Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...
User Info
Welcome, Guest. Please login or register.
17 May 2024, 05:55:47

Login with username, password and session length
Search:     Advanced search
News
ท่านสมาชิกสามารถเปลี่ยนรูปแบบ (Theme) ได้อีกหลายแบบ
เชิญทดลองโดยคลิกที่ลิงค์ข้างล่าง ได้เลยครับ

http://www.smilesiam.net/index.php/topic,3170.msg4713.html
Forum Stats
25,684 Posts in 12,491 Topics by 70 Members
Latest Member: KAN
Home Help Search Calendar Login Register
Smile Siam มาร่วมกันคืน "สยามเมืองยิ้ม" กลับสู่บ้านเรากันนะครับ ...  |  ภาพประทับใจ  |  สถานที่สวยงาม (Moderator: ppsan)  |  วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
0 Members and 1 Guest are viewing this topic. « previous next »
Pages: [1] Go Down Print
Author Topic: วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร  (Read 294 times)
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,537


View Profile
« on: 20 September 2021, 22:07:00 »

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
วัดประจำรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล

วัดนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 เท่านั้น แต่ยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 ด้วย เพราะในรัชสมัยของ รัชกาลที่ 7 มิได้มีการสร้างวัด แต่ท่านก็ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธนี้ด้วย ดังนั้นจึงถือเป็นวัดประจำพระองค์ด้วยเช่นกัน













Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,537


View Profile
« Reply #1 on: 20 September 2021, 22:11:59 »

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7





วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2412 และนับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก อำนวยการก่อสร้างโดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)



ครั้นเมื่อวัดสร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และมีมหาสีมาอันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร 8 เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง 8 ทิศ



ภายในอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธอังคีรส อยู่บนฐานชุกชีหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ซึ่งหล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 – ต้นรัชกาลที่ 5 กระไหล่ทองคำเนื้อแปดหนัก 180 บาท เป็นทองที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เมื่อยังทรงพระเยาว์

และเดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงนำไปประดิษฐานที่พระปฐมเจดีย์ แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2415



ที่ฐานบัลลังก์กระไหล่ทองเนื้อหกหนัก 48 บาท ภายในบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีสุลาไลย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร และพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชสรีรางคาร สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แห่งนี้ นอกจากจะคงความวิจิตรงดงามในเชิงสถาปัตยกรรมไทยแบบพระราชนิยมแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พระอารามนี้ยังประกอบด้วย เขตสุสานหลวงจุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ อันเป็นบริเวณเฉพาะที่นับเนื่องด้วยราชสกุลและสายสัมพันธ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


สุสานหลวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างสุสานหลวงขึ้นในที่อุปจารชานกำแพงวัดด้านทิศตะวันตก (ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักรของวัด) เป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก) และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดคือ พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และพระราชโอรส พระราชธิดา ได้อยู่รวมกันหลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว



และเพื่อเป็นพระบรมราชูทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระองค์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ กันทั้งพระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม (ศิลปะปรางค์ลพบุรี) และแบบโกธิค โดยตั้งอยู่ในสวน ซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่างๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม



อนุสาวรีย์ที่สำคัญคือ เจดีย์สีทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้ ซึ่งมีชื่อสอดคล้องกันดังนี้

- สุนันทานุสาวรีย์ พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
- รังษีวัฒนา พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)
- เสาวภาประดิษฐาน พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
- สุขุมาลนฤมิตร์ พระราชทานแก่พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี (สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี)

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูล https://th.wikipedia.org
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19364



เรื่องและภาพจาก
https://travel.mthai.com/region/151417.html



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,537


View Profile
« Reply #2 on: 20 September 2021, 22:14:36 »

