Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
12 May 2024, 20:34:59

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,679 Posts in 12,490 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  ภาพสวยงาม  |  The Last Supper พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: The Last Supper พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย  (Read 1133 times)
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« on: 16 November 2020, 20:14:20 »

The Last Supper พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย


https://th.wikipedia.org/wiki/อาหารค่ำมื้อสุดท้าย_(เลโอนาร์โด)

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (เลโอนาร์โด)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



อาหารค่ำมื้อสุดท้าย
Leonardo da Vinci (1452-1519) - The Last Supper (1495-1498).jpg
ศิลปิน   เลโอนาร์โด ดา วินชี
ปี    ค.ศ. 1495-1497
ประเภท   การวาดแบบ Fesco (เฟสโก หรือ ปูนเปียก) บนผนังปูน
สถานที่   โบสถ์แม่พระแห่งพระหรรษทาน (มิลาน)


อาหารค่ำมื้อสุดท้าย หรือ The Last Supper ในภาษาอังกฤษ และ Il cenacolo หรือ L'ultima cena ในภาษาอิตาลี เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เลโอนาร์โด ดา วินชี วาดให้แก่ดยุกลูโดวีโก สฟอร์ซา ผู้อุปถัมภ์เขา ภาพเป็นเหตุการณ์ตามพระวรสารภาพเกี่ยวกับอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูกับอัครทูต ก่อนที่จะทรงถูกนำไปตรึงกางเขน ภาพวาดนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากถูกวาดด้วยปูนเปียกบนผนัง ภาพวาดนี้ยังถือว่าเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ยังคงสภาพให้มองเห็นได้ในปัจจุบัน และยังถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบรรดาจิตรกรรมที่รู้จักกันอยู่ทั่วโลก

ภาพวาดนี้ยังเป็นแกนสำคัญของการเดินเรื่องราวของนวนิยายชื่อดังของโลก รหัสลับดาวินชี ที่มีเนื้อหาระบุว่า เลโอนาร์โด ดา วินชี ได้แฝงปริศนาความลับไว้ในภาพโดยแสดงถึงสาวกหญิงใกล้ชิดผู้หนึ่งซึ่งมีสัมพันธ์กับพระเยซู ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากศาสนาจักรคาทอลิกอย่างรุนแรง

คำอธิบายภาพ
ภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย เป็นภาพที่บรรยายให้เห็นถึงปฏิกิริยาของแต่ละอัครสาวก ในช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง คือเมื่อพระเยซูได้ทำนายว่า หนึ่งในผู้ร่วมโต๊ะอาหารมื้อนั้นจะทรยศพระองค์ โดยชื่อของอัครสาวกถูกระบุจาก ต้นฉบับ (The Notebooks of Leonardo Da Vinci หน้า 232) ในศตวรรษที่ 19 โดยเรียงลำดับจากซ้ายไปขวาแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ (เรียงลำดับจากหน้าไม่ใช่การนั่ง)

บารโธโลมิว, ยากอบ บุตรอัลเฟอัส และ อันดูรว์ ทั้งกลุ่มแสดงอาการตกใจ
ยูดาส อิสคาริโอท, เปโตร และยอห์น ยูดาสใส่ชุดสีเขียวและสีน้ำเงินผงะถอยหลังเมื่อแผนถูกเปิดโปงอย่างกะทันหัน
เปโตรมีท่าทางโกรธและในมือขวาถือมีดชี้ออกจากพระเยซู และอัครทูตที่อายุน้อยที่สุด ยอห์นดูเหมือนจะเป็นลม
พระเยซู
โธมัส, ยากอบ บุตรเศเบดี และฟีลิป โธมัสแสดงท่าทางหงุดหงิด ยากอบดูตะลึงพร้อมยกมือขึ้นกลางอากาศ ส่วนฟีลิปดูเหมือนกำลังขอคำอธิบาย
มัทธิว, ยูดา และซีโมนเศโลเท ทั้งมัทธิวและยูดา หันไปคุยกับซีโมน

ยังมีภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ถูกเลียนแบบขึ้นในที่ต่าง ๆ ได้แก่

Chiesa Minorita ที่เวียนนา
พิพิธภัณฑ์ ดา วินชี ในโบสถ์ Tongerlo ของเบลเยียม
โบสถ์ท้องถิ่นที่ Ponte Capriasca ใกล้ ๆ ลูกาโน


Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #1 on: 16 November 2020, 20:21:35 »


https://peacefuldeath.co/มื้อสุดท้าย/

มื้อสุดท้าย...

การไปเที่ยวเมืองมิลานนั้น สถานที่หนึ่ง ที่ได้รับนิยมจนถึงกับต้องจองคิวการเข้าชมล่วงหน้าหลายเดือน นั่นคือ การไปชมภาพ The Last Supper (พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย) ที่โบสถ์ Santa Maria delle Grazie ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นเอกของ Leonardo Da Vinci อัจฉริยบุคคลแห่งยุคเรเนสซองส์



ภาพ The Last Supper ได้เล่าถึงเหตุการณ์บนโต๊ะอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูและสาวก 12 คน ก่อนที่พระเยซูจะถูก ยูดาส หนึ่งในสาวกที่คิดทรยศ พาทหารมาจับตัวไปให้กับ กลุ่มฟาริสี (เป็นกลุ่มผู้นำทางศาสนาของชาวยิวที่มีบทบาทสำคัญในปาเลสไตน์ เกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะประพฤติตามกฎบัญญัติทุกข้อที่ปรากฏในธรรมบัญญัติของโมเสส บางคนสนใจแต่เรื่องการปฏิบัติตามกฎบัญญัติ แต่ไม่สนใจสภาพฝ่ายจิตวิญญาณ พระเยซูจึงมักจะกล่าวตำหนิคนเหล่านี้อยู่เสมอ ซึ่งเป็นเหตุให้ฟาริสีพวกนี้วางแผนกำจัดพระองค์) จนพระเยซูถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ในที่สุด เลโอนาร์โดได้จับภาพในช่วงสั้นๆ ขณะที่พระเยซูซึ่งทรงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าในอนาคต และตรัสขึ้นมาว่า “คนหนึ่งในท่าน จะทรยศเรา” ทำให้สาวกต่างพากันตกใจด้วยสีหน้าและท่าทางที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ถามพระเยซูด้วยความสงสัยว่า พระองค์ทรงหมายถึงตัวเขาหรือเปล่า มีเพียง ยูดาส (คนที่ 5 จากทางด้านซ้าย ซึ่งเป็นคนเดียวที่ใบหน้าอยู่ในเงามืด) ที่ในมือกำถุงเงินสินบน และมีสีหน้าสับสนต่างจากสาวกคนอื่นๆ



ลักษณะการวางเท้าของพระเยซูนั้นสื่อให้เห็นเหมือนกับตอนที่ทรงถูกตรึงกางเขน เป็นการสื่อให้เห็นถึงการยอมรับการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ น่าเสียดายที่ในปี ค.ศ. 1652 (พ.ศ. 2195) ได้มีการเจาะประตูที่ผนังรูปนี้ ทำให้รูปในส่วนเท้าของพระเยซูนั้นหายไป

ภาพ The Last Supper เป็นภาพที่เลโอนาร์โดทดลองวาดภาพด้วยเทคนิคใหม่บนกำแพงแห้ง ทำให้ภาพนั้นเริ่มเลือนหายหลังจากที่ภาพเสร็จไปแล้วเพียง 6 ปี ภาพนี้จึงได้รับการซ่อมแซมอยู่หลายครั้ง มีการวิเคราะห์และตีความอย่างมากมายถึงรายละเอียดในรูปนี้ แต่ด้วยเทคนิคการสร้างภาพ perspective (ภาพที่ให้ความรู้สึกเป็นสามมิติ) ของเลโอนาร์โดที่ทำให้รูปในห้องนี้ดูลึกเหมือนเป็นส่วนขยายของสถาปัตยกรรม การจัดวางแสงที่เป็นธรรมชาติ และรายละเอียดที่สมจริงแม้แต่ในแก้วไวน์ และกลีบส้มบนจาน ก็เป็นอีกสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพของเลโอนาร์โดในการสร้างสรรค์ผลงานระดับมาสเตอร์พีซ ชิ้นนี้

.....
หมายเหตุ: การเข้าชมภาพ The Last Supper ควรทำการจองล่วงหน้าเนื่องจากมีการจำกัดผู้เข้าชมรอบละ 30 คน และมีคิวจองล่วงหน้าที่อาจยาวนานหลายเดือน สามารถจองบัตรเข้าชมทางโทรศัพท์หรือ ทาง www.cenacolovinciano.org ค่าเข้าชมราคา10 ยูโร (รวมค่าจอง)

ภาพ The Last Supper จาก HYPERLINK "https://www.thoughtco.com/the-last-supper-leonardo-da-vinci-182501"

https://www.thoughtco.com/the-last-supper-leonardo-da-vinci-182501

ภาพยูดาส จาก https://www.wired.com/2007/11/gallery-lastsupper/


Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #2 on: 16 November 2020, 20:38:57 »


https://www.choojaiproject.org/2018/03/da-vinci-and-the-last-supper-hidden-secrets/

ดาวินชีซ่อนอะไรไว้ในภาพอาหารมื้อสุดท้าย?

........................................................
บทความนี้ใช้เวลาอ่านประมาณ 9 นาที
........................................................


The Last Supper (ค.ส. 1498) โดย Leonardo da Vinci


The Last Supper หรือ “อาหารมื้อสุดท้าย” เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังชิ้นสำคัญ ที่เลโอนาร์โด ดา วินชี ศิลปินเอกแห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการตอนสูง (High Renaissance) วาดให้แก่ดยุกลูโดวีโก สฟอร์ซา ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ของเขา ภาพนี้วาดขึ้นตามเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ถ่ายทอดเหตุการณ์ช่วงระหว่างอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูกับเหล่าสาวกในห้องชั้นบน ก่อนที่จะทรงถูกจับไปตรึงกางเขน(ยอห์นบทที่13) ใช้เวลาวาดภาพอาหารมื้อสุดท้ายนี้ถึง 4  ปี


ภาพวาดนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้เนื่องจากถูกวาดบนผนังห้องอาหารในคฤหาสน์ของท่านดยุก นับเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ยังคงสภาพให้มองเห็นได้ในปัจจุบัน และเป็นหนึ่งในผลงานจิตรกรรมสำคัญที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก

ตามมาขุดคุ้ยกันให้รู้ ในภาพนี้มีอะไรซ่อนอยู่…

 

7 สิ่งที่ซ่อนอยู่ในภาพ The Last Supper
 

1. ซ่อนความหมายว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าผ่าน Perspective

“พระเยซูตรัสกับเขาว่า “เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต
ไม่มีใครมาถึงพระบิดาได้นอกจากจะมาทางเรา” (ยอห์น 14:6)



ดา วินชี นำเทคนิคการจัดวางภาพบนทัศนมิติ (Perspective) เข้ามาใช้ในภาพอาหารมื้อสุดท้ายของเขา โดยวางวัตถุต่างๆ บนเส้นนำสายตา (Leading Lines) เส้นนำสายตาทุกเส้นจะพุ่งเข้าสู่จุดๆ เดียวกันคือ  ศีรษะของพระเยซู ซึ่งอยู่กึ่งกลางของภาพซึ่งสะท้อนว่าพระองค์ทรงเป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่ง (เป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต) เพื่อให้พระเยซูดูเด่นเขาจึงลดทอนองค์ประกอบของห้องชั้นบนในภาพให้สะอาดที่สุดหลงเหลือไว้เพียงองค์ประกอบที่สอดรับกับเส้นนำสายตาเท่านั้น  นอกจากนั้นยังออกแบบในมุมมองในภาพให้เข้ากับมุมของจริงห้องอาหารที่มันถูกวาดขึ้น  ทำให้ห้องดูกว้างและมีมิติเหมือนนั่งกินข้าวโต๊ะข้างๆ พระเยซูกับสาวก


ภาพถูกถูกวาดบนกำแพงเต็มแน่นทั้งผนัง โดยวาง Perspective ให้ดูเหมือนห้องมีความลึกเข้าไปในภาพจุดศูนย์กลางคือพระเยซูคริสต์


