Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
29 March 2024, 02:39:42

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,463 Posts in 12,372 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ข้อควรปฎิบัติ  |  ข้อเสนอแนะ หรือ ร้องเรียนต่างๆ (Moderator: Smile Siam)  |  "เวนิสตะวันออก" กลายเป็นอดีต ปัจจุบัน น้ำจึงท่วมมโหฬาร ใช่หรือไม่ ... !!!
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: "เวนิสตะวันออก" กลายเป็นอดีต ปัจจุบัน น้ำจึงท่วมมโหฬาร ใช่หรือไม่ ... !!!  (Read 1908 times)
Smile Siam
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 331


View Profile
« on: 29 December 2012, 09:14:05 »

"เวนิสตะวันออก" กลายเป็นอดีต ปัจจุบัน น้ำจึงท่วมมโหฬาร ใช่หรือไม่ ... !!!

กรุงเทพฯ  เวนิสตะวันออก 
       ในอดีต  กรุงเทพฯ ได้ชื่อว่า เป็นเวนิสตะวันออก เพราะไม่ว่าจะไปทางไหน ล้วนแต่เต็มไปด้วยแม่น้ำลำคลอง  ซึ่งใช้เป็นทางสัญจรไปมา  ที่คราคร่ำไปด้วยเรือแพนานาชนิด แล่นกันขวักไขว่ในท้องน้ำ เช่นเดียวกับเมืองเวนิสในประเทศอิตาลี
      เมื่อ  ๑๐๐  กว่าปีมาแล้ว  คนกรุงเทพฯ ไปไหน ต้องใช้เรือเป็นพาหนะทั้งสิ้น  เพราะสมัยนั้น กรุงเทพฯ ไม่มีถนน มีแต่คลอง  จึงพูดได้ว่า  คืบก็คลอง ศอกก็คลอง เช่นเดียวกับชาวทะเล ที่ว่า คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล


     แต่ปัจจุบัน  สภาพดังกล่าวได้หมดไปแล้ว  เพราะถนนและรถยนต์ ได้เข้ามามีบทบาทแทนคลอง ซึ่งให้ความสะดวก และรวดเร็วกว่าหลายเท่า (แต่ปัจจุบันนี้ พ.ศ. 2552 เรือมีความสำคัญกว่า  เนื่องจากรถมาก  ทำให้ติด  จึงไปได้ช้ากว่าเรือ  คนจึงหันมานิยมใช้เรือกันมากกว่า  กรุงเทพฯ จึงมีนโยบาย จะทำคลองให้เป็นทางสัญจรเหมือนในอดีต เพื่อทำให้น้ำไม่สกปรก  และทุ่นเวลารถติดได้เยอะ) ดังนั้น กรุงเทพฯ จึงไม่ใช่เวนิสแห่งตะวันออกอีกต่อไปแล้ว

     อย่างไรก็ดี  กรุงเทพฯ  ก็ยังคงมีเค้าของเวนิสแห่งตะวันออกอยู่บ้าง  แต่ก็เลือนลางเต็มที  เนื่องจากคลองส่วนใหญ่ ถูกถมขยายถนน และคลองที่มีอยู่ก็นับวันจะหมดไปตามความเจริญของกรุงเทพฯ

     สำหรับคลองที่สำคัญในกรุงเทพฯ ที่ยังคงเหลืออยู่ในเวลานี้  ก็มีคลองหลอด คลองบางลำพู  คลองโอ่งอ่าง  คลองผดุงกรุงเกษม  คลองมหานาค  คลองแสนแสบ  คลองเปรมประชากร  คลองสามเสน  คลองพระโขนง  เป็นต้น



ข้อห้ามในพระราชบัญญัตินี้ ที่สำคัญก็คือ ห้ามไม่ให้ทิ้งขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ลงในคูคลอง ผู้ที่ทำผิดมาตรนี้ จะถูกปรับไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ กับถ้าปล่อยให้สัตว์พาหนะ และสัตว์เลี้ยง เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ลงคลอง  ซึ่งไม่ใช่ท่าข้ามทางการอนุญาต จะต้องถูกปรับ เป็นรายตัว ตัวละไม่เกิน 10 บาทเป็นต้น   

    แต่ก็อย่างว่า  ราษฎรสมัยนั้น ส่วนใหญ่เคยทำอย่างไรก็คงทำอยู่อย่างนั้น  เพราะเจ้าหน้าที่ไม่เข้มงวด และกวดขันในการห้ามปราม และจับกุมเท่าใดนัก อีกประการหนึ่ง กำลังเจ้าหน้าที่ก็มีน้อย ราษฎรทำอะไร ๆ  ตามอำเภอใจได้ง่าย ๆ  โดยไม่ต้องเกรงกลัวเจ้าหน้าที่