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

ไปด้วยกัน
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หรือนิยมเรียกสั้นว่า วัดราชบพิธ วัดประจำรัชกาลที่ 5 และ 7 ตั้งอยู่บนถนนเฟื่องนคร เป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มีสถาปัตยกรรมผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและยุโรป ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในโบสถ์ออกแบบตกแต่งแบบตะวันตก ความโดดเด่นของวัดราชบพิธ  คือ  พระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ และระเบียงแก้ว  มีลายไทยลงรักประดับมุกที่วิจิตรสวยงาม บางส่วนตกแต่งด้วยลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์  พระเจดีย์ประดับกระเบื้องเคลือบทรงระฆัง เป็นเจดีย์ประธานองค์สุดท้าย ที่สร้างขึ้นตามแบบแผนประเพณีนิยมที่ทำกันมาแต่โบราณ



การเดินทางสำหรับคนที่ใช้บริการรถสาธารณะสามารถนั่งรถแท๊กซี่ ตุ๊กๆ มาลงหน้าวัดหรือด้านหลังวัดได้เลย แต่สำหรับผู้ที่นำรถส่วนตัว สามารถนำรถมาจอดบริเวณ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ใกล้ อนุสาวรีย์หมู ซึ่งจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดราชบพิธ  โดยจะเสียค่าจอดรถทั้งวัน 40 บาท  จากนั้นเดินข้ามฝั่งมายังวัดจะสะดวกกว่าหาที่จอดบนถนนเรียบฝั่ง เมื่อเข้ามาจากทางข้างหน้าวัด สิ่งแรกที่จะเจอ คือ สุสานหลวง ของราชสกุลต่างๆ ตกแต่งเป็นสไตล์ที่หลากหลาย เช่น สไตล์ขอม สไตล์ตะวันตก สไตล์ไทย สามารถเดินชมได้ทั่ว มีป้ายบอกสายสกุลต่างๆ มีพรรณไม้นานาชนิด  จากนั้นเดินผ่านเข้าไปจะเจอกับพระอุโบสถของวัด มีระเบียงแก้วที่มีลวดลายระดับกระเบื้องที่สวยงาม













วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงสุดท้ายที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณี ที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาลที่ 5 และยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 7 มิได้ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล แต่ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัดของพระราชบิดา คือ รัชกาลที่ 5 จึงเสมือนเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์เช่นกัน









ในส่วนของศิลปกรรมที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ บานประตู และหน้าต่างของพระอุโบสถ ที่มีลายไทยลงรักประดับมุก เป็นรูปดวงตราครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ สวยงามมาก รวมทั้ง พระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ และระเบียงแก้ว ล้วนตกแต่งด้วยลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ทั้งสิ้น ซึ่งทุกแผ่นเขียนด้วยมือ รวมถึงออกแบบรูปทรงกระเบื้องได้อย่างลงตัว ทั้ง เจดีย์ ระเบียง พระอุโบสถ ซึ่งมีรูปทรงอ่อนช้อย







พระมหาเจดีย์เป็นประธานของวัดอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยระเบียงกลม มีพระอุโบสถอยู่ด้านหน้าและพระวิหารอยู่ด้านหลัง  พระเจดีย์รูปทรงระฆังประดับกระเบื้องเคลือบ ตั้งอยู่เหนือคูหาที่ประดับด้วยซุ้ม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกศิลปะขอมและพระพุทธรูปอื่นๆ อีก 6 องค์ เป็นเจดีย์ประธานองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นตามแบบแผนประเพณีนิยมที่ทำกันมาแต่โบราณก่อนที่จะฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งในยุคปัจจุบัน















วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม นับเป็นหนึ่งในวัดในเขตพระนคร ที่ควรมาสักเที่ยวชมสักครั้ง ทั้งสถาปัตยกรรมในวัดที่งดงาม ทั้งรายละเอียดฝาผนัง และเสาประตูที่วิจิตรบรรจงงดงามมาก





เรื่องและภาพจาก
https://www.paiduaykan.com/travel/วัดราชบพิธ



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,537


View Profile
« Reply #3 on: 20 September 2021, 22:17:56 »

สัมผัสความงามตระการตา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

             วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงสุดท้ายที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณี และยังเป็นตั้งของสุสานหลวงอีกด้วย