2. ซ่อนความหมายเรื่องตรีเอกภาพของพระเจ้า

นอกจากนั้นเขายังจัดกลุ่มสาวกทั้ง 12 ออกเป็นกลุ่มๆ โดยการจัดวางแบบสามเหลี่ยม และวาดหน้าต่างสามบานไว้ด้านหลังซึ่งเป็นแหล่งของแสงที่ส่องเข้ามาในห้อง(แสงหมายความถึงสวรรค์และความศักดิ์สิทธิ์) ส่วนพระเยซูนั้นทรงนั่งอยู่ในลักษณะสามเหลี่ยมแต่มีความสมบูรณ์ในตัวเองไม่ต้องประกอบกับใคร นี่คือการเลงความหมายถึงตรีเอกภาพของพระเจ้า พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งการจัดองค์ประกอบแบบสามเหลี่ยมนี้ เป็นหนึ่งเทคนิควิธีที่มักพบในงานจิตรกรรมทางศาสนาในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ




Madonna del Prato (Raphael) : การจัดองค์ประกอบสามเหลี่ยมในงานวาดพระแม่มารี พระบุตร และยอห์นบัพติสมา ในงานของ ราฟาเอล


3. ซ่อนออร่าบนหัวของบรรดาผู้มีบุญ
 
“ท้องฟ้าประกาศพระสิริของพระเจ้า
และพื้นฟ้าสำแดงผลงานแห่งพระหัตถ์ของพระองค์”
(สดุดี 19:1)

ในงานจิตรกรรมทางศาสนาสิ่งที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ คือ ออร่ารัศมี (Halo) ของบรรดาธรรมมิกชน (Saint) ทั้งหลาย ซึ่งก็มีทั้งวางเข้มๆ หรือ วงเล็กๆ บางๆ  แต่สำหรับ ดา วินชี เขาได้ตัดวงรัศมีธรรมนั้นออกไป และใช่แสงที่บานหน้าต่างเป็นสัญลักษณ์แสงความศักดิ์สิทธิ์แทน ซึ่งนั่นเป็นสไตล์เฉพาะตัวของเขา ลักษณะเฉพาะตัวนี้รวมถึงการที่ใช้วิวภูเขาตัดกับท้องฟ้าอย่างชัดเจน  ดา วินชีเองก็ชื่นชอบและใช้ลักษณะดังกล่าวในงานมากมาย เช่น  ภาพโมนาลิซ่าอันเลื่องชื่อ  ภาพ Madonna Litta รวมทั้ง The Last Supper ด้วย


ภาพ Madonna Litta ปี ค.ส. 1490 โดย ดา วินชี
พระเยซูและพระแม่มารีปราศจากวงแหวน Halo แต่ใช้หน้าต่างสองบานเป็นสัญลักษณ์แทนผู้มีบารมีสองคน


4. ซ่อนรายละเอียดไว้มากมาย ถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างละเอียดละออ
 
 “…เราบอกความจริงกับท่านว่า คนหนึ่งในพวกท่านจะทรยศเรา” – (ยอห์น 13:21)

ภาพอาหารมื้อสุดท้ายนั้นมีศิลปินวาดออกมามากมายหลากหลายเวอร์ชั่น แต่ดา วินชี ตั้งใจจะวาดภาพที่แสดงวินาทีสำคัญในพระคัมภีร์ คือตอนที่พระเยซูพูดว่า “คนหนึ่งในพวกท่านจะทรยศเรา”ณ วินาทีดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงอากัปกิริยาตอบสนองของสาวกทั้ง 12 คน ซึ่งมีทั้ง ความตกใจ ความโกรธและความกลัว ความสับสน และความสงสัย


“พวกสาวกจึงมองหน้ากันและสงสัยว่าคนที่พระองค์ตรัสถึงนั้นคือใคร” (ยอห์น 13:22)
กลุ่มแรกนั้นตกใจอยู่ ส่วนอีกกลุ่ม ก็พากันสงสัยว่าคนที่พระเยซูหมายถึงนั้นเป็นใคร
 

“สาวกที่พระเยซูทรงรัก (ยอห์น) เอนกายอยู่ใกล้พระองค์ ซีโมนเปโตรจึงพยักหน้าให้เขาทูลถามพระองค์ว่า
คนที่พระองค์ตรัสถึงนั้นคือใคร” (ยอห์น 13:23-24)
ส่วนยูดาสนั้นผงะไปด้านหลังด้วยความตกใจ เพราะเขารู้แก่ใจว่าที่พระเยซูหมายถึงนั้นคือเขาเอง


ฟิลิปทำท่าถามว่าผู้ที่จะทรยศนั้นใช่เขาหรือไม่ จาก มัทธิว 26:22
“พวกสาวกก็พากันเป็นทุกข์ ต่างคนต่างเริ่มทูลถามพระองค์ว่า ‘องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?’ ”


5. ซ่อนเรื่องราวในฉากต่อไปเอาไว้ในภาพ
 

อาหารเย็นครั้งสุดท้ายโดย Cesare da Sesto (ลูกศิษย์ของ Leonardo da Vinci)

-ยูดาส อิสคาริโอท คือสาวกผู้ที่จะทรยศพระเยซู เขากำลังถือถุงใส่เงินอยู่ เพราะเขาได้ขายพระเยซู โดยรับเงินจากพวกฟาริสีและเตรียมส่งมอบพระองค์ให้กับศัตรูของพระองค์ในเวลาถัดไป
-ส่วนเปโตรเป็นผู้เดียวที่ถือมีดเอาไว้ในมือ เพราะอีกไม่นานเขาจะตัดหูของทหารโรมันที่จะเข้ามาจับกุมพระเยซู
-ในขณะที่ โธมัสผู้ที่ขึ้นชื่อเรื่องขี้สงสัย ชี้นิ้วขึ้นไปบนฟ้า เลงถึงเหคุการณ์ในพระคัมภีร์เรื่องพระเยซูกำลังจะเสด็จสู่สวรรค์ และเหตุการณ์ที่เขาจะเอานิ้วชี้แยงสีข้างของพระเยซูเพื่อพิสูจน์ว่าพระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ หลังจากที่พระองค์ฟื้นจากความตายและได้ปรากฏแก่เหล่าสาวก
 

6. ความผิดพลาดที่ซ่อนอยู่
แม้ดูจะเป็นผลจากชั้นครูที่ทำการบ้านมาอย่างดีและมีสไตล์ แต่ก็มีนักวิชาการด้านศิลปะเลงเห็นถึงความบกพร่องมากมายของผลงานชิ้นเอกนี้

-ช่วงเวลาที่ผิดพลาด?
ในการเตรียมมื้อมื้อปัสกาของเปโตรและยอห์นเวลานั้นควรเป็นเวลาเย็น และหลังจากที่พระเยซูล้างเท้าสาวกนั่นก็ควรค่ำแล้ว และพระคัมภีร์ก็บันทึกไว้เองว่า “เวลานั้นเป็นเวลากลางคืน” แต่ไหงฉากหลังเป็นท้องฟ้าสว่างสไวกัน คำตอบที่พอหักล้างกันได้ของประเด็นนี้ก็คือ การใช้แสงแสดงความศักดิ์สิทธิ์ที่เราได้อธิบายไว้ตอนต้นแล้วนั่นเอง

-โต๊ะกับอาหารทำไมสไตล์ยุโรป?
ในสมัยพระเยซูคริสต์นั้น อิราเอลตกอยู่ภายใต้การแกครองของอาณาจักรโรมัน นอกจากมีผู้ว่าการเมืองอย่างปิลาตและทหารโรมันแล้ว เป็นไปได้ที่ห้องชั้นบนจะถูกจัดโต๊ะในแบบ เกรกโก-โรมัน ที่เรียกว่า Triclinium ซึ่งเป็นจัดโต๊ะแบบสามด้าน และนั่งกึ่งนอนกิน (เอนกาย) ซึ่งก็พบในหลายเวอร์ชั่นของ The Last Supper ทั้งนี้อาจเป็นความจงใจของ ดา วินชี หรือ เป็นอิทธิพลของยุคสมัยร่วมด้วย


การนั่งแบบ เกรกโก-โรมัน ที่เป็นโต๊ะสามด้าน


พระกระยาหารมื้อสุดท้าย ในแบบไทยๆ ที่ โบสถ์  St Nikolaus Church จังหวัดพัทยา ประเทศไทย
ถ้วยน้ำองุ่นกระเบื้องเซรามิคลายครามอย่างไทยนิยม พร้อมผลไม้บนโต๊ะหลากชนิด ยูดาส ในชุดสีดำ พระเยซูมีรัศมีที่ศีรษะ


อาหารมื้อสุดท้าย ที่โบสถ์ Taiwans Holy Trinity Church  ไต้หวัน พระเยซูและสาวก 11 คนมีรัศมีที่หัว
ยกเว้นยูดาส อาหารสไตล์จีนน้ำองุ่นใส่ในจอกเหล้า ภาพถ่ายโดย โดย T.CSH


7. การทดลองที่ซ่อนอยู่
 
ดา วินชี นั้นเป็นศิลปินเจ้าไอเดีย เขาชอบทำอะไรแหวกแนว นอกขนบอยู่เสมอในขณะที่ศิลปินยุคเดียวกัน อย่างเช่น ไมเคิลแองเจลโล วาดจิตรกรรมด้วย การวาดลงบนปูนเปียก (Fasco painting) ซึ่งเป็นการวาดภาพลงบนผนังปูนขณะที่ปูนยังไม่แห้งทำให้สีซึมลึกในเนื้อปูนและคงทน แต่การวาดแบบนั้นจะทำให้เวลาทำงานแข่งกับเวลา ดา วินชีพัฒนาเทคโนโลยีการวาดของตัวเองขึ้นมา แบบการวาดลงบนผนังแห้งๆ และใช้ส่วนผสมพิเศษที่เขาคิดค้นขึ้นเพื่อป้องกันความชื้นซึ่งเป็นศัตรูของภาพวาดฝาผนัง ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำมันกับไข่นำมาทาเคลือบภาพวาดเอาไว้ (egg tempera and oil on plaster)



แต่ปรากฏว่าสูตรที่เขาคิดนั้นผิดพลาดส่งผลให้ ภาพ   The last Supper เกิดความเสียหายจากความชื้นและภูมิอากาศสึกกร่อนไวมากเมื่อเทียบกับงานในยุคเดียวกันอย่าง ภาพวาดที่วิหารซิสทีนของไมเคิลแองเจลโล่ อย่างมาก อีกทั้งภาพ The last supper ยังเคยได้รับความเสียหายจากระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย


ภาพวาดนั้นสะท้อนความคิดและความเชื่อของศิลปินในผลงานได้อย่างดี และสิ่งที่เราสร้างหรือทำนั้นก็สะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในของเรา “ไม่ว่าพวกท่านจะทำสิ่งใด ก็จงทำด้วยความเต็มใจเหมือนทำถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่เหมือนทำต่อมนุษย์” – (โคโลสี 3:23)
#ด้วยรักและอาหารมื้อต่อๆ ไป

 
ข้อมูลเพิ่มเติม :

-ข้อมูลรูปภาพและประวัติจาก Khanacadamy.org
https://www.khanacademy.org/humanities/ap-art-history/early-europe-and-colonial-americas/renaissance-art-europe-ap/a/leonardo-last-supper

-ความผิดพลาด ของ ลีโอนาโด ในการวาดภาพอาหารมื้อสุดท้าย https://creation.com/leonardos-last-supper-errors

-เกี่ยวกับรูปภาพ https://www.leonardodavinci.net/the-last-supper.jsp

------------------------------------------------------------------------------------------

https://www.khanacademy.org/humanities/ap-art-history/early-europe-and-colonial-americas/renaissance-art-europe-ap/a/leonardo-last-supper

The Last Supper


Leonardo da Vinci, Last Supper, 1498, tempera and oil on plaster
(Santa Maria della Grazie, Milan); (photo: public domain)


Philip (detail), Leonardo da Vinci, Last Supper, 1498, tempera and oil on plaster (Santa Maria della Grazie, Milan)


Detail, Leonardo da Vinci, Last Supper, 1498, tempera and oil on plaster (Santa Maria della Grazie, Milan)


Christ (detail), Leonardo da Vinci, Last Supper, 1498, tempera and oil on plaster (Santa Maria della Grazie, Milan)

The Last Supper in the Early Renaissance


Andrea del Castagno, Last Supper, 1447, tempera on plaster (Sant'Apollonia, Florence)


Bartholomew, James Minor, and Andrew (detail), Leonardo da Vinci, Last Supper, 1498, tempera and oil on plaster (Santa Maria della Grazie, Milan)

-----------------------------------------------------------------------------

https://creation.com/leonardos-last-supper-errors

Leonardo’s last supper errors


The Last Supper by Leonardo da Vinci.
Click on picture to see larger version

-----------------------------------------------------------------------------

https://www.leonardodavinci.net/the-last-supper.jsp

10 Facts You Might not Know about the Masterpiece

The Last Supper - by Leonardo Da Vinci


The Layout of The Last Supper


Who's who in "The Last Supper"


