Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
17 May 2024, 05:38:40

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,684 Posts in 12,491 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  ผนังเก่าเล่าเรื่อง (Moderator: ผนังเก่าเล่าเรื่อง)  |  เพลงชาติไทย ปี พ.ศ.๒๔๗๕
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: เพลงชาติไทย ปี พ.ศ.๒๔๗๕  (Read 1171 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 11:12:27 »

เพลงชาติไทย ปี พ.ศ.๒๔๗๕

เพลงชาติไทย ฉบับนายสง่า พ.ศ. ๒๔๗๗

<a href="http://www.youtube.com/v/Mr4Dpu6oX2g?version" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/Mr4Dpu6oX2g?version</a>

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Mr4Dpu6oX2g


อัปโหลดโดย mykeawja เมื่อ 22 ก.ย. 2009

เชิญชมและรับฟังเพลงชาติไทย โดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) เป็นผู้แต่งทำนอง และขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เป็นผู้แต่งเนื้อร้อง
และเนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์นี้ก็ได้ปรับเปลี่ยนบางคำบางส่วนจากฉบับแรกใน&shy;ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ (ฉบับไม่เป็นทางการ)
เนื่องจากมีคำว่า "ยึดอำนาจ" อยู่ในเนื้อร้อง จึงต้องปรับเปลี่ยนและประกวดใหม่และประกาศเป็นเพลงชาติฉบับราชการในราชกิจจานุเบกษา
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ตามที่ท่านได้ฟังนี้

แผ่นดินสยาม นามประเทือง ว่าเมืองทอง
ไทยเข้าครอง ตั้ง ประเทศเขตต์แดน สง่า
สืบเผ่าไทย ดึกดำบรรพ์ โบราณลงมา
รวมรักษาสามัค คีทวีไทย
บางสมัยศัตรู จู่โจมตี
ไทยพลีชีพ ร่วมรวม รุกไล่
เข้าลุยเลือด หมายมุ่ง ผดุงผะไท
สยามสมัยบุราณ รอด ตลอดมา

อันดินสยาม คือว่า เนื้อของเชื้อไทย
น้ำรินไหลคือ ว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์ คือเจดีย์ ที่เราบูชา
เราจะสามัค คีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศ เอกราชจงดี
ใครย่ำยี เราจะไม่ ละให้
เอาเลือดล้าง ให้สิ้น แผ่นดินของไทย
สถาปนาสยาม ให้เทอดไทย ไชโย



ขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธุ์)
(เกิดวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ถึงแก่กรรม ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๓)
เป็นผู้สร้างหนัง ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ผู้ประพันธ์เพลงต่างๆ หลายเพลง
ซึ่งรวมถึงเนื้อร้องเพลงชาติไทยฉบับแรกสุดในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และเป็นผู้แต่งหนังสือต่างๆ
หลายเรื่อง เช่น หลักไทย ภูมิศาสตร์สุนทรภู่ เป็นต้น นับได้ว่าเป็นนักคิด นักค้นคว้า
และนักเขียนสำคัญคนหนึ่งของ ยุครัตนโกสินทร์

ขุนวิจิตรมาตราเกิดเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ มีบิดาชื่อ ขุนสารการ (ทองดี) อาชีพรับราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย
และเป็นผู้พิพากษา มารดาชื่อ พับ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แล้วเข้ารับราชการ
เป็นล่ามภาษาอังกฤษในกรมแผนที่ กระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ จึงได้รับโอนย้ายไปรับราชการ
ในกระทรวงพาณิชย์ จนเกษียณอายุในตำแหน่งหัวหน้ากองมาตราชั่งตวงวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐



พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit)
เกิดวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ ถึงแก่กรรม ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
เป็นบุคคลสำคัญในวงการดนตรีของประเทศไทย
ผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการบันทึกเพลงไทยเดิมด้วยโน้ตเพลงสากล
และเป็นผู้วางรากฐานวงดุริยางค์ทหาร อากาศและวงดุริยางค์ตำรวจ

พระเจนดุริยางค์เกิดที่ตำบลบ้านทวาย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายยาคอบ ไฟท์ (Jakob Feit) ชาวเยอรมันกับนางทองอยู่
ชาวไทยเชื้อสายมอญ มีภรรยาสามคนคือนางเบอร์ธา นางบัวคำและนางลิ้ม มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น ๑๐ คน
พระเจนฯ เริ่มเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ และจบการศึกษาหลักสูตรภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ พระเจนฯ เริ่มเรียนดนตรีกับบิดาเมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ต่อจากนั้นได้ศึกษาดนตรีด้วยตนเองมาโดยตลอดจนมีความรู้
และความชำนาญในการดนตรีอย่างแตกฉาน


------------------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็น

ผมรักกระทู้นี้มาก อ่านไป ดูคลิปไป ดูภาพไป น้ำตาจะไหล...
ยิ่งมาเห็นคนไทยด้วยกันจะฆ่ากันตายในปัจจุบันแล้วยิ่งสลดใจอย่างยิ่ง
ยังไงผมก็ขอภาวนาให้เราคนไทยรักกัน ไม่ทะเลาะกัน ปกป้องประเทศ สถาบัน ภาษาที่เราใช้ ให้ตลอดไปชั่วลูกหลานเหลน