             ถ้าเอ่ยถึง "วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร" หลาย ๆ คนคงทราบเพียงแต่ว่าตั้งอยู่บนถนนเฟื่องนคร ใกล้ ๆ กับกระทรวงมหาดไทย และเป็นที่ตั้งของ "สุสานหลวง" ภายในวัดยังมีความงดงามอื่น ๆ ให้ได้สัมผัสอีกมากมาย วันนี้กระปุกดอทคอมจึงจะพาไปทำความรู้จักกับวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร หนึ่งในวัดสำคัญคู่กรุงรัตนโกสินทร์กันค่ะ



   "วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม" หรือที่เรียกกันติดปากว่า "วัดราชบพิธ" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต วัดแห่งนี้นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้ายที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณี ที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาลที่ 5 และยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้วย เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 7 มิได้ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล แต่ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัดของพระราชบิดา คือ รัชกาลที่ 5 จึงเสมือนเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์เช่นกัน



   แต่เดิมบริเวณวัดเป็นวังของ พระบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร ไพศาลโสภณ ก่อนที่ พ.ศ. 2412 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล โดยสร้างเลียนแบบ 2 วัด คือ วัดพระปฐมเจดีย์ กับ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 และภายในวัดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2413



   พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และมีมหาสีมาอันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร 8 เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง 8 ทิศ ส่วน "ราชบพิธ" หมายถึง พระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินสร้าง และ "สถิตมหาสีมาราม" หมายถึง พระอารามซึ่งมีมหาเสมาหรือเสมาใหญ่ มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและยุโรป คือลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก





   โดยตัวพระอุโบสถภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ประกอบด้วยลวดลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์รูปเทพประนม ภายในเป็นสถาปัตยกรรมโกธิค พระประธานคือ "พระพุทธอังคีรส" แปลว่า "มีรัศมีซ่านออกจากพระวรกาย"ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ถูกหล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อต้นรัชกาลที่ 5 กะไหล่ทองคำเนื้อแปดหนัก 180 บาท เป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เมื่อยังทรงพระเยาว์ เดิมรัชกาลที่ 4 จะทรงนำไปประดิษฐานที่พระปฐมเจดีย์ แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2415



   นอกจากนี้ที่ฐานบัลลังก์กะไหล่ทองเนื้อหกหนัก 48 บาท ภายในบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2), พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3), พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4), พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5), พระบรมอัฐิพระศรีสุลาไลย สมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 3 และสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

             ทั้งนี้วันที่ 29 ตุลาคม 2560 มีพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ไปบรรจุที่ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรส พระประธานพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร




สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

             สำหรับ "สุสานหลวง" วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักรของวัด ทางด้านทิศตะวันตก ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม แต่เดิมมีอาณาบริเวณกว้าง 4 ไร่กว่า ต่อมาในสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทางผู้สำเร็จราชการและทาง กทม. ได้ตัดถนนอัษฎางค์ ซึ่งกินพื้นที่สุสานหลวงไปบางส่วน จนปัจจุบันสุสานหลวงเหลือพื้นที่เพียง 2 ไร่ครึ่งเท่านั้น



   ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "สุสานหลวง" ขึ้นในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เพื่อเป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก) และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิด คือพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม พระราชโอรส พระราชธิดา พระนัดดา และพระปนัดดา ได้อยู่ร่วมกัน หลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงสร้างขึ้นในสมัยหลัง

             อนุสาวรีย์ที่สุสานหลวงนี้ทำเป็นรูปเจดีย์ ปรางค์ และอาคารศิลปะยุโรป โดยตั้งอยู่ในสวน ซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่าง ๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม และอนุสาวรีย์ที่สำคัญคือเจดีย์สีทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้







   ในส่วนของศิลปกรรมที่สำคัญในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ได้แก่ บานประตู และหน้าต่างของพระอุโบสถ ที่มีลายไทยลงรักประดับมุก เป็นรูปดวงตราครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ สวยงามมาก และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ กระเบื้องเบญจรงค์ ทั้งพระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ และระเบียงแก้ว ล้วนตกแต่งด้วยลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ทั้งสิ้น ซึ่งทุกแผ่นเขียนด้วยมือ รวมถึงออกแบบรูปทรงกระเบื้องขนาดต่าง ๆ ลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่ว่าเจดีย์ ระเบียง พระอุโบสถ ซึ่งมีรูปทรงอ่อนช้อย แต่ทุกอย่างลงตัว