The secret of "The Last Supper"


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 
« Last Edit: 16 November 2020, 20:41:54 by p_san@ » Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #3 on: 16 November 2020, 20:46:51 »


https://www.spokedark.tv/posts/the-last-supper-facts/

ปริศนาข้างหลังภาพ! ไขความลับ ‘The Last Supper’ หนึ่งในจิตรกรรมชิ้นเอกของเลโอนาร์โด ดาวินชี
ตุลาคม 20, 2020

ภาพ The Last Supper หรือ L’ultima cena ในภาษาอิตาลี คือภาพจิตรกรรมฝาผนังผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี ที่วาดให้แก่ดยุกลูโดวีโก สฟอร์ซา ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ของเขาในราวปี ค.ศ. 1495-1497 เป็นภาพเหตุการณ์ระหว่างอาหารค่ำของพระเยซูกับอัครสาวก ที่เป็นมื้อสุดท้ายก่อนพระเยซูจะถูกจับไปตรึงกางเขน



เราสามารถชมภาพเหมือนของภาพ The Last Supper ได้ตามพิพิธภัณฑ์ทั่วโลก แต่ภาพที่เป็นต้นฉบับนั้นไม่สามารถหาชมที่อื่นได้อันเนื่องจากสภาพอันบอบบางตามกาลเวลาทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ มันจึงยังอยู่ที่ผนัง Santa Maria delle Grazie ที่เป็นโบสถ์และคอนแวนต์ของคณะดอมินิกัน ที่ตั้งอยู่ ณ เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1980



เมื่อวาดภาพนี้ ดาวินชีต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงสีหน้าและท่าทางของอัครสาวกหลังจากที่พระเยซูได้ตรัสว่าหนึ่งในอัครสาวกที่ร่วมรับประทานอาหารมื้อนี้จะเป็นผู้ทรยศ และถ้าหากเรามองเข้าไปใกล้ๆ เราจะเห็น “จูดาส” ที่เป็นผู้ทรยศนั้นมีทีท่าที่ตกใจ ในมือกำถุงเงินแน่น ซึ่งถุงเงินนี้บนนจุเงินที่จูดาสได้จากการขายพระเยซู ขณะที่อัครสาวกคนอื่นๆ นั้นมีปฏิกิริยาที่แตกต่างกันทั้งตกใจ หวาดกลัว เป็นต้น

ในช่วงที่เลโอนาร์โดได้วาดภาพ The Last Supper เทคนิคที่เป็นที่นิยมคือการวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียกหรือที่เรียกว่าเฟรสโก(fresco) แม้ว่าภาพ The Last Supper จะถูกวาดลงบนผนังแต่มันก็ไม่ได้ใช้เทคนิคเฟรสโกเสียทีเดียว เพราะเฟรสโกนั้นจะต้องวาดบนปูนเปียกทำให้ศิลปินต้องรีบวาดเพื่อให้ทันปูนที่แห้งเข้ามาทุกที ดาวินชีต้องการที่จะใส่ใจกับรายละเอียดให้มากขึ้นจึงได้พัฒนาเทคนิคและส่วนผสมขึ้นมาใหม่เพื่อให้เขามีเวลาละเมียดละไมกับผลงานมากขึ้น แต่น่าเสียดายที่เทคนิคของเขานั้นกลับทำให้ภาพเขียนมีอายุไม่ยืนนัก ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะเวลาแค่ 50 หลังจากที่ดาวินชีวาดภาพนี้เสร็จสมบูรณ์ ก็มีร่องรอยของสีที่หลุดและซีดจางเสียแล้ว



เนื่องจากเหตุการณ์พระกระยาหารมื้อสุดท้ายนั้นเป็นเหตุการณ์สำคัญในศาสนาคริสต์ ดังนั้นศิลปินหลายคนที่ถ่ายทอดภาพพระกระยาหารมื้อสุดท้ายออกมานั้น ได้วาดภาพพระเยซูที่มีรัศมีที่สว่างไสวบริเวณศีรษะ แต่สำหรับตัวดาวินชีเองเขากลับถ่ายทอดภาพของพระเยซูในรูปแบบสามัญชนคนธรรมดา มิใช่ผู้วิเศษที่มีวงแหวนหรือรัศมีใดๆ เฉกเช่นศิลปินคนอื่นๆ

ปลาที่อยู่ในภาพนั้นทำให้นักประวัติศาสตร์หลายคนพยายามถกเถียงกันว่ามันมีคือปลาอะไรระหว่างปลาไหลหรือปลาแฮร์ริงเพราะมันต่างก็มีความหมายในตัวเอง ปลาไหลในภาษาอิตาลีคือ aringa ยังหมายถึงการปลูกฝัง สั่งสอนอบรมได้ด้วย แต่ปลาแฮร์ริงในภาษาอิตาลีคือ renga  ที่หมายถึงคนที่ไม่ยอมรับศาสนา ดังนั้นถ้าสามารถชี้ชัดถึงชนิดของปลาในภาพวาดได้ ก็อาจจะมีข้อมูลของภาพวาดเพิ่มเติมได้



มีการคาดเดาว่าบุคคลที่อยู่ทางด้านขวามือของพระเยซูคือ แมรี แมกดาเลน สาวกสตรีคนสำคัญของพระเยซู แต่นักประวัติศาสตร์ลงความเห็นว่าไม่ใช่เธอ แม้ว่าเธอจะอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ ก็ตาม

แม้ว่าภาพวาดต้นฉบับของ The Last Supper จะไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปจัดแสดงที่อื่นๆ ในโลกได้ แต่ก็ยังเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้ เพียงแต่ตั๋วเข้าชมนั้นมักจะจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็วและเวลาที่ให้ชมภาพวาดนี้ก็ไม่เกินกลุ่มละ 15 นาทีอีกด้วย

เรียบเรียง : SPOKEDARK.TV


Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #4 on: 16 November 2020, 20:52:55 »


https://urbancreature.co/thelastsupper-bible-davinci/

ถอดรหัส The Last Supper ฉบับไบเบิล vs ภาพดาวินชี



เรื่อง ตุลยา สวนสันต์
24 July 2019

หนึ่งฉากสำคัญในคัมภีร์ไบเบิลที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง คงหนีไม่พ้น ‘อาหารค่ำมื้อสุดท้าย’ ช่วงเวลาเฉลิมฉลองเทศกาลวันปัสกาก่อนที่พระเยซูจะถูกนำไปตรึงกางเขน ซึ่งในแง่ของนักโบราณคดี ก็หยิบเรื่องราวมาวิเคราะห์ เพื่อสะท้อนประวัติศาสตร์ สภาพแวดล้อม และการเป็นอยู่ของผู้คนในตะวันออกกลาง หรือแม้แต่จิตรกร ก็นำเรื่องเล่าเหล่านี้ไปต่อยอดจินตนาการจนออกมาเป็นภาพวาดตามแบบฉบับของตัวเอง

โดยเฉพาะ ‘The Last Supper’ ภาพวาดมื้ออาหารอันโด่งดัง ที่ถูกเนรมิตขึ้นโดยศิลปินชาวอิตาเลียนยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา อย่าง เลโอนาร์โด ดาวินชี ซึ่งหยิบเหตุการณ์จากคัมภีร์ไบเบิลมาเล่าผ่านผลงานจนเกิดเป็นมาสเตอร์พีชชิ้นนี้ หากเรามองดูอาหารที่วางเรียงรายอยู่บนโต๊ะ จะเห็นว่ามีทั้ง ขนมปัง แก้วไวน์ ส้ม และปลาไหลย่าง แต่รู้หรือไม่ว่า ภาพ ‘พระกายาหารมื้อสุดท้าย’ ที่เราๆ เห็นกันนั้น ในความจริงแล้วยังแอบซ่อนเมนูอาหารอีกหลายอย่างที่นักโบราณคดีคาดว่า ‘มี’ และ ‘ไม่มี’ บนโต๊ะอาหารอีกด้วย

‘ขนมปัง’ กับ ‘ไวน์’ เมนูที่ขาดไม่ได้

“ตอนที่กินอาหารกันอยู่ พระเยซูหยิบขนมปังแผ่นหนึ่ง อธิษฐานขอบคุณพระเจ้า หักส่งให้พวกสาวก . จากนั้นพระเยซูก็หยิบถ้วยขึ้นมา อธิษฐานขอบคุณ ส่งให้พวกเขาแล้วพูดว่า ‘ให้ทุกคนดื่มจากถ้วยนี้’. เพราะนี่หมายถึงเลือดของผม … ” (มัทธิว 26:26-28)

“… ผมจะไม่ดื่มเหล้าองุ่นอีกเลย จนกว่าจะถึงวันนั้นที่ผมจะดื่มเหล้าองุ่นใหม่กับพวกคุณตอนที่อยู่ในราชอาณาจักร
ของพระเจ้าผู้เป็นพ่อของผม” (มัทธิว 26:29)

แน่นอนว่าเหล่าคริสตชนย่อมรู้ความหมายดีว่า ‘ขนมปัง’ เปรียบเสมือนตัวแทน ‘ร่างกาย’ และ ‘เหล้าองุ่น’ เปรียบเสมือน ‘โลหิต’ ของพระเยซู ถึงแม้อาหารมื้อสุดท้ายของพระองค์กับเหล่าอัครสาวก จะถูกบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลไว้เพียงแค่ ‘ขนมปัง’ และ ‘เหล้าองุ่น’ ก็ตาม แต่หากอาหารมื้อนั้นเป็นมื้อที่พระเยซูกำลังเฉลิมฉลองเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ ก่อนวันปัสกาอยู่ล่ะ จะเป็นเพียงแค่ขนมปังและไวน์ธรรมดาๆ เท่านั้นหรือ ?

สำหรับเครื่องดื่มอย่าง ‘เหล้าองุ่น’ เป็นไวน์ปรุงแต่งด้วยสมุนไพร หรือ Aromatized Wine คือ ไวน์ที่นิยมดื่มก่อนอาหาร โดยหมักเหล้าด้วยสมุนไพรต่างๆ เพื่อให้ได้รสชาติและกลิ่นของสมุนไพรนั้นๆ ส่วนขนมปังที่อยู่บนจานอาหารของพระเยซูคงไม่ใช่ขนมปังบาแก็ต หรือขนมปังบริยอชตามแบบฉบับยุโรป แต่เป็นแผ่นขนมปังที่ไม่ใส่ ‘ยีสต์’ ให้เกิดความฟู ซึ่งชาวยิวหลายคนเรียกมันว่า ‘ขนมปังไร้เชื้อ (Matzah)’ ถ้าใครยังนึกภาพไม่ออกให้ลองนึกถึงขนมปัง ‘นาน (Nann)’ อาหารจานหลักของคนอินเดีย

ชาวยิวมักนิยมกินขนมปังไร้เชื้อช่วงวันสะบาโต ในเทศกาลก่อนวันปัสกา (Passover) เพื่อระลึกถึงความขมขื่นที่ตกเป็นทาสอียิปต์ และยังมีความเชื่อว่า หากทานขนมปังไร้เชื้อจะทำให้ร่างกายและจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากเชื้อเก่าๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากอียิปต์มาตอนเป็นทาส

มองไม่เห็นใช่ว่า ‘ไม่มี’



สองนักโบราณคดีชาวอิตาเลียน ‘Generoso Urciuoli’ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์ และ ‘Marta Berogno’ นักโบราณคดี และนักอียิปต์วิทยาประจำพิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งเมืองตูริน ประเทศอิตาลี ได้ลงมือศึกษามื้ออาหารของพระเยซูคริสต์โดยใช้พระคัมภีร์ และข้อมูลทางโบราณคดีมาวิจัย ซึ่งทั้งสองได้เผยแพร่งานวิจัยในหนังสือ ‘Gerusalemme : I’Ultima Cena (Jerusalem : The Last Supper) ’ โดยระบุว่า มื้ออาหารของพระเยซูคริสต์ในวันนั้น นอกจากจะมีขนมปัง กับไวน์แล้ว เป็นไปได้ว่าอาจมี ชาโรเซต (Charoset), สมุนไพรขม (Bitter Herbs), ถั่วพิตาชิโอ (Pitachio), ถั่วตุ๋น (Cholent), ลูกมะกอกเทศ (Olives) และอินทผลัม (Date) อยู่ด้วย

