Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
29 April 2024, 05:50:48

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,611 Posts in 12,442 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  สถานที่สวยงาม (Moderator: ppsan)  |  ภูชี้ฟ้า (หลังคาแห่งสยาม)...สูงเฉียดฟ้า ดอยผาหม่น
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: ภูชี้ฟ้า (หลังคาแห่งสยาม)...สูงเฉียดฟ้า ดอยผาหม่น  (Read 974 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,464


View Profile
« on: 24 January 2013, 01:56:51 »

ภูชี้ฟ้า (หลังคาแห่งสยาม)...สูงเฉียดฟ้า ดอยผาหม่น




มาทำความรู้จักกับภูชี้ฟ้า ดอยผาหม่น ขุนเขา กั้นแดน ไทยลาว สุดเขต เชียงราย
เทือกเขาสูงตระง่าน กั้นเขตแดนไทย - ลาว ในเขต อำเภอเทิง และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
และเรื่องราวต่างๆ เมื่อครั้งอดีต จนถึงปัจจุบัน...






ความเป็นมาของภูชี้ฟ้า :

ภูชี้ฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกดอยผาหม่น ที่เป็นพรมแดนไทย-ลาว ด้าน จังหวัดเชียงราย - จังหวัดพะเยา
ลักษณะเป็นหน้าผาหินตั้ง อยู่บนเส้นกั้นพรมแดนพอดี ในอดีต เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของ พคท. ด้วยสภาพภูมิประเทศที่สูงชัน
จึงเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญ ชาวลาวและชาวไทย ในพื้นที่เรียกผาหินที่ชี้เหยียดตรงขึ้นไปบนฟ้าว่าภูฟ้า เมื่อปัญหาด้านความมั่นคงคลี่

คลาย มีการตัดถนนขนานแนวชายแดน ไทย-ลาว จากบ้านผาตั้ง ภูชี้ฟ้า ไปถึง อ.เชียงคำ
ภูชี้ฟ้าจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม บนยอดภูชี้ฟ้า เป็นจุดที่ยื่นจากแนวเขตพรมแดน จึงไม่สามารถระบุชัดได้ว่า อยู่ในเขตไทยหรือลาว
แต่ทางขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้านั้นอยู่ในเขตไทย เคยมีการปักธงชาติไทยบนปลายสุดของหน้าผา
แต่ในวันถัดมา ทหารลาวก็จะนำธงลาวมาปักเคียงคู่กันด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย
จึงห้ามนักท่องเที่ยวพักแรมบนภูชี้ฟ้า

สถานที่ท่องเที่ยวที่จะแนะนำ ก็คือ...วนอุทยานภูชี้ฟ้า
อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ท้องที่บ้านร่มฟ้าทอง หมู่ที่ 9
และบ้านร่มฟ้าไทย หมู่ที่ 10 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่ป่าโซน C
ตามแผนที่ ZONING เนื้อที่ที่สำรวจและเห็นควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ประมาณ 2,500 ไร่
โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ จดทางหลวงจังหวัดสาย 1093
ทิศใต้ จดสันเขา
ทิศตะวันออก จดสันเขา / ชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก จดทางหลวงจังหวัดสาย 1093







วนอุทยานภูชี้ฟ้าเป็นจุดชมวิวทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง
อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กม. อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,628 เมตร
มีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว มองเห็นหมู่บ้านลาวที่เรียกว่า เชียงตอง
ยามเช้าในฤดูหนาวจะมี ทะลหมอก และอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์
จะเป็นช่วงที่ดอกเสี้ยวหรือดอกชงโคป่าบานสะพรั่งอยู่ทั่วไปบริเวณภูชี้ฟ้า
บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง แซมด้วยทุ่งโคลงเคลง ที่มีดอกสีชมพูอมม่วงซึ่งจะบาน
ระหว่างเดือน กรกฎาคม – มกราคม


ภูชี้ฟ้า (หลังคาแห่งสยาม)...สูงเฉียดฟ้า ดอยผาหม่น




มาทำความรู้จักกับภูชี้ฟ้า ดอยผาหม่น ขุนเขา กั้นแดน ไทยลาว สุดเขต เชียงราย
เทือกเขาสูงตระง่าน กั้นเขตแดนไทย - ลาว ในเขต อำเภอเทิง และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
และเรื่องราวต่างๆ เมื่อครั้งอดีต จนถึงปัจจุบัน...