   อีกทั้งวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

        สัมผัสความงดงามของ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กันบ้างแล้ว หากมีโอกาสควรแวะไปพิสูจน์ด้วยตาคุณเองนะคะ






เวลาทำการ

             พระอุโบสถจะเปิดเป็นเวลา โดยในวันธรรมดาจะเปิดช่วงพระทำวัตรเช้า-เย็น คือ 09.00-10.00 น. และ 17.00-18.00 น. วันพระและช่วงปีใหม่จะเปิดให้เข้าไปไหว้พระตั้งแต่เวลา 08.00-13.30 น. ส่วนพระวิหารจะเปิดเฉพาะเวลามีพิธีสำคัญ เช่น อุปสมบท หรือการถวายสังฆทานสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น

การเดินทาง

             วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่บริเวณถนนเฟื่องนคร ติดกับกระทรวงมหาดไทย สามารถจอดรถได้บริเวณถนนข้าง ๆ วัด



เรื่องและภาพจาก
https://travel.kapook.com/view31530.html



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,537


View Profile
« Reply #4 on: 20 September 2021, 22:20:37 »

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ละเลียดชมความงามวัดประจำรัชกาลที่ 5 ที่ประทับสมเด็จพระสังฆราช และพระอารามหลวงที่มีโบสถ์ตกแต่งภายในอย่างโบสถ์คริสต์

เรื่องและภาพ ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล
..........

Home /Art & Culture/อารามบอย
25 มิถุนายน 2562

นี่คือวัดที่ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

นี่คือวัดที่เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 3 พระองค์รวมถึงพระองค์ปัจจุบัน

นี่คือวัดที่เป็นที่ตั้งของสุสานหลวงแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร นี่คืออีกหนึ่งวัดที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของในหลวงรัชกาลที่ 9 และนี่ยังเป็นอีกวัดที่นำพาโลกตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับโลกตะวันออกอย่างลงตัวที่สุด

คุณสมบัติทั้งหมดนี้ชี้นำไปสู่วัดเพียงแห่งเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยโปรดฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เป็นแม่กองอำนวยการสร้างวัดตามลำดับ

การก่อสร้างวัดแห่งนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2412 เมื่อแรกสร้างวัด ทรงซื้อวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร และเจ้าจอมมารดาคล้าย พร้อมกับซื้อบ้านเรือนข้าราชการและชาวบ้านเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับสร้างวัด สิ้นพระราชทรัพย์ไปเป็นเงิน 2,806 บาท 37 สตางค์ (ดูเหมือนน้อย แต่เราต้องไม่ลืมนะครับว่านี่คือค่าเงินในสมัยรัชกาลที่ 5) พร้อมกันนั้นยังทรงนิมนต์พระสงฆ์จากวัดโสมนัสราชวรวิหารมาจำพรรษา พร้อมกับอัญเชิญ ‘พระนิรันตราย’ มาประดิษฐานเอาไว้ด้วย

โดยมูลเหตุในการก่อสร้างก็เพื่อให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์จะทรงสร้างวัด และยังแสดงถึงพระราชศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ด้วย



หากเราเดินทางมายังวัดจากทางฝั่งคลองรอบกรุง วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และอนุสาวรีย์หมู สิ่งแรกที่เราจะเจอก็คือสุสานหลวง แต่ผมขอพูดถึงพื้นที่ส่วนหลักของวัดจากทางฝั่งถนนราชบพิธฯ ก่อนนะครับ

วัดแห่งนี้มีพระมหาเจดีย์เป็นประธานของวัดอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยระเบียงกลม มีพระอุโบสถอยู่ด้านหน้าและพระวิหารอยู่ด้านหลัง ระเบียงคดกลมนี้ถือเป็นประดิษฐกรรมใหม่ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นในรัชกาลก่อนหน้าที่วัดพระปฐมเจดีย์ ก่อนจะนำมาใช้ที่วัดแห่งนี้ ดังนั้น เมื่อถนนราชบพิธอยู่ทางทิศเหนือของวัด สิ่งแรกที่เราจะเห็นเมื่อเดินผ่านประตูวัดที่แกะเป็นรูปทหารแต่งกายอย่างตะวันตกก็คือพระอุโบสถของวัด