เพราะในช่วงคืนก่อนเริ่มเทศกาลปัสกา จะมีพิธีเซเดอร์ (Seder) การทานอาหารร่วมกันของครอบครัวชาวยิว และคนสนิท ซึ่งจะมีการดื่มไวน์องุ่น 4 แก้ว โดยแต่ละแก้วจะมีความหมายแตกต่างกันออกไป แก้วแรก คือ การชำระให้บริสุทธิ์ แก้วที่สอง คือ การไถ่บาป ถัดมาคือ การให้พระพร และสุดท้ายเป็นแก้วที่แสดงถึงการขอบคุณ

โดยพิธีเซเดอร์แน่นอนว่าต้องมี ‘ชาโรเซต (Charoset)’ เมนูประจำเทศกาลปัสกา ที่มีส่วนผสมของถั่ว แอปเปิ้ล อบเชย ไวน์แดงหวาน และน้ำผึ้ง เป็นสัญลักษณ์แทนก้อนอิฐที่ทาสชาวยิวใช้ก่อสร้างบ้านเรือนและปิรามิดให้ชาวอียิปต์ ‘ถั่วตุ๋น (Cholent)’ สตูว์สไตล์คนยิวที่ใช้เวลาในการเคี่ยวถั่วด้วยอุณหภูมิต่ำ ‘สมุนไพรรสขม (Bitter Herbs)’ เช่น รากมะรุม หรือพืชชนิดอื่นๆ เพื่อแสดงความขมขื่นที่ตกเป็นทาสของอียิปต์โบราณ และ ‘หุสบ (Hyssop)’ สมุนไพรตระกูลมินต์ ที่ชาวอิสราเอลมักจะกินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว

นอกจากนั้น ยังมีพืชผลท้องถิ่น เช่น อินทผลัม (Date) ถั่วพิตาชิโอ (Pitachio) และลูกมะกอกเทศ (Olives) ด้วยสภาพภูมิอากาศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน จึงทำให้เป็นพืชที่สามารถเติบโตได้ดี และพบมากในดินแดนตะวันออกกลาง จนกลายมาเป็นไม้พื้นเมืองของผู้คนในแถบนี้ อีกทั้งในพระคัมภีร์ยังมีการกล่าวถึงมะกอกเทศว่า

“… เป็นแผ่นดินที่มีข้าวและเหล้าองุ่น เป็นแผ่นดินที่มีขนมปังและสวนองุ่น แผ่นดินที่มีน้ำมันมะกอกและน้ำผึ้ง …”
(2 พงศ์กษัตริย์ 18:32)

จึงมีความเป็นได้สูงว่าในอาหารค่ำมื้อสุดท้ายนั้น ต้องมีเมนูเหล่านี้อยู่

‘อาหาร’ ที่ไม่มีบน ‘โต๊ะอาหาร’



เมนูอาหารที่ทำให้หลายต่อหลายคนเข้าใจผิดว่าพระเยซูคริสต์ได้ทานในมื้ออาหาร คือ ปลาไหลย่าง และส้ม ซึ่งนักโบราณคดีต่างออกมาพูดเสียงเดียวกันว่า ‘ไม่มีทั้งสองเมนูนี้อยู่ในมื้ออาหารนั้นอย่างแน่นอน !’ เพราะกว่า ‘ส้ม’ จะเข้ามาเป็นที่รู้จักในดินแดนตะวันออกกลางก็หลังจากพระเยซูคริสต์ตายไปเกือบ 300 ปีแล้ว โดยสิ่งที่เราเห็นผ่านภาพวาดนั้นเป็นช่วงเวลาที่ผลส้ม ถูกส่งออกจากอินเดียมายังอิตาลี สเปน และโปรตุเกส อีกทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่ เลโอนาร์โด ดาวินชี กำลังวาดภาพ ‘The Last Supper’ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 อยู่พอดิบพอดี จึงทำให้นั่นเป็นเพียงสิ่งที่ดาวินชียัดมันลงมาในภาพวาดเพื่อสะท้อนถึงสภาพแวดล้อมของยุคสมัยเท่านั้น



คล้ายกันกับกรณีของ ‘โต๊ะอาหาร’ แม้ว่าภาพวาดของดาวินชี หรือภาพมื้ออาหารจากศิลปินท่านอื่นๆ จะเป็นโต๊ะยาวสไตล์ยุโรป ตามศตวรรษที่ 15 ก็ตาม แต่ความจริงแล้วพระเยซูคริสต์และอัครสาวกนั่งล้อมวงทานอาหารแบบ ‘ทริคลิเนียม (Triclinium)’ ตามสไตล์กรีก-โรมัน เพราะตอนนั้นอิสราเอลตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรโรมัน จึงได้อิทธิพลมาโดยตรง ซึ่งการจัดโต๊ะแบบทริคลิเนียม เป็นการจัดโต๊ะสามด้านคล้ายกับตัวยู (U) นั่งบนพื้นพรมแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน สามารถเอนกายลงบนหมอนพิงด้านหลังก็ได้แล้วแต่สะดวก

รวมไปถึงจาน ชาม และเหยือกบนโต๊ะอาหาร ที่เป็นภาชนะทำจากหิน ถ้าอ้างอิงตามหลักฐานที่พบในหลายพื้นที่ใกล้กรุงเยรูซาเล็ม และแคว้นกาลิลี ว่าภาชนะและเครื่องใช้ส่วนใหญ่ภายในช่วงศตวรรษที่ 1 น่าจะทำมาจากหินเสียมากกว่า และอีกกรณีก็เป็นไปได้ว่าอาจใช้ ‘เครื่องปั้นดินเผาจากดินสีแดง’ เพราะเป็นที่นิยมอยู่ในช่วงเวลานั้นเช่นกัน

ถึงแม้ว่าฉาก ‘พระกายาหารมื้อสุดท้าย’ จะถูกทำให้เป็นอมตะโดย เลโอนาร์โด ดาวินชี แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ภาพวาดเหล่านั้นจะสะท้อนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะมันถูกหล่อหลอมในยุคของดาวินชีเองเข้าไปด้วย โดยความจริงที่ว่า สุดท้ายแล้วอาหารมื้อนั้นของพระเยซูคืออะไร ยังคงมีอีกหลายสมมติฐานที่กำลังรอไขข้อสงสัยมาเรื่อยๆ ซึ่งบทสรุปสุดท้ายเราอาจจะได้เห็นถึงสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และภูมิประเทศของยุคสมัยนั้นได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งมากขึ้นกว่าเดิม

Source : https://www.agapebiblestudy.com/charts/Last_Supper_triclinium.htm
https://www.livescience.com/54154-jesus-last-supper-menu-revealed-in-archaeology-study.html
https://www.foodandwine.com/holidays-events/easter/what-we-think-was-eaten-last-suppe


 
Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #5 on: 16 November 2020, 20:55:40 »


http://www.belongtothetruth.com/movie/ipower/17-featured-catoon-videos/66-the-last-supper.html

The Last supper

      พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย หรือ The Last Supper ในภาษาอังกฤษ และ Il cenacolo หรือ L'ultima cena ในภาษาอิตาลี เป็นจิตรกรรมฝาผนัง ที่วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ให้แก่ผู้อุปถัมภ์ดยุค โลโดวิโค สฟอร์ซา (Lodovico Sforza) เป็นภาพที่มาจากพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซู ก่อนที่พระองค์จะทรงถูกนำไปตรึงกางเขนซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากคัมภีร์ไบเบิ้ล ภาพวาดนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากถูกวาดด้วยปูนเปียกบนผนัง ภาพวาดนี้ยังถือว่าเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ยังคงสภาพให้มองเห็นได้ในปัจจุบัน และยังถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบรรดาจิตรกรรมที่รู้จักกันอยู่ทั่วโลก

     ภาพวาดนี้ยังเป็นแกนสำคัญของการเดินเรื่องราวของนวนิยายชื่อดังของโลก รหัสลับดาวินชี ที่มีเนื้อหาระบุว่า เลโอนาร์โด ดา วินชี ได้แฝงปริศนาความลับไว้ในภาพโดยแสดงถึงสาวกหญิงใกล้ชิดผู้หนึ่งซึ่งมีสัมพันธ์กับพระเยซู ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากศาสนาจักรคาทอลิกอย่างรุนแรง

     พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย เป็นภาพที่บรรยายให้เห็นถึงปฏิกิริยาของแต่ละอัครสาวก ในช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง คือเมื่อพระเยซูได้ทำนายว่า หนึ่งในผู้ร่วมโต๊ะอาหารมื้อนั้นจะทรยศพระองค์ โดยชื่อของอัครสาวกถูกระบุจาก ต้นฉบับ (The Notebooks of Leonardo Da Vinci หน้า 232) ในศตวรรษที่ 19 โดยเรียงลำดับจากซ้ายไปขวาแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ (เรียงลำดับจากหน้าไม่ใช่การนั่ง)

     บาร์โทโลมิว, เจมส์ ลูกของอัลเฟียส และ แอนดูรว์ ทั้งกลุ่มแสดงอาการตกใจ จูดาส์ อิสคาริออท, ปีเตอร์ และ จอห์น จูดาส์ใส่ชุดสีเขียวและสีน้ำเงินผงะถอยหลังเมื่อแผนถูกเปิดโปงอย่างกระทันหัน ปีเตอร์มีท่าทางโกรธและในมือขวาถือมีดชี้ออกจากพระเยซู และอัครสาวกที่อายุน้อยที่สุด จอห์นดูเหมือนจะเป็นลมพระเยซูทอมัส, นักบุญเจมส์ใหญ่ และ ฟิลลิป ทอมัสแสดงท่าทางหงุดหงิด เจมส์ดูตะลึงพร้อมยกมือขึ้นกลางอากาศ ส่วนฟิลลิปดูเหมือนกำลังขอคำอธิบายมัทธิว, จูด แทดเดียส และ ไซมอนซีลลอท ทั้งมัทธิว และจูด แทดเดียส หันไปคุยกับไซมอน

     ยังมีภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ถูกเลียนแบบขึ้นในที่ต่างๆ ได้แก่

     Chiesa Minorita ที่ เวียนนา
     พิพิธภัณฑ์ ดา วินชี ในโบสถ์ Tongerlo ของเบลเยียม
     โบสถ์ท้องถิ่นที่ Ponte Capriasca ใกล้ๆ ลูกาโน


 
Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #6 on: 16 November 2020, 21:01:03 »


http://www.belongtothetruth.com/important/DaVinci09.htm

The Last Supper

ข้อมูลสำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับภาพนี้ ที่ทำให้เราเข้าใจประเด็นที่อาจจะตะหงิดๆในใจคนที่เคยเห็นภาพนี้ที่ว่า ทำไมภาพนี้มันไม่ชัดและขมุกขมัวแบบนี้ เป็นความจริงที่ว่า ภาพนี้นั้น เริ่มเสียหายตั้งแต่ลีโอนาร์โดยังมีชีวิตอยู่ เพราะเขาดันใช้สีน้ำมัน วาดผนังแทนสีน้ำ

มันไม่ได้เป็นภาพเขียนปูนเปียก ( Fresco ) อย่างที่นิยายอ้าง ภาพปูนเปียกเป็นภาพที่ใช้สีน้ำเขียนลงบนปูนขาวชื้น ซึ่งจะ “ ดัก ” สีในขณะที่กำลังแห้งตัว และจะทำให้เกิดสีที่เข้มและคงทนยาวนาน ลีโอนาร์โดนั้นทำงานช้าเกินกว่าจะใช้ปูนเปียกได้ และเขาอยากจะลองเทคนิคใหม่ที่แตกต่างออกไป ดังนั้นเขาจึงทาด่างอ่อนๆ ไว้บนกำแพงหินและใช้สีที่ผสมไข่เพื่อระบายทับบนนั้น เพียงไม่กี่ปีหลังจากที่ภาพกำแพงนี้เสร็จสมบูรณ์ สีในภาพก็เริ่มที่จะจางลงและหลุดเป็นเกล็ดออกมา

ดังนั้นกว่าจะถึงสมัยเรา ภาพนี้จึงมีสภาพเสียหายบนพื้นผิวหน้ากว่า50% และซีดจางเหมือนอยู่ในม่านหมอก ต่างกับภาพLast Judgement ของ ไมเคิ้ล แองเจโล่ ที่วาดบนผนังโบสถ์ซิสตินในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ภาพยังสวยสดคมชัดจนทุกวันนี้



Q:จริงหรือคนที่นั่งข้างขวาพระเยซูเป็นหญิง คือ นักบุญมารีอา มักดาเลนา

A:จากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ และบันทึกของลีโอนาร์โดเอง ทุกคนทราบดีมานาน500ปีแล้วว่าแต่ละคนที่อยู่ในภาพนั้นมีใครบ้าง



