างบอกว่าการปรับเวลาใหม่ของเราเสร็จสมบูรณ์แล้วดังภาพข้างล่าง




สำหรับท่านที่ใช้ Windows 7

๑. คลิกทีเดียวที่เวลาในหน้าจอของเราที่มุมขวาล่าง
๒. คลิกที่คำว่า Change date and time setting...

๓. เมื่อหน้าจอเปลี่ยนมาเหมือนภาพข้างล่างแล้ว ให้กดเลือกที่คำว่า Internet Time




๔.ตามภาพข้างล่างให้คลิกที่คำว่า Change setting...



ทำต่อไปคล้ายกับของ Windows XP ตามภาพข้างล่าง






ถ้าอยากดูเวลามาตรฐานทันที ก็คลิกที่ลิงค์ข้างล่างได้เลยครับ

http://www.timeanddate.com/worldclock/fullscreen.html?n=28




ถ้าอยากอ่านรายละเอียด เชิญตามไปที่ลิงค์ข้างล่างนะครับ
http://www.nimt.or.th/nimt/Service/index.php?menuName=time





10
http://www.blueskychannel.tv/      ถ้าดูทางจานดาวเทียม psi ช่อง 147
http://www.tnewstv.com/tv_index/     psi177
http://www.rsutv.tv/     psi163
http://www.13siamthaitv.com/   psi
http://www.fm-tv.tv/    psi216
http://www.manager.co.th/home/astv/ 
http://www.suwannabhumi.tv/

psi149 Hot Chanel
psi209 Luangta
psi210 Sungkhatarn
psi213
psi214 Muslim
psi215 White Chanel
psi216 FMTV

11
ธนบัตรที่ระลึกวันราชาภิเษกสมรสครบ ๕๐ ปี ชนิดราคา ๕๐๐๐๐๐ บาท



ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงฉลองพระองค์ ลำลอง คู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระมาลา รวมทั้งอัญเชิญตราอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. พิมพ์คู่กับตราอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. โดยมีภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมราชินี ณ พระที่นั่ง ไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระครุฑพ่าห์ และลาย ช่อกนก เป็นภาพประกอบ

 

ภาพประธานด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และพระฉายา สาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส และมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งยังเป็นพระคู่หมั้น ภาพพระตำหนัก เปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระราชโอรส และพระราชธิดา และพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขณะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ

ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัว คู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และลายน้ำเลขไทย 500000 ซึ่งมีความโปร่งแสง เป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เมื่อยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง

เส้นใย ในเนื้อกระดาษฝังเส้นใยสีโลหะซ่อนไว้ตามแนวยืนของธนบัตร ภายในเส้นใยสี โลหะมีตัวอักษรไทยคำว่า "ทรงพระเจริญ" ขนาดเล็กเรียงเป็นระยะอยู่สองแถว สามารถอ่าน ได้ทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง และจะเห็นเรืองแสงเป็นสีเหลืองและ สีน้ำเงินภายใต้รังสีเหนือม่วง

ขนาด กว้าง 126 มิลลิเมตร ยาว 205 มิลลิเมตร

สีกระดาษ สีเหลืองอ่อน

ลักษณะพิเศษ

มุมบนขวาด้านหน้าของธนบัตร ผนึกฟอยล์สีทองพระบรมฉายาสาทิส-ลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซ้อนกับพระฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ รอบฟอยล์สีทองมีแถวตัวเลขอารบิก "500000" ขนาดเล็กเรียงติดต่อกันอ่านได้ชัดเจนโดยใช้แว่นขยาย ทั้งหมดล้อมรอบด้วยลายเส้นโค้งสีส้ม สีน้ำตาลอ่อน สีเขียวอ่อน สีฟ้าและสีเหลือง มุมบนซ้ายด้านหน้า มีตัวเลขอารบิกขนาดใหญ่บอกราคา "500000" พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ

ถัดลงมามีคำว่า "รัฐบาลไทย""ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" และ "ห้าแสนบาท" ใต้ลายน้ำมีลายเส้นอยู่ในกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในมีตัวเลขอารบิก "500000" ซ่อนไว้ ซึ่งมองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางของธนบัตรด้านบน

ลักษณะพิเศษที่ปรากฏภายใต้รังสีเหนือม่วง (แบล็กไลท์)

ในเนื้อกระดาษโรยเส้นใยเรืองแสงเป็นแถบตามแนวยืนของธนบัตร ซึ่งมองไม่เห็นด้วยแสงธรรมชาติ แต่จะเห็นเรืองแสงเป็นสีเหลืองและ สีน้ำเงินภายใต้รังสีเหนือม่วง

วันประกาศออกใช้้

นำออกใช้ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2543


คลิกที่ภาพจะเห็นภาพใหญ่ขึ้นนะครับ

12
สมาน-กอนซาเลซ (เต็มๆทุกยกด้วยครับ)

<a href="http://www.youtube.com/v/4SorE2SzmCQ?hl" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/4SorE2SzmCQ?hl</a>

http://www.youtube.com/watch?v=4SorE2SzmCQ

13
                           


14
MEGA FACTORIES : LAMBORGHINI MURCIELAGO

<a href="http://www.youtube.com/v/uwv2Zt2MssA?version" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/uwv2Zt2MssA?version</a>

http://www.youtube.com/watch?v=uwv2Zt2MssA

15
Nissan GTR - The Full Story

<a href="http://www.youtube.com/v/6bGeXOmJn8g?version" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/6bGeXOmJn8g?version</a>

http://www.youtube.com/watch?v=6bGeXOmJn8g


Nissan GT-R vs The World 2 - Best Motoring International

<a href="http://www.youtube.com/v/VE5M_CHfWR8?version=3&amp;amp;hl" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/VE5M_CHfWR8?version=3&amp;amp;hl</a>

http://www.youtube.com/watch?v=VE5M_CHfWR8



Pages: [1] 2 3 ... 12
SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.695 seconds with 18 queries.