พระอุโบสถหลังนี้เป็นอาคารแบบไทยประเพณี มีหน้าบัน 2 ชิ้น หน้าบันของมุขทำเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ซึ่งมักจะพบในพระอารามหลวงที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ ในขณะที่หน้าบันด้านในเป็นรูปช้าง 7 ช้างเทินพานรองพระเกี้ยว พระราชลัญจกรประจำพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งช้างทั้งเจ็ดหมายถึงช้างเผือกทั้งเจ็ดช้างในรัชกาลของพระองค์









แม้ว่าข้างนอกจะดูไทยขนาดไหน แต่ข้างในนี่ผิดกันคนละเรื่องเลย ยังจำวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหารที่ผมเคยพาไปดูได้ไหมครับ วัดแห่งนั้นใช้สถาปัตยกรรมแบบโบสถ์คริสต์มาประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ที่นี่ตกแต่งภายในเหมือนโบสถ์คริสต์ไม่มีผิด โดยนำเอาการตกแต่งภายในแบบโกธิคมาใช้ ซึ่งเป็นไอเดียของหม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย นั่นเอง

ประตูและหน้าต่างด้านนอกประดับด้วยงานประดับมุกเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ 1 รวม 5 ดวง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 และเริ่มนำมาประดับอาคารครั้งแรกในรัชกาลนี้เช่นกัน

ในขณะที่กรอบซุ้มด้านนอกทำเป็นยอดปราสาท เหนือกรอบซุ้มทำเป็นตราพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 9 โดยตกแต่งเป็นลวดลายอุณาโลมสลับกับอักษร ‘จ’ บริเวณผนังระหว่างหน้าต่าง ส่วนผนังด้านข้างเดิมทีเคยมีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพุทธประวัติแต่ถูกลบออกไปในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โปรดให้แก้ไขตกแต่งเป็นแบบตะวันตก







พระประธานภายในพระอุโบสถมีนามว่า ‘พระพุทธอังคีรส’ พระพุทธรูปปางสมาธิครองจีวรยับย่นสมจริงตามแนวคิดแบบตะวันตกที่เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระพุทธอังคีรสเป็นอีกพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีความหมายว่ามีพระรัศมีแผ่ซ่านออกมาจากพระวรกาย

พระพุทธรูปองค์นี้มีประวัติว่าหล่อขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ พระพุทธรูปเนื้อทองคำองค์นี้หล่อขึ้นจากเครื่องทรงของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงนำไปประดิษฐานยังวัดพระปฐมเจดีย์แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานยังวัดแห่งนี้

ยิ่งไปกว่านั้น พระรัศมีของพระพุทธรูปองค์นี้สามารถถอดออกเพื่อเปลี่ยนได้ ซึ่งผมเองก็ไม่เคยรู้มาก่อน จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารคและเสด็จฯ มายังวัดแห่งนี้ ทรงเจิมพระรัศมีทองคำลงยาราชาวดีและทรงอัญเชิญพระรัศมีนี้สวมที่พระเศียรของพระพุทธอังคีรส

อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ ใต้ฐานบัลลังก์ของพระพุทธอังคีรสนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีถึง 4 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมไปถึงพระอัฐิของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระสนมเอกในรัชกาลที่ 2 พระราชชนนีในรัชกาลที่ 3 และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราประยูร พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3 ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์

โดยทั้งหมดนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเป็นผู้บรรจุไว้ ก่อนที่ต่อมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาบรรจุที่ฐานพุทธบัลลังก์หินอ่อนเมื่อ พ.ศ. 2492

ก่อนที่ใน พ.ศ. 2528 ได้นำพระราชสรีรางคารของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 มาบรรจุเอาไว้ด้วย และใน พ.ศ. 2560 ภายหลังการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชิญพระราชสรีรางคารของรัชกาลที่ 9 มาประดิษฐานไว้ที่ฐานหินอ่อนนี้ด้วยเช่นกัน