รูปสาวกทั้ง12ถูกระบุชัดเจนว่ามีใครบ้าง เพราะถ้าสาวกไม่ครบ กลายเป็นหญิงมาแทนที่ต้องเกิดคำถามมาตั้งแต่500ปีก่อนแน่ว่าใครหายไปคนนึง แต่ ลีโอนาร์โด วาดอัครสาวกทั้ง12ของพระเยซูครบทุกคนโดยเราสามารถรู้ได้ด้วยว่าใครเป็นใคร โดยเราได้ข้อมูลจากบันทึกของ ลีโอนาร์โด ดาวินชี่ เอง

ดังนั้น เมื่อหนังสือระบุว่าคนที่นั่งกับพระเยซูเป็นผู้หญิง ก็เกิดช่องโหว่ขึ้นคือ
1. ถ้าดาวินชี่ต้องการวาดผู้หญิง แต่นานถึง500กว่าปี ภาพที่โด่งกังผ่านสายตาคนเป็นหมื่นเป็นแสน เพิ่งมีมีแดน บราว์นดูออกคนแรก ถ้างั้นนี่จะบอกว่า ลีโอนาร์โด ฝีมือห่วยขนาดวาดผู้หญิงได้แมนมากคนดูไม่ออกนาน500ปีหรือ
2. ถ้านี่เป็นหญิง สาวก12คนของพระเยซูก็ไม่ครบ แล้วใครหายไปล่ะ

และสิ่งที่จะทำให้ผู้ที่กำลังเคลิ้มไปกับการชี้นำของนิยาย ต้องตกตะลึง ก็คือความจริงที่ว่า ลีโอนาร์โด วาดภาพนี้โดยเจาะจงวางตำแหน่งบุคคลแต่ละคนตามข้อมูลในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลอย่างชัดเจน เพราะเขาเลือกให้นักบุญยอห์น(John) และยากอบ(James)นั่งข้างพระเยซู

พระคัมภีร์บันทึกโดยนักบุญมัทธิว บทที่20 ข้อที่20
มารดาของบุตรเศเบดีเข้ามาเฝ้าพระองค์พร้อมกับบุตร นางกราบลงทูลขอสิ่งหนึ่งจากพระองค์ พระองค์จึงตรัสถามนางว่า “ท่านต้องการอะไร” นางทูลว่า “ขอพระองค์ทรงอนุญาตให้บุตรทั้งสองคนของข้าพเจ้า นั่งข้างขวาคนหนึ่ง นั่งข้างซ้ายคนหนึ่งในพระอาณาจักรของพระองค์” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านไม่รู้ว่ากำลังขออะไร ท่านดื่มถ้วยซึ่งเราจะดื่มได้หรือไม่” เขาทั้งสองทูลตอบว่า “ได้ พระเจ้าข้า”

พระคัมภีร์บันทึกโดยนักบุญมัทธิว บทที่4 ข้อที่21
เมื่อทรงดำเนินไปจากที่นั่น พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพี่น้องอีกสองคนคือ ยากอบบุตรของเศเบดีและยอห์นน้องชาย กำลังซ่อมแหอยู่ในเรือกับเศเบดีผู้บิดา พระองค์ทรงเรียกเขา ทันใดนั้น เขาก็ทิ้งเรือและบิดา แล้วตามพระองค์ไป

---จาก2บทนี้ เราพบว่านักบุญยอห์นและยากอบเป็นพี่น้องกัน พ่อชื่อเศเบดี และแม่ของเขาเคยขอให้ลูกทั้งสองได้นั่งข้างพระเยซู การให้ความสำคัญกับรายละเอียดเหล่านี้ชี้ว่า ลีโอนาร์โด ซื่อสัตย์ต่อไบเบิ้ลมาก ไม่ใช่เหยียดหยามไบเบิ้ลดังที่นิยายพยายามบิดเบือน

ทีนี้เมื่อเราทราบว่านี่คือยอห์น ก็คงเกิดคำถามว่า ทำไมดูเหมือนผู้หญิง ไม่มีหนวดเลย แต่ความจริงคริสตชนทุกคนทราบทันทีว่านี่คือยอห์น เพราะคนที่ดูภาพทางศาสนาเหล่านี้บ่อยหน่อย จะทราบทันทีว่า ลีโอนาร์โดไม่ได้วาดผู้หญิง แต่วาดเด็กหนุ่ม!!!

เพราะนักบุญยอห์นคืออัครสาวกที่อายุน้อยที่สุดของพระเยซูคริสต์

เอกสารที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นหนึ่งคือ พระคัมภีร์ ฉบับสุดท้ายที่จัดรวมในไบเบิ้ล เขียนโดยสาวกท่านนี้ และที่ได้ค้นพบต้นฉบับ ต้นฉบับนั้นมีอายุราวค.ศ.100 รวมถึงเนื้อหาบางส่วนในนั้นสอดคล้องกับสมัยดังกล่าว ดังนั้น รูปนักบุญชายในคริสตศาสนาที่เรามักเห็นหนวดเครายาว แต่จะมีท่านนี้เท่านั้น ที่ถูกวาดเป็นเด็กหนุ่มแทบทุกรูป และนี่คือสิ่งที่ แดน บราว์น ใช้บิดเบือนว่าท่านเป็นหญิง

และสามารถยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ นาย บรูซ โบเชอร์ (Bruce Boucher) หัวหน้าภัณฑรักษ์ ศิลป์ สถาปัตย์ และการตกแต่ง ยุโรป ที่ทำงานอยู่ที่สถาบันในชิคาโก บรูซได้อธิบายถึงเรื่องของอัครสาวกยอห์นในภาพนี้ว่า ภาพที่ปรากฏมาของยอห์นนั้นเป็นภาพศิลปะตามแบบศิลปินทางฟลอเรนส์ที่ต้องการสื่อถึงศิษย์คนโปรดของพระเยซูให้ออกมาในแง่ ชายหนุ่มผู้เยาว์วัย ดูอรชรอ้อนแอ้น และงดงาม

เรายืนยันข้อนี้ได้ไม่ยากเพียงด้วยการดูภาพของท่านนักบุญ ยอห์นอัครสาวกอายุน้อยท่านนี้ในภาพของศิลปินคนอื่นๆ



ในภาพนี้ต่างกับภาพลาสซับฯนะครับ เพราะไม่ได้วาดเหตุการณ์ แต่วาดคน เพราะพระแม่มารีย์อุ้มพระกุมารเยซู คือตอนพระเยซูเด็ก แต่ท่านยอห์นที่เป็นศิษย์ตอนพระเยซูเป็นหนุ่มแล้ว ส่วนอีกท่านที่ศีรษะล้านคือนักบุญฟรังซิส ท่านนี้เกิดหลังพระเยซูเป็นร้อยๆปี

ทำไมเราถึงดูรูปแล้วรู้ว่านี่คือยอห์น แน่นอนนอกจากศิลปินบอกไว้แล้ว ศิลปินยังสื่อด้วย3อย่างคือ

1.หนังสือพระคัมภีร์-เพราะท่านเป็นคนหนึ่งที่บันทึกพระคัมภีร์
2.เสื้อผ้าที่มีสีแดงและ...
3.ความเยาว์วัยของท่าน ที่แสดงว่าท่านคือสาวกที่อายุน้อยที่สุดของพระเยซู ดังนั้น แม้ท่านจะเขียนพระคัมภีร์ฉบับสุดท้ายตอนอายุราว80ปี แต่ศิลปินทุกคนยึดขนบนี้ ในการวาดรูปท่าน เพื่อบอกเราถึงสาวกที่อายุน้อยที่สุดของพระเยซูคริสต์

ลองดูอีกรูปครับรูปท่านเหมือนกัน



เราได้เห็นชายหนุ่มที่นั่งข้างพระเยซู ผมยาว ไม่มีหนวดเครา ดูเด็กที่สุดในกลุ่ม

ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วว่าที่จริงคนที่นั่งอยู่ตรงนั้นเป็นใคร เรามาศึกษาข้อเท็จจริงอื่นๆของภาพนี้กันต่อเลยครับ เพราะสิ่งที่นิยายบิดเบือนยังไม่หมดแค่นั้น


 
Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #7 on: 16 November 2020, 21:05:42 »


https://www.blockdit.com/posts/5d6face0d245aa2d0828bc97

“ปริศนา รูปภาพ The last supper”



“The last supper” หรือ “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วาดขึ้นโดยอัจฉริยบุคคลชาวอิตาลี “เลโอนาร์โด ดา วินชี่” ที่วาดขึ้นเมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 1495 – 1497 เพื่อมอบให้แก่ ลุโดวิโค      สฟอร์ซา ดยุกแห่งมิลาน

ภาพอาหารค่ำมื้อสุดท้าย ได้ถูกวาดขึ้นบริเวณฝาผนังภายในของโบสถ์ “ซานตามารีอาเดลเลกราซีเอ” หรือ “พระแม่มารีแห่งพระหรรษทาน" ในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ซึ่งปัจจุบันได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโดยองค์การยูเนสโก ในปี ค.ศ. 1980



ส่วนวิธีการวาดนั้น เลโอนาร์โด ดา วินชี่ ได้ใช้วิธีการวาดแบบปูนเปียก (Fresco) ลงบนผนังปูน ซึ่งเป็นวิธีการวาดภาพโดยใช้น้ำละลายสีลงไปในปูนที่ยังไม่แห้ง เมื่อสีเริ่มซึมลงไปในผนัง ก็จะเริ่มเป็นเนื้อเดียวกับปูนพร้อมกับที่ผนังเริ่มแข็งตัว จากนั้นจะอยู่ในสภาพที่แข็งตัวอย่างมาก

เนื้อหาในภาพนั้น จะเป็นเรื่องราวของพระเยซูคริสต์กับเหล่าสาวกทั้ง 12 คนในขณะร่วมรับประทานอาหารค่ำ โดยพระเยซูได้ทรงทำนายขึ้นท่ามกลางเหล่าสาวกว่า จะมีหนึ่งคนในบรรดาพวกท่านที่จะทรยศพระองค์ ซึ่งเหตุการณ์ภายหลังจากนั้นก็เป็นที่ทราบกันดีว่าพระเยซูได้ถูกทหารโรมันจับไปเพื่อตัดสินโทษและถูกตรึงกางเขนจนสิ้นพระชมน์ในเวลาต่อมา



.....
ปริศนาของภาพ (โปรดใช้วิจารณญาณ)
เมื่อคนที่วาดภาพนี้ คือ เลโอนาร์โด ดาวินชี่ บุคคลซึ่งถูกยอมรับว่าเป็น “อัจฉริยะ” ของโลก จึงมีหลายคนไม่เชื่อว่าภาพดังกล่าวจะเป็นเพียงแค่ภาพที่สวยงามธรรมดาภาพหนึ่งเท่านั้น แต่จะต้องแฝงไว้ด้วยปริศนาต่าง ๆ มากมายตามสไตล์ของผู้ที่ได้รังสรรค์ภาพนี้ขึ้นมา


ปริศนาที่ 1 ความสับสน คนทรยศ ?
บุคคลในรูปภาพอาหารค่ำมื้อสุดท้ายประกอบไปด้วยเหล่าสาวกทั้ง 12 คนและพระเยซู ซึ่งหากเรียงลำดับจากซ้ายมาขวาจะมี บาร์โธโลมิว , ยากอบ บุตรอัลเฟอัส , อันดรูว์ , ยูดาส  , เปโตร , ยอห์น , พระเยซู , โธมัส, ยากอบ บุตรเศเบดี ,ฟิลิป , มัทธิว , ยูดา และ ซีโมนเศโลเท



หากสังเกตในภาพก็จะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่า ดา วินชี่ ต้องการสื่อให้เห็นถึงอารมณ์ของเหล่าสาวก ในขณะที่พระเยซูได้ทำนายว่าจะมีคนทรยศพระองค์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเหล่าสาวกต่างก็มีท่าทีที่แตกต่างกันไป ทั้งพากันตกใจ พากันปฏิเสธ หรือมีทีท่าฉงนสงสัย

ทีนี้ เมื่อสังเกตดูจะมีสาวกอยู่คนหนึ่ง ที่ไม่ได้มีลักษณะหรือท่าทีไปในทางเดียวกันกับสาวกคนอื่น ๆ ซึ่ง ดา วินชี่ ได้ใช้วิธีวาดภาพโดยจัดกลุ่มของสาวกออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 3 คน แต่จะมีสาวกอยู่คนหนึ่งที่แสดงท่าทางตกใจออกมาเพียงคนเดียวและหันมองไปที่พระเยซู เพราะตกใจในคำทำนายของพระองค์ ซึ่งคนนั้นคือคนที่ทรยศ