     ต่อมาเมื่อมิสเตอร์ อิริก  เซ็น.เย. ลอซัน  เป็นผู้บังคับการ กรมกองตระเวน (ตำรวย) กรุงเทพฯ ในตอนปลายรัชกาลที่ 5 ก็ได้มีการกวดขันรักษาคลองในกรุงเทพฯ ยิ่งกว่าแต่ก่อน

     ในหนังสือธรรมเนียมราชการ  กรมกองตระเวนซึ่ง มิสเตอร์ ลอซัน ได้เขียนขึ้นไว้ เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กรมกองตระเวนระบุว่า ถ้าใครทำสะพานท่าน้ำ หรือปลูกบ้านเรือน ยื่นลงไปในคลอง โดยไม่ได้รับอนุญาต ตลอดจนทิ้งของโสโครก และปลูกเว็จในคลอง  ถือว่าเป็นความผิดทั้งสิ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ กรมกองตระเวนจะต้องทำการจับกุมส่งฟ้องศาล

   เพื่อให้ท่านได้ทราบว่ากรุงเทพมหานคร เมื่อก่อนที่จะถมคลอง สร้างถนนในยุคพัฒนานั้น มีคลองอะไรบ้าง จึงขอนำรายชื่อคลอง ซึ่งปรากฏอยู่ในบัญชีคลองแนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทร์ศก 121 พุทธศักราช 2484 ทั้งฝั่งพระนคร และฝั่งธนบุรี ซึ่งประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2484 มาลงไว้ ดังต่อไปนี้