ในขณะที่พระวิหารที่อยู่ตรงข้ามกันมีรูปร่างหน้าตาภายนอกแทบจะถอดแบบมาจากพระอุโบสถเลยครับ เราสังเกตได้จากบานประตูและหน้าต่างที่แม้จะทำเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์เช่นเดียวกับพระอุโบสถ แต่เปลี่ยนเทคนิคจากงานประดับมุกเป็นงานแกะสลักไม้แทน

การเปลี่ยนเทคนิคนี้ทำให้เราได้เห็นสีของเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่ละประเภทด้วยครับ ภายในเองก็ไม่ได้แตกต่างจากพระอุโบสถเท่าไหร่ เว้นแต่โทนสีที่ออกเป็นสีชมพูต่างจากพระอุโบสถที่ออกเป็นโทนสีเย็น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยนาม ‘พระประทีปวโรทัย’





อาคารสำคัญแกนกลางของวัดแห่งนี้ก็คือพระเจดีย์ประดับกระเบื้องเคลือบ ตั้งอยู่เหนือคูหาที่ประดับด้วยซุ้ม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกศิลปะขอมและพระพุทธรูปอื่นๆ อีก 6 องค์ (ซึ่งส่วนตัวผมเองยังไม่เคยเห็นเหมือนกันครับเลยไม่มีภาพมาให้ชม) รูปทรงของพระเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงระฆังที่น่าจะถ่ายแบบมาจากพระเจดีย์ที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามที่อยู่ตรงข้ามคลองเพราะหน้าตาคล้ายกันมาก และที่สำคัญ พระเจดีย์องค์นี้ถือเป็นเจดีย์ประธานองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นตามแบบแผนประเพณีนิยมที่ทำกันมาแต่โบราณ ก่อนที่จะฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งในยุคปัจจุบัน






สุสานหลวงถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ของวัดราชบพิธฯ ถือเป็นขนบใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในอดีต การถวายพระกุศลให้แก่เจ้านายที่ล่วงลับไปแล้วมีเพียงการสร้างสิ่งของหรือถาวรวัตถุเป็นการเฉพาะเท่านั้น

สุสานหลวงของวัดราชบพิธฯ แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระอัฐิและพระราชสรีรางคาร ด้วยมีพระราชประสงค์ให้ผู้ที่รักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดได้มาอยู่รวมกันหลังจากที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งภายในสุสานหลวงแห่งนี้มีอนุสรณ์สถานและอนุสาวรีย์อยู่ถึง 34 แห่ง ขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกัน และยังมีรูปแบบที่ต่างกัน บ้างมาแนวตะวันตกจ๋า บ้างมาแนวตะวันออกจ๋า บ้างจำลองมาจากสถานที่ที่มีอยู่จริงๆ

ครั้นจะพาไปดูจนครบก็คงต้องแยกไปเล่าเป็นหนึ่งตอนเพียวๆ เลย วันนี้เลยจะขอแนะนำองค์สำคัญๆ ที่น่าสนใจเพียงบางองค์เท่านั้น

เริ่มกันด้วยกลุ่มสำคัญซึ่งมีรูปแบบคล้ายกัน เป็นอาคารทรงไทย ยอดเป็นเจดีย์ประดับด้วยโมเสกสีทองจำนวน 4 องค์ ทั้ง 4 องค์นี้มีชื่อคล้องจองกันทั้งหมด ประกอบด้วย ‘สุนันทานุสาวรีย์’ บรรจุพระสรีรางคารของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่เรารู้จักกันในนาม ‘พระนางเรือล่ม’ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ รังสีวัฒนา พระราชธิดาของพระองค์ที่สิ้นพระชนม์พร้อมกัน

‘รังษีวัฒนา’ บรรจุพระราชสรีรางคารพระราชโอรสและพระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระปัยยิกาหรือทวดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 รวมถึงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ด้วย