(เรื่องนี้ คนที่เป็นคริสเตียนน่าจะทราบดีอยู่แล้ว แต่สำหรับใครที่ไม่ได้เป็นคริสเตียน หรือไม่เคยรู้ประวัติของเรื่องนี้มาก่อน ผมขอให้ลองเดาดูนะครับว่าเป็นคนไหนที่ทรยศ)


ปริศนาที่ 2  เรื่องราวต่อจากนั้นได้ถูกเขียนไว้ในภาพแล้ว ?
ขอให้สังเกตที่มือของสาวกแต่ละคนให้ดี ๆ ครับ เพราะเหตุการณ์ต่อจาก “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” ได้ถูกถ่ายทอดลงในภาพนี้แล้ว

“มีดในมือของเปโตร”



ขอให้ดูที่มือของเปโตร ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่าในมือข้างขวาของเปโตรจะถือมีดโดยชี้ไปที่ทิศทางตรงกันข้ามกับพระเยซู เพราะเรื่องราวต่อจากนี้ หลังจากที่สาวกผู้ทรยศได้นำพาทหารโรมันและเหล่าทาสผู้รับใช้มาเพื่อจับกุมพระเยซู เปโตรก็ได้ใช้มีดฟันหูของทาสรับใช้คนหนึ่งจนขาด แต่เมื่อพระเยซูเห็นดังนั้นจึงรีบรักษาหูของทาสผู้นั้นจนหาย และได้บอกกับเปโตรให้เก็บดาบใส่ฝักซะ เพราะทุกคนที่ใช้ดาบจะตายด้วยดาบ หลังจากนั้นพระเยซูก็ให้ทหารโรมันจับไปด้วยความเต็มใจเพื่อทำให้สิ่งที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์เป็นจริง

“เหรียญในมือของยูดาส”



ยูดาสได้รับเงินจำนวน 30 เหรียญจากเหล่านักบวชเพื่อแลกกับการทรยศพระเยซู โดยยูดาสได้นำพาทหารโรมันมาจับกุม และชี้ตัวพระเยซูให้กับคนพวกนั้น (ยูดาสได้บอกกับเหล่าคนที่จะมาจับว่า ถ้าเค้าจูบคำนับที่คนไหน คนนั้นแหละคือพระเยซูคริสต์)

ทีนี้ ลองดูในมือของเหล่าสาวกในภาพให้ดี ๆ คนไหนที่ถือถุงเงินอยู่ คนนั้นแหละคือ ยูดาส ผู้ทรยศนั่นเอง !!



จริง ๆ แล้วยังมีปริศนาเกี่ยวกับภาพ The last supper อีกมากมายที่ผู้คนต่างพูดถึงกันทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ

โดยส่วนที่ผมนำมาแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกัน ถือว่าเป็นปริศนาที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าค่อนข้างเชื่อถือได้ ส่วนปริศนาอื่นๆ ผมคิดว่าต้องอาศัยความเชื่อและจินตนาการพอสมควรในการตีความ

แต่ท้ายที่สุด ไม่ว่าปริศนาของภาพ The last supper จะถูกคลี่คลายออกทั้งหมดหรือไม่ ก็คงไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะคุณค่าที่แท้จริงของภาพวาดนี้ก็คือการบอกเล่าเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ ที่จะเป็นมรดกแก่โลกใบนี้ไปจนกว่าจะถึงวันสุดท้าย




 
Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #8 on: 16 November 2020, 21:12:47 »


https://www.greelane.com/th/มนุษยศาสตร์/ทัศนศิลป์/john-or-mary-magdalene-last-supper-182499/

คือ Mary Magdalene ใน "The Last Supper"?



“The Last Supper” เป็นหนึ่งในผู้ยิ่งใหญ่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาจิตรกรเลโอนาร์โดดาวินชีชิ้นเอกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและน่าสนใจ ’s และเรื่องของตำนานจำนวนมากและการถกเถียง หนึ่งในผู้ที่เกี่ยวข้องกับการถกเถียงรูปนั่งอยู่ที่โต๊ะไปทางขวาของพระคริสต์คือนักบุญจอห์นหรือ Mary Magdalene?

ประวัติความเป็นมาของ “The Last Supper”
แม้ว่าจะมีการทำสำเนาหลายในพิพิธภัณฑ์และบนแผ่นรองเมาส์เดิมของ “พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย” คือปูนเปียก Painted ระหว่าง 1495 และ 1498 การทำงานเป็นอย่างมากวัด 15 x 29 ฟุต (4.6 x 8.8 เมตร) พลาสเตอร์สีครอบคลุมทั่วทั้งผนังของหอ (ห้องอาหาร) ในConvent of Santa Maria delle Grazieในมิลาน, อิตาลี

ภาพวาดที่เป็นนายหน้าจาก Ludovico Sforza ดยุคแห่งมิลานและนายจ้างของดาวินชีเป็นเวลาเกือบ 18 ปี (1482-1499) เลโอนาร์โดเสมอประดิษฐ์ที่พยายามใช้วัสดุใหม่สำหรับ “The Last Supper”. แทนการใช้อุบาทว์บนปูนปลาสเตอร์เปียก (วิธีการที่ต้องการของการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังและหนึ่งซึ่งเคยทำงานที่ประสบความสำเร็จมานานหลายศตวรรษ), เลโอนาร์โดวาดบนปูนแห้งซึ่งมีผลในจานสีที่แตกต่างกันมาก แต่น่าเสียดายที่ฉาบปูนแห้งไม่มั่นคงเท่าที่เปียกและฉาบปูนทาสีเริ่มล่อนออกมาจากผนังเกือบจะในทันที หน่วยงานต่าง ๆ ได้พยายามที่จะเรียกคืนมันนับตั้งแต่นั้น

องค์ประกอบและนวัตกรรมในงานศิลปะทางศาสนา
“The Last Supper” คือความหมายของภาพเลโอนาร์โดของเหตุการณ์ที่ลงมือในทั้งสี่ของพระวรสาร (หนังสือในพันธสัญญาใหม่) พระวรสารกล่าวว่าเย็นก่อนคริสต์จะถูกทรยศโดยหนึ่งในลูกศิษย์ของเขาเขารวบรวมพวกเขาทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อกินและจะบอกพวกเขาว่าเขารู้ว่าสิ่งที่ได้รับมาว่าเขาจะถูกจับกุมและดำเนินการ ที่นั่นเขาได้ล้างเท้าของตนท่าทางสัญลักษณ์ว่าทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้สายตาของพระเจ้า ขณะที่พวกเขากินและดื่มด้วยกันคริสให้คำแนะนำอย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการจำเขาได้ในอนาคตสาวกโดยการใช้คำอุปมาของอาหารและเครื่องดื่ม คริสเตียนพิจารณาว่ามันเป็นงานฉลองแรกของศีลมหาสนิทเป็นพิธีกรรมที่ยังคงดำเนินการในวันนี้

ฉากที่พระคัมภีร์ได้รับอย่างแน่นอนก่อนที่จะทาสี แต่ในเลโอนาร์โด “The Last Supper” สาวกทุกการแสดงของมนุษย์มากอารมณ์ระบุตัวตนได้ รุ่นของเขาแสดงให้เห็นถึงตัวเลขทางศาสนาที่โดดเด่นเป็นคนมากกว่าเซนต์สทำปฏิกิริยากับสถานการณ์ในทางที่มนุษย์

นอกจากนี้มุมมองทางเทคนิคใน “พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย” ที่ถูกสร้างขึ้นดังที่ทุกองค์ประกอบหนึ่งของการวาดภาพนั้นจะนำความสนใจของผู้ชมตรงไปยังจุดกึ่งกลางขององค์ประกอบหัวของพระคริสต์ มันเป็นเนื้อหาที่เป็นตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมุมมองจุดหนึ่งที่เคยสร้าง

อารมณ์ใน “The Last Supper”
“The Last Supper” แสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาในเวลา: มันแสดงให้เห็นถึงไม่กี่วินาทีแรกหลังจากที่คริสบอกว่าอัครสาวกของเขาว่าหนึ่งในพวกเขาจะทรยศพระองค์ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น 12 คนเป็นภาพในกลุ่มเล็ก ๆ ของสามทำปฏิกิริยากับข่าวที่มีองศาที่แตกต่างกันของความกลัวความโกรธและช็อต

มองข้ามภาพจากซ้ายไปขวา:

-บาร์โธโลมิเจมส์ไมเนอร์และแอนดรูปแบบกลุ่มแรกของสาม ทั้งหมดอยู่ในตกตะลึง, แอนดรูยังจุดจับมือของเขาขึ้นในส่วน “หยุด!” เชิง
-กลุ่มต่อไปคือยูดาสปีเตอร์และจอห์น ใบหน้าของยูดาสอยู่ในเงาและเขาก็กำถุงเล็ก ๆ อาจจะมี 30 ชิ้นส่วนของเงินที่เขาได้รับทรยศต่อพระเยซูคริสต์ ปีเตอร์โกรธอย่างเห็นได้ชัดและเป็นผู้หญิงที่ดูจอห์นดูเหมือนจะเป็นลม
-พระคริสต์อยู่ในศูนย์สงบในท่ามกลางพายุที่
-โทมัสเจมส์เมเจอร์และฟิลิปอยู่ถัดจาก: โทมัสตื่นเต้นอย่างเห็นได้ชัดเจมส์เมเจอร์ตะลึงและฟิลิปที่ดูเหมือนว่าจะแสวงหาการชี้แจง
-สุดท้ายแมทธิวแธดเดียสและไซมอนประกอบด้วยกลุ่มสุดท้ายของตัวเลขสาม, แมทธิวและแธดเดียสหันไปกับไซม่อนคำอธิบาย แต่แขนของพวกเขายื่นออกไปทางพระคริสต์


คือว่าจอห์นหรือ Mary Magdalene ถัดไปไปที่พระเยซู?

ใน “The Last Supper” ตัวเลขที่แขนข้างขวาของพระคริสต์ไม่ได้มีเพศระบุได้อย่างง่ายดาย เขาไม่ได้หัวล้านหรือเคราหรือสิ่งที่เรามองเห็นการเชื่อมโยงกับ “ความเป็นชาย”. ในความเป็นจริงเขามองผู้หญิง: เป็นผลให้บางคนเช่นนักประพันธ์แดนบราวน์ในThe Da Vinci Codeได้สันนิษฐานว่าดาวินชีไม่ได้วาดจอห์นที่ทุกคน แต่ Mary Magdalene มีสามเหตุผลที่ดีมากทำไมเลโอนาร์โดได้รับอาจจะไม่วาด Mary Magdalene เป็น

1. Mary Magdalene ไม่ได้อยู่ที่พระกระยาหารค่ำมื้อ
 
แม้ว่าเธอจะถูกนำเสนอในงานแมรี่แม็กดาลีไม่ได้ระบุไว้ในหมู่คนที่โต๊ะในใด ๆ ของสี่พระวรสาร ตามบัญชีในพระคัมภีร์ไบเบิลบทบาทของเธอรองลงมาคือการสนับสนุนอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเช็ดเท้า จอห์นอธิบายว่าการรับประทานอาหารที่โต๊ะกับคนอื่น ๆ

2. ก็จะได้รับบาปที่เห็นได้ชัดสำหรับดาวินชีในการวาดของเธอมี

ศตวรรษที่ 15 ปลายคาทอลิกกรุงโรมไม่ได้ระยะเวลาของการตรัสรู้เกี่ยวกับการแข่งขันความเชื่อทางศาสนา การสืบสวนเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 12 ฝรั่งเศส สเปนสืบสวนเริ่มต้นขึ้นใน 1478 และ 50 ปีหลังจากที่ “The Last Supper” ถูกทาสีสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่สองเป็นที่ยอมรับในการชุมนุมของสำนักงานบริสุทธิ์ของการสืบสวนในกรุงโรมของตัวเอง เหยื่อที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสำนักงานนี้อยู่ใน 1633, เลโอนาร์โดเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ Galileo Galilei

เลโอนาร์โดเป็นนักประดิษฐ์และทดลองในทุกสิ่ง แต่ก็จะได้รับเลวร้ายยิ่งกว่าบ้าบิ่นสำหรับเขาที่จะเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายทั้งนายจ้างและสมเด็จพระสันตะปาปาของเขา