ความเป็นมาของภูชี้ฟ้า :

ภูชี้ฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกดอยผาหม่น ที่เป็นพรมแดนไทย-ลาว ด้าน จังหวัดเชียงราย - จังหวัดพะเยา
ลักษณะเป็นหน้าผาหินตั้ง อยู่บนเส้นกั้นพรมแดนพอดี ในอดีต เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของ พคท. ด้วยสภาพภูมิประเทศที่สูงชัน
จึงเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญ ชาวลาวและชาวไทย ในพื้นที่เรียกผาหินที่ชี้เหยียดตรงขึ้นไปบนฟ้าว่าภูฟ้า เมื่อปัญหาด้านความมั่นคงคลี่

คลาย มีการตัดถนนขนานแนวชายแดน ไทย-ลาว จากบ้านผาตั้ง ภูชี้ฟ้า ไปถึง อ.เชียงคำ
ภูชี้ฟ้าจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม บนยอดภูชี้ฟ้า เป็นจุดที่ยื่นจากแนวเขตพรมแดน จึงไม่สามารถระบุชัดได้ว่า อยู่ในเขตไทยหรือลาว
แต่ทางขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้านั้นอยู่ในเขตไทย เคยมีการปักธงชาติไทยบนปลายสุดของหน้าผา
แต่ในวันถัดมา ทหารลาวก็จะนำธงลาวมาปักเคียงคู่กันด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย
จึงห้ามนักท่องเที่ยวพักแรมบนภูชี้ฟ้า

สถานที่ท่องเที่ยวที่จะแนะนำ ก็คือ...วนอุทยานภูชี้ฟ้า
อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ท้องที่บ้านร่มฟ้าทอง หมู่ที่ 9
และบ้านร่มฟ้าไทย หมู่ที่ 10 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่ป่าโซน C
ตามแผนที่ ZONING เนื้อที่ที่สำรวจและเห็นควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ประมาณ 2,500 ไร่
โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ จดทางหลวงจังหวัดสาย 1093
ทิศใต้ จดสันเขา
ทิศตะวันออก จดสันเขา / ชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก จดทางหลวงจังหวัดสาย 1093







วนอุทยานภูชี้ฟ้าเป็นจุดชมวิวทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง
อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กม. อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,628 เมตร
มีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว มองเห็นหมู่บ้านลาวที่เรียกว่า เชียงตอง
ยามเช้าในฤดูหนาวจะมี ทะลหมอก และอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์
จะเป็นช่วงที่ดอกเสี้ยวหรือดอกชงโคป่าบานสะพรั่งอยู่ทั่วไปบริเวณภูชี้ฟ้า
บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง แซมด้วยทุ่งโคลงเคลง ที่มีดอกสีชมพูอมม่วงซึ่งจะบาน
ระหว่างเดือน กรกฎาคม – มกราคม






ภูชี้ฟ้า เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงราย อยู่ในพื้นที่เขตอำเภอเทิง 
ยอด ภูชี้ฟ้า อยู่บนเทือกเขาสุดเขตชายแดนฝั่งตะวันออกติดกับชายแดนประเทศลาว
ห่างจากอำเภอเทิงประมาณ 35 กิโลเมตร 

ภูชี้ฟ้า มีลักษณะเป็นหน้าผามีปลายยอดแหลมชี้เข้าไปยังฝั่งประเทศลาว  สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑,๖๒๘ เมตร
บนยอด ภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิว และจุดชมทะเลหมอกที่สวยงาม ในตอนเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมในหุบเขาเบื้องล่าง
มีพระอาทิตย์ขึ้นผ่านพ้นทะเลหมอก เป็นความสวยงามที่นักท่องเที่ยวพากันไปรอชมตั้งแต่ยังไม่สว่าง
บริเวณไหล่เขาของ ภูชี้ฟ้า เป็นทุ่งหญ้า แซมด้วยทุ่งโคลงเคลงที่มีดอกสวยงามในช่วงฤดูฝนไปจนถึงฤดูหนาว 
บริเวณที่ราบไหล่เขาของถนนสาย ภูชี้ฟ้า เป็นที่ตั้งของรีสอร์ทและบ้านพักหลายรายเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
ที่ขึ้นไปเที่ยวและพักค้างแรมในบรรยากาศที่หนาวเย็น 