‘เสาวภาประดิษฐาน’ บรรจุพระราชสรีรางคารของพระราชโอรสในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง พระราชมารดาของรัชกาลที่ 6 และ 7

และ ‘สุขุมาลย์นฤมิตร์’ บรรจุพระสรีรางคารของสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งถ้าใครชมสุสานหลวงแล้วไม่รู้ว่าองค์ไหนในกลุ่ม 4 องค์นี้ชื่ออะไร ลองสังเกตที่ด้านหน้าดูได้ครับ เพราะทุกองค์มีชื่อกำกับไว้ทั้งหมด



จริงๆ แล้วภายในสุสานหลวงยังมีอนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานอีกหลายแห่งที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ซึ่งทำเป็นรูปปรางค์สามยอด เนื่องจากพระราชโอรสของพระองค์ท่านคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฑัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์

อนุสรณ์สถานทรงตะวันตกนอกโดมของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และพระธิดา รวมถึงเจ้านายที่สืบเชื้อสายของเจ้านายฝ่ายเหนือ อนุสาวรีย์เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ หรือวิหารน้อย

อาคารทรงยุโรปหลังคามุงกระเบื้องประดับกระจกสีที่ประตูและหน้าต่าง บรรจุพระสรีรางคารของเจ้าจอมมารดาแพ บุนนาค และพระธิดา รวมถึงเจ้าจอมมารดาโหมด บุนนาค และทายาท ตลอดจนสมาชิกราชสกุลอาภากรและราชสกุลสุริยง

อาคารทรงยุโรปหลังคามุงกระเบื้องประดับกระจกสีที่ประตูและหน้าต่างที่มีหน้าบันเป็นรูปพระอาทิตย์ตามนามของราชสกุล ‘อาภากร’ รวมถึงอนุสรณ์สถานของเจ้าจอมก๊กออถึง 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าจอมเอิม เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอี่ยม







นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในรายละเอียดมากมายที่ซ่อนอยู่ในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เนื่องจากวัดแห่งนี้ถือเป็นพระอารามหลวงที่มีเนื้อที่กว้างขวาง จึงยังมีสิ่งน่าสนใจอีกมากภายในวัดที่รอให้เราเข้าไปสัมผัส ผมเลยอยากเชิญชวนทุกคน หากใครผ่านไปผ่านมาแถวนั้น หรืออ่านบทความนี้แล้วสนใจ ลองเข้าไปสัมผัส เข้าไปละเลียดชมความงามของพระอารามหลวงแห่งนี้กันครับ รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนครับ


เกร็ดแถมท้าย
1. ตรงข้ามกับวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามแห่งนี้คือวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ 4 ที่มีความงามและความน่าสนใจไม่แพ้กัน ถ้าได้ไปชมวัดราชบพิธฯ แล้ว ลองเดินข้ามไปชมวัดแห่งนี้ไปพร้อมๆ กันด้วยนะครับ
2. หรือถ้ายังอยากชมงานช่างสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งผสมผสานความเป็นตะวันออกกับตะวันตก แนวคิดแบบดั้งเดิมกับแนวคิดสมัยใหม่ ในกรุงเทพมหานครเองยังมีอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะวัดราชาธิวาส วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเทพศิรินทราวาส หรือในต่างจังหวัดก็มีเช่นกัน เช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. แต่ถ้าใครจะไปสักการะและเยี่ยมชมวัดประจำรัชกาลแบบครบทุกวัด ให้รอช่วงวันสำคัญ เช่น ปีใหม่ ขสมก. จะมีรถเมล์ให้บริการพาไหว้พระตามวัดประจำรัชกาลอยู่ครับ ลองตามข่าวกันดูครับผม
4. นอกจากวัดแล้ว อนุสาวรีย์หมูหรืออนุสาวรีย์สหชาติที่อยู่กึ่งกลางระหว่างวัดราชประดิษฐ์ฯ และวัดราชบพิธฯ บริเวณเชิงสะพานปีกุนก็น่าสนใจนะครับ เพราะสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2456 เมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง มีพระชนมายุครบ 50 พรรษา โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงร่วมกับพระยาพิพัฒน์โกษา (เซเลสติโน ซาเวียร์) และพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) สร้างขึ้น