3. เลโอนาร์โดเป็นที่รู้จักสำหรับการวาดภาพคนอรชรอ้อนแอ้น

มีการโต้เถียงเป็นมากกว่าว่าเลโอนาร์โดเป็นเกย์หรือไม่ ไม่ว่าเขาจะเป็นหรือไม่ได้แน่นอนเขาทุ่มเทความสนใจมากขึ้นกายวิภาคศาสตร์ชายและเพศที่สวยงามในทั่วไปกว่าที่เขาทำกับลักษณะทางกายวิภาคของเพศหญิงหรือเพศหญิง มีบางคนหนุ่มค่อนข้างหอมรัญจวนใจที่ปรากฎในสมุดบันทึกของเขาที่สมบูรณ์มีความยาวปอยผมหยิกและเศร้าใจอย่างสุภาพตาหนัก lidded มี ใบหน้าของบางส่วนของคนเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับที่ของจอห์น

จากนี้ก็เห็นได้ชัดว่าดาวินชีวาดอัครทูตจอห์นเป็นลมติดกับพระคริสต์และไม่ Mary Magdalene The Da Vinci Code เป็นที่น่าสนใจและกระตุ้นความคิด แต่มันเป็นงานของนิยายและเรื่องความคิดสร้างสรรค์ทอโดยแดนบราวน์ขึ้นอยู่กับบิตของประวัติศาสตร์ แต่ไปได้ดีเหนือกว่าข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

แท็ก: มนุษยศาสตร์, ทัศนศิลป์, ศิลปะ, ประวัติศาสตร์ศิลปะ,


 
Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #9 on: 16 November 2020, 21:15:58 »


https://guru.sanook.com/7163/

พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (เลโอนาร์โด)



     พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย หรือ The Last Supper ในภาษาอังกฤษ และ Il cenacolo หรือ L'ultima cena ในภาษาอิตาลี เป็นจิตกรรมฝาผนัง ที่วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ให้แก่ผู้อุปถัมภ์ดยุค โลโดวิโค สฟอร์ซา (Lodovico Sforza) เป็นภาพที่มาจากพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซู ก่อนที่พระองค์จะทรงถูกนำไปตรึงกางเขนซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากคัมภีร์ไบเบิ้ล ภาพวาดนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากถูกวาดด้วยปูนเปียกบนผนัง ภาพวาดนี้ยังถือว่าเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ยังคงสภาพให้มองเห็นได้ในปัจจุบัน และยังถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบรรดาจิตรกรรมที่รู้จักกันอยู่ทั่วโลก

     ภาพวาดนี้ยังเป็นแกนสำคัญของการเดินเรื่องราวของนวนิยายชื่อดังของโลก รหัสลับดาวินชี ที่มีเนื้อหาระบุว่า เลโอนาร์โด ดา วินชี ได้แฝงปริศนาความลับไว้ในภาพโดยแสดงถึงสาวกหญิงใกล้ชิดผู้หนึ่งซึ่งมีสัมพันธ์กับพระเยซู ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากศาสนาจักรคาทอลิกอย่างรุนแรง

คำอธิบายภาพ
     ภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย เป็นภาพที่บรรยายให้เห็นถึงปฏิกิริยาของแต่ละอัครสาวก ในช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง คือเมื่อพระเยซูได้ทำนายว่า หนึ่งในผู้ร่วมโต๊ะอาหารมื้อนั้นจะทรยศพระองค์ โดยชื่อของอัครสาวกถูกระบุจาก ต้นฉบับ (The Notebooks of Leonardo Da Vinci หน้า 232) ในศตวรรษที่ 19 โดยเรียงลำดับจากซ้ายไปขวาแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ (เรียงลำดับจากหน้าไม่ใช่การนั่ง)
บาร์โทโลมิว, เจมส์ ลูกของอัลเฟียส และ แอนดูรว์ ทั้งกลุ่มแสดงอาการตกใจ
จูดาส์ อิสคาริออท, ปีเตอร์ และ จอห์น จูดาส์ใส่ชุดสีเขียวและสีน้ำเงินผงะถอยหลังเมื่อแผนถูกเปิดโปงอย่างกระทันหัน
ปีเตอร์มีท่าทางโกรธและในมือขวาถือมีดชี้ออกจากพระเยซู และอัครสาวกที่อายุน้อยที่สุด จอห์นดูเหมือนจะเป็นลม
พระเยซู
ทอมัส, นักบุญเจมส์ใหญ่ และ ฟิลลิป ทอมัสแสดงท่าทางหงุดหงิด เจมส์ดูตะลึงพร้อมยกมือขึ้นกลางอากาศ ส่วนฟิลลิปดูเหมือนกำลังขอคำอธิบาย
มัทธิว, จุด แทดเดียส และ ไซมอนซีลลอท ทั้งมัทธิว และจูด แทดเดียส หันไปคุยกับไซมอน

ยังมีภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ถูกเลียนแบบขึ้นในที่ต่างๆ ได้แก่

Chiesa Minorita ที่ เวียนนา
พิพิธภัณฑ์ ดา วินชี ในโบสถ์ Tongerlo ของเบลเยียม
โบสถ์ท้องถิ่นที่ Ponte Capriasca ใกล้ๆ ลูกาโน
แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/พระกระยาหารมื้อสุดท้าย_(เลโอนาร์โด)


 
Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #10 on: 16 November 2020, 21:21:56 »


https://www.takieng.com/stories/231

เมนู “พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย” ของพระเยซู ได้ถูกเปิดเผยแล้ว



จากงานวิจัยล่าสุดเรื่องอาหารของชาวปาเลสไตน์ในช่วงเวลาที่พระเยซูยังมีชีวิตอยู่ ระบุว่าเมนูในพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย น่าจะประกอบด้วย สตูว์ถั่ว, เนื้อแกะ, มะกอก, ผักรสขม, น้ำปลา, ขนมปังไร้เชื้อ, อินทผลัม และไวน์สมุนไพร

อาหารมื้อนั้นยังไม่ได้ถูกรับประทาน ระหว่างการนั่งร่วมกันอย่างเป็นทางการที่โต๊ะสี่เหลี่ยมดังที่แสดงในภาพวาดศิลปะทางศาสนา โดยมีพระเยซูและเหล่าอัครสาวกนั่งเอกเขนกพิงกันอยู่บนเบาะรองนั่งที่ชาวโรมันนิยมทำกันช่วงเวลานั้น

การศึกษาโดยนักโบราณคดีชาวอิตาเลียน 2 คน อาศัยในข้อความในพระคัมภีร์ ข้อเขียนของชาวยิว ชิ้นงานโรมันโบราณ และข้อมูลทางโบราณคดีในการตรวจสอบพฤติกรรมการรับประทานอาหารในกรุงเยรูซาเล็ม ณ จุดเริ่มต้นของศตวรรษที่ 1 ของคริสต์ศักราช

“พระคัมภีร์กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างอาหารค่ำมื้อนั้น แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดสิ่งที่พระเยซูและ 12 อัครสาวกรับประทานกัน” Generoso Urciuoli นักโบราณคดีชาวอิตาลีกล่าว

Urciuoli ผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของศาสนาคริสต์ช่วงเริ่มต้น และ Marta Berogno นักโบราณคดีและโบราณวัตถุของอียิปต์ จะเผยแพร่ผลการวิจัยของพวกเขาในหนังสือ “Gerusalemme: l’Ultima Cena” (Jerusalem: the Last Supper)

“จุดเริ่มต้นคือสมมติฐานที่ว่าพระเยซูเป็นชาวยิว พระองค์และสาวกของพระองค์ปฏิบัติตามประเพณีที่ถ่ายทอดผ่านพันธะสัญญาเดิมและข้อกำหนดเรื่องอาหารต้องห้าม” Urciuoli กล่าว

พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายเป็นอาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูและสาวกที่ใกล้ชิดที่สุดใช้เวลาร่วมกันในกรุงเยรูซาเล็ม ก่อนที่พระองค์จะถูกจับโดยทหารโรมันและถูกตรึงกางเขน

ภาพเหตุการณ์ถูกทำให้เป็นอมตะโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี แต่หนึ่งในภาพเขียนชิ้นเอกที่มีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกภาพนี้มีรายละเอียดบางอย่างไม่ถูกต้องตามประวัติศาสตร์

“ภาพจิตรกรรมฝาผนังของเลโอนาร์โดมาจากศตวรรษของการใช้ศาสตร์สัญลักษณ์ ภาพเขียน The Last Supper สื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์อย่างมากและมันไม่ได้ช่วยในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์” Urciuoli กล่าว

โดยการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์และเบาะแสจากงานศิลปะเช่นภาพวาดในสุสานใต้ดินสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 3 ทำให้นักวิจัยสามารถที่จะเข้าใจเรื่องอาหารและนิสัยการรับประทานอาหารในปาเลสไตน์เมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว

ภาพที่ปรากฏออกมาแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากพระกระยาหารมื้อสุดท้ายแบบดั้งเดิม งานเลี้ยงอาหารค่ำในห้องชั้นบนของบ้านในกรุงเยรูซาเล็มไม่ได้นั่งร่วมกันในโต๊ะสี่เหลี่ยม

“ณ เวลานั้นในปาเลสไตน์อาหารจะวางบนโต๊ะเตี้ยและแขกรับเชิญจะนั่งพิงเอกเขนกในเบาะรองนั่งพื้นและพรม” Urciuoli กล่าว

จาน ชาม และเหยือกน่าจะทำมาจากหิน ภาชนะหินของคริสต์ศตวรรษที่ 1 ได้ถูกพบในหลายพื้นที่ใกล้กรุงเยรูซาเล็มและแคว้นกาลิลี

“ชาวยิวที่รักษากฎของความบริสุทธิ์ใช้ภาชนะหิน เพราะพวกเขาจะไม่หวั่นไหวง่ายต่อการถ่ายเทความไม่บริสุทธิ์” Urciuoli กล่าว

“ที่เป็นไปได้อีกอย่างคือการใช้เครื่องปั้นดินเผาดินสีแดง ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในเวลานั้น” เขากล่าวเสริม

ตำแหน่งที่นั่งของแขกรับเชิญรอบๆโต๊ะจะต้องทำตามกฎและที่สำคัญที่สุดคือผู้ที่อยู่ทางขวาและซ้ายของแขกคนสำคัญ

“โองการจากพระวรสารของนักบุญจอห์นระบุว่ายูดาสอยู่ใกล้กับพระเยซูมาก อาจจะอยู่ชิดทางซ้ายของพระองค์ อันที่จริงเราถูกบอกว่าคนทรยศจุ่มขนมปังลงในจานของพระเยซู ซึ่งปฏิบัติตามการแบ่งปันอาหารจากชามกลาง” Urciuoli กล่าว

Urciuoli และ Berogno จำกัดการค้นหาอาหารที่ถูกนำเสนอในพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย โดยการรื้อฟื้นอาหารอื่นที่สำคัญอีก 2 อย่างที่ถูกกล่าวถึงในพระคัมภีร์ใหม่ ได้แก่งานแต่งงานที่คานา ซึ่งบันทึกเรื่องน้ำและไวน์ และงานจัดเลี้ยงที่ฟุ่มเฟือยของกษัตริย์เฮโรด ซึ่งโด่งดังในเรื่องการตัดหัวของนักบุญจอห์น

“การจัดงานแต่งงานที่คานาทำให้เราเข้าใจชาวยิวในเรื่องกฎเกณฑ์ทางศาสนาด้านอาหาร ที่รู้จักกันในชื่อ คัชรูท (Kashrut) ซึ่งกำหนดว่าอาหารอะไรที่สามารถและไม่สามารถรับประทานได้ และวิธีการเตรียมอาหารเหล่านั้น ในขณะที่งานเลี้ยงของกษัตริย์เฮโรดทำให้เราสามารถวิเคราะห์อิทธิพลของการทำอาหารแบบโรมันในกรุงเยรูซาเล็ม” Urciuoli กล่าว

นอกเหนือจากไวน์และขนมปัง น้ำปลาหลายอย่างของชาวโรมันน่าจะถูกนำเสนอทั้งในงานแต่งงานที่คานาและงานเลี้ยงของกษัตริย์เฮโรด เช่นเดียวกับที่พระกระยาหารมื้อสุดท้าย

Urciuoli และ Berogno ยังตั้งสมมติฐานว่าพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายอาจจะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลอยู่เพิง ซึ่งเป็นงานฉลองในฤดูใบไม้ร่วงรำลึกถึงปีที่ชาวอิสราเอลใช้เวลาในทะเลทรายในที่อยู่อาศัยที่เปราะบางหลังจากอพยพจากอียิปต์