ปัจจุบันนี้ ภูชี้ฟ้า อยู่ในความดูแลของวนอุทยานภูชี้ฟ้า บริเวณริมถนนขึ้น ภูชี้ฟ้า มีที่ราบที่จัดไว้สำหรับ
ให้นักท่องเที่ยวได้กางเต็นท์พักแรมด้วย  ภูชี้ฟ้า เป็นดอยเดียวที่ชื่อว่าภู จริงแล้วจะต้องชื่อว่าดอยชี้ฟ้า
ตามคำเรียกของทางเหนือ แต่ว่า ภูชี้ฟ้า เป็นชื่อที่คนต่างถิ่นไปตั้งชื่อ จึงเรียกว่าภู 











เที่ยว ภูชี้ฟ้า ต้องขยันหน่อยเพราะจะเด่นสุดก็คือ  การได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นที่ ภูชี้ฟ้า ที่พักต่างๆจะอยู่เชิงภู
ประมาณตีห้าจะต้องตื่นขึ้นแต่งกายให้อบอุ่นถือไฟฉายคนละกระบอก  จากนั้นรถของที่พักแต่ละแห่งจะไปส่งขึ้น ภูชี้ฟ้า 
แต่ไปไม่ถึงยอดต้องเดินเท้าบ้างเล็กน้อยทางขึ้นที่นิยมมี 2 ทาง เดินเท้าประมาณเกือบกิโลเมตร  ก่อนถึงยอด ภูชี้ฟ้า
สัก 200 เมตร จะมีไหล่ทางลงไปเล็กน้อย  หากใจเย็นนั่งรอที่นี่จะค่อยๆ เห็นพระอาทิตย์ขึ้น ฉายแสงสว่างอาบ ภูชี้ฟ้า 
เป็นภาพที่งดงามมาก  เบื้องล่างอบอวลไปด้วยทะเลหมอก  หากรอจนสายหมอกถูกความร้อนระเหยหมดแล้วยังคงมองเห็น
สายน้ำโขงไหลคดเคี้ยว  ท่ามกลางป่าไม้ของฝั่งลาวที่เขียวสุดสมบูรณ์ด้วย






ใช่ว่า ภูชี้ฟ้า จะสวยช่วงเช้าเท่านั้นในเวลากลางวันหรือเย็นยังสามารถชมทิวทัศน์ ภูชี้ฟ้า ได้สวยงามเช่นกัน 
หากมาเที่ยว ภูชี้ฟ้า ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม  เส้นทางขึ้น ภูชี้ฟ้า จากหน่วยจัดการต้นน้ำหลาวขึ้น ภูชี้ฟ้า
จะผ่านป่าซากุระหรือต้นพญาเสือโคร่งสีชมพูสวยงามมาก






ดอยผาตั้ง  อยู่ห่างจาก ภูชี้ฟ้า ไปประมาณ 24 กิโลเมตร  ในเขตบ้านผาตั้ง  อำเภอเวียงแก่น 
เมื่อชมทะเลหมอกยามเช้าที่ ภูชี้ฟ้า แล้ว  ช่วงบ่ายจึงเหมาะที่จะไปเที่ยว ดอยผาตั้ง   
สิ่งที่น่าดูของ ดอยผาตั้ง คือทิวทัศน์ที่มองเห็นแม่น้ำโขงที่กั้นพรมแดนไทย-ลาว 
ทิวทัศน์สุดสายตากับป่าเขียวๆ บริเวณทางขึ้นสู่ผาตั้งยังมีผาบ่องลักษณะเป็นช่องหินขนาดใหญ่ 
ขนาดคนเดินผ่านได้  มองเห็นทิวทัศน์ของลาวได้สวยงามเช่นกัน  และบนสันเขาของ ดอยผาตั้ง 
ยังมีช่องเขาขาดลักษณะเป็นช่องเขาที่ขาดจากกัน  ในฤดูหนาวเชิง ดอยผาตั้ง ยังสวยงามด้วยต้นซากุระบานสะพรั่งสวยงาม

















และที่ภูชี้ฟ้า...ก็มี...ภาพที่มีทุกบ้าน..........





























« Last Edit: 18 March 2021, 22:41:20 by p_san@ » Logged
Mocha
เลขาสาวสวย
น้องใหม่ฝึกยิ้ม
*****
Offline Offline

Posts: 39


View Profile
« Reply #1 on: 24 January 2013, 02:02:04 »

งามแต๊เจ๊า
Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.079 seconds with 21 queries.