เรื่องและภาพจาก
https://readthecloud.co/wat-rajabopit-sathitmahasimaram/



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,537


View Profile
« Reply #5 on: 20 September 2021, 22:23:07 »

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗
   
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ร.๕ โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ โดยสร้างเลียนแบบ ๒ วัดคือ วัดพระปฐมเจดีย์กับวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๔



บริเวณวัดนี้เดิมเป็นวังของพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร ไพศาลโสภณ วัดราชบพิธฯ เริ่มก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2412 (สมัยรัชกาลที่ 5) เสร็จในปี พ.ศ. 2413 แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดโสมนัสวรวิหารมาจำพรรษาอยู่ พร้อมกับอัญเชิญพระพุทธนิรันตรายมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ

โดยภายในวัดแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง




อาณาเขตวัด

ตัวพระอุโบสถภายนอกสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ประกอบด้วยลวดลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์รูปเทพประนม(มือ) ภายในเป็นสถาปัตยกรรมโกธิค พระประธานคือ พระพุทธอังคีรส ภายใต้พระประธานมิได้เพียงบรรจุพระสรีรังคารของ ร.๕ เพียงเท่านั้นยังบรรจุพระสรีรังคารของพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ ด้วย


พระอุโบสถ


พระพุทธอังคีรส  พระประธานในพระอุโบสถ




ภายในพระอุโบสถ



การวางตัวของพระอุโบสถกับพระวิหารเป็นแบบวัดพระปฐมเจดีย์ คือวางแนวทิศตรงกันข้าม โดยด้านข้างจะมีทางเข้าไปในรอบๆ พระเจดีย์ ข้างในพระเจดีย์มีพระพุทธรูปปางนาคปรกอยู่ด้วย ซึ่งเล่ากันมาว่าขุดพบใต้ต้นตะเคียนริมคลองหลอด ซึ่งเชื่อกันว่าคนที่อยากมีลูกมาขอพรก็จะมีลูกสมใจ ภายในพระเจดีย์ยังมีทางขึ้นไปบนฐานเจดีย์ด้วย ในอดีตสามารถมองเห็นภูเขาทองได้ด้วย





ศิลปกรรมที่สำคัญในวัดได้แก่ บานประตู และหน้าต่างของพระอุโบสถที่มีลายไทยลงรักประดับมุก เป็นรูปดวงตราครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ สวยงามมาก





วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม คำว่าสถิตมหาสีมาราม หมายถึงการมีเขตเสมาใหญ่มากล้อมรอบทั้งวัด แทนที่จะมีแค่ เสมารอบ ๆ พระอุโบสถเท่านั้น และที่น่าสนใจอีกอย่างคือกระเบื้องเบ็ญจรงค์ ทั้งพระอุโบสถ วิหารและเจดีย์ ระเบียงแก้ว ล้วนตกแต่งด้วย ลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ทั้งสิ้น และทุกแผ่นเขียนด้วยมือ และออกแบบรูปทรงกระเบื้องขนาดต่างๆ ลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่ว่าเจดีย์ ระเบียง พระอุโบสถ ซึ่งมีรูปทรงอ่อนช้อย แต่ทุกอย่างลงตัว


สุสานหลวง






เจ้าอาวาส


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อฺมพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
ความสำคัญ - พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร , วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และ ๗
สังกัดคณะสงฆ์ - ธรรมยุติกนิกาย
พระประธานในอุโบสถ - พระพุทธอังคีรส
เฟซบุุ๊ก - วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม Wat Rajabopit



เรื่องและภาพจาก
http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watratbhopit.php



Logged
ppsan
Administrator
สยามราษฎร์
*****
Offline Offline

Posts: 8,537


View Profile
« Reply #6 on: 20 September 2021, 22:26:17 »

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร




พระพุทธอังคีรส
















10



















20



















30



















40









Logged
Pages: [1] Go Up Print 
« previous next »
 

SMF 2.0.4 | SMF © 2013, Simple Machines | Theme by nesianstyles | Buttons by Andrea
Page created in 0.092 seconds with 19 queries.