ฝั่งพระนคร ๖๑ คลอง

    คลองบางซื่อ จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคันคลองประปา
    คลองสามเสน จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลองบางกระสัน
    คลองเปรมประชากร จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงคลองบางซื่อ
    คลองผดุงกรุงเกษม จากปากคลองทางเหนือ ถึงปากคลองทางใต้
    คลองบางลำพู จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปากคลองมหานาค
    คลองโอ่งอ่าง จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปากคลองมหานาค
    คลองตลาด จากปากคลองทางทิศเหนือ ถึงปากคลองทางให้
    คลองวัดเทพธิดา จากคลองตลาด ถึงคอลโอ่งอ่าง
    คลองวัดราชบพิธ จากคลองตลาดถึงคลองโอ่งอ่าง
    คลองมหานาค จากคลองบางลำพู ถึงคลองผดุงกรุงเกษม
    คลองบางกะปิ จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ (หลักเขตที่ 6)
    คลองหัวลำโพง จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงคลองเตย
    คลองสวนหลวง จากคลองนางหงษ์ ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองอรชร จากคลองบางกะปิ ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองราชดำริ จากคลองบางกะปิ ถึงถนนพระราม 4
    คลองไผ่สิงห์โต จากคลองราชดำริ ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองสีลม จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองสาธร จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองขื่อหน้า จากคลองบางกะปิ ถึงคลองสามเสน
    คลองวัดใหม่ จากคลองบางซื่อ ถึงวัดใหม่ทองเสน
    คลองข้างกรมช่างแสง จากคลองบางซื่อ ถึงโรงเรียนทหารสื่อสาร
    คลองบางกระบือ จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลองวัดน้อย
    คลองวัดน้อย จากคลองเปรมประชากร ถึงปลายคลองบางกระบือ
    คลองบางทองหลาง จากคลองสามเสน ถึงถนนองครักษ์
    คลองส้มป่อย จากคลองสามเสน คลองบางกะปิ ถึงถนนราชวัตรเก่า ถนนเพชรบุรี
    คลองอั้งโล่ จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงโรงพยาบาลวชิระ
    คลองวัดส้มเกลี้ยง จากแม้น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนขาว
    คลองวัดราชาธิวาส จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนสามเสน
    คลองบ้านญวน จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนสามเสน
    คลองบางขุนพรหม จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนวิสุทธิกษัตริย์ ถึงถนนวิสุทธิกษัตริย์ หลังโรงเรียนนายร้อยทหารบก
    คลองวัดมงกุฏกษัตริย์ (คือ มกุฏกษัตริย์) จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงหลังวัดมงกุฏกษัตริย์
    คลองวัดโสมนัสวิหาร จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงถนนจักรพรรดิพงษ์ หลังวัดโสมนัสวิหาร
    คลองวัดตรีทศเทพ จากคลองบางลำพู ถึงหลังวัดตรีทศเทพ และจากคลองบางลำพู ถึงข้างวัดตรีทศเทพ
    คลองบ้านหล่อ จากคลองบางลำภู ถึงถนนวิสุทธิกษัตริย์
    คลองวัดปริณายก จากคลองบางลำพู ถึงหลังวัดปริณายก
    คลองจุลนาค จากคลองมหานาค ถึงถนนนครสวรรค์
    คลองวัดคอกหมู  จากคลองมหานาค ถึงหลังวัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค)
    คลองวัดสมณานัมบริหาร (คือวัดญวน) จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงถนนพิษณุโลก และจากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงหลังวัดสมณานัมฯ
    คลองลำปรัก จากคลองวัดสมณานัมฯ ถึงคลองวัดขื่อหน้า
    คลองวัดรังษี จากคลองบางลำพู ถึงถนนดินสอ
    คลองวัดบวรนิเวศน์ จากคลองบางลำพู ถึงถนนบ้านแขก
    คลองนางชี จากคลองมหานาค ถึงสะพานแม้นศรี
    คลองวัดเทพศิรินทร์ จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงถนนพลับพลาไชย
    คลองศาลเจ้าเก่า จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนทรงวาด
    คลองวัดปทุมคงคา จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงวัดปทุมคงคา
    คลองวัดสระบัว จากคลองบางกะปิ ถึงถนนพระรามที่ 1
    คลองนางหงษ์ จากคลองบางกะปิ ถึงคลองวัดสระบัว
    คลองข้าวัดใหม่ จากคลองบางกะปิ ถึงถนนพระรามที่ 1
    คลองพญาไท จากคลองบางกะปิ ถึงถนนเพชรบุรี
    คลองสวนน้อย จากคลองบางกะปิ ถึงตำบลพญาไท
    คลองซุง จากคลองบากะปิ ถึงถนนเพลินจิต
    คลองบางกระสัน จากคลองบางกะปิ ถึงคลองสามเสน
    คลองเตย จากปากคลองหัวลำโพง ถึงปลายคลอง
    คลองหัวลำโพงเก่า จากตรงตรอกสะพานสว่าง ถึงถนนสี่พระยา
    คลองช่องนนทรีย์ จากถนนสี่พระยา ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ ระหว่างหลักเขตที่ 9-10
    คลองข้างบ้านหมอเฮย์ จากคลองสีลม ถึงคลองสาธร
    คลองข้างป่าช้าจีน จากคลองสาธร ถึงป่าช้าจีน
    คลองวัดยานนาวา จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลอง
    คลองกรวย จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเขตเทศบาลกรุงเทพฯ ระหว่างหลักเขตที่ 10-11
    คลองบางขวาง จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ ระหว่างหลักเขตที่ 10-11
    คลองบ้านใหม่ จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ หลักเขตที่ 10-11
    คลองสวนหลวง จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลอง
    คลองวัว จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสุเหร่าแขก
    คลองบางคอแหลม จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลอง

ฝั่งธนบุรี ๓๔ คลอง

    คลองบางกอกน้อย  จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสุดเขตเทศบาล
    คลองบางขุนเทียน ตั้งแตแ่สี่แยกคลองมอญ ถึงคลองบางกอกน้อย
    คลองลัดบางขุนสี  จากคลองบางขุนศรี ถึงคลองบางกอกน้อย
    คลองบางขุนนนท์  จากคลองบางกอกน้อย ถึงคลองลัดบางขันสี
    คลองวัดมะ จากคลองบางขุนสี  ถึงคลองบางขุนนนท์
    คลองมอญ จากแม่น้เจ้าพระยา ถึงสี่แยกบางกอกใหญ่
    คลองบ้านขมิ้น  จากคลองมอญถึงทางรถไฟสายบางกอกน้อย
    คลองวัดอรุณ จากคลองอมญ ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา
    คลองวัดราชสิทธิ  จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงคลองวัดอรุณ
    คลองวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม ปัจจุบัน) จากคลองบางใหญ่ ถึงคลองมอญ
    คลองบางกอกใหญ่  จากแมน้ำเจ้าพระยา ถึงสี่แยกปากคลองมอญ
    คลองวัดบุปผาราม จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงคลองสาน
    คลองกุดีจีน จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองวัดบุปผาราม
    คลองสาน จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางไส้ไก่
    คลองสมเด็จ จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองสาน
    คลองบางไสไก่ จากแม่น้ำเจ้าพระยา   ถึงคลองบางกอกใหญ่
    คลองบางลำภูล่าง จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางไส้ไก่
    คลองต้นไทร จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางไส้ไก่
    คลองบางน้ำชล ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางกอกใหญ่
    คลองบางสะแก จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงคลองบางค้อ
    คลองบางค้อ จากคลองดาวคะนอง ถึงคลองด่าน
    คลองด่าน จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงสุดเขตเทศบาล
    คลองดาวคะนอง จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสุดเขเทศบาล
    คลองบางหว้า จากคลองด่าน ถึงสุดเขตเทศบาล
    คลองภาษีเจริญ จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงสุดเขตเทศบาล
    คลองบางจาก จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงสุดเขตเทศบาล
    คลองวัดประดู่ จากคลองภาษีเจริญ ถึงคลองบางจาก
    คลองวัดปรก จากคลองภาษีเจริญ ถึงคลองด่าน
    คลองรางบัว จากคลองภาษีเจริญ ถึรงคลองบางหว้า
    คลองวัดเพลง จากคลองภาษีเจริญ ถึงคลองวัดปรก
    คลองตาแผลง จากคลองด่าน ถึงคลองรางบัว

     คลองดังกล่าวมานี้ ปัจจุบัน ถูกถมขยายถนนเป็นจำนวนมาก เช่น คลองหัวลำโพง ถูกถมขยายถนนพระราม 4  ตั้งแต่ต้นคลองที่หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปจนถึงคลองเตย  คลองสีลม ถูกถมขยายถนนสีลม  เป็นต้น

     ดังนั้น  คลองต่าง ๆ  เหล่านี้ จึงเหลือแต่ชื่อ ซึ่งนับวันจะเลือนหายจากความทรงจำของชาวกรุงเทพฯ ไปทุกที  อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าคลองต่าง ๆ  ในกรุงเทพฯ จะหมดไป แต่แม่น้ำเจ้าพระยา ก็ยังคงเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญต่อกรุงเทพฯ อยู่เหมือนเดิม

     จะต่างกันก็แต่ว่า  กรุงเทพฯ สมัยก่อน ไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แต่สมัยนี้มีสะพานข้าแม่น้ำเจ้าพระยาหลายสะพาน

     ส่วนกรุงเทพฯ สองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่ก่อน มีแต่เรือแพ จอดเรียงกันเป็นแถวเหมือนถนนแพ เวลานี้ ก็เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง แน่นขนัดไปหมด แม่น้ำเจ้าพระยาจึงแปลกตาไปกว่าอดีตมาก

     สำหรับยานพาหนะทางน้ำ เืมื่อสมัยรัชกาลที่ 5  นอกจากเรือสำเภา เรือกำปั่นไฟ เรือรบหลวง ที่จอดอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ปรากฏว่า มีเรือกลไฟ โยงเรือต่อบรรทุกข้าว ฯลฯ แล่นอยู่ในแม่น้ำลำคลองด้วย แต่ยานพาหนะทางน้ำส่วนใหญ่ เป็นเรือพาย เรือแจว  เรือพาย ก็มีเรือมาด (คือเรือที่ขุดจากซุงไม้ขนาดเล็ก) เรือสำปั้น และเรือบด (มาจากคำว่า "โบ๊ต. ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษที่แปลว่า เรือ)  ส่วนเรือแจว ก็มีเรือแหวด (คือเรือมาด ขนาดใหญ่ มีเก๋งกลางลำเรือ) เรือหางแมงป่อง (เป็นเรือเมืองเหนือ ใช้ขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองเหนือ)

     ส่วนเรือยนต์ และเรือเครื่องติดท้าย เพิ่งจะมีเอาเมื่อปลายรัชกาลที่ 5  ต้นรัชกาลที่ 6 นี้เอง

     ปัจจุบันในแม่น้ำลำคลอง      นอกจากจะเต็มไปด้วยเรือ   ต่าง ๆ แล้ว ยังมีเรือหางยาว ซึ่งเข้ามามีบทบาท เป็นเจ้าแห่งท้องน้ำ อยู่ในขณะนี้อีกด้วย


 

ที่มา :  กรุงเทพในอดีต  โดย  เทพชู  ทับทอง  สนพ. สุขภาพใจ
Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.35 seconds with 18 queries.