แต่ตามพระวรสารของนักบุญมาร์ค พระเยซูเตรียมพร้อมสำหรับพระกระยาหารมื้อสุดท้ายใน “วันแรกของการกินขนมปังไร้เชื้อ เมื่อพวกเขาบูชายัญแกะในเทศกาลปัสกา (Passover)”

ถ้าพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายเป็นอาหารมื้อค่ำในเทศกาลปัสกาซึ่งจัดขึ้นโดยชาวยิว เพื่อรำลึกถึงการอพยพจากอียิปต์ อาหารน่าจะมีเนื้อแกะด้วย

พระคัมภีร์ยังให้เบาะแสอื่นแก่พวกเรา ขนมปังไร้เชื้อและไวน์ก็มีอยู่ในเมนู พระเยซูหักขนมปังและอวยพรด้วยไวน์ บอกอัครสาวกว่าขนมปังเป็นร่างกายของพระองค์และไวน์เป็นเลือดของพระองค์ เป็นการวางพื้นฐานสำหรับพิธีรับอาหารของพระผู้เป็นเจ้า

อาหารอื่น ๆ บนโต๊ะได้แก่ซุปขมิ้น สตูว์ถั่วที่ตุ๋นอย่างช้าๆ และมะกอกกับฮิสซอพ (สมุนไพรที่มีรสมิ้นท์) ผักรสขมกับถั่วพิสทาชิโอและคาโรเซต(อาหารผสมที่มีสัดส่วนของแอปเปิ้ล ถั่ว ไวน์ และอบเชย) ผลไม้และเนยถั่ว

“ผักรสขมแลคาโรเซตเป็นอาหารประจำเทศกาลปัสกา ส่วนซุปขมิ้นจะรับประทานในงานรื่นเริง ในขณะที่ฮิสซอพจะรับประทานกันประจำทุกวัน” Urciuoli กล่าว


 
Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #11 on: 16 November 2020, 21:24:10 »


https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nuttavut&month=10-2008&date=21&group=5&gblog=1

พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย (The Last Supper)



พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย(The Last Supper) หมายถึงอาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูทรงประทานแก่สานุศิษย์ 12 องค์ หนึ่งในผู้ร่วมโต๊ะอาหารมื้อนั้นจะทรยศพระองค์คือ ยูดาส โดยยูดาสสมคบกับผู้นำของชาวยิวและเสนอตัวจะช่วยจับพระเยซูเจ้า ยูดาสรู้ว่าหลังอาหารค่ำพระเยซูเจ้าจะออกไปภาวนาที่เชิงเขาใกล้ ๆ กรุงเยรูซาเล็ม ที่นั่นเป็นสวนมะกอก มีชื่อว่า "เกสเซมานี" พระองค์จะไปภาวนาที่นั่น

จากคำบอกนี้ พวกสมณะชั้นสูง(ฟารีสี และคัมภีราจารย์)จึงเตรียมการเพื่อเข้าจับกุมพระเยซูเจ้าและนำตัวพระองค์ตรึงกางเขนบนยอดเขากัลป์วาลีโอ โดยการนอกจากนั้นพระองค์ทรงตรัสแก่เรื่องราวบนโต๊ะอาหารค่ำครั้งสุดท้ายนั้น ภายหลังสานุศิษย์ได้เผยแพร่กันผ่านทางพระวารสาร และจดหมายต่าง ๆ เรื่องราวที่ได้รับการกล่าวถึงมาและบ่อย น่าจะเป็นการที่นักบุญ เปโตร บอกว่า “พระเยซูครับ ผมพร้อมจะติดคุกกับพระองค์ ผมพร้อมจะตายกับพระองค์”

แต่พระเยซูตรัสกับนักบุญเปรโตร ว่า “เปรโตร วันนี้ก่อนไก่ขัน ท่านจะปฏิเสธเรา 3 ครั้ง” และต่อมาก็เป็นจริงตามที่พระองค์ทรงตรัส

และที่สำคัญที่สุดและถือเป็นพิธีกรรมสำคัญของชาวคาทอลิกที่เรียกว่าพิธี มิซา คือการที่พระองค์ทรงหยิบขนมปังบิออกแล้วยื่นให้สานุศิษย์ตรัสว่า

“รับเอาปังนี้ไปกินให้ทั่วกันนี่เป็นกายของเราที่จะมอบเพื่อท่าน” และทรงหยิบถ้วยเหล้าองุ่นทรงยื่นให้สานุศิษย์ตรัสว่า
“นี่คือโลหิตของเรา โลหิตแห่งพันธะสัญญาใหม่อันยืนยง โลหิตซึ่งจะหลั่งออกเพื่ออภัยบาปแด่พวกท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด"

ซึ่งนักบุญทั้ง 12 องค์ที่ร่วมโต๊ะอาหารมื้อสุดท้ายกับพระเยซูประกอบไปด้วย 1.นักบุญเปโตร 2.นักบุญอันดูรว์(น้องชายเปโตร) 3.นักบุญยากอบ หรือยาโกเบ (เป็นพี่ชายของยอห์น) 4. นักบุญยอห์น 5.นักบุญฟิลิป 6.นักบุญบาร์โทโลมิว 7.นักบุญโธมัส(ซึ่งภายหลังพระเยซูทรงพื้นคืนชีพ ทรงยื่นมือที่มีรอยตระปูให้นักบุญโธมัสเอานิ้วแยงในรอยตระปู เนื่องจากครั้งแรกนักบุญโธมัสไม่เชื่อว่าพระเยซูจะกับคืนชีพ) 8.นักบุญมัธทิว 9. นักบุญ ยากอบ (บุตรของอัลเฟอัส) 10. ยูดา(ซึ่งทรยศพระเยซู) 11.นักบุญซีมอน 12. นักบุญ มัสธีอัส (แทนยูดาส)

นักบุญซึ่งภายหลังพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย หรือ The Last Supper ได้ถูกถ่ายทอดด้วยภาพที่มีชื่อเสียงจากภาพของ เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี หากเปรียบกับบ้านเราเวลานี้ก็คงประมาณได้กับ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ประมาณนั้น เลโอนาร์โดได้วาดภาพด้วยฝาผนังพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย มอบให้แก่ผู้มีบุญคุณของเขา นั่นคือ ดยุค โลโดวิโค สฟอร์ซา (Lodovico Sforza) และเป็นภาพที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก

ลีโอนาร์โด ดาวินชี่เป็นบุตรนอกสมรสของพีโดร ดาวินชี่ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1452 ในเมืองดาวินชี่(Vinci) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ ๆ กับ ฟลอเรนซ์(Florence) ประเทศอิตาลีเป็นบุคคลหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องราวใหญ่โตจากหนังสือ รหัสลับดาวินชี่(De-Coding of Da Vinci) ซึ่งทำให้คริสตจักร สั่นสะเทือนกับเรื่องราวที่บิดเบือนภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย (The Last Supper)

ทางดาวิชี่เขียนด้วยความศรัทธาในศาสนาไม่ได้มีรหัสลับอย่างที่หนังสือหรือภาพยนตร์ แต่เป็นการเขียนหนังสือตามทฤษฎีสมคบคิด(Conspiracy Theory) เป็นงานเขียนโดยใช้จิตนาการสร้างสรรค์หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ในอีกแง่มุมหนึ่งตัวอย่างของทฤษฎีสมคมคิดคือ ฮิตเลอร์ และเอลวิส เพลสลีย์ ที่จริงยังไม่ตายหรือ ศาสนาดาของศาสนาต่าง ๆ คือมนุษย์ต่างดาว เป็นต้น


 
Logged
p_san@
Global Moderator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,427


View Profile
« Reply #12 on: 16 November 2020, 21:26:31 »


https://talk.mthai.com/inbox/118003.html

อาถรรพณ์เลข 13

งานจิตรกรรม ภาพพระกระยาหารค่ำ มื้อสุดท้าย เลโอนาร์โด ดา วินชี



การวาดแบบ Fesco (เฟสโก หรือ ปูนเปียก)บนผนังปูน ค.ศ. 1495-1497 วัดซานตามาเรียเดลเลกราซี (มิลาน)

พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย หรือ The Last Supper ในภาษาอังกฤษ และ Il cenacolo หรือ L'ultima cena ในภาษาอิตาลี เป็นจิตรกรรมฝาผนัง ที่วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ให้แก่ผู้อุปถัมภ์ดยุค โลโดวิโค สฟอร์ซา (Lodovico Sforza) เป็นภาพที่มาจากพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซู ก่อนที่พระองค์จะทรงถูกนำไปตรึงกางเขนซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากคัมภีร์ไบเบิ้ล ภาพวาดนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากถูกวาดด้วยปูนเปียกบนผนัง ภาพวาดนี้ยังถือว่าเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ยังคงสภาพให้มองเห็นได้ในปัจจุบัน และยังถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบรรดาจิตรกรรมที่รู้จักกันอยู่ทั่วโลก

ภาพวาดนี้ยังเป็นแกนสำคัญของการเดินเรื่องราวของนวนิยายชื่อดังของโลก รหัสลับดาวินชี ที่มีเนื้อหาระบุว่า เลโอนาร์โด ดา วินชี ได้แฝงปริศนาความลับไว้ในภาพโดยแสดงถึงสาวกหญิงใกล้ชิดผู้หนึ่งซึ่งมี สัมพันธ์กับพระเยซู ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากศาสนาจักรคาทอลิกอย่างรุนแรง

 
คำ อธิบายภาพ
ภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย เป็นภาพที่บรรยายถึงช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง คือเมื่อพระเยซูได้ทำนายว่า หนึ่งในผู้ร่วมโต๊ะอาหารมื้อนั้นจะทรยศพระองค์

ที่มุมขวาสุดจากขวามาซ้ายคือ นักบุญซิโมเน นักบุญยูดา ทัดเดโอ คนที่ห้าจากทางขวามือที่ยกมือขึ้นด้วยความประหลาดใจ คือนักบุญเจมส์ ถัดมาคือนักบุญฟิลิปโป ที่ยกมือแสดงอาการตกใจเช่นกันและยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของตน นักบุญเปียโตร (คนที่ห้าจากทางซ้ายมือ) มองลงด้านหน้าทันทีในขณะที่ยูดาผงะถอยไปด้วยความรู้สึกผิด ตรงกลางสุดคือพระเยซู

ยังมีภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ถูกเลียนแบบขึ้นในที่ต่างๆ ได้แก่

Chiesa Minorita ที่ เวียนนาพิพิธภัณฑ์ ดา วินชี ในโบสถ์ Tongerlo ของเบลเยียมโบสถ์ท้องถิ่นที่ Ponte Capriasca ใกล้ๆ ลูกาโน 




ความเชื่อว่าเลข 13 เป็นเลขอัปมงคลนั้น  มีที่มาจากศาสนาคริสต์ในยุคต้น ๆ  ที่กล่าวกันว่าอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยชูคริสต์ที่เรียกกันว่า 'เดอะ ลาสต์  ซัปเปอร์'  (The Last Supper) นั้นมีผู้ร่วมโต๊ะพร้อมหน้ากันกับพระองค์รวม 13 คน  และความเชื่อว่าวันศุกร์เป็นวันโชคร้ายก็เพราะเป็นวันที่พระเยซูคริสต์ถูก ตรึงกางเขน และเป็นวันที่อดัมกับอีฟว์ละเมิดกัดแอปเปิ้ลต้องห้ามของพระผู้เป็นเจ้าในสวน เอเดน  จนต้องถูกขับไล่ออกมา ยิ่งกว่านั้นยังเชื่อว่าเป็นวันที่ทั้งอดัม และอีฟว์ล้มหายตายจากโลกอีกด้วย ดังนั้นเมื่อวันศุกร์มาตรงกับวันที่ 13 จึงเหมือนเป็นวันมหาอัปมงคลทีเดียว

       แต่เหล่านี้เป็นเรื่องความเชื่อในโชคลางเท่านั้น  ซึ่งแม้ยากที่จะขุดค้นต้นตอความจริงมาบอกเล่ากัน  แต่คนก็ยังเชื่อกันอย่างกว้างขวาง เช่น  นักเดินเรือจะไม่ยอมออกเรือในวันที่ 13 หรือห้องพักตามโรงแรมต่าง ๆ ในยุโรปก็ไม่ค่อยจะมีห้องเบอร์ 13  และที่อาการหนักกว่าเพื่อน  คือ ประเทศตุรกีที่ลงทุนเฉือนเลข 13 ออกไปจากสารบบตัวเลข

“ข้อมูลสนับสนุนจาก หนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”
& http://th.wikipedia.org/wiki




 
Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.246 seconds with 22 queries.