ปล.ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่นำสาระดีๆมาสู่กระทู้นี้คับ ขอบคุณจากใจจริง

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ประวัติธงชาติไทย


ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์
มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ใช้สีหลักในธง ๓ สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ
แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ
แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น ๒ เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้น
หมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทยคือ
๑.ชาติ (สีแดง)
๒.ศาสนา (สีขาว)
๓.พระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน)
สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย
(ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ.๒๔๖๐
เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4)กลับด้าน
และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ กับฝ่ายสัมพันธมิตร



ในพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์"
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า
สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนาและธรรมะ
สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์
แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ
แต่ทั้ง ๓ สิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง
เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์

ธงชัยเฉลิมพลของกองทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่ ๑
ด้านหน้า


ธงชัยเฉลิมพลของกองทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่ ๑
ด้านหลัง



ทหารอาสาของไทย ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๔๖๒
โดยอัญเชิญธงชัยเฉลิมพล ซึ่งเป็นธงชาติที่รัชกาลที่ ๖
โปรดเกล้าให้ใช้เป็นธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร


กำเนิดของธงสยาม
ประวัติศาสตร์การใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย สามารถสืบได้ความแต่เพียงว่า
ไทยได้ใช้ธงสีแดงเป็นเครื่องสำหรับเรือกำปั่นเดินทะเลทั่วไปมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
และยังไม่ได้มีธงชาติไว้ใช้ดังที่เข้าใจในปัจจุบัน
ในจดหมายเหตุต่างประเทศแห่งหนึ่งได้กล่าวว่า
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา(พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๒๓๑)
เรือค้าขายของฝรั่งเศสลำหนึ่งได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยาเมื่อมาถึงที่ป้อมแห่งหนึ่งของไทย
เรือฝรั่งเศสก็ชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายไทยยิงสลุตคำนับตามธรรมเนียม
แต่เมื่อฝ่ายไทยชักธงขึ้นตอบบ้าง ฝ่ายฝรั่งเศสกลับไม่ยิงสลุตคำนับตอบ
เพราะได้ชักเอาธงชาติฮอลันดา(เนเธอร์แลนด์) ขึ้นเหนือป้อม
ด้วยเหตุว่าไทยไม่มีธงชาติของตนใช้
(ขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน) ฝ่ายไทยได้แก้ไขปัญหา
โดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา
ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบเหตุการณ์ดังกล่าว
จึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ธงชาติไทย

พัฒนาการของธงชาติไทย

ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมัยอยุธยา - พ.ศ. ๒๓๒๕ (ธงเรือหลวง)
สมัยอยุธยา - พ.ศ. ๒๓๙๘ (ธงเรือเอกชน)


พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๖๐
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


พ.ศ. ๒๓๖๐ - ๒๓๙๘
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


พ.ศ. ๒๓๙๘ - ๒๔๕๙
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. ๑๑๐


พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๔๖๐
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. ๑๒๙ (ธงราชการ)
พระบรมราชโองการประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. ๑๒๙ พ.ศ. ๒๔๕๙


พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๔๖๐
พระบรมราชโองการประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. ๑๒๙ พ.ศ. ๒๔๕๙


พ.ศ. ๒๔๖๐ - ปัจจุบัน
พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๔๗๙
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๕๒๒

การ ชัก ใช้ และแสดงธงชาติไทย
ในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงปกครองนั้น การประดับ ชัก ใช้ และแสดงธงชาติด้วยวิธีการต่างๆ มักเป็นไปตามธรรมเนียมที่ใช้สืบต่อกันมาไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ที่แน่นอนแม้จะเริ่มมีการจัดระเบียบธงด้วยกฎหมายต่างๆ นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๔ เป็นต้นมาก็ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการชัก ใช้ และแสดงธงอย่างชัดเจนนัก

จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๗๙ รัฐบาลไทยจึงเริ่มจัดระเบียบการใช้ธงชาติขึ้นอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยออกระเบียบการชักธงชาติสยามประกอบอยู่ในพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙ ปรากฏในในมาตรา ๑๗-๒๐ บทบังคับทั่วไปได้กล่าวถึงระเบียบการชักธงชาติและข้อควรปฏิบัติต่อธงชาติและในบทกำหนดโทษท้ายพระราชบัญญัติ ในมาตรา ๒๑-๒๓ ก็ได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบังคับ มีทั้งปรับเป็นเงิน จำคุก หรือทั้งปรับทั้งจำ หนักเบา แล้วแต่ความผิดที่ได้กระทำ ซึ่งต่อมาก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับต่างๆ อีกหลายฉบับ

ขอขอบคุณข้อมูล
พิพิธภัณฑ์ธงชาติสยาม : http://www.siamflag.org
รายละเอียดเพิ่มเติมธงชาิติไทย : th.wikipedia.org/wiki/ธงชาติไทย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2


=============================================

« Last Edit: 29 December 2012, 11:19:25 by Smile Siam » Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.069 seconds with 19 queries.